Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ประเทศสหรัฐอเมริกา, สหรัฐอเมริกา, ประเทศ , then ปรทศ, ปรทศสหรฐอมรกา, ประเทศ, ประเทศสหรัฐอเมริกา, สหรฐอมรกา, สหรัฐอเมริกา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ประเทศสหรัฐอเมริกา, 291 found, display 1-50
  1. ประเทศ : น. บ้านเมือง, แว่นแคว้น; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว ความหมายคงเดิม เช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ. (ส.; ป. ปเทส); (กฎ) ชุมนุมแห่งมนุษย์ซึ่งตั้งมั่นอยู่ในดินแดนอันมีอาณาเขตแน่นอน มีอํานาจอธิปไตยที่จะใช้ได้อย่างอิสระ และมีการปกครองอย่างเป็น ระเบียบเพื่อประโยชน์ของบรรดามนุษย์ที่อยู่ร่วมกันนั้น, รัฐ ก็เรียก.
  2. สหประชาชาติ : (กฎ) น. องค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเป็น ทางการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๘ (ค.ศ. ๑๙๔๕) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ แทนสันนิบาตชาติตามมติของที่ประชุมผู้แทนประเทศ ๕๐ ประเทศ ในการประชุมใหญ่ที่นครซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา โดยมี วัตถุประสงค์สําคัญ คือ การป้องกันสงคราม การยืนยันรับรองสิทธิ มนุษยชนขั้นพื้นฐาน การเคารพและปฏิบัติตามพันธกรณีที่เกิดจาก สนธิสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศ, เรียกชื่อเต็มว่า องค์การ สหประชาชาติ (United Nations Organization).
  3. ดอลลาร์ : น. ชื่อหน่วยเงินตราที่ใช้เรียกในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย. (อ. dollar).
  4. ประเทศชาติ : น. บ้านเกิดเมืองนอน.
  5. กฎหมายนานาประเทศ : (กฎ; โบ) น. ชื่อเดิมของกฎหมายระหว่าง ประเทศ. (ดู กฎหมายระหว่างประเทศ).
  6. นักเรียนนอก : น. ผู้ที่ไปศึกษามาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะหมายถึง ประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา.
  7. บาร์เรล : น. หน่วยวัดความจุของของเหลว ซึ่งเมื่อใช้กับการวัดปริมาตร นํ้ามันปิโตรเลียม ๑ บาร์เรล = ๓๖ แกลลอนในประเทศอังกฤษ ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกา ๑ บาร์เรล = ๔๒ แกลลอน. (อ. barrel).
  8. เมืองนอก : (ปาก) น. ประเทศอื่น ๆ, ต่างประเทศ มักหมายถึงประเทศใน ทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา.
  9. สัมพันธมิตร : น. เรียกกลุ่มประเทศอันประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน ที่รวมเป็นแกนร่วมรบกับ กลุ่มประเทศฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ว่า ฝ่ายสัมพันธมิตร.
  10. อเมริกัน : น. ชื่อชาวประเทศสหรัฐอเมริกา.
  11. กฎหมายระหว่างประเทศ : (กฎ) น. หลักกฎหมายหรือหลักปฏิบัติ ที่ยอมรับกันว่าด้วยรัฐและความเกี่ยวพันระหว่างรัฐ รวมทั้งความ เกี่ยวพันระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศและประชาคม ระหว่างประเทศ, เดิมเรียกว่า กฎหมายนานาประเทศ. (อ. international law).
  12. การต่างประเทศ : น. ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับ ราชการต่างประเทศ.
  13. ด้าว : น. แดน, ประเทศ, เช่น คนต่างด้าว; ด้าน เช่น ด้าวท้าย ว่า ด้านท้าย.
  14. แผ่นดิน : น. พื้นดินของโลก; รัฐ, ประเทศ, เช่น แผ่นดินไทย; รัชกาล เช่น ผลัดแผ่นดิน.
  15. มัชฌิมประเทศ : [มัดชิมะ-, มัดชิม-] น. ประเทศอินเดีย, ตามแบบ หมายถึงอินเดียตอนกลาง.
  16. รับใช้ชาติ, รับใช้ประเทศชาติ : ก. ทำหน้าที่สนองคุณบ้านเมืองในฐานะ เป็นพลเมืองของประเทศ.
  17. ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ : (กฎ) น. ศาล ยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษา คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาล ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เช่น คดีอาญาและ คดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และคดีแพ่ง เกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือสัญญา อนุญาตให้ใช้สิทธิ คดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า หรือตราสารการเงินระหว่างประเทศหรือการให้บริการระหว่าง ประเทศการขนส่งระหว่างประเทศ การประกันภัย และนิติกรรม อื่นที่เกี่ยวเนื่อง คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่เกี่ยวกับข้อพิพาทในการ ออกแบบวงจร รวมการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ชื่อทางการค้า ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่แสดงถึงแหล่งกำเนิดของสินค้า ความลับ ทางการค้าและการคุ้มครองพันธุ์พืช.
  18. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ : (กฎ) น. องค์กรใหญ่ฝ่ายตุลาการ ขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ (ค.ศ. ๑๙๔๖) ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ สืบต่อจากศาลประจำยุติธรรม ระหว่างประเทศของสันนิบาตชาติ (Permanent Court of International Justice) ตามบทบัญญัติต่อท้ายกฎบัตรองค์การ สหประชาชาติ มีอำนาจจำกัดเฉพาะการพิจารณาตัดสินคดีแพ่ง ที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ด้วยกัน ซึ่งประเทศคู่กรณียินยอมให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสิน เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกรณีพิพาท ต่าง ๆ ทางกฎหมายและสนธิสัญญาตามที่สมัชชาใหญ่คณะมนตรี ความมั่นคง หรือองค์การชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ ร้องขอ, เรียกย่อว่า ศาลโลก. (อ. International Court of Justice).
  19. เมือง : น. แดน เช่น เมืองมนุษย์ เมืองสวรรค์ เมืองบาดาล, ประเทศ เช่น เมืองไทย เมืองจีน เมืองลาว; (โบ) จังหวัด เช่น เมืองเชียงใหม่ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองตราด; เขตซึ่งเคยเป็นเมืองสำคัญในระดับจังหวัดต่อมาถูกลดฐานะเป็น อำเภอ เช่น เมืองไชยา เมืองมีนบุรี เมืองขุขัน์; เขตซึ่งเป็นที่ชุมนุมและเป็น ที่ตั้งศาลากลางจังหวัด ซึ่งในครั้งก่อน ถ้าเป็นเมืองใหญ่ หมายถึงเขตภายใน กําแพงเมือง.
  20. รัฐ, รัฐ– : น. วิธีการปกครองบ้านเมือง. [รัด, รัดถะ–] น. แคว้น เช่น รัฐปาหัง, บ้านเมือง เช่น กฎหมายสูงสุด ของรัฐ, ประเทศ เช่น รัฐวาติกัน. (ป. รฏฺ?; ส. ราษฺฏฺร).
  21. พายุทอร์นาโด : น. พายุประจำถิ่นขนาดเล็ก แต่มีความรุนแรงมาก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๓ กิโลเมตร บริเวณศูนย์กลางพายุมี ความกดอากาศต่ำมาก จึงทำให้อากาศรอบนอกที่พัดเข้าหาศูนย์กลาง พายุมีความเร็วสูงมาก เมื่อเริ่มเกิดเมฆจะม้วนตัวเป็นรูปกรวยหรือ งวงยื่นออกมาจากฐานเมฆ ส่วนมากเกิดในบริเวณตอนกลางของ สหรัฐอเมริกา และทางตะวันตกของออสเตรเลีย, ลมงวง หรือ ลมงวงช้าง ก็เรียก.
  22. ก๊ก : น. พวก, หมู่, เหล่า, โดยปรกติมักใช้เข้าคู่กันว่า เป็นก๊กเป็นพวก เป็นก๊กเป็นหมู่ เป็นก๊กเป็นเหล่า. (จ. ว่า ประเทศ).
  23. กันชน : น. เครื่องป้องกันการกระทบกระแทกด้านหน้าและ ด้านหลังรถยนต์, เรียกประเทศที่กั้นอยู่ระหว่างดินแดนของ ๒ ประเทศ เพื่อมิให้พิพาทกันในเรื่องดินแดนและผลประโยชน์ว่า ประเทศกันชน.
  24. การพา : (ความร้อน) น. การส่งถ่ายพลังงานความร้อนผ่านของเหลว หรือแก๊สโดยวิธีการซึ่งโมเลกุลของของเหลวหรือแก๊สเคลื่อนที่ไป. การเมือง น. (๑) งานที่เกี่ยวกับรัฐหรือแผ่นดิน เช่น วิชาการเมือง ได้แก่วิชาว่าด้วยรัฐ การจัดส่วนแห่งรัฐ และการดําเนินการแห่งรัฐ. (๒) การบริหารประเทศเฉพาะที่เกี่ยวกับนโยบายในการบริหาร ประเทศ เช่น การเมืองระหว่างประเทศ ได้แก่การดําเนินนโยบาย ระหว่างประเทศ. (๓) กิจการอํานวยหรือควบคุมการบริหาร ราชการแผ่นดิน เช่น ตําแหน่งการเมือง ได้แก่ตําแหน่งซึ่งมีหน้าที่ อํานวย (คณะรัฐมนตรี) หรือควบคุม (สภาผู้แทนราษฎร) การบริหารแผ่นดิน. (ปาก) ว. มีเงื่อนงํา, มีการกระทําอันมีเจตนาอื่น แอบแฝงอยู่, เช่น ป่วยการเมือง.
  25. ดุลการชำระเงิน : [ดุน-] น. ความต่างกันระหว่างปริมาณเงินที่ส่งออกนอก ประเทศกับปริมาณเงินที่นําเข้ามาในประเทศ, ถ้าปริมาณเงินที่นําเข้ามาใน ประเทศสูงกว่าปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศ เรียกว่า ดุลการชําระเงิน เกินดุล, ถ้าปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศสูงกว่าปริมาณเงินที่นําเข้าใน ประเทศ เรียกว่า ดุลการชําระเงินขาดดุล.
  26. ประชามติ : น. มติของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่แสดงออก ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือที่ใดที่หนึ่ง. (อ. plebiscite); มติของประชาชน ที่รัฐให้สิทธิออกเสียงลงคะแนนรับรองร่างกฎหมายสําคัญที่ได้ผ่าน สภานิติบัญญัติแล้ว หรือให้ตัดสินในปัญหาสําคัญในการบริหาร ประเทศ. (อ. referendum).
  27. เผ่า : น. เหล่ากอ, กลุ่มชนเชื้อชาติเดียวกัน (มักใช้แก่ชนกลุ่มน้อยของ ประเทศ) เช่น ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ.
  28. พิสัย : น. วิสัย, ลักษณะที่เป็นอยู่, ความสามารถ; ขอบ, เขต, แดน, ตําบล, ถิ่น, แว่นแคว้น, ที่, มณฑล, ประเทศ. (ป. วิสย).
  29. สกรรถ : [สะกัด] น. เรียกคำที่เพิ่มเข้าข้างหลังคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว มีความหมาย คงเดิม หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ ว่า คำสกรรถ เช่น อากร (ในคำเช่น นรากร ประชากร) อาการ (ในคำเช่น คมนาการ ทัศนาการ) ชาติ (ในคำ เช่น มนุษยชาติ ติณชาติ) ประเทศ (ในคำเช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ).
  30. สมณสาสน์ : [สาด] น. จดหมายของสมเด็จพระสังฆราชหรือประมุข ของประเทศ ซึ่งเป็นนักบวชที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่าง ประเทศ.
  31. อะหม : น. ชนชาติไทยใหญ่สาขาหนึ่ง ที่เข้าไปอยู่ในแคว้นอัสสัม ประเทศ อินเดียเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘, อาหม ก็ว่า.
  32. กงสุล : (กฎ) น. ชื่อตําแหน่งของบุคคลซึ่งรัฐบาลของประเทศหนึ่งแต่งตั้ง ให้เป็นผู้แทนประจําอยู่ในเมืองต่าง ๆ ของอีกประเทศหนึ่ง เพื่อทํา หน้าที่ช่วยเหลือคนชาติของประเทศผู้แต่งตั้งกงสุลที่ไปอยู่ในเมือง ต่างประเทศนั้น ๆ และเพื่อดูแลผลประโยชน์ทั่วไปของประเทศ ผู้แต่งตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพาณิชย์ กงสุล มี ๒ ประเภท คือ (๑) กงสุลโดยอาชีพ ได้แก่ ผู้ที่เป็นข้าราชการของ ประเทศผู้แต่งตั้ง และ (๒) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้แก่ ผู้ได้รับแต่งตั้ง ซึ่งมิใช่ข้าราชการและไม่ได้รับเงินเดือน ซึ่งอาจเป็นคนชาติของ ประเทศผู้แต่งตั้ง หรือคนชาติอื่นก็ได้ กงสุลที่มีตําแหน่งเป็นหัวหน้า สถานกงสุลมี ๔ ระดับ คือ กงสุลใหญ่ กงสุล รองกงสุล และตัวแทน ฝ่ายกงสุล. ว. เกี่ยวกับกงสุล เช่น สถานกงสุล เขตกงสุล พนักงาน ฝ่ายกงสุล. (ฝ. consul).
  33. กฎบัตรสหประชาชาติ : น. ตราสารที่สถาปนาและจัดระเบียบองค์การ ระหว่างประเทศที่เรียกว่า องค์การสหประชาชาติ.
  34. กฎหมาย : (กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ใน การบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือ เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทําหนังสือ เป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทําหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกําหนดเก่า); ออกหมายกําหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหม กฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่วจะเอาตัวผู้กฎหมาย ลงโทษ. (พระราชกําหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้ง กรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดํารัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กําหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนา ใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).
  35. กติกาสัญญา : (กฎ) น. ความตกลงระหว่างประเทศ. (อ. pact).
  36. กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
  37. กรมท่า : [กฺรมมะ-] (กฎ; โบ) น. ส่วนราชการในสมัยก่อนซึ่งอยู่ในสังกัด กรมพระคลัง มีหน้าที่เกี่ยวกับการต่างประเทศและปกครองเมืองท่า ว. สีขาบ, สีน้าเงินแก่, เรียกว่า สีกรมท่า.
  38. กระจอกชวา : น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Padda oryzivora ในวงศ์ Estrildidae มีถิ่นกําเนิดในเกาะชวาและเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เคยนํามาเลี้ยงใช้เสี่ยงทาย จึงเรียกว่า นกหมอดู.
  39. กระวาน ๑ : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Amomum krervanh Pierre ในวงศ์ Zingiberaceae ชอบขึ้นในป่าดิบชื้นตามภูมิประเทศ ที่เป็นเขาทางจันทบุรีและตราด ผลมีกลิ่นหอมฉุน ใช้ปรุงอาหาร และทํายา; อีกชนิดหนึ่ง คือ Elettaria cardamomum (L.) Maton ในวงศ์เดียวกัน เรียกว่า กระวานเทศ มาจากประเทศอินเดียตอนใต้, เอลา ลูกเอ็ล หรือ ลูกเอ็น ก็เรียก. (๒) ชื่อเรียกใบของไม้ต้นชนิด Laurus nobilis L. ในวงศ์ Lauraceae กลิ่นคล้ายกระวาน ใช้เป็น เครื่องเทศและแต่งกลิ่นยา.
  40. กรุกกรัก : ก. ขลุกขลัก เช่น กรุกกรักประดักประเดิดเปิดฝาลุ้ง. (คาวี). ว. เสียงดังกุกกัก เช่น ได้ยินเสียงกรุกกรักก็ทักถาม. (ม. ร่ายยาว ชูชก). ว. เสียงนกเขาขันคู, จุ๊กกรู๊ ก็ว่า. [กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร). [กฺรุ้งกฺริ่ง] ก. แสดงสีหน้า แววตา และท่าทางเจ้าชู้, กรุ้มกริ่ม ก็ว่า. [กฺรุงขะเหฺมา] น. ชื่อไม้เถาชนิด Cissampelos pareira L. var. hirsuta (Buch. ex DC.) Forman ในวงศ์ Menispermaceae ใบรูปสามเหลี่ยมปลายมน ผลกลม เมื่อสุกสีแดง.
  41. กรุง : [กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร).
  42. กลัมพก, กลัมพัก : [กะลํา-] (แบบ) น. ผักบุ้ง เช่น ประเทศที่ต่ำน้ำลึกล้วนเหล่ากลัมพัก พ่านทอดยอดยาวสล้างสลอน. (ม. ร. ๔ มหาพน). (ป., ส. กลมฺพก).
  43. กลาโหม : [กะลาโหมฺ] น. ชื่อกรมที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ในสมัยโบราณ มีสมุหพระกลาโหมเป็นประธาน; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่ เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจาก ภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ; การชุมนุมพลรบ.
  44. กวางตุ้ง ๑ : [กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง.
  45. กว้างใหญ่ : ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
  46. กองเกียรติยศ : น. กองทหารหรือตํารวจเป็นต้น ที่จัดขึ้นเพื่อให้ เป็นเกียรติแก่ประมุขของประเทศ บุคคลสําคัญ ศพทหารตํารวจ หรือสิ่งอื่น ๆ เช่น ธงชัยเฉลิมพล.
  47. กังไส : น. เครื่องถ้วยปั้นที่ทํามาจากแคว้นเกียงสีในประเทศจีน.
  48. กัมพูชา : น. ชื่อประเทศเขมร.
  49. กาน้ำ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Canarium album (Lour.) Raeusch. ในวงศ์ Burseraceae ผลคล้ายสมอบางชนิด กินได้ มีถิ่นกําเนิดในประเทศจีน, สมอจีน ก็เรียก.
  50. การคลัง : น. การจัดการเงิน, การคลังแผ่นดิน หรือ การคลังสาธารณะ คือ การจัดการเงินของประเทศ, การคลังเอกชน คือ การจัดการ เงินของบุคคล เช่น บริษัท; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับ การเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ ซึ่งรัฐมีอํานาจดําเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมาย และไม่อยู่ในอํานาจ หน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญา ผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อํานาจหรือให้สัตยาบัน รวมทั้งการค้า ประกันหนี้ของส่วนราชการ องค์การของรัฐ สถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-291

(0.1796 sec)