อาหาร : น. ของกิน, เครื่องคํ้าจุนชีวิต, เครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต, เช่น อาหารเช้า อาหารปลา อาหารนก; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น อาหารตา อาหารใจ. (ป., ส.).
ปรุง : [ปฺรุง] ก. ประสมหรือประกอบให้เหมาะส่วน.
เครื่องปรุง : น. สิ่งที่ใช้ในการปรุงอาหารเป็นต้น เช่น เนื้อสัตว์ ผัก เครื่องแกง กะทิ ผลไม้.
เครื่องปรุงรส : น. สิ่งที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหาร เช่น น้ำตาล น้ำปลา เกลือ.
ประกอบอาหาร : ก. ทําหรือปรุงแต่งอาหารต่าง ๆ.
อาหารว่าง : น. ของกินนอกเวลากินอาหารตามปรกติ มักกินใน เวลาบ่าย, ของว่าง ก็ว่า, ราชาศัพท์ใช้ว่า เครื่องว่าง.
กระชาย : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. ในวงศ์ Zingiberaceae สูงประมาณ ๖๐ เซนติเมตร มีลําต้นอยู่ใต้ดิน เป็นหัวกลม ๆ มีรากสะสมอาหาร ซึ่งเรียวยาว อวบน้ำ ออกเป็น กระจุก ใช้เป็นผักและเป็นเครื่องปรุงประกอบอาหาร, พายัพเรียก กะแอน หรือ ละแอน.
กระเทียม : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Allium sativum L. ในวงศ์ Alliaceae คล้ายต้นหอม หัวเป็นกลีบ ๆ เมื่อแห้งสีขาว กลิ่นฉุน รสเผ็ดร้อน ใช้ปรุงอาหาร, พายัพเรียก หอมเตียม, อีสานเรียก หอมขาว, ปักษ์ใต้เรียก เทียม.
กระวาน ๑ : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Amomum krervanh Pierre ในวงศ์ Zingiberaceae ชอบขึ้นในป่าดิบชื้นตามภูมิประเทศ ที่เป็นเขาทางจันทบุรีและตราด ผลมีกลิ่นหอมฉุน ใช้ปรุงอาหาร และทํายา; อีกชนิดหนึ่ง คือ Elettaria cardamomum (L.) Maton ในวงศ์เดียวกัน เรียกว่า กระวานเทศ มาจากประเทศอินเดียตอนใต้, เอลา ลูกเอ็ล หรือ ลูกเอ็น ก็เรียก. (๒) ชื่อเรียกใบของไม้ต้นชนิด Laurus nobilis L. ในวงศ์ Lauraceae กลิ่นคล้ายกระวาน ใช้เป็น เครื่องเทศและแต่งกลิ่นยา.
กอและ ๒ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. เรียกอาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยไก่ที่ถอดกระดูก ชุบเครื่องปรุงรส ปิ้งให้สุก ว่า ไก่กอและ.
กะทือ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Zingiber zerumbet (L.) Smith ในวงศ์ Zingiberaceae ดอกสีเหลือง ผลกลมสีแดง เหง้าสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม ใช้ทํายาได้ เมื่ออ่อนใช้ปรุงอาหาร ช่อดอกอ่อนใช้เป็นผัก.
กะปิ : น. ของเค็มทําด้วยเคยกับเกลือโขลกและหมักไว้ใช้ปรุงอาหาร, เยื่อเคย ก็ว่า. (พม่า ว่า งาปิ).
กะเพรา : [-เพฺรา] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Ocimum tenuiflorum L. ในวงศ์ Labiatae กลิ่นฉุน ใช้ปรุงอาหาร พันธุ์ที่กิ่งและก้านใบสีเขียว อมแดงเรียก กะเพราแดง ใช้ทํายาได้, พายัพเรียก กอมก้อ.
เกลือแกง : น. เกลือปรกติชนิดหนึ่งชื่อโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ลักษณะเป็นผลึกสีขาวละลายน้ำได้ มีมากในน้ำทะเล ใช้ปรุงอาหาร ทําเครื่องดองเค็ม, เมื่ออยู่ในสภาพบริสุทธิ์ที่สุด ใช้ละลายในน้ำกลั่น เรียกว่า น้ำเกลือ สําหรับให้ผู้ป่วยโดยให้ทางเส้นเลือด ใช้ในอุตสาหกรรมทําสบู่ อุตสาหกรรมผลิตโซดาแผดเผา. (อ. common salt).
เกลือจืด : น. เกลือที่ตกผลึกก่อนเกลือชนิดอื่น ๆ ในการทํานาเกลือ มีปนอยู่กับเกลือที่ใช้ในการปรุงอาหารเสมอ ไม่มีรส หรือ เกลือที่ ได้จากการเผายิปซัม, ยิปซัม หรือ หินฟองเต้าหู้ ก็เรียก.
ไก่กอและ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยไก่ที่ถอดกระดูก ชุบเครื่องปรุงรส ปิ้งให้สุก.
ขนงเนื้อ : [ขะหฺนง-]น. หนังสัตว์ที่เผาไฟให้สุกแล้วต้มให้เปื่อย เพื่อปรุงเป็นอาหาร.
ขมิ้น ๑ : [ขะมิ่น] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Curcuma longa L. ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้าสีเหลือง ใช้ปรุงอาหาร ทํายา ทําผงทาตัว และใช้ย้อมผ้า, ขมิ้นชัน ก็เรียก, อีสานและปักษ์ใต้เรียก ขี้มิ่น.
ข้าวซอย : (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง เป็นเส้นคล้ายบะหมี่ แล้วปรุงเครื่อง, เดิมเรียก ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ.
ข้าวยำ : น. อาหารชนิดหนึ่งของชาวปักษ์ใต้ ใช้ข้าวสุกคลุกกับ เครื่องปรุง มีกุ้งแห้งป่น มะพร้าวคั่ว นํ้าเคยหรือนํ้าบูดู ส้มโอ และผักต่าง ๆ หั่นละเอียด เช่น ใบมะกรูด ตะไคร้ ถั่วฝักยาว.
ข้าวหมก : น. อาหารชนิดหนึ่งของมุสลิม ประกอบด้วยข้าวสวย ปรุงด้วยเครื่องเทศและขมิ้น มีเนื้อไก่หรือเนื้อแพะหมกในข้าว.
เครื่องเทศ : น. ของหอมฉุนและเผ็ดร้อนที่ได้มาจากพืช โดยมากมาจาก ต่างประเทศสําหรับใช้ทํายาไทยและปรุงอาหาร เช่น ลูกผักชี ยี่หร่า.
เคล้า : [เคฺล้า] ก. ใช้มือเป็นต้นคนเบา ๆ ให้ทั่ว เช่น เคล้าเครื่องปรุงให้เข้ากัน ในการทำอาหาร; คลอเคลีย เช่น เคล้าแข้งเคล้าขา, เกลือก เช่น แมลงภู่ เคล้าเกสรดอกไม้.
งบ ๒ : น. ชื่อกับข้าวชนิดหนึ่งคล้ายห่อหมก ห่อด้วยใบไม้ มีใบตองเป็นต้น แล้วปิ้งไฟ. ก. ปรุงอาหารด้วยวิธีเช่นนั้น.
เจ : น. อาหารที่ไม่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ และผักบางชนิดเช่นกระเทียม กุยช่าย ผักชี, แจ ก็ว่า. (จ. ว่า แจ).
แจ ๒ : น. อาหารที่ไม่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ และผักบางชนิดเช่นกระเทียม กุยช่าย ผักชี, เจ ก็ว่า. (จ.).
ซอส : น. เครื่องปรุงรส มีลักษณะเหลวหรือค่อนข้างข้น ใช้จิ้มหรือ ปรุงอาหารเพื่อให้มีรสชาติดีขึ้น. (อ. sauce).
ตลาด : [ตะหฺลาด] น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ; (กฎ) สถานที่ซึ่งปรกติจัดไว้ให้ ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจําหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรือ อาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจําหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความ รวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สําหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจําหน่ายสินค้า ประเภทดังกล่าวเป็นประจําหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กําหนด.
ตะไคร้ : [-ไคฺร้] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Cymbopogon citratus (DC.) Stapf ในวงศ์ Gramineae ขึ้นเป็นกอ กลิ่นหอม ใช้ปรุงอาหารได้.
ตังฉ่าย : น. ผักดองแห้งแบบจีนชนิดหนึ่ง ใช้ปรุงอาหาร. (จ.).
ทำปลา : ก. ทําปลาให้สะอาดด้วยการขอดเกล็ด ผ่าท้องเอาไส้พุง ออกเป็นต้นให้เหมาะแก่การปรุงอาหาร.
น้ำเคย : น. นํ้าที่ได้จากเยื่อเคย (กะปิ) มีรสเค็ม ใช้ปรุงอาหาร.
น้ำตก : น. นํ้าที่ขังอยู่บนเขาตกลงมาที่หน้าผา, เรียกนํ้าที่ทําให้ตกลงมา ในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; อาหารอย่างหนึ่งใช้เนื้อสัตว์เช่นเนื้อหมู หรือเนื้อวัว ย่างพอสุกเล็กน้อยหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วปรุงด้วย พริกป่น หอมแดงซอย ข้าวคั่ว น้ำมะนาว น้ำปลา เป็นต้น; ก๋วยเตี๋ยวเนื้อสดที่ ใส่เลือดวัวสด.
น้ำตับ : (ถิ่นอีสาน) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้ตับวัวหรือควายสับให้ ละเอียด คลุกข้าวสุก เกลือ และเครื่องปรุง ขยําให้เข้ากันแล้วยัดใน ไส้หมู, หมํ้า หรือ หมํ้าตับ ก็เรียก.
น้ำปลา : น. นํ้าสําหรับปรุงอาหารให้มีรสเค็ม ทําจากปลาหรือสิ่งอื่น หมักกับเกลือ.
น้ำพริก : น. อาหารชนิดหนึ่ง ปรุงด้วย กะปิ กระเทียม พริกขี้หนู มะนาว เป็นต้นใช้เป็นเครื่องจิ้มหรือคลุกข้าวกิน ใช้นํ้าปลาหรือนํ้าปลาร้าแทน กะปิก็มี ใช้ของเปรี้ยวอื่น ๆ เช่น มะขาม มะดัน มะม่วง แทนมะนาวก็มี เรียกชื่อต่างกันไปตามเครื่องปรุง เช่น นํ้าพริกปลาร้า นํ้าพริกปลาย่าง นํ้าพริกมะขาม นํ้าพริกมะดัน นํ้าพริกมะม่วง, เครื่องปรุงแกงเผ็ด แกงคั่ว หรือ แกงส้ม, อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกง มี ๓ รส แต่ค่อนข้าง หวานทําด้วยถั่วเขียวโขลกกับเครื่องปรุง กินกับผักบางอย่างเป็นเหมือด ใช้คลุกกินกับขนมจีน, คู่กับ นํ้ายา.
น้ำยา ๑ : น. อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกง ทําด้วยปลาโขลก กับเครื่องปรุง กินกับผักบางอย่าง เช่น ถั่วงอก ใบแมงลัก ใช้คลุกกิน กับขนมจีน, คู่กับ นํ้าพริก; สิ่งที่ประสมเป็นนํ้าสําหรับจิตรกรรมหรือ ระบายภาพ; นํ้าที่ผสมสารเคมีเพื่อใช้ในกิจการบางอย่าง เช่น นํ้ายา ล้างรูป.
น้ำสต๊อก : น. น้ำต้มกระดูกไก่ กระดูกหมู หรือเนื้อสัตว์ เป็นต้น ใส่เกลือ เล็กน้อย เคี่ยวไฟอ่อน ๆ จนได้ที่ เคี่ยวครั้งหนึ่งเก็บไว้ได้หลายวัน ใช้ ผสมในการปรุงอาหาร เช่น แกงจืด ซุป สตู หรืออาหารประเภทผัดผัก ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มรสชาติให้ดียิ่งขึ้น.
น้ำส้มสายชู : น. ของเหลวซึ่งมีกรดแอซีติกละลายอยู่ไม่เกินร้อยละ ๖ มีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหาร, นํ้าส้ม ก็เรียก. น้ำสังข์
บะหมี่ : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งสาลี เป็นเส้นเล็ก ๆ มีสีเหลือง ลวกสุกแล้วปรุงด้วยเครื่องมีหมูเป็นต้น. (จ.).
ประณีต : ว. ละเอียดลออ, เรียบร้อยงดงาม, เช่น ฝีมือประณีต ทําอย่าง ประณีต, ที่ปรุงอย่างสุดฝีมือด้วยของดี ๆ เช่น ปรุงอาหารอัน ประณีต. (ส. ปฺรณีต; ป. ปณีต).
เปรี้ยวหวาน : น. ชื่ออาหารคาวชนิดหนึ่ง ใช้ผัก เช่น แตงกวา มะเขือเทศ หอมใหญ่ ผัดกับเนื้อสัตว์ ปรุงให้มีรสออกเปรี้ยวและหวาน.
เปาะเปี๊ยะ : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง โดยนําแป้งสาลีมาทําให้สุกเป็นแผ่นกลม บาง ๆ เรียกว่า แผ่นเปาะเปี๊ยะ แล้วห่อถั่วงอกลวก หมูตั้งหรือกุนเชียง ชิ้นเต้าหู้ต้มเค็ม และแตงกวา ราดด้วยน้ำปรุงรสข้น ๆ รสหวานเค็ม โรยหน้าด้วยเนื้อปูและไข่หั่นฝอย หรือห่อรวมไว้ในแผ่นเปาะเปี๊ยะ ก็ได้ กินกับต้นหอมและพริกสด เรียกว่า เปาะเปี๊ยะสด, ชนิดที่ใช้ แผ่นเปาะเปี๊ยะห่อไส้ที่ประกอบด้วยวุ้นเส้น ถั่วงอก เนื้อไก่หรือหมูสับ เป็นต้นที่ลวกสุก แล้วนำไปทอด กินกับผักสดต่าง ๆ เช่น ใบโหระพา สะระแหน่ และน้ำจิ้มใสรสหวานอมเปรี้ยว เรียกว่า เปาะเปี๊ยะทอด. (จ.).
โป๊ยเซียน ๒ : น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ใช้ปลาหมึกสด เนื้อไก่ กุ้ง และเครื่องใน หมูอีก ๕ อย่าง คือ หัวใจ เซ่งจี๊ ไส้ตัน ตับ และกระเพาะ ผัดรวม กับถั่วงอก ใบขึ้นฉ่าย ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาวและน้ำมันหอย.
โป๊ะแตก : น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ใช้ของทะเล เช่น หอยแมลงภู่สด ปลากะพง ปูม้า ปลาหมึก กุ้ง ต้มในน้ำเดือดซึ่งมีตะไคร้ ใบมะกรูด หัวหอม รากผักชี ปรุงรสเปรี้ยวเค็มด้วยมะขามหรือมะนาว น้ำปลา พริกขี้หนู พริกแห้งเผา.
ผงชูรส : น. เกลือกรดชนิดหนึ่งชื่อโซเดียมไฮโดรเจนกลูทาเมต หรือโมโนโซเดียมกลูทาเมต มีสูตร HOOC(CH2)2CH(NH2) COONa ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ใช้ในการปรุงแต่งรสอาหาร.
ฝีมือ : น. ความเชี่ยวชาญในการใช้มืออย่างมีศิลปะ เช่น มีฝีมือในการ เย็บปักถักร้อย มีฝีมือในการปรุงอาหาร, เรียกการช่างทำด้วยมืออย่างมี ศิลปะ ว่า การช่างฝีมือ, ราชาศัพท์ว่า ฝีพระหัตถ์; โดยปริยายหมายถึง ความสามารถหรือทักษะและชั้นเชิงในการปฏิบัติการใด ๆ เช่น เขามี ฝีมือในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้โดยรวดเร็ว.
พริกดอง : น. พริกหั่นหรือตําละเอียดแช่ในนํ้าส้มใช้เป็นเครื่องปรุง รสอาหาร, พริกนํ้าส้ม ก็เรียก.
พริกไทย : น. ชื่อไม้เถาชนิด Piper nigrum L. ในวงศ์ Piperaceae ผลมีรสเผ็ด ร้อน ใช้ปรุงอาหาร และทํายา, ถ้ามีเปลือกหุ้มอยู่เรียกว่า พริกไทยดํา, ถ้าเอาเปลือกออก เรียกว่า พริกไทยล่อน หรือ พริกไทยขาว.
มะกอก : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Spondias pinnata (L.f.) Kurz ในวงศ์ Anacardiaceae ใบอ่อนมีรสเปรี้ยว ใช้เป็นผักดิบ ผลขนาดลูกหมากดิบ เมื่อสุกมีรสเปรี้ยวเจือฝาด ใช้ปรุงอาหาร รากและเมล็ดใช้ทํายาได้, มะกอกบ้าน หรือ มะกอกป่า ก็เรียก.