บูร : [บูน] น. บุระ.
บูรพาษาฒ : น. เดือน ๘ แรก. (ส. ปูรฺวาษาฒ).
บูรพ์, บูรพะ : [บูน, บูระพะ] ว. บุพ.
นารีบูร : (แบบ) น. เกสรเพศเมีย. (ส.).
บูรณ-, บูรณ์ : [บูระนะ-, บูน] ว. เต็ม. (ป., ส. ปูรณ).
บุรพาจารย์, บูรพาจารย์ : [บุระ-, บูระ-] น. อาจารย์ในเบื้องต้น คือ บิดามารดา.
กบูร : [กะบูน] (แบบ) ว. แต่ง, ประดับ, งาม, เช่น ก็ใช้สาวสนม อนนกบูร. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), คํานี้บางทีเขียนเป็น กระบูร กระบวร ขบูร ขบวร.
กรรบูร : [กันบูน] (แบบ) น. การบูร เช่น กฤษณากระวานการ- บูรกูรกระเหนียดกรร- บูรแกมกำคูนคันธ์ รสจวงกำจร มา. (สมุทรโฆษ).
บร- : [บอระ-] (แบบ; กลอน) น. ฝ่ายอื่น เช่น บรเทศ, ข้าศึก เช่น บรปักษ์. (ป., ส. ปร).
ปากนก : น. ชื่อดาวฤกษ์บูรพาษาฒ; ชื่อหินสําหรับใช้นกสับให้เป็น ประกาย.
ผลคุนีบูรพมาส : [บูระพะมาด] น. วันเพ็ญในนักษัตรอุตรผลคุนี. (ส. ผาลคุนี + ปูรฺว + มาส).
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ : [สมบูระนายาสิดทิราด] น. ระบอบการปกครองซึ่งพระมหากษัตริย์ มีอํานาจสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ. (อ. absolute monarchy).
บรรณาธิกร :
ดู บรรณ, บรรณ-.
บรรณาธิกร : [บันนา-] (โบ) ก. รวบรวมและจัดเลือกเฟ้นเรื่องลงพิมพ์.
บรรพตกีลา : (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. ปรฺวต + กีลา).
กุสุมวิจิตร : น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๔ คณะ คือ น คณะ ย คณะ น คณะ ย คณะ บาทละ ๑๒ คำ หรือ ๑๒ พยางค์ (ตามแบบว่า นยสหิตานฺยา กุสุมวิจิตฺตา) ตัวอย่างว่า จะรจิตรอรรถา ปิสุณวจีขวน พิปริตญาณยล บรชนทำลาย. (ชุมนุมตำรากลอน).
แขก ๓ : น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า แขก เช่น แขกสาหร่าย แขกบรเทศ แขกกุลิต.
คำคู่ความ : (กฎ) น. บรรดาคําฟ้อง คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่น ต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ.
ทวาบร : [ทะวาบอน] น. ด้านของลูกสกาที่มี ๒ แต้ม. (ส. ทฺวาบร).
นาง ๑ : น. คําประกอบหน้าคําเพื่อแสดงว่าเป็นเพศหญิง เช่น นางฟ้า นางบําเรอ นางละคร นางพระกํานัล; คําแทนชื่อหญิง เช่น นางก็ร้อยพวงมาลัย; (กฎ) คํานําหน้าชื่อหญิงผู้มีสามีแล้ว, คํานําหน้าชื่อภรรยาที่เรียกตามราช ทินนามของสามีที่มีบรรดาศักดิ์ตํ่ากว่าพระยาลงมา; คำเรียกสัตว์ตัวเมีย โดยสุภาพ เช่น นางช้าง นางม้า; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เรวดี มี ๑๖ ดวง, ดาวปลาตะเพียน ก็เรียก.
เนือง, เนือง ๆ : ว. เสมอ ๆ, บ่อย ๆ, เช่น แสนเสนางค์เนืองบร. (ตะเลงพ่าย), ไปมาหาสู่ อยู่เนือง ๆ.
บรรณาการ : [บันนากาน] น. สิ่งที่ส่งไปให้ด้วยความเคารพนับถือ หรือด้วยไมตรี. (ป. ปณฺณาการ; ส. ปรฺณาการ), ในบทประพันธ์ใช้ว่า บรรณา ก็มี.
บังคับเอก : น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์หรือ คําที่มีรูปวรรณยุกต์เอก และบรรดาคําตายทั้งสิ้นในโคลงและร่ายใช้ แทนเอกได้.
ประดิทิน : ว. ประจําวัน, ทุกวัน, เสมอไป, เช่น อนึ่งผู้อยู่ในราชการอัน บรรดาจําบําเรอประดิทิน. (กฎ. ราชบุรี).
เอ็มบริโอ : [บฺริ] น. ตัวอ่อนของสัตว์หรือต้นอ่อนของพืชที่ยังไม่เจริญเติบโต จนถึงขั้นที่มีอวัยวะครบบริบูรณ์. (อ. embryo).