ประสานเสียง : ก. ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเป็นหมู่ให้มีเสียงกลมกลืนกัน.
ประสาน : ก. ทําให้เข้ากันสนิท, เชื่อม.
ท่อ ๓ : ก. โต้ตอบ, ประสาน, เช่น นกท่อเสียงกัน.
หีบเพลงชัก : น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม ประกอบด้วยหีบ ๒ หีบ ส่วนใหญ่เป็นหีบสี่เหลี่ยม เชื่อมต่อกันด้วยท่อลมพับ ๒ ด้าน ด้านขวามือ มีปุ่มกดหรือมีแผงแป้นนิ้ว ด้านซ้ายมือมีปุ่มกดบรรเลงเสียงตํ่าและเสียง ประสาน. (อ. accordion).
ประสานงา : ก. ใช้งาสวนแทงกันในการยุทธหัตถี; ขัดแย้งกันอย่าง รุนแรง, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่รถหรือเรือแล่นเข้าชนกันอย่างแรง.
ประสานเนรมิต : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
ขับไม้ : น. การเล่นดนตรีอย่างหนึ่ง มีคนเล่น ๓ คนด้วยกัน คนหนึ่ง ขับร้องลํานํา คนหนึ่งสีซอ ๓ สายประสานเสียง คนหนึ่งไกวบัณเฑาะว์ ให้จังหวะ; ชื่อคําประพันธ์ชนิดหนึ่ง ใช้โคลงกับกาพย์สุรางคนางค์สลับกัน.
ดนตรีกรรม : (กฎ) น. งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้อง ไม่ว่าจะมีทำนองและคำร้องหรือมีทำนองอย่างเดียว และหมายความ รวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียง ประสานแล้ว.
เรียบเรียง : ก. แต่ง เช่น เรียบเรียงข้อความ เรียบเรียงถ้อยคำ, ตกแต่ง ถ้อยคำให้สละสลวยและเรียงลำดับความให้ชัดเจน เช่น แปลและเรียบ เรียงหนังสือ, จัดเสียงเพิ่มเติมจากทำนองที่มีอยู่แล้วตามหลักวิชาการ ดนตรีเพื่อให้บทเพลงไพเราะขึ้น ในความว่า เรียบเรียงเสียงประสาน.
กระจายเสียง : ก. ส่งเสียงแพร่ไกลออกไป.
กระบอกเสียง : (ปาก) น. ผู้เป็นปากเป็นเสียงแทน.
กระแสเสียง : น. เสียงที่แล่นไป, น้ำเสียง.
กล่องเสียง : น. อวัยวะสำคัญในการเปล่งเสียงพูด ตั้งอยู่บริเวณส่วนบนของหลอดลม.
ขึ้นเสียง : ก. ออกเสียงดังด้วยความโกรธ; เทียบเสียงเครื่องดนตรี.
คะแนนเสียง : น. คะแนนที่ลงในการออกเสียง.
คำพ้องเสียง : น. คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมี ความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์, (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์.
เครื่องบันทึกเสียง : น. เครื่องที่ใช้เปลี่ยนพลังงานเสียงให้เป็นรูปอื่น ซึ่งบันทึกเก็บไว้ได้ เช่น บันทึกลงบนแถบแม่เหล็กหรือลงบนร่องจานเสียง.
ซาวเสียง : ก. ลองพูดหรือทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อฟังความคิดเห็น จากผู้อื่นหรือคนจำนวนมาก, หยั่งเสียง ก็ว่า.
ทอดเสียง : ก. เอื้อนเสียงให้ยาวกว่าปรกติ.
น้ำประสานทอง : น. เกลือเคมีชนิดหนึ่งใช้เป็นตัวประสานในการเชื่อม หรือบัดกรีโลหะเป็นต้น.
น้ำเสียง : น. กระแสเสียง, คําพูด; โดยปริยายหมายถึงคําพูดที่ส่อให้รู้ อารมณ์ที่มีอยู่ในใจ.
ปากเสียง : ก. โต้เถียง, ทะเลาะ, ในคำว่า เป็นปากเสียง มีปากเสียง. น. ผู้พูดหรือโต้เถียงแทน เช่น ผู้แทนราษฎรเป็นปากเสียงของ ประชาชน.
เป็นปากเสียง : ก. โต้เถียง เช่น เป็นปากเสียงกัน, พูดหรือโต้เถียงแทน เช่น หนังสือพิมพ์เป็นปากเสียงของประชาชน, เป็นปากเป็นเสียง ก็ว่า.
แผ่นเสียง : น. วัสดุแผ่นกลมบางซึ่งบันทึกเสียงไว้ในลักษณะเป็น ร่องบนผิวพื้น เมื่อใส่บนแผ่นหมุนของหีบเสียง วางเข็มลงในร่อง แล้วให้จานหมุนไป ก็จะเกิดเสียงตามที่บันทึกไว้, จานเสียง ก็เรียก.
มีชื่อ, มีชื่อเสียง : ว. มีเกียรติยศชื่อเสียง.
มีเสียง : ก. เถียง, มักใช้ในความปฏิเสธว่า อย่ามีเสียงนะ.
ลากเสียง : ก. อาการที่พูดยานคางในความว่า พูดลากเสียง.
ไล่เสียง : ก. ไล่ระดับเสียงดนตรีจากเสียงต่ำไปหาสูงหรือจากเสียง สูงไปหาต่ำ เพื่อให้เสียงตรงกับโน้ตเพลง.
วิทยุกระจายเสียง : น. การแพร่สัญญาณเสียงออกอากาศ โดยใช้คลื่นวิทยุ.
ส่งเสียง : ก. ร้องเสียงดัง, แผดเสียง, เช่น ดีใจอะไรส่งเสียงมาแต่ไกล ส่งเสียงอื้ออึง.
สอดคล้อง : ว. พ้อง, ประสาน, ไม่ขัดกัน, เช่น มีความเห็นสอดคล้อง กัน ทำงานสอดคล้องกัน ความคิดกับการกระทำสอดคล้องกัน.
ส้อมเสียง : น. อุปกรณ์ทำด้วยโลหะเป็นรูปอักษร U มีก้านสำหรับ จับยึด เมื่อเคาะจะเกิดเสียงที่มีความถี่คงที่ เป็นเวลานาน ใช้เป็นความถี่ อ้างอิง เช่น ใช้เทียบเสียงเครื่องดนตรี.
หยั่งเสียง : ก. ลองพูดหรือทําอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อฟังความคิดเห็นจาก ผู้อื่นหรือคนจำนวนมาก, ซาวเสียง ก็ว่า.
หางเสียง : น. กระแสเสียงที่ลงท้ายซึ่งแสดงนิสัย ความรู้สึก หรืออารมณ์ ของผู้พูดเป็นต้น เช่นโกรธ อ่อนโยน.
หีบเสียง : น. เครื่องทําให้จานเสียงหมุนแล้วมีเสียงออกมา.
ให้เสียง : ก. กระทำเสียงใด ๆ ให้ผู้อื่นรู้ตัวล่วงหน้าก่อนที่จะปรากฏกาย เช่น ฉันตกใจ เธอเข้ามาไม่ให้เสียงเลย.
ออกเสียง : ก. เปล่งเสียง; ลงคะแนนเสียง; ลงคะแนนเลือกตั้ง; ออกความเห็น.
อัดแผ่นเสียง : ก. บันทึกเสียงลงในแผ่นเสียง.
อัดเสียง : ก. บันทึกเสียงลงในแถบบันทึกเสียงหรือฟิล์มเป็นต้น.
คำประสาน : น. คำที่เกิดจากการนำคำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมาประกอบกัน อาจเป็นคำที่เกิดอิสระไม่ได้ ๒ คำมาประกอบกัน เช่น ชดช้อย ครื้นเครง หรือเป็นคำที่เกิดอิสระไม่ได้คำหนึ่งประกอบกับคำที่เกิดอิสระได้ อีกคำหนึ่ง เช่น ชาวไร่ อ่อนช้อย, คำผสาน ก็เรียก.
ช้างประสานงา : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง; ท่าละครท่าหนึ่ง; ชื่อเพลงบทละคร.
ชื่อเสียง : น. เกียรติยศ, ชื่อ ก็ว่า เช่น เสียชื่อ มีชื่อ.
ต้นเสียง : น. คนร้องนํา.
ตะโพกสุดเสียงสังข์ : (สำ) น. เรียกตะโพกหญิงที่ผายออกมาก.
ประสมประสาน : ก. ผสมผสาน, เก็บรวมไว้ทีละเล็กละน้อย, เก็บเล็กผสมน้อย.
เป็นปากเป็นเสียงกัน : ก. ทะเลาะกัน.
มายาประสาน : ดู กําแพงขาว.
มีปากมีเสียง : ก. ทะเลาะกัน, ทุ่มเถียงกัน.
ไม่ฟังเสียง : ก. ดื้อดึง, ไม่ยอมเชื่อฟัง.
หาเสียง : ก. แสวงหาการสนับสนุน.