บุระ : น. ป้อม, หอ, วัง, เมือง. (ป. ปุร).
ปุระ : น. บุระ. (ป.).
อันเตบุระ, อันเตปุระ : น. ภายในราชสํานัก, ภายในวัง. (ป.; ส. อนฺตปุร).
บุรพาจารย์, บูรพาจารย์ : [บุระ-, บูระ-] น. อาจารย์ในเบื้องต้น คือ บิดามารดา.
บุรณะ : [บุระ-] ก. บูรณะ, ซ่อมแซมทําให้กลับคืนดีเหมือนเดิม เช่น บุรณะ วัด. (ส. ปูรณ).
บูร : [บูน] น. บุระ.
บุรพ- : [บุระพะ-, บุบพะ-] ว. บุพ. (ส. ปูรฺว; ป. ปุพฺพ).
บุรพทิศ : [บุระพะทิด, บุบพะทิด] น. ทิศตะวันออก.
บุรพบท : [บุระพะบด, บุบพะบด] น. บุพบท, คําชนิดหนึ่งใน ไวยากรณ์ ทําหน้าที่เชื่อมคําต่อคํา อยู่หน้านาม สรรพนาม หรือ กริยา มีคําว่า ด้วย โดย ใน เป็นต้น เช่น เขียนด้วยดินสอ หนังสือ ของฉัน กินเพื่ออยู่.
บุรพผลคุนี, ปุรพผลคุนี, ปุพพผลคุนี : [บุระพะ-, บุบพะ-, ปุระพะ-, ปุบ พะ-] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๑ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปแรดตัวผู้หรือ เพดานตอนหน้า, ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาวงูเมีย ก็เรียก.
บุรพภัทรบท, ปุพพะภัททะ : [บุระพะพัดทฺระบด, บุบพะพัดทฺระบด, ปุบพะพัดทะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๕ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปราชสีห์ตัวผู้ หรือเพดานตอนหน้า, ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย ก็เรียก.
บุรพอาษาฒ, บุพพาสาฬหะ, ปุรพษาฒ : [บุระพะอาสาด, บุบพะ อาสาด, บุบพาสานหะ, บุบพาสานละหะ, ปุระพะสาด] น. ดาวฤกษ์ ที่ ๒๐ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปปากนกหรือช้างพลาย, ดาวสัปคับช้าง หรือ ดาวราชสีห์ตัวผู้ ก็เรียก.
บร- : [บอระ-] (แบบ; กลอน) น. ฝ่ายอื่น เช่น บรเทศ, ข้าศึก เช่น บรปักษ์. (ป., ส. ปร).
บุพพาสาฬหะ, บุรพอาษาฒ, ปุรพษาฒ : [-พาสานหะ, - พาสานละหะ, บุระพะอาสาด, บุบพะอาสาด, ปุระพะสาด] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๐ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปปากนกหรือช้างพลาย, ดาวสัปคับช้าง หรือ ดาวราชสีห์ตัวผู้ ก็เรียก.
ปุพพผลคุนี, ปุรพผลคุนี, บุรพผลคุนี : [-, ปุระพะ-, บุบพะ-, บุระพะ-] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๑ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปแรดตัวผู้หรือเพดานตอนหน้า, ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาวงูเมีย ก็เรียก. ปุพพะภัททะ, บุรพภัทรบท [-พัดทะ, บุบพะพัดทฺระบด, บุระพะพัดทฺระบด] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๕ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปราชสีห์ตัวผู้หรือเพดานตอนหน้า, ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย ก็เรียก.
ปุรพผลคุนี, ปุพพผลคุนี, บุรพผลคุนี : [-, ปุบพะ-, บุบพะ-, บุระพะ-] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๑ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปแรดตัวผู้หรือเพดาน ตอนหน้า, ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาวงูเมีย ก็เรียก.
ปุรพษาฒ, บุรพอาษาฒ, บุพพาสาฬหะ : [-สาด, บุบพะอาสาด, บุระพะอาสาด, บุบพาสานหะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๐ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปปากนกหรือช้างพลาย, ดาวสัปคับช้าง หรือ ดาวราชสีห์ตัวผู้ ก็เรียก.
ไพศาขบุรณมี : [ไพสาขะบุระนะมี] น. วันเพ็ญเดือน ๖. (ส.; ป. วิสาขปุณฺณมี).
อุปโยคบุรพบท : [อุปะโยคะบุบพะบด, บุระพะบด] น. ในไวยากรณ์ หมายถึงคํานําหน้ากรรมการก.
บรรณาธิกร :
ดู บรรณ, บรรณ-.
บรรณาธิกร : [บันนา-] (โบ) ก. รวบรวมและจัดเลือกเฟ้นเรื่องลงพิมพ์.
บรรพตกีลา : (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. ปรฺวต + กีลา).
บุรี, บูรี : น. เมือง. (ป. ปุร).
กับบุเรศ : [-เรด] (แบบ; กลอน) น. การบูร เช่น กับบุเรศสมุลแว้งก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน). (ป. กปฺปุร).
กุสุมวิจิตร : น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๔ คณะ คือ น คณะ ย คณะ น คณะ ย คณะ บาทละ ๑๒ คำ หรือ ๑๒ พยางค์ (ตามแบบว่า นยสหิตานฺยา กุสุมวิจิตฺตา) ตัวอย่างว่า จะรจิตรอรรถา ปิสุณวจีขวน พิปริตญาณยล บรชนทำลาย. (ชุมนุมตำรากลอน).
แขก ๓ : น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า แขก เช่น แขกสาหร่าย แขกบรเทศ แขกกุลิต.
คำคู่ความ : (กฎ) น. บรรดาคําฟ้อง คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่น ต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ.
ตรีบูร : น. เมืองอันมีป้อมค่าย ๓ ชั้น, ๓ ชั้น เช่น เมืองสุโขทัยนี้ตรีบูรได้สามพัน สี่ร้อยวา. (จารึกสยาม), อยุธยาไพโรจน์ใต้ ตรีบูร. (กําสรวล). (ส. ตฺริปุร ว่า ป้อม ๓ ชั้น).
ทวาบร : [ทะวาบอน] น. ด้านของลูกสกาที่มี ๒ แต้ม. (ส. ทฺวาบร).
นาง ๑ : น. คําประกอบหน้าคําเพื่อแสดงว่าเป็นเพศหญิง เช่น นางฟ้า นางบําเรอ นางละคร นางพระกํานัล; คําแทนชื่อหญิง เช่น นางก็ร้อยพวงมาลัย; (กฎ) คํานําหน้าชื่อหญิงผู้มีสามีแล้ว, คํานําหน้าชื่อภรรยาที่เรียกตามราช ทินนามของสามีที่มีบรรดาศักดิ์ตํ่ากว่าพระยาลงมา; คำเรียกสัตว์ตัวเมีย โดยสุภาพ เช่น นางช้าง นางม้า; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เรวดี มี ๑๖ ดวง, ดาวปลาตะเพียน ก็เรียก.
เนือง, เนือง ๆ : ว. เสมอ ๆ, บ่อย ๆ, เช่น แสนเสนางค์เนืองบร. (ตะเลงพ่าย), ไปมาหาสู่ อยู่เนือง ๆ.
บรรณาการ : [บันนากาน] น. สิ่งที่ส่งไปให้ด้วยความเคารพนับถือ หรือด้วยไมตรี. (ป. ปณฺณาการ; ส. ปรฺณาการ), ในบทประพันธ์ใช้ว่า บรรณา ก็มี.
บังคับเอก : น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์หรือ คําที่มีรูปวรรณยุกต์เอก และบรรดาคําตายทั้งสิ้นในโคลงและร่ายใช้ แทนเอกได้.
บุรัตถิมทิศ : [-ถิมะทิด] น. ทิศตั้งอยู่เบื้องหน้า, ทิศตะวันออก. (ป. ปุรตฺถิมทิส).
ประดิทิน : ว. ประจําวัน, ทุกวัน, เสมอไป, เช่น อนึ่งผู้อยู่ในราชการอัน บรรดาจําบําเรอประดิทิน. (กฎ. ราชบุรี).
เอ็มบริโอ : [บฺริ] น. ตัวอ่อนของสัตว์หรือต้นอ่อนของพืชที่ยังไม่เจริญเติบโต จนถึงขั้นที่มีอวัยวะครบบริบูรณ์. (อ. embryo).