Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: บ่า , then บ่, บา, บ่า, ป่า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : บ่า, 499 found, display 1-50
  1. บ่า : น. ส่วนของร่างกายระหว่างคอกับหัวไหล่, โดยปริยายหมายถึง อินทรธนูหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บ่าเสา บ่าเสื้อ.
  2. บ่า : ว. อาการที่นํ้าไหลล้นมาโดยเร็ว; อะไร, ทําไม.
  3. กระบุ่มกระบ่า : ว. บุ่ม ๆ บ่าม ๆ, ซุ่มซ่าม.
  4. เคียงบ่าเคียงไหล่ : ว. มีฐานะเสมอกัน ทัดเทียมกัน หรืออยู่ในระดับ เดียวกัน; ร่วมสุขร่วมทุกข์หรือร่วมเป็นร่วมตายด้วยกัน เช่น รบเคียงบ่าเคียงไหล่.
  5. เฉวียงบ่า : ว. เรียกการห่มผ้าปิดทางบ่าซ้ายเปิดบ่าขวาว่า ห่มเฉวียงบ่า.
  6. เทียมบ่าเทียมไหล่ : ว. เทียบเท่ากัน, เท่าเทียมกัน, เช่น เขาพยายาม สร้างฐานะจนเทียมบ่าเทียมไหล่กับญาติพี่น้อง, เทียมหน้าเทียมตา หรือ เสมอบ่าเสมอไหล่ ก็ว่า.
  7. ป่า : น. ที่ที่มีต้นไม้ต่าง ๆ ขึ้นมา, ถ้าเป็นต้นสัก เรียกว่า ป่าสัก, ถ้าเป็น ต้นรัง เรียกว่า ป่ารัง, ถ้ามีพรรณไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นอยู่มาก ก็เรียกตามพรรณไม้นั้นเช่น ป่าไผ่ ป่าคา ป่าหญ้า; (กฎ) ที่ดินที่ยัง มิได้มีบุคคลได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน; เรียกปลากัดหรือ ปลาเข็มที่เป็นพันธุ์เดิมตามธรรมชาติว่า ลูกป่า; (โบ) เรียกตําบล ที่มีของขายอย่างเดียวกันมาก ๆ เช่น ป่าถ่าน ป่าตะกั่ว. ว. ที่ได้มา จากป่าหรืออยู่ในป่า เช่น ของป่า ช้างป่า สัตว์ป่า คนป่า, ที่ห่างไกล ความเจริญ เช่น บ้านป่า เมืองป่า. ก. ตีดะไป ในคําว่า ตีป่า.
  8. ขวัญบ่า : ก. ขวัญไหลไปจากตัว
  9. คอตั้งบ่า : ว. อาการที่แหงนหน้าขึ้นสูง ๆ.
  10. ชมพูพาดบ่า : น. ท่ารําชนิดหนึ่งแห่งควาญช้าง รําเมื่อนําช้างบํารูงาเสร็จ ครั้งแรกแล้ว.
  11. บา : น. ครู, อาจารย์; ชายหนุ่ม.
  12. ไม่เหลือบ่ากว่าแรง : (สํา) ว. ไม่เกินความสามารถที่จะทําได้.
  13. รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม : (สํา) ก. เรียนรู้ไว้ไม่หนักเรี่ยวหนักแรงหรือ เสียหายอะไร.
  14. เหลือบ่ากว่าแรง : ว. เกินความสามารถที่จะทําได้, เกินกําลัง.
  15. แหงนคอตั้งบ่า : (สำ) ก. เงยเต็มที่.
  16. ท่วม : ก. ไหลหลาก บ่า หรือเอ่อท้นจนลบพื้นที่หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น นํ้าท่วมทุ่ง นํ้าท่วมบ้าน, กลบ เช่น ทรายท่วมเท้า, ซาบซึมไปทั่ว เช่น เหงื่อท่วมตัว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หนี้ท่วมตัว ความรู้ท่วมหัว.
  17. บาพก : [บา-พก] (แบบ) น. ไฟ, (โบ) ใช้ว่า บ่าพก ก็มี. (ป., ส. ปาวก).
  18. บ ๒, บ่ : [บอ, บ่อ] ว. ไม่, มักใช้ในหนังสือเก่าหรือกวีนิพนธ์ หรือบางท้องถิ่น, ในที่ใช้ บ เมื่อใช้ว่า บ่ ก็มีความเช่นเดียวกัน.
  19. อังสา : น. บ่า, ไหล่. (ป., ส. อํส).
  20. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  21. กันชีพ : น. สายห้อยใช้สะพายเฉวียงบ่า ๒ ข้าง หรือข้างเดียว.
  22. ขีด : ก. ใช้ของแหลมหรือมีดเป็นต้นทําให้เป็นเส้นหรือรอยยาว. น. แนวเส้น; ระดับ เช่น เกินขีด, ขีดขั้น ก็ว่า; ลักษณนามเรียกสิ่งที่เป็นเส้นหรือรอยยาว ปรากฏอยู่บนพื้นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น มีรอย ๓ ขีด; (ปาก) เรียกเครื่องหมาย แสดงระดับชั้นของข้าราชการพลเรือน เช่น ข้าราชการชั้นตรีที่บ่ามีขีดใหญ่ ๑ ขีด; เรียกน้ำหนัก ๑ ใน ๑๐ ของกิโลกรัมว่า ขีดหนึ่ง.
  23. เข้าปีก : ก. อาการที่เอาต้นแขนของคนเมาเป็นต้นขึ้นพาดบ่าพยุงไป.
  24. คอน : น. ไม้ที่ทําไว้ให้นกหรือไก่จับ. ว. หนักข้างหนึ่งเบาข้างหนึ่ง. ก. เอา สิ่งของห้อยที่ปลายไม้คานหรือปลายไม้เพียงข้างเดียวแล้วแบกบ่าพาไป; เหยียดแขนข้างหนึ่งแล้วเอามือจับปลายของที่หนักยกขึ้น.
  25. จะงอย : น. ปลายหรือที่สุดที่มีลักษณะโค้งหรืองุ้มลง เช่น จะงอยปากนกแก้ว จะงอยบ่า, ราชาศัพท์เรียก จะงอยบ่า ว่า พระอังสกุฏ.
  26. เชิงแป : น. แผ่นไม้ที่อยู่ใต้แปหัวเสาตกแต่งให้มีบ่าเพื่อใช้ รองรับกลอน.
  27. ดอง ๒ : น. วิธีห่มผ้าของภิกษุสามเณรอย่างหนึ่งโดยปิดบ่าซ้าย เปิดบ่าขวา เรียกว่า ห่มดอง.
  28. ตลกบาตร : [ตะหฺลก-] น. ถุงบาตรที่มีสายคล้องบ่า (สายโยก), ถลกบาตร ก็ว่า.
  29. ตวัด : [ตะหฺวัด] ก. วัดให้ม้วนเข้ามาโดยเร็ว เช่น ตวัดผ้าที่ห้อยอยู่ขึ้นบ่า ตวัด ชายกระเบน, โอบรัดเข้ามาโดยเร็ว เช่น ตวัดคอ, แกว่งไม้หรือเชือกให้ ปลายม้วนเข้ามา เช่น ตวัดแส้.
  30. ต่อตัว : ก. อาการที่คนหนึ่งขึ้นไปยืนบนบ่าของอีกคนหนึ่ง เช่น ต่อตัวปีนกำแพง. น. ชื่อการแสดงกายกรรมแบบหนึ่งที่ผู้แสดงคนหนึ่งหรือหลายคนขึ้นไปยืน เลี้ยงตัวบนตัวของผู้แสดงอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นหลักเป็นต้น.
  31. ตะพาย : ก. แขวนบ่า, ห้อยเฉียงบ่า, เช่น ตะพายย่าม, สะพาย ก็ว่า; เรียกกิริยาที่เอา เชือกร้อยช่องจมูกวัวควายที่เจาะว่า สนตะพาย, ใช้โดยปริยายแก่คนว่า ถูกสนตะพาย หรือ ยอมให้เขาสนตะพาย หมายความว่าถูกบังคับให้ยอม ทำตามด้วยความจำใจ ความหลง หรือความโง่เขลาเบาปัญญา; เรียกเชือก ที่ร้อยจมูกวัวควายว่า สายตะพาย. น. ช่องจมูกวัวควายที่เจาะสําหรับร้อย เชือก; เรียกลายที่เป็นทางแต่จมูกขึ้นไปทั้ง ๒ ข้างแห่งนกกระทา.
  32. ตะพายแล่ง : ว. ลักษณะที่ถูกฟันขาดเฉียงบ่า เรียกว่า ขาดตะพายแล่ง, สะพายแล่ง ก็ว่า.
  33. ถลกบาตร ๑ : [ถะหฺลกบาด] น. ถุงบาตรที่มีสายคล้องบ่า (สายโยก), ตลกบาตร ก็ว่า.
  34. เทียมหน้าเทียมตา : ว. เทียบเท่ากัน, เท่าเทียมกัน, เช่น เขาพยายาม สร้างฐานะนเทียมหน้าเทียมตากับญาติพี่น้อง, เทียมบ่าเทียมไหล่ หรือ เสมอบ่าเสมอไหล่ ก็ว่า.
  35. นาฟางลอย : น. นาที่ปลูกข้าวชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ''ข้าวขึ้นน้ำ'' เนื่องจาก มีรากยาวสามารถหนีน้ำที่บ่ามาท่วมได้รวดเร็ว สามารถแตกแขนงตามข้อ และที่ข้อจะมีรากงอกออกมาสำหรับดูดหาอาหาร นิยมปลูกในท้องที่ซึ่งมี ระดับน้ำสูงตั้งแต่ ๑-๔ เมตร,นาเมือง ก็เรียก.
  36. บง ๓ : ก. คล้อง, ห่ม, เช่น บงบ่าเฉวียง. (ม. คําหลวง จุลพน). (ข. บงกอ ว่า คล้องคอ).
  37. แบก : ก. ยกของที่มีนํ้าหนักขึ้นวางบนบ่า เช่น แบกของ แบกปืน, โดย ปริยายหมายความว่า รับภาระหนัก, มีความรับผิดชอบมาก, เช่น แบกภาระเข้าไว้มาก แบกงานไว้มาก.
  38. ประ ๒ : [ปฺระ] ก. ปะทะ เช่น ประหมัด, กระทบ, ระ, เช่น ผมประบ่า.
  39. ประทับ : ก. (ราชา) อยู่ที่, อยู่กับที่, เช่น ประทับที่พระตําหนักจิตรลดารโหฐาน, (ราชา) นั่ง เช่น ประทับบนพระราชอาสน์; แนบอยู่, แนบชิด, แนบลง, เช่น กอดประทับอก เอาปืนประทับบ่า.
  40. พับเขียง : ก. ห่มผ้าเฉียงบ่า.
  41. พาด : ก. ก่าย เช่น ขาพาดหมอนข้าง, ทอด เช่น พาดบันได พาดสะพาน, พิง เช่น เอาบันไดพาดไว้ที่กำแพง, วางทาบลง, วางทาบห้อยลง, เช่น ผ้าขาวม้าพาดบ่า พาดผ้าไว้ที่ราวพาดผ้าสังฆาฏิ.
  42. พาดควาย : ว. เรียกลักษณะการห่มผ้าของพระอย่างหนึ่ง คือเอาจีวร จีบเข้าแล้วพาดบ่าแล้วคาดรัดประคดอก ว่า ห่มพาดควาย.
  43. รางปืน : น. ไม้เนื้อแข็งที่ทำเป็นร่องสำหรับรองรับลำกล้องปืนประเภท ประทับบ่า เช่น ปืนนกสับ ปืนคาบศิลา หรือตัวปืนใหญ่ในสมัยโบราณ เป็นต้น.
  44. ลูกบวบ : น. ชื่อไม้ไผ่ที่มัดรวมกันกลม ๆ แล้วทําเป็นแพ เรียกว่า แพลูกบวบ; ชายจีวรภิกษุที่ม้วนให้กลมแล้วพาดบ่าหรือหนีบ รักแร้เมื่อเวลาครองผ้า เช่น พาดลูกบวบ หนีบลูกบวบ.
  45. วาง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นจากมือหรือบ่าเป็นต้นด้วยอาการกิริยา ต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เช่น วางข้าวของเรียงเป็นแถว วางกับดักหนู วางกระดานลงกับพื้น วางเสาพิงกับผนัง; กำหนด, ตั้ง, เช่น วางกฎ วางเงื่อนไข วางรากฐาน; จัดเข้าประจําที่ เช่น วางคน วางยาม, วางกำลัง; ปล่อยวาง เช่น วางอารมณ์ วางธุระ; (กลอน) อาการที่เคลื่อนไปโดยรีบร้อน เช่น ขี่ช้างวางวิ่ง.
  46. สไบเฉียง : น. วิธีห่มผ้าสไบให้เฉวียงบ่าข้างใดข้างหนึ่ง เรียกว่า ห่มสไบเฉียง.
  47. สะบัก : น. กระดูกส่วนที่เป็นฐานรองรับต้นแขน อยู่ถัดบ่าลงไปข้างหลัง ปลาย ด้านนอกเป็นที่หัวกระดูกต้นแขนเกาะยึด. (รูปภาพ สะบัก)
  48. สะพัก : น. ผ้าห่มเฉียงบ่า ราชาศัพท์ใช้ว่า ผ้าทรงสะพัก. ก. ห่มผ้า, ห่มคลุม, เช่น สะพักพระถันปทุเมศ. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
  49. สะพาย : น. แขวนบ่า, ห้อยเฉียงบ่า, เช่น สะพายย่าม สะพายกระเป๋า, ตะพาย ก็ว่า.
  50. สะพายเฉียง : ก. ห่มเฉียงบ่า.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-499

(0.0633 sec)