Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: บ้านใกล้เรือนเคียง, เรือน, เคียง, ใกล้, บ้าน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : บ้านใกล้เรือนเคียง, 970 found, display 1-50
  1. เคียง : ว. ชิดกันโดยเรียงข้าง เช่น เดินเคียง นั่งเคียง, ใกล้กัน เช่น บ้านใกล้เรือนเคียง.
  2. ใกล้ : [ไกฺล้] ว. จวน, เกือบ, เคียง, ไม่ห่าง. ใกล้เกลือกินด่าง (สํา) ก. มองข้ามหรือไม่รู้ค่าของดี ที่อยู่ใกล้ตัวซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ตนกลับไปแสวงหา สิ่งอื่นที่ด้อยกว่า, อยู่ใกล้ผู้ใหญ่แต่กลับไม่ได้ดี.
  3. บ้าน : น. ที่อยู่ เช่น เลขบ้าน เจ้าบ้าน, สิ่งปลูกสร้างสําหรับเป็นที่อยู่อาศัย เช่น บ้านพักตากอากาศ บ้านเช่า, บริเวณที่เรือนตั้งอยู่ เช่น เขตบ้าน, หมู่บ้าน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน, ถิ่นที่มีมนุษย์อยู่ เช่น สร้างเป็นบ้านเป็น เมือง; (กฎ) โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างสําหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมีเจ้าบ้านครอบครอง และหมายความรวมถึงแพหรือเรือซึ่งจอด เป็นประจําและใช้เป็นที่อยู่ประจํา หรือสถานที่หรือยานพาหนะอื่น ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยประจําได้ด้วย. ว. ที่มีอยู่ตามบ้าน เช่น หนูบ้าน คู่กับ หนูนา หรือที่เลี้ยงไว้ เช่น หมูบ้าน คู่กับ หมูป่า.
  4. เรือน : น. สิ่งปลูกสร้างที่ยกพื้นและกั้นฝา มีหลังคาคลุม สําหรับเป็นที่อยู่, ที่อยู่; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อาศเลษา มี ๕ ดวง ดาวนกอยู่ในปล่อง หรือ ดาวอสิเลสะ ก็เรียก; ทรวดทรง เช่น เรือนผม, ที่รับเพชรพลอย เช่น เรือนแหวน; จํานวน เช่น เงินเรือนหมื่น ราคาเรือนแสน; ลักษณนาม ใช้เรียกนาฬิกา เช่น นาฬิกาเรือนหนึ่งนาฬิกา ๒ เรือน.
  5. เพื่อนบ้าน : น. ผู้มีบ้านเรือนอยู่ใกล้เคียงกัน.
  6. ไวพจน์ : น. คําที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง, คําพ้องความ ก็ว่า, (ป. เววจน); (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยา ศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คําที่ออกเสียง เหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล, ปัจจุบันเรียกว่า คําพ้องเสียง.
  7. บ้านเรือน : น. บ้านที่อยู่อาศัย.
  8. ผีบ้านไม่ดี ผีป่าก็พลอย, ผีเรือนไม่ดี ผีป่าก็พลอย : (สํา) น. คนในบ้านเป็นใจช่วยให้คนนอกบ้านเข้ามาทําความเสียหายได้.
  9. ชะชิด : ก. ชิด, สนิท, ใกล้, เคียง.
  10. เลียบเคียง, เลียบ ๆ เคียง : ก. หาทางใช้คำพูดหรือแสดงอาการ กรายเข้าไปใกล้ ๆ เพื่อหยั่งเชิงเขาดู เช่น เลียบ ๆ เคียง ๆ เพื่อจะ ขอยืมเงิน.
  11. โรงเรือน : (กฎ) น. ตึก บ้าน เรือน โรงหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่ง บุคคลอาจเข้าอยู่หรืออาจเข้าใช้สอยได้และหมายความรวมถึงแพด้วย.
  12. ระเบียง : น. พื้นเรือนที่ต่อออกไปทางด้านข้าง มีหลังคาคลุม; โรงแถวที่ล้อมรอบ อุโบสถหรือวิหาร, ถ้าเป็นอารามหลวง เรียกว่า พระระเบียง. ว. เรียง, เคียง, ราย.
  13. เวศม์ : น. บ้าน, เรือน, ที่อยู่. (ส.).
  14. ง่าม ๒ : น. ชื่อมดขนาดเล็กชนิด Phidologeton diversus ในวงศ์ Formicidae สีนํ้าตาลแก่จนเกือบดําตลอดตัว อยู่กันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ในฝูงจะพบ พวกที่ทําหน้าที่เฝ้ารังขนาดใหญ่กว่าตัวธรรมดา ๒-๓ เท่าปะปนอยู่ มีขากรรไกรหน้าเห็นเป็นง่ามใหญ่ อาศัยอยู่ตามพื้นดิน ใกล้บ้านเรือน เดินกันเป็นทาง ขนเศษอาหารหรืออาจพบในแปลงปลูกพืช.
  15. วอดวาย : ก. หมดไป, สิ้นไป, เช่น บ้านเรือนถูกไฟไหม้วอดวายแล้ว, วอด ก็ว่า; (วรรณ)ตาย เช่น ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย ไม่ใกล้กราย แกล้งเมินก็เกินไป. (นิ. ภูเขาทอง).
  16. สวนป่า : น. บริเวณที่ปลูกพรรณไม้ทดแทนป่าที่ถูกทำลาย มักเป็นไม้ ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ อาจปลูกไม้ชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ เพื่อใช้ไม้ทำเครื่องเรือน เยื่อกระดาษ หรืออนุรักษ์พรรณไม้ที่ใกล้จะ สูญพันธุ์ เป็นต้น เช่น สวนป่าสัก สวนป่าไม้ยาง. (อ. forest garden); สวนไม้ใบที่ปลูกไว้ในบริเวณบ้าน มักเป็นพรรณไม้ที่มีค่า เช่น เฟิน ว่าน.
  17. อาคาร : [คาน] น. เรือน, โรง, สิ่งที่ก่อสร้างขึ้นที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น; (กฎ) ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สํานักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และหมายความรวมถึงสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นตามที่กฎหมายกําหนด เช่น อัฒจันทร์ เขื่อน สะพาน อุโมงค์ ป้าย อู่เรือ. (ป., ส. อาคาร, อคาร).
  18. ไม่ใกล้ไม่ไกล : ว. ใกล้ เช่น บ้านฉันอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากที่นี่; กันเอง เช่น คนไม่ใกล้ไม่ไกล.
  19. เคหสถาน : [เคหะ-] น. บ้านเรือน; (กฎ) ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น เรือน โรง เรือ หรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัย และหมายความรวมถึงบริเวณ ของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย จะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม. (ส.).
  20. เหย้า : [เย่า] น. เรือน, บ้านเรือน, ครอบครัว, มักใช้เข้าคู่กับคํา เรือน เป็น เหย้าเรือน, เขียนเป็น หย้าว ก็มี.
  21. ข้างเคียง : ว. ที่อยู่ใกล้ ๆ, ที่สนิทชิดชอบกันมาก, เช่น คนข้างเคียง.
  22. ครัวเรือน : น. ครอบครัวที่อยู่ในบ้านเรือนเดียวกัน.
  23. แม่เจ้าเรือน : น. หญิงผู้ปกครองบ้านเรือน, แม่เรือน หรือ แม่เหย้าแม่เรือน ก็ว่า.
  24. แม่เรือน : น. หญิงผู้ปกครองบ้านเรือน, แม่เจ้าเรือน หรือ แม่เหย้าแม่เรือน ก็ว่า.
  25. แม่เหย้าแม่เรือน : น. หญิงผู้ปกครองบ้านเรือน, แม่เจ้าเรือน หรือ แม่เรือน ก็ว่า.
  26. หลังคาเรือน : น. เรือนหรืออาคารที่ถือเอาทะเบียนบ้านเป็นหลักในการนับ เช่น หมู่บ้านนี้มี ๓๐ หลังคาเรือน.
  27. เคียงบ่าเคียงไหล่ : ว. มีฐานะเสมอกัน ทัดเทียมกัน หรืออยู่ในระดับ เดียวกัน; ร่วมสุขร่วมทุกข์หรือร่วมเป็นร่วมตายด้วยกัน เช่น รบเคียงบ่าเคียงไหล่.
  28. บ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน : (สํา) น. สถานที่ตนเคยอยู่อาศัยมาก่อน. บ้านจัดสรร น. กลุ่มบ้านซึ่งรัฐหรือเอกชนเป็นผู้ลงทุนสร้างให้ก่อน โดยยอมให้ผู้ซื้อผ่อนชําระก็ได้.
  29. บ้านช่อง, บ้านช่องห้องหอ : น. บ้านที่อยู่อาศัย เช่น บ้านช่องรกรุงรัง.
  30. บ้านแตกสาแหรกขาด : (สํา) น. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครอบครัว หรือในบ้านเมืองอย่างร้ายแรงถึงทําให้ต้องกระจัดกระจายพลัด พรากกัน.
  31. บ้านนอก : น. เขตแดนที่พ้นจากเมืองหลวงออกไป, เขตที่อยู่นอก ตัวเมือง. ว. ที่อยู่ห่างไกลความเจริญ, บ้านนอกขอกนา หรือ บ้านนอกคอกนา ก็ว่า.
  32. บ้านนอกขอกนา : (สํา) น. เรียกคนที่เป็นชาวไร่ชาวนาอยู่นอกกรุง หรือเมืองหลวงว่า คนบ้านนอกขอกนา, บ้านนอก หรือ บ้านนอก คอกนา ก็ว่า.
  33. บ้านนอกคอกนา : (สำ) น. บ้านนอกขอกนา.
  34. บ้านพัก : น. บ้านที่ทางราชการหรือองค์การต่าง ๆ สร้างขึ้นให้เป็น ที่อยู่ชั่วคราวของเจ้าหน้าที่.
  35. บ้านเมืองมีขื่อมีแป : (สํา) น. บ้านเมืองหรือประเทศย่อมมีกฎหมาย คุ้มครอง เช่น ถ้าบ้านเมืองมีขื่อมีแป คงไม่ทํากับอ้ายแก่เช่นนี้ได้. (เสภาพญาราชวังสัน), มักใช้ในเชิงปฏิเสธว่า บ้านเมือง ไม่มีขื่อ ไม่มีแป.
  36. บ้านรับรอง : น. บ้านที่สร้างไว้สําหรับรับรองแขก.
  37. เรือนเครื่องผูก : น. เรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีผูกด้วยหวาย เป็นต้น, คู่กับ เรือนเครื่องสับ.
  38. เรือนเครื่องสับ : น. เรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีเข้าปากไม้, คู่กับ เรือนเครื่องผูก, เรือนฝากระดาน ก็เรียก.
  39. เรือนเบี้ย : น. เรียกทาสที่เป็นลูกของทาสนํ้าเงินว่า ทาสเรือนเบี้ย.
  40. เรือนฝากระดาน : น. เรือนเครื่องสับ.
  41. เรือนแฝด : น. เรือนทรงไทยซึ่งปลูกให้ตัวเรือน ๒ หลังมีชายคาเชื่อมต่อ กันทางด้านรี โดยมีขนาดกว้าง ยาว และสูงเท่ากัน และแต่ละหลังมีจั่ว และพื้นสูงเสมอกัน.
  42. เรือนแพ : น. เรือนที่เคยตั้งอยู่บนแพในน้ำแล้วยกขึ้นมาปลูกบนบก.
  43. เรือนหอ : น. เรือนซึ่งปลูกสำหรับให้คู่บ่าวสาวที่แต่งงานกันแล้วอยู่.
  44. บ้านเกิดเมืองนอน : น. ประเทศหรือถิ่นซึ่งเป็นที่เกิด.
  45. บ้านเมือง : น. ประเทศชาติ.
  46. เรือนจำ : น. ที่ขังนักโทษและผู้ต้องหา; (กฎ) ที่ซึ่งใช้ควบคุมกักขัง ผู้ต้องขังกับทั้งสิ่งที่ใช้ต่อเนื่องกัน และหมายความรวมตลอดถึงที่อื่น ใดซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้กําหนดและประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาวางอาณาเขตไว้โดยชัดเจน.
  47. เรือนตะเกียง : น. กระโจมไฟ. (ดู กระโจมไฟ ที่ กระโจม).
  48. เรือนธาตุ : น. ส่วนสําคัญของพระสถูปหรือพระปรางค์ที่บรรจุพระบรม สารีริกธาตุหรือพระธาตุไว้ภายใน, ครรภธาตุ หรือ ธาตุครรภ ก็ว่า.
  49. เรือนไฟ : น. กระจุกตะเกียงหรือโคม; ขนาดของไฟในตะเกียงหรือโคม; ครัวสำหรับหุงต้มอาหาร; โรงพิธีสำหรับบูชาไฟ; (โบ) ประภาคาร.
  50. เรือนยอด : น. อาคารที่มีหลังคาเป็นเครื่องยอดแบบต่าง ๆ เช่น แบบ มณฑป แบบยอดปรางค์ แบบยอดปราสาท แบบยอดมงกุฎ แบบยอด เจดีย์ (ใช้แก่อาคารที่ใช้ในกิจเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และศาสนา).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-970

(0.0585 sec)