Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: บุรุษไปรษณีย์, ไปรษณีย์, บุรุษ , then บรษปรษณย, บุรุษ, บุรุษไปรษณีย์, ปรษณย, ปุรุษ, ไปรษณีย์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : บุรุษไปรษณีย์, 100 found, display 1-50
  1. ไปรษณีย์; : (กฎ) จดหมาย ไปรษณียบัตร ไปรษณียบัตรตอบรับ หนังสือกิติยคดี ตัวอย่างหรือแบบสินค้า ของตีพิมพ์ทุกชนิด หนังสือพิมพ์ลงทะเบียน ห่อจดหมาย ห่อพัสดุ ธนาณัติ เช็ค ไปรษณีย์ หรือวัตถุอย่างอื่นที่นํามาใช้ในการสื่อสารไปรษณีย์.
  2. บุรุษ, บุรุษ- : [บุหฺรุด, บุหฺรุดสะ-] น. ผู้ชาย, เพศชาย, คู่กับ สตรี, ใช้ในลักษณะ ที่สุภาพ; (ไว) คําบอกผู้พูด เรียกว่า บุรุษที่ ๑, คําบอกผู้ที่พูดด้วย เรียกว่า บุรุษที่ ๒, คําบอกผู้ที่พูดถึง เรียกว่า บุรุษที่ ๓. (ส. ปุรุษ; ป. ปุริส).
  3. ไปรษณีย-, ไปรษณีย์ : [ไปฺรสะนียะ-, ไปฺรสะนี] น. วิธีการส่งหนังสือและหีบห่อสิ่งของ เป็นต้นโดยมีองค์การที่ตั้งขึ้นเป็นเจ้าหน้าที่รับส่ง. (ส. เปฺรษณีย).
  4. ไปรษณีย์รับรอง : น. ไปรษณีย์พิเศษอย่างหนึ่งซึ่งรับฝากและ นําจ่ายไปรษณียภัณฑ์โดยมีหลักฐานการรับฝากและนำจ่าย ใช้เฉพาะกิจการไปรษณีย์ในประเทศเท่านั้น.
  5. บุรุษโทษ : [บุหฺรุดสะโทด] น. ลักษณะชั่วของคน.
  6. บุรุษธรรม : [บุหฺรุดสะทํา] น. คติสําหรับตัว.
  7. บุรุษเพศ : [บุหฺรุดเพด] น. เพศชาย, คู่กับ สตรีเพศ.
  8. นาย : น. (กฎ) คํานําหน้าชื่อชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้จ้าง, เช่น เขาเป็นนาย นายไม่อยู่; ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้า ในกิจการนั้น ๆ เช่น นายตรวจ นายทะเบียน, ผู้ควบคุม เช่น นายหมู่ นายหมวด, ผู้ชํานาญในกิจการนั้น ๆ เช่น นายไปรษณีย์ นายช่าง; (ปาก) ใช้นําหน้ายศทหารตํารวจ เช่น นายพล นายพัน นายร้อย นายสิบ, คำนำหน้า ตำแหน่ง เช่น นายม้าต้น; เมื่อใช้เป็นคํานําราชทินนามเป็นบรรดาศักดิ์ของ ข้าราชการในราชสํานักในสมัยก่อนเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น นายนรินทร์ธิเบศ นายมหานุภาพ นายสุจินดา นายวรการบัญชา. (ปาก) ส. คําใช้แทนผู้ที่เรา พูดด้วย ใช้สําหรับเพื่อนฝูงในลักษณะที่เป็นกันเอง เช่น เย็นนี้นายจะไป ด้วยไหม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
  9. เช็คไปรษณีย์ : (กฎ) น. ตราสารสําหรับขายแก่ประชาชน เพื่อประโยชน์ในการส่งเงิน โดยเจ้าพนักงาน ณ ที่ทําการ ไปรษณีย์แห่งหนึ่ง ให้เจ้าพนักงาน ณ ที่ทําการไปรษณีย์ แห่งใดแห่งหนึ่งจ่ายเงินให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งระบุ นามไว้หรือผู้ถือตราสารนั้น.
  10. ปฐมบุรุษ : [ปะถมมะ-, ปะถม-] น. บุรุษที่ ๑, ตามไวยากรณ์ ได้แก่ สรรพนามพวกที่ใช้แทนชื่อผู้พูด เช่น ข้า เรา แต่ตามไวยากรณ์บาลี หมายถึงพวกที่เราพูดถึง เช่น เขา.
  11. รหัสไปรษณีย์ : น. รหัสที่กำหนดประจำท้องที่เพื่อประโยชน์ในการไปรษณีย์.
  12. กาบุรุษ : [กาบุหฺรุด] (แบบ) น. คนเลว. (ส. กาปุรุษ; ป. กาปุริส).
  13. มัชฌิมบุรุษ : น. ชายที่มีวัยปานกลาง, ชายที่มีอายุและกำลังปานกลาง.
  14. เอกบุคคล, เอกบุรุษ : [เอกกะบุกคน, เอกะบุกคน, เอกกะบุหฺรุด, เอกบุหฺรุด] น. คนเยี่ยมยอด, คนประเสริฐ.
  15. โปส : น. บุรุษ. (ป.).
  16. ไปรษณียวัตถุ : [ไปฺรสะนียะวัดถุ, ไปฺรสะนีวัดถุ] น. (เลิก) พัสดุ ไปรษณีย์.
  17. ไปรษณียากร : ดู ไปรษณีย-, ไปรษณีย์.
  18. ไปรษณียากร : [ไปฺรสะนียากอน] น. ดวงตราไปรษณียากร, แสตมป์ ก็เรียก; (กฎ) ค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียสำหรับส่งไปรษณียภัณฑ์ทาง ไปรษณีย์.
  19. อาขยาต : [ขะหฺยาด] ว. กล่าวแล้ว. น. ชื่อคำกริยาประเภทหนึ่งในไวยากรณ์ บาลีและสันสกฤต ประกอบด้วย ธาตุ วิภัตติ กาล บท พจน์ บุรุษ วาจก ปัจจัยเพื่อเป็นเครื่องหมายบอกเนื้อความให้ชัดเจน เช่น กโรติ = ย่อมกระทำ ประกอบด้วย กรฺธาตุ ติวิภัตติ ปัจจุบันกาล ปรัสสบท เอกพจน์ ปฐมบุรุษ กัตตุวาจก โอปัจจัย. (ป., ส.).
  20. กระผม : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  21. กระหม่อม : น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุด ลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมี เนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้น เนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คําสําหรับใช้ควบ กับคําที่ขึ้นต้น ว่า ``เกล้า'' เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชาย ใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).
  22. กลาง : [กฺลาง] น. ส่วนที่ไม่ค่อนไปข้างใดข้างหนึ่ง, โดยปริยายหมายความว่า ในที่หรือเวลาระหว่าง เช่น กลางฝน; ที่รวม, ที่รวมกิจการงานที่มีสาขาย่อยออกไป, เช่น สํานักงานกลาง ไปรษณีย์กลาง.
  23. กัน ๑ : (ปาก) ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้เสมอกันหรือผู้น้อย ในทํานองกันเอง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  24. กามโรค : น. โรคซึ่งติดต่อกันได้โดยการประกอบกามกิจหรือติดต่อกัน โดยใช้สิ่งของร่วมกับคนเป็นกามโรคเป็นต้น, เรียกเป็นสามัญว่า โรคบุรุษ หรือ โรคผู้หญิง.
  25. กู : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด ในปัจจุบันมักถือกันว่าไม่สุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  26. เกล้ากระผม : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่ด้วยความเคารพมาก หรือกับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์, พูดสั้น ๆ ว่า เกล้า หรือเขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  27. เกล้ากระหม่อม : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลพระอนุวงศ์ ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม และสมเด็จพระสังฆราช, ถ้าผู้พูดเป็นเพศหญิงใช้ว่า เกล้ากระหม่อมฉัน, เขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  28. แก ๒ : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วยซึ่งเป็นผู้ที่สนิทสนม หรือผู้น้อย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒; (ปาก) คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  29. ขยม : [ขะหฺยม] น. ขยุม, ข้า, บ่าว. (โบ) ส. ขยุม, ฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษ ที่ ๑. (ข. ขฺญุํ).
  30. ขยุม ๑ : [ขะหฺยุม] น. ขยม, ข้า, บ่าว. (โบ) ส. ขยม, ฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  31. ข้อย : (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. น. ข้า, บ่าว, เช่น เมื่อให้สูสองราชเป็นข้อยขาดแก่พราหมณ์. (ม. คําหลวง กุมาร).
  32. ข้า ๒ : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด พูดกับผู้ที่เสมอกันอย่างเป็นกันเองหรือผู้ใหญ่ พูดกับผู้น้อย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  33. ขา ๔ : (โบ) ส. เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ แทนคำว่า เขาสองคน เช่น สองขาพ่อลูก หมายถึง เขาสองคนพ่อลูก.
  34. ข้าเจ้า : (ถิ่น-พายัพ) ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  35. ข้าน้อย : (ถิ่น-อีสาน) ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  36. ข้าพเจ้า : [ข้าพะเจ้า] ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด มักใช้อย่างเป็นทางการ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  37. ข้าพระพุทธเจ้า : [ข้าพฺระพุดทะเจ้า] ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด กราบบังคม ทูลพระเจ้าแผ่นดินหรือกราบทูลเจ้านายชั้นสูง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  38. เขือ ๓ : (กลอน) ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่. (ลอ).
  39. คชราช : [คดชะราด] น. คุดทะราด เช่น ประชวรพระโรคสําหรับบุรุษกลายเป็น พระโรคคชราช. (พงศ. เลขา).
  40. คุณ ๑, คุณ- : [คุน, คุนนะ-] น. ความดีที่มีประจําอยู่ในสิ่งนั้น ๆ; ความเกื้อกูล เช่น รู้คุณ. (ป., ส.); คําที่ใช้เรียกนําหน้าบุคคลเพื่อแสดงความยกย่อง เช่น คุณพ่อ คุณแม่ คุณสมร; คํานําหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้น ทุติยจุลจอมเกล้า, คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้า วิเศษขึ้นไป; (ไว) คําแต่งชื่อ. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคําสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, (ปาก) คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, เช่น คุณอยู่ไหม ช่วยไปเรียนว่ามีคนมาหา.
  41. จาร- ๒ : [จาระ-] น. ผู้สอดแนม, ใช้ประกอบหน้าคําอื่นในคำว่า จารกรรม จารชน จารบุรุษ จารสตรี. (ป., ส.).
  42. เจ้า ๒ : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย สําหรับผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อยอย่างสุภาพหรือ เอ็นดู, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น เจ้ามานี่, คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, มักใช้เข้าคู่กับคํา นั่น เป็น เจ้านั่น เช่น เจ้านั่น จะไปด้วยหรือเปล่า.
  43. เจ้าประคุณ : น. (โบ) คำเรียกผู้ที่นับถือ และท่านที่เป็นเจ้าบุญนายคุณ. ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้ เต็มว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. (เพี้ยนมา จาก เจ้าพระคุณ).
  44. เจ้าพระคุณ : ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้เต็มว่า ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้ว่า เจ้าประคุณ ก็มี.
  45. เจ้าหล่อน : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, คํา ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, บางทีผู้ใหญ่ใช้แก่ผู้น้อย ในบุรุษที่ ๓.
  46. ฉัน ๑ : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด พูดกับผู้ที่เสมอกันหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย, เป็น สรรพนามบุรุษที่ ๑.
  47. ฉาน ๒ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ส. ฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  48. เชษฐ- ๑ : [เชดถะ] น. พี่ผู้เป็นใหญ่ เช่น เชษฐบุรุษ. (ป. เชฏฺฐ; ส. เชฺยษฺฐ). ว. ''เจริญที่สุด''. (ส.; ป. เชฏฺฐ), (ราชา) ถ้า ใช้ว่า พระเชษฐภคินี หมายถึง พี่สาว, ถ้าใช้ว่า พระเชษฐภาดา undefined หมายถึง พี่ชาย, ถ้าใช้ว่า พระเชษฐา หมายถึง พี่ชาย.
  49. ดวงตราไปรษณียากร : น. ดวงตราที่ใช้ปิดเป็นค่าธรรมเนียมที่ต้องเสีย สำหรับส่งจดหมายหรือไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์ทางไปรษณีย์.
  50. ดิฉัน : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศหญิง เป็นคําสุภาพ, ดีฉัน ก็ว่า, ตามแบบผู้ชาย ใช้ว่า ดีฉัน ผู้หญิงใช้ว่า อีฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  51. [1-50] | 51-100

(0.1282 sec)