เลื่อน : น. ยานชนิดหนึ่งไม่มีล้อ ใช้ลากไปตามท้องนาและหมู่บ้าน สําหรับ บรรทุกฟ่อนข้าวเป็นต้น, บางถิ่นเรียกว่า กะเลิด, ยานชนิดหนึ่งใช้ แถบขั้วโลก ไม่มีล้อ ใช้สุนัขลากไปบนพื้นหิมะหรือบนพื้นนํ้าแข็ง. ก. เคลื่อนหรือย้ายจากที่เดิมโดยลักษณะอาการต่าง ๆ เช่น ลาก เสือกไส ยกขึ้น กดลง; เปลี่ยนเวลาจากที่กําหนดไว้เดิม เช่น เลื่อน เวลาเดินทาง เลื่อนวันประชุม; เขยิบชั้นหรือตําแหน่งฐานะสูงขึ้น ไปกว่าเดิม เช่น เลื่อนยศ เลื่อนตําแหน่ง; เพิ่มเติม (ใช้แก่อาหาร) เช่น เลื่อนแกง เลื่อนของหวาน.
ประตู : น. ช่องทางเข้าออกของบ้านเรือนเป็นต้น มีบานเปิดปิดได้ เช่น ประตูบ้าน ประตูเมือง, ช่อง, ทาง, เช่น ไม่มีประตูสู้, โดยปริยาย หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประตูฟุตบอล ประตูรักบี้, ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการเล่นการพนัน บางชนิด เช่น ถั่ว โป ไฮโล นํ้าเต้า; ลักษณนามเรียกจํานวนครั้ง ที่เตะลูกบอลเข้าไปในประตู เช่น ได้ ๒ ประตู เสีย ๓ ประตู, เรียก ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการพนันบางชนิด เช่น ถูกประตู เดียวกิน ๓ ประตู.
ประตูฟุตบอล : น. ประตู ๒ เสา มีคานและมีตาข่ายรอรับลูกฟุตบอล ที่เตะผ่านเข้าไป.
ประตูชัย : น. ประตูที่มีลักษณะเป็นซุ้ม อาจสร้างเป็นการถาวรหรือ ชั่วคราว สําหรับผู้ชนะสงครามจะเดินลอดในพิธีเพื่อประกาศชัยชนะ.
ประตูโตงเตง : น. ประตูเพนียดที่มีเสาโตงเตง.
ประตูป่า : น. ปากทางที่จะเข้าสู่ป่า, ประตูที่สะด้วยใบไม้กิ่งไม้สําหรับ พิธีเทศน์มหาชาติ, ประตูเรือนที่ปักกิ่งไม้ไว้เวลานําศพออกจากบ้าน.
ประตูผี : (โบ) น. ประตูที่เป็นทางนําศพออกจากภายในเขตกําแพงเมือง.
เลื่อนเปื้อน : ว. อาการที่พูดเลอะเทอะ เช่น พูดจาเลื่อนเปื้อน.
ประตูน้ำ : น. ประตูสําหรับควบคุมระดับนํ้าที่ไหลเข้าออก; (กฎ) สิ่ง ที่สร้างขึ้นในทางนํ้าเพื่อให้เรือแพผ่านทางนํ้าที่มีระดับนํ้าต่างกันได้.
ประตูระบาย : น. สิ่งที่สร้างขึ้นในคลองส่งนํ้าเพื่อควบคุมนํ้าในคลอง ให้มีระดับหรือปริมาณตามที่ต้องการ; (กฎ) สิ่งที่สร้างขึ้นในทางนํ้า เพื่อทด กัก กั้น หรือระบายนํ้า ณ ที่อื่นอันมิใช่ที่มาแห่งนํ้าซึ่งจะส่งเข้า สู่เขตชลประทาน โดยมีช่องปิดเปิดได้.
ประตูรับน้ำ : น. อาคารที่สร้างขึ้นตรงบริเวณคันคลองส่งนํ้า เพื่อรับนํ้า จากทางนํ้าอื่นที่อยู่ตามระยะทางของคลองส่งนํ้า.
ประตูลม : น. เรียกอวัยวะส่วนที่อยู่ระหว่างนิ้วมือนิ้วเท้า.
เลื่อนที่ : ก. เปลี่ยนที่, ได้ยศหรือบรรดาศักดิ์สูงไปกว่าเก่า.
ถอย : ก. เคลื่อนหรือทําให้เคลื่อนไปข้างหลัง เช่น ถอยเรือ ถอยรถ, ขยับ ออกจากที่, เลื่อนที่, เช่น ถอยรถให้พ้นประตู ถอยหน้าถอยหลัง; ลดลง เช่น พิษถอย กําลังถอย; (ปาก) ซื้อ (มักใช้กับรถใหม่).
ธรณีประตู : น. ไม้รองรับกรอบล่างของประตู มีรูครกสําหรับรับเดือยบาน ประตู และมีรูสําหรับลงลิ่มหรือลงกลอน เช่น ธรณีประตูโบสถ์, ปัจจุบัน เรียกไม้กรอบล่างประตูว่า ธรณีประตู.
สลัก ๑ : [สะหฺลัก] ก. สกัดกั้น เช่น สลักโจรไว้อย่าให้หนีไปได้. น. เครื่องกั้น หรือกลอนประตูหน้าต่างเป็นต้นแบบเรือนไทยที่ลงไว้เพื่อไม่ให้เลื่อน หรือผลักเข้าไปได้ เช่น ลงสลักประตู.
กุญแจเลื่อน : น. เครื่องมือโลหะชนิดหนึ่ง มีส่วนประกอบสําหรับ เลื่อนเพื่อปรับขนาดปากได้ ใช้สําหรับขันหรือคลายนอตเป็นต้น.
รักษาประตู : ก. คุมอยู่หน้าประตูในการเล่นฟุตบอลคอยป้องกันไม่ให้ ลูกฟุตบอลเข้าไป.
เรือประตู : น. เรือหลวงที่จัดเข้าร่วมในกระบวนเสด็จทางชลมารค ทำ หน้าที่ถวายอารักขาและป้องกันอันตรายกระบวนเรือพระที่นั่ง จัดอยู่ ตามตำแหน่งเป็นชั้น ๆ ข้างหน้ากระบวนมีเรือประตูนอกหรือเรือ ประตูชั้นนอกอยู่ข้างหน้าเรือคู่ชักหมู่หนึ่งกับอยู่ต่อเรือคู่ชักเข้ามาก่อน ถึงเรือดั้งอีกแถวหนึ่งเรียกว่า เรือประตูใน และยังมีอยู่ทางตอนท้าย กระบวนอีก ๒ หมู่ หมู่ต้นอยู่ต่อท้ายเรือกันเรียกว่า เรือประตูในกับ หมู่ปลายอยู่ต่อท้ายหมู่เรือพระที่นั่งกรมพระราชวังบวรฯ และเรือ ที่นั่งเจ้านายเรียกว่า เรือประตูนอก.
ลูกเลื่อน : น. อุปกรณ์ในปืนชนิดมีแหนบกระสุน อยู่ในลำกล้อง มีหน้าที่กดกระสุนปืนไม่ให้ตรงลำกล้อง เมื่อขึ้นไกจะดันกระสุน ปืนให้เลื่อนขึ้นและเข้าสู่ลำกล้อง.
ลอน : น. ส่วนที่มีลักษณะสูง ๆ ตํ่า ๆ อย่างลูกคลื่นติดต่อสลับกันไปบน พื้นราบ เช่น ลอนฟูก ลอนสังกะสี, เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ลอนตาล ลอนผม.
ของเลื่อน : น. สํารับคาวหวานที่เจ้าภาพในงานทําบุญนําไปให้ผู้ที่ นับถือด้วยไมตรีจิต.
ของเลื่อนเตือนขันหมาก : น. สํารับคาวหวานเนื่องในการแต่งงาน ซึ่ง ฝ่ายเจ้าสาวนําไปให้ฝ่ายเจ้าบ่าวเพื่อเตือนบอกให้ทราบว่าทางบ้าน เจ้าสาวเตรียมพร้อมที่จะรับขันหมากได้แล้ว.
เข้าตามตรอกออกตามประตู : (สํา) ก. ทําตามธรรมเนียมในเรื่องการสู่ขอ.
บันไดเลื่อน : น. บันไดที่เคลื่อนได้ด้วยกําลังไฟฟ้า.
ปิดประตูค้า : ก. ถืออํานาจค้าแต่ผู้เดียว.
ปิดประตูตีแมว : (สํา) ก. รังแกคนไม่มีทางสู้และไม่มีทางหนีรอดไปได้.
ล้อเลื่อน : น. คํารวมเรียกรถต่าง ๆ; (กฎ) ยานพาหนะอันประกอบ ด้วยเพลาและล้อซึ่งเคลื่อนไปด้วยกําลังคนหรือสัตว์ เช่น รถ เกวียน.
หมดประตู : ก. ไม่มีทาง, หมดหนทาง, หมดทางสู้.
กะเลิด : น. ยานชนิดหนึ่งไม่มีล้อ ใช้ลากไปตามท้องนาและหมู่บ้าน สําหรับบรรทุกฟ่อนข้าวเป็นต้น, เลื่อน ก็เรียก.
กั๊ก : น. เรียกทางสี่แยกว่า สี่กั๊ก; ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าเทหนึ่ง, ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าขวดใหญ่ขนาด ๗๕๐ ซีซี., ส่วน ๑ ใน ๔ ของน้ำแข็งซองหนึ่ง แบ่งออกได้เป็น ๔ มือ; เสื้อชนิดหนึ่ง ตัวสั้นเสมอเอว ไม่มีแขน ไม่มีปก ผ่าอกตลอด ติดกระดุมหรือไม่ติด ก็ได้ มักใช้สวมทับเสื้อเชิ้ต เรียกว่า เสื้อกั๊ก; วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงกั๊ก ๒ ประตูใด โปออกประตูใดประตูหนึ่งใน ๒ ประตูนั้น เจ้ามือจ่าย ๑ ต่อ ถ้าโปออกประตูอื่นนอกจาก ๒ ประตู ที่แทงไว้ เจ้ามือกิน. (ถิ่น-พายัพ) ก. พูดติดอ่าง.
ชั้ว ๒ : น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงชั้วไว้ ๑ ประตู และ ขาย ๑ ประตูโปออกประตูที่ลูกค้าแทงชั้วไว้ เจ้ามือจ่าย ๑ ต่อ ถ้าออกประตูที่ลูกค้าขายเจ้ามือกิน ถ้าออกประตูอื่น นอกจากนั้น ไม่ได้ไม่เสีย.
ถ่อ ๒ : น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง โดยลูกค้าแทงประตูตรงข้ามกันได้ ๒ ประตู คือ หน่วยกับ ๓ หรือ ๒ กับ ครบโปออกประตูใดประตูหนึ่งที่ ลูกค้าแทง เจ้ามือจ่าย ๑ ต่อถ้าออกประตูอื่น เจ้ามือกิน.
ถั่ว ๒ : น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ถ้วยครอบเบี้ย โดยมากใช้เบี้ยจั่น เมล็ดมะขาม หรือ เมล็ดละหุ่งเป็นต้น แล้วแจงออกเป็นคะแนน ทีละ ๔ ครั้งสุดท้ายถ้าเหลือ ๑ เรียกว่า ออกหน่วย ถ้าเหลือเศษ ๒, ๓ เรียกว่า ออก ๒ ออก ๓ ถ้าเหลือ ๔ เรียกว่า ออกครบ มีประตู แทง ๔ ประตู คือ หน่วย สอง สาม และครบ ส่วนวิธีแทงได้นำวิธี แทงโปมาใช้ มี เหม็ง กั๊ก เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และ อา, โปกํา ก็เรียก.
ทรวาร : [ทอระวาน] (กลอน) น. ประตู เช่น ตื่นนอนใครแลมาเทงทรวาร. (ม. คําหลวง กุมาร).
ทวาร, ทวาร- : [ทะวาน, ทะวาระ-] น. ประตู เช่น นายทวาร; ช่อง ในคํา เช่น ทวารหนัก ทวารเบา ใช้เป็นคําสุภาพ หมายถึง รูขี้ รูเยี่ยว, ทาง เช่น กายทวาร. (ป., ส.).
โปกำ : น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ถ้วยครอบเบี้ย โดยมากใช้เบี้ยจั่น เมล็ดมะขาม หรือเมล็ดละหุ่ง เป็นต้น แล้วแจงออกเป็นคะแนนทีละ ๔ ครั้งสุดท้ายถ้าเหลือ ๑ เรียกว่า ออกหน่วย ถ้าเหลือ ๒, ๓ เรียกว่า ออก ๒ ออก ๓ ถ้าเหลือ ๔ เรียกว่า ออกครบ มีประตูแทง ๔ ประตู คือ หน่วย สอง สาม และครบ ส่วนวิธีแทงได้นำวิธีแทงโปมาใช้ คือ เหม็ง กั๊ก เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และอา, ถั่ว ก็เรียก.
โปปั่น : น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง เล่นโดยเจ้ามือเอาลิ้นโปใส่ลงใน ฝาครอบโปไม่ให้คนแทงเห็น ปิดฝาครอบโปแล้วตั้งให้แทง โดย ยอมให้คนแทงปั่นโปได้ตามใจชอบ เมื่อเปิด ถ้าลิ้นชักโปซีกขาว ตรงกับช่องแต้มไหน ก็นับว่าโปออกแต้มนั้น โปมีประตูสำหรับ แทงเพียง ๔ ประตู คือ หน่วย สอง สาม และครบ มีวิธีแทง ๗ วิธี คือ เหม็ง กั๊ก เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และอา, โป ก็เรียก.
เลี่ยม ๒ : น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงเลี่ยม ๑ ประตู และติด ๑ ประตู โปออกประตูที่ลูกค้าแทงเลี่ยม เจ้ามือใช้ ๒ ต่อ ถ้าออกประตูที่แทง ติดไว้ ไม่ได้ไม่เสีย ถ้าออกประตูอื่นนอกจากที่แทงไว้ เจ้ามือกิน.
อ๋อ ๑ : น. ชื่อวิธีแทงโปกำและโปปั่นวิธีหนึ่ง มีถูกประตูเดียว กิน ๓ ประตู คือ ถ้าลูกค้าแทงอ๋อประตูเดียว โปออกประตูที่แทงนั้น เจ้ามือต้องจ่าย ๓ ต่อ ถ้าออกประตูอื่น เจ้ามือกิน, เรียกกิริยาที่แทงเช่นนั้นว่า แทงอ๋อ.
อา ๓, อ๋า : น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง โดยแทง อา เหม็ง ซั้ว กางปีก ๓ ประตู โปออก ประตูใดใน ๓ ประตูนั้น เจ้ามือใช้ ๑ ต่อ ถ้าออกประตูอื่น เจ้ามือกิน หมดทั้ง ๓ ประตู.
อานน : น. ปาก, หน้า; ช่อง, ประตู. (ป., ส.).
กลอน ๑ : [กฺลอน] น. ไม้ขัดประตูหน้าต่าง, ดาล, เครื่องสลักประตูหน้าต่าง; ไม้ที่พาดบนแปสําหรับวางเครื่องมุงหลังคาจากเป็นต้น.
กก ๖ : น. ซอกด้านในหรือซอกด้านหลังของบานประตูหรือหน้าต่าง, ถ้าเป็นด้านหลังของแผ่นบานประตู เรียกว่า กกประตู, ถ้าเป็น ด้านหลังของแผ่นบานหน้าต่าง เรียกว่า กกหน้าต่าง.
กงพัด ๑ : น. กงสําหรับพัด เป็นรูปใบพัดที่หมุนได้ เช่น กงพัดสีลม กงพัดเครื่องสีฝัด กงพัดเครื่องระหัด; ประตูหมุน; เครื่องมือชนิดหนึ่ง เป็นไม้ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร เจาะรูหัวท้าย ใส่ไม้ขวาง สําหรับ พัดด้าย.
กบ ๘ : น. สลักไม้ที่ใส่ไว้ด้านในส่วนล่างตอนกลางของบานหน้าต่าง หรือประตู ทําหน้าที่คล้ายกลอน เมื่อปิดหน้าต่างหรือประตู ใช้กบนี้สอดเข้าในช่องเจาะตัวไม้ธรณี.
กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
กรอบเช็ดหน้า : น. กรอบประตูหรือหน้าต่าง, เช็ดหน้า หรือ วงกบ ก็เรียก.
กระพัด : น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูกอยู่ รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับหรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลาย ทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะ เดินขึ้นที่ชัน, เขียนเป็น กระพัตร ก็มี เช่น และกระพัตรรัตคนควร. (ดุษฎีสังเวย). ก. ผูก, คาด, ล้อม, เช่น เหตุกระพัดรัดตาด้วยไฟราค. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
กระพัตร : [-พัด] น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูก อยู่รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับหรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลายทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะเดินขึ้น ที่ชัน เช่น และกระพัตรรัตคนควร. (ดุษฎีสังเวย), กระพัด ก็ว่า.