ความ : [คฺวาม] น. เรื่อง เช่น เนื้อความ เกิดความ; อาการ เช่น ความทุกข์ ความสุข; คดีที่ฟ้องร้องกันในโรงศาล; คํานําหน้ากริยาหรือวิเศษณ์เพื่อแสดงสภาพ เช่น ความตาย ความดี ความชั่ว.
ประสบ : ก. พบ, พบปะ, พบเห็น.
ยึดหัวหาด : ก. ยึดชายฝั่งทะเลซึ่งอยู่ในความครอบครองของข้าศึกเพื่อ สะดวกในการยกพลขึ้นบก, โดยปริยายหมายถึงยึดจุดสำคัญหรือบุคคล สำคัญเป็นต้นเพื่อที่จะทำให้แผนการขั้นต่อไปประสบความสำเร็จ เช่น ต้องยึดหัวหาดในพรรคให้ได้ก่อน.
วิถีทาง : น. ทาง เช่น ต้องใช้ความพยายามทุกวิถีทางกว่าจะประสบ ความสำเร็จ.
สมบุกสมบัน : ว. ทนลําบากตรากตรำโดยไม่คิดถึงตัว เช่น เขาทำงานสมบุกสมบัน จึงประสบความสำเร็จ; อาการที่ใช้โดยไม่ปรานีปราศรัยหรือโดยไม่ ทะนุถนอม เช่น ใช้เสื้อผ้าสมบุกสมบันทำให้ขาดเร็ว ใช้วัวควายไถนา อย่างสมบุกสมบันโดยไม่ให้พักผ่อน.
หวังใจ, หวังใจว่า : ก. คาดว่า (มักใช้ในทางที่ดี) เช่น ข้าพเจ้าหวังใจว่าท่าน คงจะประสบความสำเร็จ.
หัวหาด : น. ชายฝั่งทะเลที่อยู่ในความครอบครองของข้าศึก ซึ่งถ้ายึดได้แล้ว จะทําให้สะดวกในการยกพลขึ้นบก เรียกว่า ยึดหัวหาด, โดยปริยายหมายถึง จุดสำคัญหรือบุคคลสำคัญเป็นต้นซึ่งถ้ายึดไว้ได้ก็จะสามารถทำให้แผนการ ขั้นต่อไปประสบความสำเร็จ.
ตก :
ก. กิริยาที่ลดลงสู่ระดับตํ่าในอาการอย่างพลัดลง หล่นลง เช่น ตกบันได ตกต้นตาล เครื่องบินตก; ไหลลง, หยดลง มา, เช่น นํ้าตก ฝนตก เหงื่อตก; ลดลง เช่น ฝีมือตก มือตก เสียงตก; เพาะข้าวลงในตากล้า เรียกว่า ตกกล้า; เอาเบ็ด เกี่ยวเหยื่อหย่อนลงไปให้ปลาหรือกุ้งกินแล้ววัดหรือสาวขึ้น มา เช่น ตกปลา ตกกุ้ง; ย่างเข้า เช่น ตกเย็น ตกคํ่า ตกฤดู หนาว, เรียกสีที่ละลายออกหรือจางไปในเวลาซักหรือถูก แดดเป็นต้นว่า สีตก, ได้, ถึง, เช่นตกทุกข์ ตกระกําลําบาก, มาถึง เช่น คําสั่งยังไม่ตก ของที่สั่งตกมาแล้ว, ขาดหายไป เช่น เขียนหนังสือตก, เขียนคําที่ขาดเติมลง เช่น ตกหนังสือ, ไม่ได้ขึ้นยานพาหนะเพราะไปไม่ทันหรือไม่มีค่าโดยสาร เช่น ตกรถตกเรือ, เอาเงินหรือสิ่งของให้ไปก่อนแล้วคิดเอา เป็นพืชผลภายหลังตามแต่จะตกลงกัน เช่น ตกข้าว คือ เอาเงินให้ไปก่อนแล้วคิดเอาข้าวทีหลัง, โดยปริยายหมาย ความว่า ลดลงตํ่า เป็นอาการแสดงว่า กลัวยอมแพ้ หรือ หมดกําลัง เป็นต้น เช่น คอตก หัวตก หางตก. ว. สำเร็จ เช่น แก้ตก ปลงตก คิดตก.
ลุล่วง : ก. สำเร็จ (ในสิ่งที่ต้องใช้ความพยายามบ้าง) เช่น โครงการนี้ ลุล่วงไปด้วยดี.
ความคิด : น. สิ่งที่นึกรู้ขึ้นในใจ; ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในใจ ก่อให้เกิดการแสวงหา ความรู้ต่อไป เช่น เครื่องบินเกิดขึ้นได้เพราะความคิดของมนุษย์; สติ ปัญญาที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างถูกต้องและสมควร เช่น คนทำลาย ของสาธารณะเป็นพวกไม่มีความคิด.
ความชอบ : น. คุณงามความดีที่ควรได้รับบําเหน็จรางวัล.
ความเป็นความตาย : น. เรื่องสำคัญมาก เช่น เรื่องภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ เป็นความเป็นความตายของชาติ.
ความมุ่งหมาย : น. ความตั้งใจ, เจตนา, เช่น ถนนสายนี้สร้างขึ้นด้วย ความมุ่งหมายเพื่อย่นระยะทาง.
ความรู้ : น. สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ; ความเข้าใจหรือสารสนเทศ ที่ได้รับมาจากประสบการณ์; สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติ; องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่น ความรู้เรื่องเมืองไทย ความรู้เรื่องสุขภาพ.
ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด : (สํา) ว. มีความรู้มากแต่ไม่รู้จักใช้ความรู้ ให้เป็นประโยชน์.
ความรู้สึกช้า : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้ช้า เช่น เขาเป็นคนมีความรู้สึกช้า ต้องใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจ.
ความรู้สึกไว : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว เช่น ผู้ที่ศึกษาวรรณคดี ควรจะมีความรู้สึกไวจึงจะรับรสวรรณคดีได้.
ความเห็น : น. ข้อวินิจฉัยหรือความเชื่อที่แสดงออกตามที่เห็น รู้ หรือ คิด เช่น ฉันมีความเห็นว่านักมวยไทยจะเป็นฝ่ายชนะ ผมมีความเห็น ว่าเขาเป็นคนน่าเชื่อถือ.
ความโน้มถ่วง : น. กิริยาที่แรงดึงดูดของโลกกระทําต่อเทหวัตถุ. (อ. gravitation).
ความหลัง : น. เรื่องราวในอดีต.
กรรมสิทธิ์ : [กํามะสิด] น. ความเป็นเจ้าของทรัพย์; (กฎ) สิทธิ ทั้งปวงที่ผู้เป็นเจ้าของมีอยู่เหนือทรัพย์สิน อันได้แก่ สิทธิใช้สอย จําหน่าย ได้ดอกผล กับทั้งสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สิน ของตน และสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน นั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย. (ส. กรฺม + สิทฺธิ = ความสำเร็จ; ป. กมฺมสิทฺธิ).
ขึ้น ๑ : ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตาม ทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
ค้าประเวณี : ก. กระทำการใด ๆ เพื่อสำเร็จความใคร่ในทางกามารมณ์ ของผู้อื่นอันเป็นการสำส่อนเพื่อสินจ้างหรือประโยชน์อื่นใด.
ทุเรศ : (ปาก) คําพูดแสดงความรู้สึกเมื่อประสบสิ่งที่ขัดหูขัดตาหรือ เป็นที่น่าสมเพชเป็นต้น.
ปล้อน : [ปฺล้อน] ก. ปลิ้นเปลือกหรือเมล็ดในผลไม้ออกจากปาก เช่น ปล้อน เมล็ดลําไย ปล้อนเมล็ดน้อยหน่า, ลอกเปลือกผลไม้ออก เช่น ปล้อน มะพร้าว, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปลิ้น เป็น ปล้อนปลิ้น หรือ ปลิ้นปล้อน มีความหมายอย่างปล้อน; โดยปริยายหมายความว่า ใช้อุบายล่อลวง เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ตน.
ปีกหัก : (ปาก) ว. ที่ประสบความผิดหวังหรือพลาดพลั้งอย่างรุนแรง จนหมดกําลัง.
ฝีมือ : น. ความเชี่ยวชาญในการใช้มืออย่างมีศิลปะ เช่น มีฝีมือในการ เย็บปักถักร้อย มีฝีมือในการปรุงอาหาร, เรียกการช่างทำด้วยมืออย่างมี ศิลปะ ว่า การช่างฝีมือ, ราชาศัพท์ว่า ฝีพระหัตถ์; โดยปริยายหมายถึง ความสามารถหรือทักษะและชั้นเชิงในการปฏิบัติการใด ๆ เช่น เขามี ฝีมือในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้โดยรวดเร็ว.
พบพาน : ก. ปะกัน, เจอกัน, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่ประสบ พบพาน.
พร : [พอน] น. คําแสดงความปรารถนาให้ประสบสิ่งที่เป็นสิริมงคล เช่น ให้พร ถวายพระพร, สิ่งที่ขอเลือกเอาตามประสงค์ เช่น ขอพร. (ป. วร).
พิษฐาน : [พิดสะถาน] ก. มุ่งหมาย, ขอร้องต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อ ช่วยบันดาลให้ประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ตนมุ่งหมาย. (เลือนมาจาก อธิษฐาน).
แพแตก : (สํา) ว. ลักษณะที่ครอบครัวเป็นต้นแตกกระจัดกระจาย แยกย้ายกันไปเพราะหัวหน้าครอบครัวหรือผู้เป็นหลักเป็นประธาน ประสบความวิบัติหรือเสียชีวิต.
ภาคภูมิใจ : ก. กระหยิ่มใจ, รู้สึกว่ามีเกียรติยศ, เช่น เขาภาคภูมิใจใน ความสำเร็จ.
แรงงาน : น. คนงาน, ผู้ใช้แรงในการทำงาน, เช่น การพัฒนาชนบทต้อง อาศัยแรงงานจากท้องถิ่น งานก่อสร้างต้องการแรงงานเพิ่ม, ประชากร ในวัยทํางาน ไม่รวมถึงคนพิการ คนวิกลจริต นักเรียน นักศึกษา แม่บ้าน นักบวช ทหาร ผู้ต้องขัง และผู้ประกอบกิจการเพื่อหากําไร เช่น วัน แรงงาน, แรงที่ใช้ในการทำงาน เช่น ถนนนี้สร้างสำเร็จด้วยแรงงานของ ชาวบ้าน; ความสามารถในการทํางานเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ, กิจการที่คนงานทําในการผลิตเศรษฐทรัพย์.
ล่ม : ก. กิริยาที่ทรงตัวไม่อยู่ เอียงจนตะแคง คว่ำ หรือจม เช่น เรือล่ม เกวียนล่ม, ทำให้ตะแคง คว่ำ หรือจม เช่น ล่มเรือ; ได้รับความ เสียหายมากเพราะน้ำท่วมหรือพายุพัดเป็นต้น เช่น นาล่ม สวนล่ม โป๊ะล่ม; ไม่สำเร็จ, ไม่รอดฝั่ง, เช่น โครงการล่ม.
วาทศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยศิลปะในการใช้ถ้อยคําสํานวนโวหาร ให้ได้ผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย เช่นพูดโต้แย้ง พูดชวนให้เชื่อถือ. (อ. rhetorics).
สงสาร ๒ : [สงสาน] ก. รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น, รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึก สงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร.
หลักชัย ๑ : น. หลักที่กำหนดไว้ว่าผู้เข้าแข่งขันที่ไปถึงก่อนเป็นผู้ชนะ, โดย ปริยายหมายถึงบุคคลที่เป็นหลักยึดเหนี่ยวเพื่อชัยชนะ เช่น พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นหลักชัยของชาติ; จุดที่หมายแห่งความสำเร็จ เช่น เมื่อศึกษาจบ ปริญญาตรีก็เท่ากับบรรลุหลักชัยไปขั้นหนึ่งแล้ว.
ใหม่ : ว. เพิ่งมี เช่น มาใหม่ รุ่นใหม่, มีอีกนอกจากที่เคยมีอยู่แล้ว เช่น มีเมียใหม่, ซํ้า เช่น พูดใหม่ ทำใหม่ อ่านใหม่, อีกครั้งหนึ่ง เช่น ตื่นมาแล้วกลับไป นอนใหม่, ยังไม่ได้ใช้ เช่น ของใหม่, ไม่เคยประสบมาก่อน เช่น ความรู้ ใหม่ เพลงใหม่, เริ่มแรก เช่น ข้าวใหม่ นักเรียนใหม่; ไม่ใช่เก่า เช่น บ้านสร้างใหม่.
กระบวนความ : น. แบบแผนของเนื้อความหรือเรื่องราว เช่น ครบถ้วนกระบวนความ.
กระแสความ : น. แนวความ, ข้อความที่ต่อเนื่องกัน.
กินความ : ก. หมายความไปถึง, ได้ความครบอย่างกะทัดรัด.
เก็บความ : ก. เลือกเอาแต่ข้อความที่สําคัญ.
ไข้ความร้อน, ไข้แดด : น. ไข้ที่ขึ้นเร็วและสูงเพราะถูกความร้อนจัด อาจ มีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ชัก และต่อไปอาจสลบโดยไม่มีเหตุอื่นร่วม. (อ. heat stroke).
คนไร้ความสามารถ : (กฎ) น. คนวิกลจริตซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ.
คนเสมือนไร้ความสามารถ : (กฎ) น. บุคคลที่ไม่สามารถจัดการงาน ของตนเองได้ เพราะกายพิการ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ประพฤติ สุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา และศาลได้สั่งให้เป็นคน เสมือนไร้ความสามารถ.
คำคู่ความ : (กฎ) น. บรรดาคําฟ้อง คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่น ต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ.
คำพ้องความ : น. คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือ ใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า.
คู่ความร่วม : (กฎ) น. บุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งเป็นคู่ความในคดีเดียวกัน คือเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วม โดยบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกัน ในมูลความแห่งคดี.
จวบ : น. พบ, ประสบ, ร่วม, ถึง.
จับความ : ก. จับใจความ, เข้าใจความหมาย.