Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปรการ , then ปรการ, ประการ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปรการ, 77 found, display 1-50
  1. ประการ : น. อย่าง เช่น จะทําประการไร, ชนิด เช่น หลายประการ; ทํานอง, แบบ, เช่น ด้วยประการฉะนี้. (ส. ปฺรการ; ป. ปการ).
  2. ปการ : [ปะกาน] น. อย่าง, ชนิด. (ป.; ส. ปฺรการ).
  3. บัญญัติ ๑๐ ประการ. : ก. ตราหรือกําหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็น หลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น บัญญัติศัพท์ บัญญัติ กฎหมาย. (ป. ปญฺ?ตฺติ).
  4. จำห้าประการ : ว. มีเครื่องจองจําครบ ๕ อย่าง คือ ๑. ตรวนใส่เท้า ๒. เท้า ติดขื่อไม้ ๓. โซ่ล่ามคอ ๔. คาไม้ใส่คอทับโซ่ ๕. มือ ๒ ข้างสอดเข้าไป ในคาและไปติดกับขื่อทําด้วยไม้, เรียกสั้น ๆ ว่า จําครบ. (ประชุมพงศ. ๓๙).
  5. นานาประการ : ว. มีหลายอย่าง, นานัปการ ก็ว่า. (ส.).
  6. สถาน ๑ : [สะถาน] น. ที่ตั้ง เช่น สถานเสาวภา สถานพยาบาล สถานพักฟื้น สถานบริบาลทารก, ถ้าใช้ประกอบคำอื่นหมายถึง ที่, แหล่ง, เช่น โบราณสถาน ศาสนสถาน ฌาปนสถาน ปูชนียสถาน สังเวชนียสถาน; ประการ เช่น มีความผิดหลายสถาน. (ส.; ป. ?าน).
  7. กรรมฐาน : [กำมะถาน] น. ที่ตั้งแห่งการงาน หมายเอาอุบาย ทางใจ มี ๒ ประการ คือ สมถกรรมฐาน เป็นอุบายสงบใจ และ วิปัสสนา กรรมฐาน เป็นอุบายเรืองปัญญา. (ส.; ป. กมฺมฏฺ?าน).
  8. กษัยน้ำ : น. กษัยเนื่องจากเลือด น้ำเหลือง หรือ เสมหะเป็นพิษ ถ้ารวมทั้ง ๓ ประการ เรียกว่า กษัยเลือด.
  9. กามคุณ : น. สิ่งที่น่าปรารถนามี ๕ ประการ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส; ความปรารถนาในเมถุน. (ป., ส.).
  10. จตุทิพยคันธา : [-ทิบพะยะ-] น. กลิ่นทิพย์ ๔ ประการ คือ ดอกพิกุล ชะเอมเทศ มะกลํ่าเครือ ขิงแครง.
  11. จตุปาริสุทธิศีล : [จะตุปาริสุดทิสีน] น. ศีลคือความบริสุทธิ์ หรือ ศีลคือ เครื่องให้บริสุทธิ์ ๔ ประการ คือ ๑. สํารวมในพระปาติโมกข์ (ปาติโมกฺขสํวร) ๒. สํารวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อินฺทฺริยสํวร) ๓. เลี้ยงชีพโดยทางชอบ (อาชีวปาริสุทฺธิ) ๔. บริโภคปัจจัยด้วยการพิจารณา (ปจฺจยสนฺนิสฺสิต). (ป.).
  12. จตุรพิธพร : [-พิดทะพอน] น. พร ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ, ใช้ในการให้พรขอให้มีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขกายสุขใจ และมีกําลังแข็งแรง.
  13. จตุราริยสัจ : [จะตุราริยะสัด] น. อริยสัจ ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. (ป. จตุร + อริยสจฺจ).
  14. จาตุรงคสันนิบาต : น. การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันนั้น ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อมฆา) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป ประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมวันนั้นล้วน ได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, นับเป็นวันสําคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา, คําสามัญว่า มาฆบูชา. (ป., ส.).
  15. ฉันทศาสตร์ : [ฉันทะสาด] น. ตำราว่าด้วยการแต่งฉันท์ทั้งที่เป็นมาตราพฤติ และวรรณพฤติ เป็นศิลปศาสตร์อย่างหนึ่งในศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการ. (ส.).
  16. ฉัพพรรณรังสี : [ฉับพันนะ-] (แบบ) น. รัศมี ๖ ประการ คือ ๑. นีล เขียวเหมือนดอกอัญชัน ๒. ปีต เหลืองเหมือนหรดาลทอง ๓. โลหิต แดงเหมือนตะวันอ่อน ๔. โอทาต ขาวเหมือนแผ่นเงิน ๕. มัญเชฐ สีหงสบาทเหมือนดอกเซ่งหรือ หงอนไก่ ๖. ประภัสสร เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก. (ปฐมสมโพธิ). (ป. ฉพฺพณฺณรํสี).
  17. ช้างเนียม : (กฎ) น. ช้างที่มีลักษณะ ๓ ประการ คือ พื้น หนังดำงามีลักษณะดังรูปปลีกล้วย และเล็บดำ.
  18. ช้างสำคัญ : (กฎ) น. ช้างที่มีมงคลลักษณะ ๗ ประการ คือ ตาขาวเพดานปากขาว เล็บขาว ขนขาว พื้นหนังขาวหรือ สีคล้ายหม้อใหม่ ขนหางขาวและอัณฑโกศขาวหรือสี คล้ายหม้อใหม่.
  19. ทศพร : น. พร ๑๐ ประการ, ชื่อกัณฑ์ที่ ๑ ของมหาชาติ ว่าด้วยพร ๑๐ ประการ.
  20. ทศพล : น. ผู้มีกําลัง ๑๐ เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า. ทศพิธราชธรรม น. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็น หลักธรรมประจําพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน - การให้ ๒. ศีล - การรักษากายวาจา ให้เรียบร้อย ๓. บริจาค - ความเสียสละ ๔. อาชชวะ - ความซื่อตรง ๕. มัททวะ - ความอ่อนโยน ๖. ตบะ - การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ - ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา - ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ - ความ อดทน ๑๐. อวิโรธนะ - ความไม่คลาดจากธรรม.
  21. เทวทูต : น. ชื่อคติแห่งธรรมดา ๓ ประการ คือ ชรา พยาธิ มรณะ.
  22. นวอรหาทิคุณ, นวารหาทิคุณ : [นะวะอะระหาทิคุน, นะวาระหาทิคุน] น. คุณพระพุทธเจ้า ๙ ประการ มีบท อรหํ เป็นต้น. (พูดเลือนมาเป็น นวหรคุณ).
  23. นิวรณ์ : น. สิ่งห้ามกันจิตไว้มิให้บรรลุความดี มี ๕ ประการ คือ ความพอใจ รักใคร่ ๑ ความพยาบาท ๑ ความง่วงเหงาหาวนอน ๑ ความฟุ้งซ่าน รําคาญ ๑ ความลังเลใจ ๑. (ป.).
  24. บริณายกรัตน์ : [บอรินายะกะ-] น. ขุนพลแก้ว, เป็นสมบัติ ประการ ๑ ในสมบัติ ๗ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ.
  25. เบญจกัลยาณี : น. หญิงมีลักษณะงาม ๕ ประการ คือ ๑. ผมงาม ๒. เนื้องาม (คือ เหงือกและริมฝีปากแดงงาม) ๓. ฟันงาม ๔. ผิว งาม ๕. วัยงาม (คือ ดูงามทุกวัย). (ป. ปญฺจกลฺยาณี).
  26. เบญจธรรม : น. ธรรมะ ๕ ประการ คือ เมตตา ทาน ความสํารวม ในกาม สัจจะ สติ, คู่กับ เบญจศีล.
  27. ประกล : น. ประการ. ว. ต่าง.
  28. พล, พล : [พน, พนละ, พะละ] น. กําลัง, มักใช้ประกอบคําอื่น เช่น พระทศพล อันเป็นพระนามพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงมีพระญาณอันเป็น กำลัง ๑๐ ประการ มี ฐานาฐานญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและสิ่งที่มิใช่ ฐานะเป็นต้น; ทหาร เช่น กองพล ตรวจพล ยกพลขึ้นบก; สามัญ, ธรรมดา ๆ, พื้น ๆ, เช่น ของพล ๆ; ยศทหารและตํารวจสัญญาบัตร รองจากจอมพล (เดิมใช้ว่า นายพล). (ป., ส.).
  29. พุทธคุณ : น. คุณของพระพุทธเจ้าอย่างย่อที่สุด มี ๓ ประการ คือ พระบริสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ พระกรุณาคุณ. (ป.).
  30. โพธิปักขิยธรรม : น. ธรรมเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรม เกื้อกูลแก่ความตรัสรู้มี ๓๗ ประการ. (ป. โพธิปกฺขิยธมฺม).
  31. มงคลสูตร : [มงคนละสูด] น. ด้ายศักดิ์สิทธิ์ที่ล่ามจากหม้อนํ้ามนตร์; ชื่อพระสูตรที่สำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนาว่าด้วยมงคล ๓๘ ประการ.
  32. มาฆบูชา : น. การทําบุญพิเศษทางพระพุทธศาสนาในวันเพ็ญ เดือน ๓ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สําคัญซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์ เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปประชุมกัน โดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมนั้นล้วนได้รับ เอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, (วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก. ป. มาฆปูชา).
  33. ราชธรรม : น. จริยวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพึงประพฤติ, คุณธรรมของ ผู้ปกครองบ้านเมือง, มี ๑๐ ประการ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม ได้แก่ ๑. ทาน–การให้ ๒. ศีล–ความประพฤติดีงาม ๓. ปริจจาคะ–การบริจาค, ความเสียสละ ๔. อาชชวะ–ความซื่อตรง ๕. มัททวะ–ความอ่อนโยน ๖. ตปะ–ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลสตัณหา ๗. อักโกธะ–ความ ไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา–ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ–ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ–ความไม่คลาดธรรม. (ส.).
  34. โลกธรรม : [โลกกะ–] น. เรื่องของโลก, ธรรมดาของโลก ทาง พระพุทธศาสนามี ๘ ประการ คือ ๑. มีลาภ ๒. เสื่อมลาภ ๓. มียศ ๔. เสื่อมยศ ๕. สรรเสริญ ๖.นินทา ๗. สุข ๘. ทุกข์. (ส. โลกธรฺม; ป. โลกธมฺม).
  35. วันมาฆบูชา : น. วันเพ็ญเดือน ๓ เป็นวันทำบุญพิเศษทาง พระพุทธศาสนาเพื่อระลึกถึงความสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึง ดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ ส่วนในปีที่มีอธิกมาสจะตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมกันในวันนั้นล้วนเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้า ทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งเรียกการบวชแบบนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา๔. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก.
  36. ศิลปศาสตร์ : น. วิชาต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่วิชาทางเทคนิค หรือทาง อาชีพ เช่น ภาษาศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์; ตำราว่าด้วย วิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่ เ๑. สูติ วิชาฟังสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชา เข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์ วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า ๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกาวิชากายบริหาร ๙.ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์ ๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชา ดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา วิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์ ๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์.
  37. อริยทรัพย์ : น. ทรัพย์อันประเสริฐ มี ๗ ประการ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา. (ป. อริย + ส. ทฺรวฺย).
  38. อินทราภิเษก : [อินทฺรา] น. เรียกลักษณะพิเศษ ๓ ประการ คือ ๑. พระอินทร์นําเอาเครื่องราชกกุธภัณฑ์มาถวาย เมื่อจะได้ ราชสมบัติ ๒. เสี่ยงราชรถมาจดฝ่าพระบาท และ ๓. เหาะเอา ฉัตรทิพย์มากางกั้น; การที่พระเจ้าแผ่นดินทําพิธีราชาภิเษก อีกครั้งหนึ่ง เมื่อปราบพระเจ้าแผ่นดินอื่นให้อยู่ในอํานาจได้ มาก เพื่อยกพระองค์ขึ้นเป็นใหญ่เหนือพระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย.
  39. กฎ : [กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปาก หลากคําไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชา ให้กฎเป็นตําราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), ''พระมหาธรรมราชาก็ตรัส ให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย.'' (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คําบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราช เจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทําตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พ.ศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกําหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกําหนดในเรื่องธรรมชาติ ตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).
  40. กฐิน, กฐิน- : [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  41. ข่มขืนกระทำชำเรา : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานขืนใจกระทําการ ร่วมประเวณีกับหญิงซึ่งมิใช่ภรรยาของตนโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ หรือใช้กําลังประทุษร้ายหญิงซึ่งอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือ ทำให้หญิงเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น.
  42. ของเก่า : น. ของโบราณ, ของใช้แล้ว; (กฎ) ทรัพย์ที่ผู้ค้าของเก่าเป็น อาชีพเสนอขาย แลกเปลี่ยน หรือจําหน่ายโดยประการอื่นอย่างทรัพย์ ที่ใช้แล้ว ทั้งนี้ รวมถึงของโบราณด้วย.
  43. ข้อสังเกต : น. สิ่งที่กำหนดไว้ให้สนใจเป็นพิเศษ เช่น บทความนี้มี ข้อสังเกตอยู่หลายประการ เขาตั้งข้อสังเกตว่า ๒-๓ วันนี้มีชายแปลกหน้า มาเยี่ยม ๆ มอง ๆ ที่ประตูบ้านบ่อย.
  44. โคบอลต์ : น. ธาตุลําดับที่ ๒๗ สัญลักษณ์ Co เป็นโลหะแข็งสีเงิน หลอมละลายที่ ๑๔๙๕ํซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือเพื่อให้มี สมบัติพิเศษบางประการ เช่น ผสมกับเหล็กทําให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น และเมื่อนําไปทําเป็นแม่เหล็กก็จะได้แม่เหล็กที่มีกําลังมากเป็นพิเศษ ใน อุตสาหกรรมเครื่องแก้วและเครื่องดินเผาใช้สารประกอบของโคบอลต์ เป็นตัวให้สีนํ้าเงิน. (อ. cobalt).
  45. จำครบ : ว. จําห้าประการ.
  46. จุกช่องล้อมวง : (โบ) ก. อารักขาพระเจ้าแผ่นดินในเวลาเสด็จประพาส หรือในเหตุบางประการเช่นเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงพระประชวร. (จุกช่อง คือ จัดคนให้รักษาการณ์อยู่ตามช่องทางเช่นตรอก ซอย ปากคลอง ล้อมวง คือจัดคนให้ล้อมที่ประทับเป็นชั้น ๆ).
  47. เจโตวิมุติ : [-วิมุด] (แบบ) น. ความหลุดพ้นด้วยอํานาจแห่งจิต เป็นโลกุตรธรรม ประการหนึ่ง, คู่กับ ปัญญาวิมุติ. (ป. เจโตวิมุตฺติ).
  48. ชมรม : น. ที่พักชั่วคราวของกลุ่มบุคคล; ที่ประชุมของกลุ่มบุคคลที่มี จุดประสงค์เพื่อประโยชน์บางประการร่วมกัน เช่น ชมรม นักวรรณศิลป์ ชมรมพุทธศาสตร์, โชมโรม ก็ว่า.
  49. โชมโรม : น. ที่พักชั่วคราวของกลุ่มบุคคล; ที่ประชุมของกลุ่มบุคคล ที่มีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์บางประการร่วมกัน เช่น โชมโรมนักวรรณศิลป์ โชมโรมพุทธศาสตร์; ชมรม ก็ว่า.
  50. ท่าเดียว : (ปาก) ว. อย่างเดียว, ประการเดียว, ถ่ายเดียว, เช่น จะกินท่าเดียว.
  51. [1-50] | 51-77

(0.0664 sec)