ปรานี : [ปฺรา-] ก. เอ็นดูด้วยความสงสาร.
ปรานีตีเอาเรือ : (สํา) ก. เอ็นดูหรือเผื่อแผ่เขา แต่กลับถูกประทุษร้าย ตอบ เช่น มุทะลุดุดันขันเหลือ ปรานีตีเอาเรือเสียอีกเล่า. (สังข์ทอง).
ปราน : [ปฺราน] น. โคตร, วงศ์.
ปรานีปราศรัย : [ปฺรานีปฺราไส] ก. ปรานี (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ใช้อย่างไม่ปรานีปราศรัย.
เอ็นดู : ก. มีใจรักใคร่, ปรานี.
กระไร : ว. อะไร เช่น เขาไม่ว่ากระไร, อย่างไร เช่น จะทำกระไรดี, เท่าไร เช่น ถูกปรับเพียง ๑๐๐ บาทก็ไม่กระไรนัก, ทำไม, ไฉน, เช่น ข้าแต่นเรศูรสมเด็จพระบิดาเจ้าข้าเอ่ย กระไรเลยไม่ปรานี. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
กำพร้า ๒ : [-พฺร้า] ว. ไร้บิดาหรือมารดาเลี้ยงดูแต่เด็ก, (โบ) หมายถึง ร้างลูกร้างเมียด้วย เช่น สองจะลีลาสู่ฟ้า ลาแม่เป็นกำพร้า เจ้าแม่เอ้ยปรานี แม่รา. (ลอ), (กลอน) ใช้เป็น ก่ำพร้า ก็มี เช่น เจ้าจะละเรียมไว้ ก่ำพร้าคนเดียว. (ลอ).
คร่า : [คฺร่า] ก. ฉุดลากไปอย่างไม่ปรานี.
ใจร้าย : ว. ดุร้าย, ไม่ปรานี.
แม่พระ : น. คำเรียกพระมารดาของพระเยซู; เรียกผู้หญิงที่มีจิตใจเมตตาปรานี ชอบช่วยเหลือผู้อื่นเป็นนิจ.
เหี้ยม : ว. แข็งกระด้างปราศจากเมตตากรุณา, ไม่ปรานี; ดุร้ายหมดความกลัว. (แบบ) น. เหตุ เช่น เหี้ยมนั้นจึงหากให้ ฉัตรหัก เหนแฮ. (ตะเลงพ่าย).
เหี้ยมหาญ : ว. เข้มแข็งกล้าหาญเด็ดขาด, ห้าวหาญปราศจากความปรานี.
ออกไท้ : (โบ; กลอน) น. คำเรียกผู้เป็นใหญ่ หมายถึง กษัตริย์ เช่น คิดปรานีออกไท้ รอยราชละห้อยไห้ ถึงลูกแลนะหัว ลูกเอยฯ. (ลอ).
ประปราน : น. เหว. ก. ตกลงไป, ตกไป. (ส. ปฺรปตน; ปปตน). ว. มีกระจายอยู่ห่าง ๆ เช่น ผมหงอกประปราย ผลไม้ติดประปราย,
ปราณ : [ปฺราน] น. ลมหายใจ; สัตว์มีชีวิต, ชีวิต, ใจ. (ส. ปฺราณ; ป. ปาณ).
ปราณี : [ปฺรานี] น. ผู้มีชีวิต, สัตว์, คน. (ส. ปฺราณิ, ปฺราณินฺ; ป. ปาณี).