ภายนอก : น. ข้างนอก.
บุคคลภายนอก : (กฎ) น. บุคคลที่มิได้เป็นคู่กรณีหรือคู่สัญญา แต่อาจมีสิทธิเกี่ยวข้อง, บุคคลที่สาม ก็เรียก.
พาหิรกะ, พาหิระ : [หิระกะ] ว. ภายนอก. (ป.).
พาเหียร : ว. ภายนอก. (ป. พาหิร).
อู่ลอย : น. อู่ซ่อมเรือชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายแพ เคลื่อนที่ได้ และ สามารถปรับระดับให้จมหรือลอยอยู่ในระดับลึกที่ต้องการ เมื่อนํา เรือเข้าอู่แล้วปรับระดับอู่ให้ลอยตัวยกเรือขึ้นพ้นนํ้าเพื่อซ่อมท้องเรือ ภายนอก.
กระดึง : น. เครื่องโลหะหรือเครื่องไม้มักมีรูปคล้ายกระดิ่ง มีลูกกระทบแขวนอยู่ภายในหรือห้อยกระหนาบอยู่ภายนอก มักใช้แขวนคอสัตว์เช่นวัวควาย เพื่อให้เกิดเสียงดัง, โปง ก็ว่า.
กระโปก ๑ : น. ส่วนหนึ่งของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของชายหรือสัตว์ตัวผู้.
กลาโหม : [กะลาโหมฺ] น. ชื่อกรมที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ในสมัยโบราณ มีสมุหพระกลาโหมเป็นประธาน; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่ เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจาก ภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ; การชุมนุมพลรบ.
ขนุน ๑ : [ขะหฺนุน] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Artocarpus heterophyllus Lam. ในวงศ์ Moraceae มีนํ้ายางขาว ผลกลมยาวราว ๒๐-๕๐ เซนติเมตร ภายนอกเป็นหนามถี่ ภายในมียวงสีเหลืองหรือ สีจําปา รสหวาน กินได้ แก่นสีเหลือง เรียกว่า กรัก ใช้ต้มเอานํ้าย้อมผ้า, พันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อนุ่มแต่ไม่เหลว เรียก ขนุนหนัง, พันธุ์ที่มียวง สีจําปา เนื้อนุ่ม เรียก ขนุนจําปาดะ, ส่วนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อเหลว เรียก ขนุนละมุด.
คลื่นใต้น้ำ ๒ : (สํา) น. เหตุการณ์ที่กรุ่นอยู่ภายใน แต่ภายนอกดูเสมือน สงบเรียบร้อย.
คำขอ : (กฎ) น. คําซึ่งคู่ความหรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียขอ ให้ศาลมีคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง; หนังสือที่ยื่นต่อทางราชการเพื่อ ขอให้ทําการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ผู้ยื่น.
ค้ำประกัน : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้คํ้าประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชําระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชําระหนี้นั้น.
เคเบิล : น. เส้นลวดโลหะขนาดใหญ่ แข็งและเหนียว ใช้ผูกยึดของขนาดใหญ่ เช่นเรือ สะพานแขวน; ตัวนําไฟฟ้าหลายเส้นที่นํามาประกอบกันเป็น สายใหญ่ ภายนอกอาจหุ้มด้วยฉนวนก็ได้ เช่น สายเคเบิลโทรศัพท์ สายเคเบิลไฟฟ้าแรงสูง. (อ. cable).
จิตวิสัย : [จิดตะ-] ว. ที่มีอยู่ในจิต, ที่เกี่ยวกับจิต; ที่จิตคิดขึ้นเองโดยไม่อาศัย วัตถุภายนอก, ตรงข้ามกับ วัตถุวิสัย; เรียกการสอบแบบที่ให้ผู้ตอบแสดง ความคิดเห็นด้วยว่า การสอบแบบจิตวิสัย, อัตนัย ก็ว่า. (อ. subjective).
ชาลา ๒ : น. ชานเรือน, พื้นภายนอกเรือน.
เดียรถีย์ : [-ระถี] น. นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนาในอินเดียสมัยพุทธกาล. (ส. ตีรฺถิย; ป. ติตฺถิย).
ถ่านไฟฉาย : น. เซลล์ไฟฟ้าชนิดปฐมภูมิ มีรูปทรงกระบอกขนาด เล็กภายในบรรจุผงคาร์บอน แมงกานีสไดออกไซด์ ซิงก์คลอไรด์ แอมโมเนียมคลอไรด์ ซึ่งผสมนํ้าให้มีลักษณะคล้ายแป้งเปียกหุ้ม อยู่รอบแท่งคาร์บอนซึ่งเป็นขั้วบวก ภายนอกหุ้มด้วยกระบอก สังกะสีซึ่งเป็นขั้วลบ ตอนปากของกระบอกสังกะสีมีครั่งหุ้มปิด ไว้ เหลือแต่หมวกโลหะที่ครอบแท่งคาร์บอนเท่านั้นที่โผล่พ้น พื้นครั่งขึ้นมา ใช้ใส่ในไฟฉาย วิทยุ เป็นต้น.
ทรานซิสเตอร์ : [ทฺราน-] น. อุปกรณ์ขนาดเล็กมาก ประกอบด้วยผลึกของสาร กึ่งตัวนํา มีขั้วไฟฟ้า ๓ ขั้วสําหรับต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าภายนอก ใช้สําหรับควบคุมและขยายกระแสไฟฟ้า คือกระแสไฟฟ้าที่ เคลื่อนที่ระหว่างขั้วไฟฟ้าคู่หนึ่งควบคุมกระแสไฟฟ้าที่ถูกขยาย ซึ่งเคลื่อนที่ระหว่างขั้วไฟฟ้าอีกคู่หนึ่ง โดยขั้วไฟฟ้า ๒ คู่นี้มี ขั้วหนึ่งเป็นขั้วร่วมกัน, ลักษณนามว่า ตัว. (อ. transistor).
ทหารผ่านศึก : (กฎ) น. ทหารหรือบุคคลซึ่งมีตําแหน่งหน้าที่ใน ราชการทหารหรือบุคคลซึ่งทําหน้าที่ทหารตามที่กระทรวง กลาโหมกําหนด และได้กระทําหน้าที่นั้นในการสงครามหรือ ในการรบไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรหรือในการ ปราบปรามการจลาจล; ทหารหรือบุคคลซึ่งทําการป้องกันหรือ ปราบปรามการกระทําอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความ ปลอดภัยแห่งราชอาณาจักรตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสํานัก นายกรัฐมนตรีกําหนด.
ทะเลภายใน : น. ทะเลประเภทที่อยู่เข้ามาภายในพื้นแผ่นดิน และ เกือบไม่มีทางติดต่อกับทะเลหรือมหาสมุทรภายนอก, ทะเลใน หรือทะเลหน้าใน ก็เรียก. (อ. inland sea).
เนื้อเยื่อประสาท : น. เนื้อเยื่อของระบบประสาท ทําหน้าที่ติดต่อประสาน งานระหว่างอวัยวะภายใน และระหว่างร่างกายกับสิ่งแวดล้อมภายนอก. (อ. nervous tissue).
บุคคลที่สาม : (กฎ) ดู บุคคลภายนอก.
เบียน : ก. รบกวน, ทําให้เดือดร้อน, มักใช้เข้าคู่กับคํา เบียด เป็น เบียดเบียน; (โหร) เปลี่ยนแปลง เช่น ดาวพระศุกร์ถูกราหูเบียน. น. เรียกสัตว์ หรือพืชที่อาศัยอยู่ภายนอกหรือภายในสัตว์หรือพืชอื่นโดยแย่งกิน อาหารว่า ตัวเบียน.
ใบปก : น. กระดาษหรือผ้าหรือหนังเป็นต้นที่หุ้มอยู่ภายนอกสมุด หรือหนังสือ, ปก ก็เรียก.
ปก ๑ : ก. แผ่ออกคลุมเบื้องบน เช่น ตะไคร้ใบปกดิน. น. กระดาษหรือผ้า หรือหนังเป็นต้นที่หุ้มอยู่ภายนอกสมุดหรือหนังสือเป็นต้น, ใบปก ก็เรียก; แผ่นผ้าที่ติดปากกระเป๋าเสื้อ, แผ่นผ้าที่ติดกับคอเสื้อพับตลบ ลงมาหรือแบะออกทั้ง ๒ ข้าง เช่น ปกเชิ้ต ปกเสื้อนอก.
ปรัตยัย : [ปฺรัดตะไย] (โบ; กลอน) น. ปัจจัย. (ส. ปฺรตฺยย; ป. ปจฺจย).
ปัตยัย : [ปัดตะไย] (กลอน) น. ปัจจัย. (ส. ปฺรตฺยย; ป. ปจฺจย).
เปลือก : [เปฺลือก] น. ส่วนที่หุ้มนอกของสิ่งต่าง ๆ เช่น ต้นไม้ ผลไม้ หรือสัตว์ บางอย่างมีหอยหรือฟองสัตว์เป็นต้น; (ปาก) โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พูดไม่หมดเปลือก คือ พูดไม่แจ่มแจ้ง งามแต่เปลือก คือ งามแต่ภายนอก.
โปง ๒ : (ถิ่น) น. เครื่องโลหะหรือเครื่องไม้มักมีรูปคล้ายกระดิ่ง มีลูก กระทบแขวนอยู่ภายในหรือห้อยกระหนาบอยู่ภายนอก มักใช้ แขวนคอสัตว์เช่นวัวควาย เพื่อให้เกิดเสียงดัง, กระดึง ก็ว่า.
ผัสสาหาร : น. อาหารคือผัสสะ หมายเอาการประจวบกันแห่ง อายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ เป็นปัจจัยแห่ง เจตสิกอันจะพึงเกิดโดยวิถีมีเวทนาเป็นต้น เป็นประการหนึ่ง ในอาหารทั้ง ๔ (อีก ๓ อย่าง คือ กวลิงการาหาร อาหารคือ คําข้าว ๑ มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา ๑ และ วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ ๑). (ป.).
ผิว ๒ : น. ส่วนที่มีลักษณะบาง ๆ เป็นพื้นหุ้มอยู่ภายนอกสุดของหนัง และเปลือกเป็นต้น.
ภาย : น. บริเวณ, สถานที่, เช่น ภายนอกกำแพง ภายในเมือง; ระยะเวลา เช่น ในภายหน้า จะแจ้งให้ทราบในภายหลัง.
มงโกรย : น. (๑) ชื่อปลาทะเลและนํ้ากร่อยชนิด Hilsa kelee ในวงศ์ Clupeidae ลําตัวป้อม แบนข้าง ปากเชิดขึ้น ไม่มีฟัน ท้องเป็นสันแหลม เกล็ดใน แนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคม เรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีจํานวน มากเรียงชิดกันและงอโค้งออกเสมอกันโดยตลอด ลําตัวสีเงิน หลัง สีนํ้าเงินคลํ้า แนวกลางและข้างตัวมีจุดสีดํา ๓-๘ จุดเรียงกัน ๑ แถว จุดแรกที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกเด่นชัดที่สุด ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, ขมงโกรย หรือ ลินโกรย ก็เรียก. (๒) ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Tenualosa thibaudeaui ในวงศ์ Clupeidae ซึ่งพบเฉพาะในแม่นํ้าโขง ลักษณะภายนอกคล้ายกับปลามงโกรย (๑) มาก แต่ลําตัวยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, หมากผาง ก็เรียก.
มหาหิงคุ์ : น. ยางของไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Ferula วงศ์ Umbelliferae มีกลิ่นร้อนฉุนและเหม็น นิยมใช้เป็นยาทาภายนอก เช่น ชนิด F. assafoetida L. และชนิด F. foetida (Bunge) Regel. (ป.; ส. หิงฺคุ).
โยคนิทรา : น. การเข้าฌานแล้วไม่รู้สึกถึงสิ่งภายนอก, อาการที่แสร้งทํา เช่นนั้น. (ส. โยคนิทฺรา).
ร้องสอด : (กฎ) ก. การที่บุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความยื่นคำร้องต่อศาล ด้วยความสมัครใจของตนเองขอเข้ามาเป็นคู่ความ หรือบุคคลที่ถูกหมาย เรียกให้เข้ามาในคดี.
แรง ๒ : (วิทยา) น. อิทธิพลภายนอกใด ๆ ที่เปลี่ยนแปลงหรือพยายามทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงสถานะอยู่นิ่งหรือสถานะการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุ ด้วยอัตราเร็วสม่ำเสมอในแนวเส้นตรง.
ลิ้น : น. อวัยวะที่อยู่ในปาก มีหน้าที่ ๑. กลั้วอาหารให้เข้ากันแล้วส่งลง ในลําคอ ๒. ช่วยในการออกเสียง ๓. ให้รู้รส, ลิ้นสัตว์บางจำพวก เช่นจำพวกที่มีขน ใช้ลิ้นเลียขนเลียแผลเพื่อทำความสะอาดได้; โดย ปริยายหมายถึงส่วนของสิ่งต่าง ๆ มักมีรูปแบน ยาวหรือกลม ที่อยู่ ภายใน ก็มี เช่น ลิ้นหีบ ลิ้นลุ้ง ที่อยู่ภายนอก ก็มี เช่น ลิ้นของปี่ ที่ เป็นชั้นอยู่ภายในยกถอดออกได้ ก็มี เช่น ลิ้นเชี่ยนหมาก ลิ้นกล่อง อาหาร; อุปกรณ์สําหรับปิดเปิดให้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นอากาศ นํ้า เป็นต้น หยุดการเคลื่อนที่ผ่าน หรือเคลื่อนที่ผ่านไปได้; การพูด, ถ้อยคำ, เช่น ไม่เชื่อลิ้นเจ้าแล้วนะแก้วตา.
ศัตรู : [สัดตฺรู] น. ข้าศึก, ปรปักษ์, เช่น ศัตรูจากภายนอกประเทศ เพลี้ย เป็นศัตรูพืช, ผู้จองเวร เช่น ๒ ตระกูลนี้เป็นศัตรูกันมาหลายชั่วคน แล้ว. (ส. ศตฺรุ; ป. ตฺตุ).
หนังสือราชการ : น. เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่ หนังสือที่มี ไปมาระหว่างส่วนราชการ หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่น ซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการ หนังสือที่หน่วยงานอื่นซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการหรือ ที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อ เป็นหลักฐาน และเอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ.
หน้าอก : น. ส่วนภายนอกของอก, นมของผู้หญิง, อก ก็ว่า.
หวานนอกขมใน : (สำ) ก. พูด ทำ หรือแสดงให้เห็นว่าดีแต่ภายนอก แต่ในใจกลับตรงข้าม.
อายตนะ : [ยะตะนะ] น. เครื่องรู้และสิ่งที่รู้ เช่น ตาเป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่รู้, ในพระพุทธศาสนาหมายถึง จักษุ โสต ฆาน ชิวหา กาย ใจ เรียกว่า อายตนะภายใน เป็นเครื่องติดต่อกับอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์. (ป., ส.).
อาลัว : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ใช้แป้งสาลีตั้งไฟกวนกับกะทิ และน้ำตาลทราย จนสุกหยอดเป็นก้อนเล็ก ๆ แล้วผึ่งแดดให้ภายนอกแห้ง แต่ภายใน ยังเยิ้มเหมือนนํ้ามันตานี.
อู่แห้ง : น. อู่ซ่อมเรือชนิดหนึ่ง เมื่อนําเรือเข้าอู่แล้ว สูบนํ้าภายในอู่ ออกให้หมด ทําให้สามารถซ่อมท้องเรือภายนอกได้.