Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: บ้อ , then บอ, บ้อ, ป้อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : บ้อ, 135 found, display 1-50
  1. บ้อ, บ้อหุ้น : น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง โดยเขียนตารางสี่เหลี่ยมหรือวงกลมลง บนพื้น มีผู้เล่น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายออกสตางค์ฝ่ายละ ๒-๓ อัน ''เอา มารวมกัน ฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้โยนสตางค์ทั้งหมดลงในตารางหรือ วงกลมนั้นให้กระจาย อีกฝ่ายหนึ่งจะชี้สตางค์อันใดอันหนึ่งให้ ฝ่ายโยน ฝ่ายโยนจะต้องใช้สตางค์อีกอันหนึ่ง เรียกว่า ''อีตัว'' โยน ลงให้ประกบสตางค์อันที่เขาชี้ให้ ถ้าโยนลงไปประกบได้ ก็เป็น ฝ่ายชนะ ได้สตางค์ทั้งหมด ถ้าโยนถูกสตางค์อันอื่น ก็เป็นฝ่ายแพ้ ต้องเสียสตางค์ทั้งหมดให้ฝ่ายชี้ แต่ถ้าฝ่ายโยนไม่มั่นใจว่าจะโยน อีตัวไปประกบได้ ก็อาจโยนอีตัวลงไปในที่ว่าง เรียกว่า ''อู้ไว้'' หมายความว่า กินไม่ได้ แล้วอีกฝ่ายหนึ่งก็จะเป็นผู้โยนบ้าง ฝ่ายที่ โยนก่อนก็เปลี่ยนมาเป็นผู้ชี้บ้าง.
  2. บ้อหุ้น : น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง. (ดู บ้อ, บ้อหุ้น).
  3. ป้อ : ว. อาการของไก่ที่คึกกรีดปีกไปมา, มีอาการกรีดกราย หยิบหย่ง; อ่อน เช่น ไข่ป้อ; ป๋อ.
  4. บอ : ว. เกือบบ้า, ใกล้จะเป็นบ้า, ครึ่งบ้าครึ่งดี.
  5. อู้ ๒ : ก. ถ่วง, แกล้งทําให้เสร็จช้าลง, เช่น อู้งาน, รอเวลาไว้เพื่อหวังเอา ประโยชน์ ในความว่า อู้ไว้กินบ้อ (ในการเล่นบ้อหุ้น).
  6. บอระเพ็ด : น. ชื่อไม้เถาชนิด Tinospora crispa (L.) Hook.f. et Thomson ในวงศ์ Menispermaceae เถาเป็นตุ่ม รสขม ใช้ทํายาได้.
  7. บอระมาน : (โบ) น. กาว, แป้งเปียก.
  8. บ่อ : น. ช่องลึกลงไปในดินหรือในหินใช้เป็นที่ขังนํ้าขังปลาเป็นต้น หรือ เป็นแหล่งที่เกิดของสิ่งบางอย่าง เช่น บ่อเกลือ บ่อถ่านหิน บ่อแร่.
  9. เบื่อ ๑ : ก. วางยาพิษเป็นต้นให้เมาหรือให้ตาย เช่น เบื่อหนู เบื่อปลา. ว. เมา. น. เรียกสารที่ทําให้เมาหรือให้ตายว่า ยาเบื่อ.
  10. เบื่อ ๒ : ก. รู้สึกอิดหนาระอาใจ เหนื่อยหน่าย หรือไม่อยาก เช่น เบื่องาน เบื่อโลก เบื่ออาหาร.
  11. ป้ำป้อ : ว. มีรูปร่างเทอะทะ.
  12. บโทน : [บอ-] น. ผู้ติดหน้าตามหลัง, คนใช้.
  13. บราง : [บอ-] (โบ; กลอน) ก. ไม่, ไม่มี, เช่น บรางนาน บรางโทษ, ใช้ บร้าง ก็มี.
  14. บ๊อง, บ๊อง ๆ : (ปาก) ว. ไม่เต็มเต็ง, บ้า ๆ บอ ๆ.
  15. ไม่เต็มเต็ง, ไม่เต็มบาท : (ปาก) ว. บ้า ๆ บอ ๆ สติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ไปทาง บ้า ๆ บอ ๆ, สองสลึงเฟื้อง หรือ สามสลึงเฟื้อง ก็ว่า.
  16. ไม่เต็มหุน : (ปาก) ว. มีสติไม่สมบูรณ์, บ้า ๆ บอ ๆ.
  17. สติไม่ดี : ว. บ้า ๆ บอ ๆ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น หมู่นี้สติไม่ดี ทำงาน ผิดพลาดบ่อย ๆ.
  18. สองสลึงเฟื้อง : (ปาก) ว. บ้า ๆ บอ ๆ, มีสติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ ไปทางบ้า ๆ บอ ๆ, สามสลึงเฟื้อง ไม่เต็มเต็ง หรือ ไม่เต็มบาท ก็ว่า.
  19. บ ๒, บ่ : [บอ, บ่อ] ว. ไม่, มักใช้ในหนังสือเก่าหรือกวีนิพนธ์ หรือบางท้องถิ่น, ในที่ใช้ บ เมื่อใช้ว่า บ่ ก็มีความเช่นเดียวกัน.
  20. บดินทร์ : [บอดิน] น. พระเจ้าแผ่นดิน. (ส. ปติ + อินฺทฺร).
  21. บดี : [บอดี] (แบบ) น. นาย, เจ้าของ, เจ้า, ผู้ครอง, ผู้บังคับบัญชา; ผัว. (ป., ส. ปติ), ในสันสกฤตมีเกณฑ์ว่าศัพท์นี้เมื่ออยู่เฉพาะหมายความ ว่า นาย หรือ ผัว, ถ้ามีศัพท์อื่นมาเข้าสมาสเป็นคําท้ายด้วยหมายความ แต่ผัว เช่น บดีพรต, ในบทกลอนใช้ว่า บดิ ก็มี เพื่อเข้าบังคับลหุ.
  22. บดีศร : [บอดีสอน] (กลอน) น. นายผู้เป็นใหญ่.
  23. บพิตร : [บอพิด] (แบบ) น. พระองค์ท่าน เช่น บํารุงฤทัยตระโบม บพิตรผู้ อย่าดูเบา, โดยมากเป็นคําที่พระสงฆ์ใช้แก่เจ้านาย เช่น บรมวงศบพิตร.
  24. บพิธ : [บอพิด] ก. แต่ง, สร้าง. (ป. ป + วิ + ธา).
  25. บร- : [บอระ-] (แบบ; กลอน) น. ฝ่ายอื่น เช่น บรเทศ, ข้าศึก เช่น บรปักษ์. (ป., ส. ปร).
  26. บรมบพิตร : [บอรมมะบอพิด] น. คําที่พระสงฆ์ใช้สําหรับแทน พระนามพระเจ้าแผ่นดินหรือพระมเหสี, เดิมใช้ว่า มหาบพิตร.
  27. บรม, บรม- : [บอรมมะ-] ว. อย่างยิ่ง, ที่สุด, (มักใช้นําหน้าคําที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าแผ่นดิน และพระอัครมเหสี เป็นต้น เพื่อแสดงพระเกียรติยศ ยิ่งใหญ่) เช่น บรมศาสดา บรมบพิตร บรมราชินี บรมมหาราชวัง. (ป., ส. ปรม); (ปาก) อย่างที่สุด เช่น ขี้เกียจบรม บรมขี้เกียจ.
  28. บรมัตถ์ : [บอระมัด] น. ปรมัตถ์, ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความอย่างสูง, ความจริง ที่สุด; ชื่อพระอภิธรรมปิฎก เรียกว่า บรมัตถ์, และยังใช้นําหน้าศัพท์ เช่น บรมัตถบารมี บรมัตถประโยชน์. (ป. ปรมตฺถ).
  29. บริกรม : [บอริกฺรม] (แบบ) ก. เดินไป, ผ่านไป, พ้นไป, จากไป. (ส. ปริกฺรม).
  30. บริกรรม : [บอริกํา] ก. สํารวมใจสวดมนต์ภาวนา, สํารวมใจร่ายมนตร์หรือเสก คาถาซํ้า ๆ หลายคาบหลายหนเพื่อให้เกิดความขลังความศักดิ์สิทธิ์. (ส. ปริกรฺมนฺ; ป. ปริกมฺม).
  31. บริกัป : [บอริกับ] (แบบ) น. ความตรึก, ความดําริ, การกําหนด. (ป. ปริกปฺป; ส. ปริกลฺป).
  32. บริการ : [บอริกาน] ก. ปฏิบัติรับใช้, ให้ความสะดวกต่าง ๆ, เช่น ร้านนี้บริการ ลูกค้าดี. น. การปฏิบัติรับใช้, การให้ความสะดวกต่าง ๆ, เช่น ให้ บริการ ใช้บริการ.
  33. บริขา : [บอริ-] (แบบ) น. คู, สนามเพลาะ. (ป. ปริขา).
  34. บริขาร : [บอริขาน] น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอก กรองนํ้า (ธมกรก) เรียกว่า อัฐบริขาร, สมณบริขาร ก็เรียก. (ป. ปริกฺขาร).
  35. บริคณห์ : [บอริคน] (แบบ) น. เรือน; คําที่แน่นอน, สิ่งที่ถูกต้องแล้ว; ความ กําหนดถือเอา, ความยึดถือ, การจับ. ก. นับคะเน, ประมวล. (ป. ปริคฺคหณ).
  36. บริจาค : [บอริจาก] ก. สละให้, เสียสละ. น. การสละ, การให้, การแจก, ความ เสียสละ, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป. ปริจฺจาค).
  37. บริจารก : [บอริจารก] น. คนใช้, คนบําเรอ. (ป., ส. ปริจารก).
  38. บริจาริกา : [บอริ-] น. หญิงรับใช้, ประกอบกับคํา บาท เป็น บาทบริจาริกา แปลว่า เมีย, ที่ตัดใช้ว่า บริจา ก็มี เช่น บาทบริจา ทารบริจา อรรคบริจา, หรือตัด ใช้ว่า บริจาริก ก็มี. (ป., ส. ปริจาริกา).
  39. บริเฉทกาล : [บอริเฉทะกาน, บอริเฉดทะกาน] น. เวลาที่มีกําหนดลง.
  40. บริเฉท, บริเฉท- : [บอริเฉด, บอริเฉทะ-, บอริเฉดทะ-] น. การกําหนด; ข้อความที่ รวบรวมเอามาจัดเป็นตอน ๆ, ข้อความที่กําหนดไว้เป็นหมวด ๆ. (ป. ปริจฺเฉท).
  41. บริชน : [บอริชน] (แบบ) น. คนผู้แวดล้อม, บริวาร. (ป., ส. ปริชน).
  42. บริณายก : [บอรินายก] (แบบ) น. ปริณายก, ผู้นําบริวาร, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่. (ส. ปริณายก; ป. ปรินายก).
  43. บริณายกรัตน์ : [บอรินายะกะ-] น. ขุนพลแก้ว, เป็นสมบัติ ประการ ๑ ในสมบัติ ๗ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ.
  44. บริบท : [บอริบด] (ไว) น. คําหรือข้อความแวดล้อมเพื่อช่วยให้เข้าใจความหมาย, ปริบท ก็ว่า.
  45. บริบวรณ์ : [บอริ-บวน] (โบ; กลอน) ก. บริบูรณ์.
  46. บริบาล : [บอริบาน] ก. ดูแลรักษา, ดูแลเลี้ยงดู, เช่น บริบาลทารก. น. ผู้รักษา, ผู้ดูแล, ผู้เลี้ยงดู. (ป., ส. ปริปาล).
  47. บริบูรณ์ : [บอริบูน] ก. ครบถ้วน, เต็มที่, เต็มเปี่ยม. (ส. ปริปูรฺณ; ป. ปริปุณฺณ).
  48. บริพนธ์ : [บอริพน] (แบบ) ก. ปริพนธ์, ผูก, แต่ง, ร้อยกรอง. (ป. ปริพนฺธ).
  49. บริพัตร : [บอริพัด] ก. หมุนเวียน, เปลี่ยนแปลง, เปลี่ยนไป, แปรไป; สืบสาย. (ส. ปริวรฺต; ป. ปริวตฺต).
  50. บริพันธ์ : [บอริพัน] ก. ผูก, แต่ง, ร้อยกรอง, ประพันธ์. (ป. ปริพนฺธ).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-135

(0.0760 sec)