บูด : ว. มีรสเปรี้ยวและมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวแสดงว่าเสีย (ใช้แก่อาหาร) เช่น ข้าวบูด แกงบูด; ทําหน้าแสดงอาการไม่พอใจ เรียกว่า ทํา หน้าบูด.
บูดบึ้ง : ว. ทําหน้าบึ้งแสดงอาการไม่พอใจ.
บูดเบี้ยว : ว. ทําหน้านิ่วแสดงอาการเจ็บปวดหรือไม่พอใจ.
หน้าบูด : ว. มีสีหน้าแสดงอาการเบื่อหน่ายหรือไม่พอใจ เช่น เขาทำหน้าบูด เพราะเจอเรื่องที่ไม่สบอารมณ์, หน้าบูดหน้าเบี้ยว หรือ หน้าเบี้ยวหน้าบูด ก็ว่า.
บึ้งบูด : ว. อาการที่หน้าเง้าแสดงอาการไม่พอใจ.
เบี้ยว ๑ : ว. มีรูปบิดเบ้ไปจากเดิมซึ่งมักจะมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น หัวเบี้ยว ปากเบี้ยว. เบี้ยว ๆ บูด ๆ ว. บิด ๆ เบ้ ๆ.
กระไอ ๑ : น. กลิ่น (ใช้เฉพาะกลิ่นของสิ่งที่จวนจะบูด) เช่น แกงมีกระไอจวนจะบูดแล้ว, สะไอ ก็ว่า. ว. มีกลิ่นเหม็นแสดงว่าจวนจะบูด เช่น ข้าวเหม็นกระไอ, สะไอ ก็ว่า.
ขมึงทึง : [ขะหฺมึงทึง] ว. ลักษณะหน้าตาที่บูดบึ้ง ไม่ยิ้มแย้ม, หน้าตา น่ากลัว, ถมึงทึง ก็ว่า.
ถมึงทึง : [ถะหฺมึง] ว. ลักษณะหน้าตาที่บูดบึ้งไม่ยิ้มแย้ม, หน้าตาน่ากลัว, ขมึงทึง ก็ว่า.
บด ๑ : ก. ทําให้เปลือกแตก เช่น บดข้าวเปลือก, ทําให้แหลก เช่น บดข้าวสุก, ทําให้เป็นผง เช่น บดยานัตถุ์, ทําให้เรียบและแน่น เช่น บดถนน.
บด ๒ : น. ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่งรูปเพรียว หัวท้ายเรียว, ถ้าใช้กรรเชียงมักท้ายตัด อย่างเรือบดทหารเรือ.
ปูด ๒ : ว. นูนเบ่งขึ้นมาในลักษณะอย่างดินปูด หน้าปูด; เสียงดังเช่นนั้น.
ปูติ : (แบบ) ว. บูด, เน่า. (ป.).
เปรี้ยว : [เปฺรี้ยว] ว. มีรสอย่างหนึ่งอย่างรสมะนาวเป็นต้น, มีกลิ่นหรือรส ออย่างาหารบูดหรืออาหารเสีย; (ปาก) มีลักษณะปราดเปรียว ทันสมัย อิสระ มั่นใจ ชอบการคบหาสมาคม (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น ผู้หญิงคนนี้เปรี้ยว, เรียกลักษณะการแต่งกายของผู้หญิงที่แต่งตัว สีฉูดฉาด รัดรูป เป็นต้นว่า แต่งตัวเปรี้ยว.
ฟองฟอด : ว. ลักษณะที่มีฟองมาก เช่น แกงบูดเป็นฟองฟอด ย่ำน้ำโคลนเป็นฟองฟอด.
โภชนะห้า : [โพชะนะห้า] น. ข้าว ๕ อย่าง คือ ข้าวสุก (ข้าวมัน หรือ ข้าวผัด ก็นับเข้า) ขนมสด (ขนมที่จะบูดเมื่อล่วงเวลาแล้ว เช่น แป้งจี่ ขนมด้วง ขนม ครก) ขนมแห้ง (ที่ไม่บูด เช่น จันอับ ขนมปัง) ปลา (รวมทั้งหอย กุ้ง และ สัตว์นํ้าเหล่าอื่นที่ใช้เป็นอาหาร) เนื้อ (เนื้อของสัตว์บกและนกที่ใช้เป็น อาหาร).
ยาง ๓ : น. ของเหลวและเหนียวไหลออกจากแผลต้นไม้หรือผลไม้บางอย่าง เช่น ยางสน ยางกล้วย ยางมะละกอ; เรียกสิ่งบางอย่างที่ทําจากยางพาราเป็นต้น เช่น ยางรถ ยางลบ, โดยปริยายเรียกของเหลวที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น แกงบูดเป็นยาง.
สะไอ : น. กลิ่น (ใช้เฉพาะกลิ่นของสิ่งที่จวนจะบูด) เช่น แกงมีสะไอจวนจะบูด แล้ว, กระไอ ก็ว่า. ว. มีกลิ่นเหม็นแสดงว่าจวนจะบูด เช่น ข้าวเหม็น สะไอ, กระไอ ก็ว่า.
หน้าขมึงทึง, หน้าถมึงทึง : น. หน้าตาที่บูดบึ้งไม่ยิ้มแย้ม, หน้าตาน่ากลัว.
เหม็นเปรี้ยว : ว. มีกลิ่นเหม็นคล้ายอาหารบูด.
โอ่ ๓ : ว. กลิ่นเหม็นอย่างกลิ่นอาหารที่ใกล้จะบูด.
ปูด ๑ : ดู กะปูด.
ปูด ๓ : (ปาก) ก. พูดหรือเผยความลับเพราะทนเก็บไว้ไม่ได้.
บดเอื้อง : ก. อาการที่สัตว์บางจำพวกเช่นวัวควายสํารอกอาหารออก มาเคี้ยวอีกให้ละเอียด, โดยปริยายหมายความว่า ทำอะไรช้า ๆ, เคี้ยวเอื้อง ก็ว่า.
ปูดกกส้มมอ :
(ถิ่น-อีสาน) น. โกฐพุงปลา. (ดู โกฐพุงปลา ที่ โกฐ).
บุษย-, บุษย์, บุษยะ, ปุษยะ, ปุสสะ : [บุดสะยะ-, บุด, บุดสะยะ, ปุดสะยะ, ปุดสะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๘ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปปุยฝ้าย พวงดอกไม้ ดอกบัว หรือ โลง, ดาว ปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอ สําเภา หรือ ดาวสิธยะ ก็เรียก. (ส. ปุษฺย; ป. ปุสฺส); แก้วสีขาว; บัว.
ปุษยะ, ปุสสะ, บุษย์, บุษยะ : [ปุดสะยะ, ปุดสะ, บุด, บุดสะยะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๘ มี ๕ ดวง เห็น เป็นรูปปุยฝ้าย พวงดอกไม้ ดอกบัว หรือโลง, ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสําเภา หรือ ดาวสิธยะ ก็เรียก. (ส. ปุษฺย; ป. ปุสฺส).
แม่หินบด : น. แท่งหินสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีร่องด้านข้างโดยรอบ สำหรับบดยา, คู่กับ ลูกหินบด.
รถบดถนน : น. รถสำหรับบดดินให้เรียบหรือบดถนนให้ราบ มีลูกกลิ้ง ขนาดใหญ่สำหรับบดอยู่ข้างหน้า และมีล้อเหล็กขนาดใหญ่ ๒ ล้ออยู่ ข้างหลัง.
รางบดยา : น. เครื่องบดยาไทยและยาจีนให้เป็นผง ทำด้วยโลหะรูปร่าง คล้ายรางระนาดแต่ก้นสอบ มีลูกบด.
ลูกหินบด : น. หินแท่งกลมยาวสําหรับบดยา, คู่กับ แม่หินบด.
ก้นปูด :
(ถิ่น-พายัพ) น. นกกะปูด. (ดู กะปูด).
กะปูดหลูด : ก. บวมไปทั้งตัว. (ปาเลกัว).
เรือบด : น. เรือต่อชนิดหนึ่งรูปร่างเพรียว หัวท้ายเรียว มี ๓ ขนาด คือ เล็ก กลาง ใหญ่ ใช้ได้ทั้งพายและกรรเชียง.
กระบถ : [-บด] (โบ; เพี้ยนมาจาก กบฏ) น. การประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ความทรยศ, ขบถ.
กะปูด : น. ชื่อนกในวงศ์ Centropodidae ขนปีกสีน้ำตาลแดง ลําตัวสีดํา ร้องเสียง ''ปูด ๆ'' เดินหรือวิ่งหากินตามพื้นป่าโปร่ง บินได้ ในระยะทางสั้น ๆ มี ๓ ชนิด คือ กะปูดใหญ่ (Centropus sinensis) กะปูดเล็ก (C. bengalensis) และกะปูดนิ้วสั้น (C. rectunguis), ปูด ก็เรียก, พายัพเรียก ก้นปูด.
โคบุตร : [-บุด] น. ชื่อช้างหมู่ ๑ ในอัฏฐคช ตระกูลวิษณุพงศ์ มีสีผิว เหลือง หางเหมือนหางโค งางอน เวลาร้องมีเสียงเหมือนเสียงโคป่า เช่น ลางคือโคบุตรพรายพรรณ ลางสารสำคัญ คือสีหชงฆาควร. (สมุทรโฆษ).
ดาบส : [-บด] น. ผู้บําเพ็ญตบะคือการเผากิเลส, ฤษี. (ป., ส. ตาปส), เพศหญิงใช้ว่า ดาบสินี. (ป. ตาปสินี), ในบทกลอนใช้ว่า ดาวบส ก็มี เช่น ไปแต่งองค์ทรง ไม้เท้าของดาวบส. (อภัย).
สเต๊ก : [สะ] น. ชื่ออาหารคาวชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตก ทำด้วยเนื้อสัน หรือปลาเป็นต้น หั่นชิ้นใหญ่ ๆ มักปรุงรส แล้วนำไปย่างหรือทอด กินกับมันฝรั่งทอด บด หรือต้ม และผักบางชนิด ใส่เครื่องปรุงรส ตามชอบ. (อ. steak).
บท ๑, บท- ๑ : [บด, บดทะ-] น. ข้อความเรื่องหนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่ง ๆ เช่น บทที่ ๑ บทที่ ๒; กําหนดคําประพันธ์ที่ลงความตอนหนึ่ง ๆ เช่น โคลง ๔ สุภาพ ๔ บาท เป็น ๑ บท; คําที่ตัวละครพูด เช่น บอกบท; คําประพันธ์ ที่เขียนขึ้นสําหรับเล่นละคร มีทั้งบทร้องและบทเจรจา เช่น บอกบท เขียนบท; คราว, ตอน, ในคําเช่น บทจะทําก็ทํากันใหญ่ บทจะไป ก็ไปเฉย ๆ บทจะตายก็ตายง่ายเหลือเกิน. (ป. ปท).
บทจร : [บดทะ-] (กลอน) ก. เดินไป. (ป.).
บทบงกช : [บดทะ-] (กลอน) น. บัวบาท, เท้า. (ส. ปทปงฺกช).
บทบงสุ์ : [บดทะ-] น. ละอองเท้า. (ป.).
บทบาท : [บดบาด] น. การทําท่าตามบท, การรําตามบท, โดยปริยาย หมายความว่า การทําตามหน้าที่ที่กําหนดไว้ เช่น บทบาทของพ่อแม่ บทบาทของครู.
บทบูรณ์ : [บดทะ-] น. คําที่ทําให้บทประพันธ์ครบพยางค์ตาม ฉันทลักษณ์ ไม่สู้มีความหมายอะไร เช่น แต่งอเนกนุประการ คํา ''นุ'' เป็นบทบูรณ์. (ป. ปทปูรณ).
บทภาชน์ : [บดทะ-] น. บทไขความ. (ป.).
บทภาชนีย์ : [บดทะ-] น. บทที่ตั้งไว้เพื่อไขความ, บทที่ต้องอธิบาย. (ป.).
บทมาลย์ : [บดทะ-] (แบบ) น. เท้าผู้มีบุญ เช่นกษัตริย์.
บทรัช : [บดทะ-] (แบบ) น. ละอองเท้า เช่น นางโรยนางรื่นล้าง บทรัช. (ลอ).
บทเรศ : [บดทะ-] (กลอน) น. เท้า เช่น กราบบทเรศราชบิดา ท่านแล. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์).