Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปฏิบัตินิยม, ปฏิบัติ, นิยม , then นยม, นิยม, ปฏบตนยม, ปฏิบัติ, ปฏิบัตินิยม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปฏิบัตินิยม, 395 found, display 1-50
  1. ปฏิบัติ : ก. ดําเนินการไปตามระเบียบแบบแผน เช่น ปฏิบัติราชการ, กระทํา เพื่อให้เกิดความชํานาญ เช่น ภาคปฏิบัติ; กระทําตาม เช่น ปฏิบัติตาม สัญญา; ประพฤติ เช่น ปฏิบัติสมณธรรม ปฏิบัติต่อกัน; ปรนนิบัติ รับใช้ เช่น ปฏิบัติบิดามารดา ปฏิบัติครูบาอาจารย์. (ป. ปฏิปตฺติ).
  2. นิยม : (แบบ) น. การกําหนด. (ป., ส.). ก. ชมชอบ, ยอมรับนับถือ, ชื่นชมยินดี, ถ้าใช้ประกอบท้ายคําสมาสบางคํามีความหมายว่า ลัทธิ เช่น ชาตินิยม สังคมนิยม.
  3. สัญนิยม : [สันยะนิยม] น. การปฏิบัติหรือธรรมเนียมทั่วไปที่ใช้กันอยู่ในกลุ่ม สังคมในขณะนั้น เช่น การไหว้เป็นสัญนิยมอย่างหนึ่งของคนไทย การใช้ตะเกียบคีบอาหารเป็นสัญนิยมในการกินอาหารของคนจีน. (อ. convention).
  4. นิยมนิยาย : (ปาก) น. ความแน่นอน, ใช้ในความปฏิเสธว่า เอานิยมนิยาย ไม่ได้หมายความว่า หาความแน่นอนจริงจังอะไรไม่ได้.
  5. ปฏิบัติการ : ก. ทํางานตามหน้าที่. ว. ที่ทดลองเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ตามทฤษฎีหรือฝึกงานเพื่อให้เกิดความชํานาญเป็นต้น เช่น ห้อง ปฏิบัติการ.
  6. ปฏิบัติบูชา : น. การบูชาด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งสอน, คู่กับ อามิสบูชา ซึ่งเป็นการบูชาด้วยสิ่งของ.
  7. ปฏิบัติธรรม : ก. ประพฤติตามธรรม; เจริญภาวนา.
  8. กฎข้อบังคับ : (กฎ) น. บทบัญญัติที่เป็นชั้นข้อบังคับซึ่งกําหนดขึ้น ไว้เป็นระเบียบในการปฏิบัติหรือดําเนินการตามกฎหมาย, ปัจจุบันนิยมใช้ว่า ข้อบังคับ.
  9. ประเพณี : น. สิ่งที่นิยมถือประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาจนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียม หรือจารีตประเพณี. (ส. ปฺรเวณิ; ป. ปเวณิ).
  10. ประสบการณ์นิยม : [ปฺระสบกาน-] น. ลัทธิทางปรัชญาที่ถือว่า ประสบการณ์เป็นบ่อเกิดของความรู้ทุกอย่าง; การปฏิบัติที่เน้น ประสบการณ์; การแสวงหาความรู้โดยอาศัยการสังเกต การทดลอง และวิธีอุปนัย, ประจักษนิยม ก็ว่า. (อ. empiricism).
  11. ลัทธิ : น. คติความเชื่อถือ ความคิดเห็น และหลักการ ที่มีผู้นิยมนับถือและ ปฏิบัติตามสืบเนื่องกันมา เช่น ลัทธิสังคมนิยม ลัทธิชาตินิยม ลัทธิ ทุนนิยม. (ป. ลทฺธิ ว่า ความเห็น, ความได้).
  12. วิวาห, วิวาห์, วิวาหะ : [วิวาหะ] น. ''การพาออกไป'' หมายถึง การแต่งงานแบบหนึ่งที่ ฝ่ายชายจะต้องถูกนําไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง เรียกว่า วิวาหมงคล, เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยมปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายใต้, การแต่งงานตามประเพณีไทย ไม่ว่าฝ่ายหญิงจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายชาย หรือฝ่ายชายจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง หรือจะแยกไปอยู่ตามลําพัง ก็เรียกว่า วิวาหะ หรือ วิวาหมงคล ทั้งสิ้น. (ป., ส.).
  13. หัวรุนแรง : น. เรียกคนที่มีความคิดเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเอาจริงเอาจัง ว่า คนหัวรุนแรง. ว. ที่นิยมการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นการปฏิบัติ หรือ นโยบายเป็นต้น อย่างหักหาญโดยไม่ยอมประนีประนอมใด ๆ.
  14. หัวล้านนอกครู : (สำ) น. ผู้ที่ปฏิบัติผิดแผกไปจากคำสั่งสอนของ ครูบาอาจารย์หรือแบบแผนที่นิยมกันมา.
  15. อาวาห, อาวาหะ : [อาวาหะ] น. ''การพาหญิงมาอยู่บ้านของตน'' หมายถึง การ แต่งงานแบบหนึ่งที่ฝ่ายชายจะนําหญิงที่ตนแต่งงานด้วยมาอยู่ ที่บ้านของตน เรียกว่า อาวาหมงคล, เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยม ปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายเหนือ. (ป., ส.).
  16. คะแนนนิยม : น. ความนิยมที่แสดงออกว่ามีมากน้อยเพียงใด.
  17. ถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน : ว. ต่างฝ่ายต่างปฏิบัติดีต่อกันในเรื่องเดียวกัน หรือในทํานองเดียวกัน.
  18. บำเพ็ญ : ก. ทําให้เต็มบริบูรณ์, เพิ่มพูน, (มักใช้ในเรื่องเกี่ยวกับศาสนา) เช่น บําเพ็ญบุญ บําเพ็ญบารมี; ประพฤติ, ปฏิบัติ, เช่น บําเพ็ญตนให้เป็น ประโยชน์ บําเพ็ญพรต.
  19. ประพฤติ : [ปฺระพฺรึด] น. ความเป็นไปอันเกี่ยวด้วยการกระทําหรือปฏิบัติตน, การทําตาม, เหตุต้นเค้า. ก. ทําตาม, ปฏิบัติ, เช่น ประพฤติธรรม; กระทํา, ดําเนินตน, ปฏิบัติตน, เช่น ประพฤติดี ประพฤติชั่ว. (ส. ปฺรวฺฤตฺติ; ป. ปวุตฺติ).
  20. ประเพณีนิยม : น. ประเพณีของสังคมที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมา.
  21. เรียนปฏิบัติ : ก. ขอหารือต่อผู้ใหญ่ เช่น เรียนปฏิบัติมาเพื่อโปรดพิจารณา แนะนำ.
  22. วัตรปฏิบัติ : [วัดตฺระ] น. การปฏิบัติตามหน้าที่หรือตามศีล.
  23. ศิลปะปฏิบัติ : น. วิชาว่าด้วยการปฏิบัติทางศิลปะ เช่น วาดเขียน ปั้นดิน จักสาน เย็บปักถักร้อย.
  24. ค่านิยม : น. สิ่งที่บุคคลหรือสังคมยึดถือเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจ และ กำหนดการกระทำของตนเอง.
  25. จินตนิยม : น. (ปรัชญา) ขบวนการในประวัติศาสตร์ของปรัชญาและศิลปะ ที่เน้นการเป็นตัวของตัวเอง เป็นอิสระจากกฎเกณฑ์และระเบียบการที่ยึดถือ กันมา นักปรัชญาและศิลปินของขบวนการนี้ถือว่าอารมณ์ ความรู้สึกสำคัญ กว่าเหตุผล; (ศิลปะและวรรณคดี) คตินิยมในการสร้างสรรค์วรรณกรรม หรือศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตและโลกตามจินตนาการหรือมโนภาพ. (อ. romanticism).
  26. ธรรมนิยม : น. ความประพฤติที่มีธรรมเป็นที่ตั้ง.
  27. ธรรมานุธรรมปฏิบัติ : [ทํามา] น. การประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม, การประพฤติความดีสมควรแก่ฐานะ.
  28. ธรรมานุธรรมปฏิบัติ : ดู ธรรมธรรม, ธรรมะ.
  29. ประจักษนิยม : [ปฺระจักสะ-] น. ประสบการณ์นิยม.
  30. ภาคปฏิบัติ : น. ภาคลงมือทดลองทําจริง ๆ, คู่กับ ภาคทฤษฎี.
  31. กระชั้น : ว. ใกล้ชิด (เข้ามา) (ใช้แก่เวลาหรือเหตุการณ์) เช่น เวลากระชั้น เข้ามา ขี่ม้าขับกระชั้นมา, เร่งเข้า เช่น ไก่ขันกระชั้นเสียง, นิยม ใช้เข้าคู่กับคํา กระโชก เป็น กระโชกกระชั้น.
  32. มนตรี : น. ที่ปรึกษา, ผู้แนะนํา, ที่ปรึกษาราชการ, ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่, นิยม ใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น องคมนตรี รัฐมนตรี เทศมนตรี. (ส.; ป. มนฺตี).
  33. เคร่งครัด : [-คฺรัด] ก. เข้มงวด, กวดขัน, เช่น อย่าเคร่งครัดนักเลย; (กลอน) แน่น, ตึง, เช่น สองเต้าตูมเต่งเคร่งครัด ดอกไม้ทัดทั้ง ห่อผ้าห่มหวง. (ขุนช้างขุนแผน), ครัดเคร่ง ก็ว่า. ว. เข้มงวด, กวดขัน, เช่น รักษาระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด; ถูกต้องครบถ้วน เช่น ปฏิบัติ ตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด ข้อยกเว้นต้องตีความอย่างเคร่งครัด; ใช้ว่า ครัดเคร่ง ก็มี.
  34. ชิน ๑ : น. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยตะกั่วและดีบุก นิยม ใช้ทําพระเครื่อง; (โบ) ชิน หรือ ชินธาตุ หมายถึง ดีบุก. (ปรัดเล).
  35. ศาลากลางย่าน : น. อาคารทรงไทย คล้ายศาลาการเปรียญ นิยม สร้างไว้กลางหมู่บ้าน สำหรับให้คนในหมู่บ้านมาประชุม ทำบุญ หรือฟังธรรม เช่น ศาลากลางย่านที่ตำบลบ้านบุ, ศาลาโรงธรรม ก็เรียก.
  36. ศาลาสรง : [สง] (ถิ่นพายัพ, อีสาน) น. ศาลาขนาดย่อมมุงหลังคา และมีฝากั้นมิดชิด ใช้เป็นที่สรงนํ้าพระสงฆ์ที่เคารพนับถือ ปฏิบัติ กันในเทศกาลสงกรานต์โดยทํารางนํ้ารูปนาคพาดเข้าไปในศาลา เวลาสรงนํ้าพระให้เทนํ้าลงบนรางนั้น.
  37. เหน็บ ๑ : น. ชื่อมีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างปลายแหลม กลางป่อง โคนแคบ สัน ค่อนข้างหนา ด้ามทำเป็นกั่นสอดติดกับด้ามไม้หรือทำเป็นบ้องติดอยู่ ในตัวก็มี ปรกติสอดใบมีดไว้ในฝักซึ่งทำด้วยไม้หรือหวายสาน นิยม เหน็บเอวด้านหลังหรือด้านหน้าในเวลาออกนอกบ้าน ใช้ประโยชน์ได้ หลายอย่าง, อีเหน็บ ก็เรียก.
  38. กฎ : [กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปาก หลากคําไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชา ให้กฎเป็นตําราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), ''พระมหาธรรมราชาก็ตรัส ให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย.'' (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คําบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราช เจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทําตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พ.ศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกําหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกําหนดในเรื่องธรรมชาติ ตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).
  39. กฎธรรมดา : น. ข้อกําหนดระเบียบการปฏิบัติเนื่องจากธรรมดา วิสัยของมนุษย์และสังคม.
  40. กฎหมาย : (กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ใน การบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือ เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทําหนังสือ เป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทําหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกําหนดเก่า); ออกหมายกําหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหม กฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่วจะเอาตัวผู้กฎหมาย ลงโทษ. (พระราชกําหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้ง กรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดํารัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กําหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนา ใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).
  41. กฎหมายระหว่างประเทศ : (กฎ) น. หลักกฎหมายหรือหลักปฏิบัติ ที่ยอมรับกันว่าด้วยรัฐและความเกี่ยวพันระหว่างรัฐ รวมทั้งความ เกี่ยวพันระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศและประชาคม ระหว่างประเทศ, เดิมเรียกว่า กฎหมายนานาประเทศ. (อ. international law).
  42. กฎหมายเหตุ : น. จดหมายเหตุ. (พงศ. ประเสริฐ); (กฎ;โบ) กฎเกณฑ์การปฏิบัติที่ตราขึ้นหรือเนื่องจากประเพณีซึ่งมีค่าบังคับ.
  43. กติกา : [กะ-] น. กฎเกณฑ์หรือข้อตกลงที่บุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไปกําหนด ขึ้นเป็นหลักปฏิบัติ เช่น กติกาชกมวย กติกาฟุตบอล; (กฎ) หนังสือ สัญญา; ข้อตกลง. (ป.; อ. covenant).
  44. กบนา : น. ชื่อกบชนิด Rana tigerina ในวงศ์ Ranidae ตัวสีเขียว มีลาย สีเข้ม มักอาศัยในรูตามคันนา นิยมนำมาทำเป็นอาหาร.
  45. กบี่ : [กะ-] น. ลิง, นิยมเขียนเป็น กระบี่. (ป., ส. กปิ).
  46. กระจง : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องในวงศ์ Tragulidae ที่เล็กที่สุด รูปร่างคล้ายกวาง แต่ไม่มีเขา ตัวผู้มีเขี้ยวแหลมคมงอกออกมาซึ่งมีผู้นิยมใช้เป็นเครื่องราง มี ๒ ชนิด คือ กระจงควาย (Tragulus napu) สูงราว ๓๕ เซนติเมตร และกระจงเล็ก (T. javanicus) สูงราว ๒๕ เซนติเมตร, พายัพเรียก ไก้. (มลายู กันจิล).
  47. กระจาย : ก. ทําให้แพร่หรือแตกแยกออกจากกันไปในที่ต่าง ๆ, แพร่หรือ แตกแยกออกจากกันไปในที่ต่าง ๆ; แผ่ซ่าน, จางออก, นิยมใช้ เข้าคู่กับคํา กระจัด กระจุย เป็น กระจัดกระจาย กระจุยกระจาย. (แผลงมาจาก ขจาย).
  48. กระจุย : ว. กระจายออกยุ่งไม่เป็นระเบียบ, นิยมใช้เข้าคู่กับ กระจุก เป็น กระจุกกระจุย.
  49. กระเจิง : ว. เลยไป, หลงไป, แตกจากหมู่ไป, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระเจอะ กระเจิด เป็น กระเจอะกระเจิง กระเจิดกระเจิง.
  50. กระชาก : ก. ฉุดโดยแรง, กระตุกโดยแรง, ชักเข้ามาโดยเร็วและแรง, โดยปริยายหมายความว่า พูดกระตุกเสียงดังห้วน ๆ เช่น พูดกระชากเสียง, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระโชก เป็น กระโชกกระชาก.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-395

(0.1672 sec)