Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปริโภค , then บริโภค, ปรภค, ปริโภค .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปริโภค, 34 found, display 1-34
  1. ปริโภค : [ปะริโพก] ก. บริโภค. (ป.).
  2. บริโภค : [บอริโพก] ก. กิน (ใช้เฉพาะอาการที่ทําให้ล่วงลําคอลงไปสู่กระเพาะ) เช่น บริโภคอาหาร, เสพ เช่น บริโภคกาม; ใช้สิ้นเปลือง, ใช้สอย, เช่น บริโภคสมบัติ, คู่กับ อุปโภค. (ป. ปริโภค).
  3. บริโภคเจดีย์ : [บอริโพกคะ-] น. เจดีย์ที่บรรจุเครื่องบริขารของ พระพุทธเจ้า.
  4. ผู้บริโภค : (กฎ) น. ผู้ซื้อหรือได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ และ หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือชักชวนจากผู้ประกอบ ธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการด้วย; ผู้เข้าทำสัญญาในฐานะ ผู้ซื้อ ผู้เช่า ผู้เช่าซื้อ ผู้กู้ ผู้เอาประกันภัย หรือผู้เข้าทำสัญญาอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน บริการหรือประโยชน์อื่นใดโดยมีค่า ตอบแทน ทั้งนี้ การทำสัญญานั้นต้องเป็นไปโดยมิใช่เพื่อการค้า ทรัพย์สิน บริการ หรือประโยชน์อื่นใดนั้นและหมายความรวมถึง ผู้เข้าทำสัญญาในฐานะผู้ค้ำประกันของบุคคลดังกล่าวซึ่งมิได้ กระทำเพื่อการค้าด้วย. (อ. consumer).
  5. ขาทนียะ : [ขาทะ-] (แบบ) น. อาหารควรเคี้ยว, มักใช้เข้าคู่กับคำ โภชนียะ เป็น ขาทนียโภชนียะ หมายความว่า อาหารที่ควรเคี้ยวและอาหารที่ควร บริโภค. (ป.).
  6. ตะกรุมตะกราม : [-กฺรุม-กฺราม] ก. กิริยาที่ทําไปอย่างผลีผลาม ขาดการพินิจพิจารณาเนื่องในการ บริโภค เป็นต้น.
  7. อุปโภค : [อุปะโพก, อุบปะโพก] ก. เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์, คู่กับ บริโภค. ว. ที่เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในคำว่า เครื่องอุปโภค. (ป., ส.).
  8. กระชัง ๒ : น. เครื่องสําหรับขังปลาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ไผ่ทําเป็นกง ๔ อัน แล้วผูกด้วยซี่ไม้ไผ่โดยรอบ รูปกลม หัวท้ายเรียว ตอนบนเจาะ เป็นช่อง มีฝาปิด ใช้ไม้ขัดฝา ๒ ข้าง ใช้ไม้ไผ่กระหนาบ เพื่อให้ลอยได้ ในขณะออกไปจับปลาตามกร่ำ เมื่อจับปลาหรือกุ้ง ได้ก็เอาใส่ไว้ในนั้นชั่วคราว, อีกชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีปากเปิดกว้างคล้าย ๆ ตะกร้าหรือเข่งใส่ของ แต่ใหญ่กว่า กระชังชั่วคราวนั้นหลายเท่า เป็นที่สําหรับจับปลาขนาดใหญ่ มาขังไว้หรือเลี้ยงลูกปลาให้โตตามที่ต้องการ เพื่อบริโภคหรือ ค้าขาย และเอากระชังนี้ผูกติดหลักแช่ลอยน้ำไว้.
  9. ขายปลีก : ก. ขายเป็นส่วนย่อย, ขายตรงแก่ผู้บริโภคใช้สอย.
  10. คนกลาง : น. ผู้ถือเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายโน้นฝ่ายนี้ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น, ผู้ทําหน้าที่ไกล่เกลี่ย, ผู้ทําการค้าระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค.
  11. คูปอง : น. บัตรหรือตั๋วชนิดหนึ่งที่ใช้แลกของ ซื้อของ หรือใช้บริการขึ้นดอกเบี้ย หรือปันส่วนเครื่องอุปโภคบริโภคในเมื่อมีการควบคุม. (ฝ. coupon).
  12. จตุปาริสุทธิศีล : [จะตุปาริสุดทิสีน] น. ศีลคือความบริสุทธิ์ หรือ ศีลคือ เครื่องให้บริสุทธิ์ ๔ ประการ คือ ๑. สํารวมในพระปาติโมกข์ (ปาติโมกฺขสํวร) ๒. สํารวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อินฺทฺริยสํวร) ๓. เลี้ยงชีพโดยทางชอบ (อาชีวปาริสุทฺธิ) ๔. บริโภคปัจจัยด้วยการพิจารณา (ปจฺจยสนฺนิสฺสิต). (ป.).
  13. เจริญอาหาร : ก. บริโภคอาหารได้มาก. ว. ที่ทําให้บริโภคอาหาร ได้มากเช่น ยาเจริญอาหาร.
  14. เซ็ง : ว. ชืด, จืดชืด, หมดรส, (ใช้เรียกสิ่งที่ควรจะบริโภคหรือจัดทํา ในเวลาหนึ่ง แต่ทิ้งไว้นานเกินควร), หมดความตื่นเต้น.
  15. ถ้วย ๑ : น. ภาชนะก้นลึก มีรูปต่าง ๆ สําหรับใส่นํ้าหรือของบริโภคเป็นต้น เช่น ถ้วยนํ้าร้อน ถ้วยนํ้าพริก ถ้วยตะไล โดยมากเป็นเครื่องเคลือบ ดินเผา ที่ทําด้วยแก้วหรือสิ่งอื่น ๆ ก็มี; ลักษณนามเรียกถ้วยที่ไม่มี อะไรบรรจุว่า ใบ เช่น ถ้วยใบหนึ่ง ถ้วย ๒ ใบ, เรียก ถ้วยที่มีสิ่งของ บรรจุว่า ถ้วย เช่น แกงถ้วยหนึ่ง แกง ๒ ถ้วย; เรียกสิ่งที่เป็นเครื่อง เคลือบดินเผา เช่น กระเบื้องถ้วย ช้อนถ้วย; เรียกสิ่งของหรือสัตว์ ที่มีรูปอย่างถ้วย เช่น มะเขือ ถ้วย แมงดาถ้วย.
  16. น้ำประปา : น. น้ำที่เกรอะกรองให้สะอาดปราศจากเชื้อโรค แล้วจ่าย ไปให้ประชาชนบริโภคใช้สอย.
  17. บัตรเครดิต : น. บัตรซึ่งสถาบันการเงินหรือธุรกิจออกให้แก่ผู้บริโภค ที่เป็นสมาชิก เพื่อให้ชำระค่าสินค้าหรือบริการจากสถานการค้าหรือ ธุรกิจที่รับบัตรนั้นแทนการชำระด้วยเงินสด. (อ. credit card).
  18. บ้า ๒ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Leptobarbus hoevenii ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัวค่อนข้างยาวหนาเกือบเป็นรูปทรงกระบอก หัวกว้าง มีหนวด ๒ คู่ ท้องกลมมน ด้านหลังและข้างตัวสีเขียวอ่อน ด้านท้องสีขาว แต้มเหลือง ครีบท้อง ครีบก้น และครีบหลังสีแดงอ่อน ในปลา ขนาดเล็กมีแถบสีดําคลํ้าพาดตลอดข้างตัว พบอาศัยตามแม่นํ้า ลําคลองและบึงใหญ่ทั่วไป ขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร ใน ธรรมชาติกินผลไม้รวมทั้งผลกระเบา เมื่อมีผู้นําไปบริโภค ทําให้เกิดอาการมึนเมา, อ้ายบ้า หรือ พวง ก็เรียก.
  19. ประปา : น. นํ้าที่เกรอะกรองให้สะอาดปราศจากเชื้อโรคแล้วจ่ายไปให้ ประชาชนบริโภคใช้สอย เรียกว่า นํ้าประปา, เรียกรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีหน้าที่จัดทําและจําหน่ายนํ้าประปาว่า การประปา, เรียกสิ่ง อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการนี้ เช่น ก๊อกประปา ท่อประปา. (ส. ปฺรปา; ป. ปปา).
  20. ปัจฉาภัต : น. เวลาภายหลังบริโภคอาหาร คือ ตั้งแต่เที่ยงแล้วไป. (ป.).
  21. พรต : [พฺรด] น. กิจวัตร, การปฏิบัติ; มรรยาท, เขตแห่งความประพฤติ, ธรรมเนียม, ประเพณี, การสมาทานหรือประพฤติตามลัทธิศาสนา, การจําศีล (เช่น การเว้นบริโภค เว้นเมถุนธรรม); การสมาทานบริโภค อาหารอย่างเดียวเป็นนิตย์ (เช่น มธุพรต คือ การสมาทานกินแต่นํ้าผึ้ง); ข้อกําหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกายใจ มีศีลวินัยเป็นต้น เช่น บําเพ็ญพรต ทรงพรต ถือพรต, เรียกผู้บําเพ็ญพรตว่า นักพรต. (ส. วฺรต; ป. วตฺต).
  22. พุทธเจดีย์ : น. เจดีย์ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า มี ๔ ชนิด คือ ธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ ธรรมเจดีย์ และอุเทสิกเจดีย์.
  23. โภคทรัพย์ : [โพกคะ–] น. ทรัพย์สิ่งของที่ใช้อุปโภคบริโภค.
  24. โภคภัณฑ์ : [โพกคะ–] น. เครื่องอุปโภคบริโภค.
  25. โภคิน, โภคี : น. ผู้บริโภค; งู, นาค; คนมั่งมี, คนมีสมบัติ; นายบ้าน. (ป., ส.).
  26. โภชนียะ : (แบบ) น. อาหารควรบริโภค. (ป., ส.).
  27. โภช, โภชย์ : [โพด] น. ของควรบริโภค. (ป. โภชฺช; ส. โภชฺย).
  28. เศรษฐกิจ : [เสดถะกิด] น. งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจําหน่าย จ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชน. (ส. เศฺรษฺ? + กิจฺจ).
  29. เศรษฐศาสตร์ : [เสดถะสาด] น. วิชาว่าด้วยการผลิต การจําหน่าย จ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชนมี ๒ สาขา คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหา เศรษฐกิจส่วนเอกชน หรือ ปัญหาการหาตลาดเป็นต้น และ เศรษฐศาสตร์มหัพภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหา เศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวม เช่น ปัญหาเรื่องรายได้ของ ประชาชาติ การออมทรัพย์ของประชากร ปัญหาการลงทุน.
  30. สด : ว. ใหม่ ใช้แก่ลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ที่ได้มาหรือผลิตขึ้นใหม่ ๆ ยัง ไม่ทันเสื่อมหรือเสียคุณภาพของสิ่งนั้น คือ ไม่เหี่ยวแห้ง ซีดจาง และอาจบริโภคหรือใช้ได้ดีในสภาพของขณะนั้น เช่น ไข่สด กุ้งสด ปลาสด, มีอยู่หรือได้มาใหม่ ๆ เช่น ข่าวสด, ดิบ คือ ยังไม่สุกด้วยไฟ ไม่แห้งหรือหมักดองเป็นต้น เช่น น้ำพริกผักสด ผลไม้สด น้ำตาลสด เบียร์สด ขนมจีนแป้งสด.
  31. สังคมนิยม : [สังคมมะ, สังคม] น. ทฤษฎีเศรษฐกิจและการเมือง ที่มี หลักการให้รัฐหรือส่วนรวมเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิต ตลอดจน การจําแนกแจกจ่าย และวางระเบียบการบริโภคผลผลิต.
  32. แห้ง : ว. ไม่มีนํ้า, หมดนํ้า, เช่น คลองแห้ง โอ่งแห้ง, ไม่เปียก เช่น ผ้าแห้ง, ที่ไม่ใส่ น้ำ เช่น ก๋วยเตี๋ยวแห้ง บะหมี่แห้ง, ไม่สด เช่น ใบไม้แห้ง; ที่อาจเก็บไว้บริโภค ได้นาน เช่น ของแห้ง หอมแห้ง พริกแห้ง; ไม่แจ่มใส เช่น หน้าแห้ง ยิ้มแห้ง; ขาดความชุ่มชื้น เช่น ผิวแห้ง ปากแห้ง จมูกแห้ง; โดยปริยายหมายความว่า ฝืดเคือง, อดอยาก, ในคำว่า ไส้แห้ง กระเป๋าแห้ง.
  33. อกัปปิยวัตถุ : น. สิ่งที่ต้องห้ามไม่ให้บริโภคใช้สอย (ใช้แก่ภิกษุ). (ป.).
  34. อ่างเก็บน้ำ : น. แอ่งขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นสำหรับเก็บนํ้าเพื่อบริโภค และใช้ในการเกษตรเป็นต้น.
  35. [1-34]

(0.0437 sec)