Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปรา , then บรา, ปร, ประ, ปรา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปรา, 659 found, display 1-50
  1. ปราชาปัตยวิวาหะ : [ปฺราชาปัดตะยะ-] น. การสมรสวิธีหนึ่งที่บิดายกลูกสาวให้เจ้าบ่าว โดยปราศจากการเรียกร้องอย่างใดอย่างหนึ่งจากเจ้าบ่าว. (ส.).
  2. ปราติหารย์ : [ปฺราติหาน] (กลอน) น. ปาฏิหาริย์. (ส. ปฺราติหารฺย; ป. ปาฏิหาริย).
  3. ปราทุกรา : [ปฺราทุกฺรา] (กลอน) น. ปาทุกา, รองเท้า. (ป., ส. ปาทุกา).
  4. ปร่า : [ปฺร่า] ว. ลักษณะของรสที่ไม่กลมกล่อมไม่แน่ชัดว่าเป็นรสอะไร เช่นรสแกงที่มีเครื่องปรุงไม่เหมาะส่วน.
  5. ปรางค์ปรา : [ปฺรางปฺรา] (กลอน) ตัดมาจาก ปรางค์ปราสาท.
  6. เปรมปรา : [-ปฺรา] (กลอน) ตัดมาจาก เปรมปราโมทย์.
  7. ประ- ๑ : [ปฺระ] ใช้เติมหน้าคําอื่นเพื่อให้คําหนักแน่นขึ้น เช่น ชิด เป็น ประชิด, ท้วง เป็น ประท้วง; คําที่แผลงมาจาก ผ เช่น ผทม เป็น ประทม แล้วแผลง ประ เป็น บรร เช่น ประทม เป็น บรรทม.
  8. ประ ๒ : [ปฺระ] ก. ปะทะ เช่น ประหมัด, กระทบ, ระ, เช่น ผมประบ่า.
  9. ประ ๓ : [ปฺระ] ก. ทำให้เป็นจุด ๆ เช่น ประไข่ปลา, ทำให้เป็นจุด ๆ หรือ เม็ด ๆ ทั่วไปอย่างประแป้ง.
  10. ปาทุกา : (แบบ) น. รองเท้า, เขียงเท้า, เขียนเป็น บราทุกรา หรือ ปราทุกรา ก็มี. (ป., ส.).
  11. ประ ๔ : [ปฺระ] (ถิ่น-ปักษ์ใต้, มลายู) น. ลูกกระ. (ดู กระ๒).
  12. ประ ๕ : [ปฺระ] ดู กระ.
  13. ปรำ : [ปฺรํา] ก. ทําอาการดุจกระทุ้ง; เจาะจง; เทลงไปเร็ว ๆ ให้ปนกับ ของอื่น; รุมกล่าวโทษ.
  14. ปรา : [เปฺรา] (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อปีนักษัตรของไทยเหนือ ตรงกับ ปีฉลู, คําเดียวกับ เป๊า.
  15. ปราะ ๑ : [เปฺราะ] น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิด Kaempferia galanga L. ในวงศ์ Zingiberaceae หัวและใบมีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหารและ ทํายาได้, เปราะหอม ก็เรียก. (๒) ชื่อมะเขือพันธุ์หนึ่ง.
  16. ปราะ ๒ : [เปฺราะ] ว. หักง่าย, แตกง่าย, เช่น ไส้ดินสอเปราะ.
  17. ปร- : [ปะระ-, ปอระ-] ว. อื่น, ใช้เป็นบทหน้าสมาส เช่น ปรปักษ์ ปรโลก. (ป.).
  18. ปร-ปักษ์ : [ปอระ-] น. ข้าศึก, ศัตรู, ฝ่ายตรงข้าม.
  19. ปรนิมมิตวสวัตดี : [ปะระนิมมิตตะวะสะวัดดี, ปอระ-] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๖ แห่ง สวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุ มหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าววสวัตดีมารเป็นผู้ครอง.
  20. ปรหิตะ : [ปะระหิตะ, ปอระหิตะ] น. ประโยชน์ผู้อื่น, มักใช้ควบกับ ประโยชน์ เป็น ปรหิตประโยชน์ ว่า ประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น. (ป. ปรหิต).
  21. ประเคราะห์ : (แบบ) น. ความเพียรที่แก่กล้า; การยกย่อง, การเชิดชู, ตรงข้ามกับ นิเคราะห์ ซึ่งแปลว่า การกําราบ, การลงโทษ, การข่มขี่. ก. ยกย่อง, ประคับประคอง. (ส. ปฺรคฺรห; ป. ปคฺคห).
  22. ประโดง : น. ลำน้ำขนาดเล็กที่ขุดจากลำน้ำขนาดใหญ่เพื่อชักน้ำเข้านาเข้าสวน เรียกว่า ลำประโดง, ลำกระโดง ก็ว่า.
  23. ประทบ : (กลอน) ก. กระทบ เช่น ประทบประทะอลวน. (ตะเลงพ่าย).
  24. ประทากล้อง : [ปฺระทากฺล้อง] น. ทองคําเปลวอย่างหนาและเนื้อดี เหมือนทอง ของหลวง, ใช้ว่า ประทาศี ก็มี, เรียกให้เต็มว่า ทองประทากล้อง ทองประทาศี.
  25. ประทาศี : น. ทองประทากล้อง.
  26. ประโปรย : [-โปฺรย] ก. ทำน้ำให้กระจายเป็นเม็ดเล็ก ๆ เช่น ประโปรย น้ำจากพระสุหร่าย.
  27. ประพิมพ์ประพาย : น. รูปพรรณสัณฐาน โดยเฉพาะหมายถึงลักษณะหรือส่วนที่ คล้ายคลึงกัน เช่น เด็กคนนี้มีประพิมพ์ประพายคล้ายพ่อ.
  28. ประสัยหาการ : ดู ประสัยห-, ประสัยห์.
  29. ประสัยหาวหาร : ดู ประสัยห-, ประสัยห์.
  30. ประสีประสา : น. วิสัย, เรื่องราว, ความเป็นไป, ความหมาย, (มักใช้ในประโยค ปฏิเสธ) เช่น ไม่รู้ประสีประสา.
  31. ประหว่า : ก. เปล่าเปลี่ยว, ว้าเหว่, เช่น มือประหว่าคว้าหมอน. (สมุทรโฆษ).
  32. บราทุกรา : [บะราทุกฺรา] (โบ; กลอน) น. รองเท้า. (ป., ส. ปาทุกา).
  33. ปรมาตมัน : [ปะระมาดตะมัน] (ปรัชญา) น. อาตมันสูงสุด เป็น ต้นกําเนิดและที่รวมของทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาล. (ส. ปรม + อาตฺมนฺ).
  34. ปรมาตมัน : ดู ปรม-.
  35. ปรมินทร์, ปรเมนทร์ : [ปะระมิน, ปอระมิน, ปะระเมน, ปอระเมน] น. ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง. (ส.).
  36. ปรมินทร์, ปรเมนทร์ : ดู ปรม-.
  37. ปรเมศวร์ : [ปะระเมด] น. ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง คือ พระอิศวร. (ส.).
  38. ปรเมศวร์ : ดู ปรม-.
  39. ประกาศก : [ปฺระกาสก] (แบบ) น. ผู้ประกาศ. (ส. ปฺรกาศก).
  40. ประกีรณกะ, ประเกียรณกะ : [ปฺระกีระนะกะ, ปฺระเกียนระนะกะ] ว. เรี่ยราย, เบ็ดเตล็ด, กระจาย, ระคนกัน, คละกัน. (ส. ปฺรกีรฺณก; ป. ปกิณฺณก).
  41. ประคนธรรพ, ประคนธรรพ์ : [ปฺระคนทับ, ปฺระคนทัน] ดู ประโคนธรรพ, ประโคนธรรพ์.
  42. ประคับประคอง : ก. คอยระมัดระวังพยุงไว้, คอยบํารุงรักษา, ทะนุถนอมอย่างดี.
  43. ประคัลภ์ : (แบบ) น. ความกล้า, ความสามารถ, ความคะนอง. ว. คล่องแคล่ว, ประเปรียว. (ส.).
  44. ประคารม : ก. ตีฝีปากกัน.
  45. ประคิ่น, ประคิ่นวินชา : ก. ประจง, ค่อย ๆ ทําให้เรียบร้อย, ประคอง.
  46. ประจักษนิยม : [ปฺระจักสะ-] น. ประสบการณ์นิยม.
  47. ประจิ้มประจ่อง : ก. หยิบหย่ง, ดัดจริตกรีดกราย.
  48. ประจิ้มประเจ๋อ : ว. พูดจาและแสดงกิริยาเสนอหน้าอย่างเด็ก.
  49. ประจุคมน์ : ก. ลุกขึ้นต้อนรับ. (ป. ปจฺจุคฺคมน).
  50. ประตยาค : [ปฺระตะยาก] ก. ประจาค. (ส. ปฺรตฺยาค).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-659

(0.1026 sec)