ปรุง : [ปฺรุง] ก. ประสมหรือประกอบให้เหมาะส่วน.
เครื่องปรุงรส : น. สิ่งที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหาร เช่น น้ำตาล น้ำปลา เกลือ.
กระวาน ๑ : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Amomum krervanh Pierre ในวงศ์ Zingiberaceae ชอบขึ้นในป่าดิบชื้นตามภูมิประเทศ ที่เป็นเขาทางจันทบุรีและตราด ผลมีกลิ่นหอมฉุน ใช้ปรุงอาหาร และทํายา; อีกชนิดหนึ่ง คือ Elettaria cardamomum (L.) Maton ในวงศ์เดียวกัน เรียกว่า กระวานเทศ มาจากประเทศอินเดียตอนใต้, เอลา ลูกเอ็ล หรือ ลูกเอ็น ก็เรียก. (๒) ชื่อเรียกใบของไม้ต้นชนิด Laurus nobilis L. ในวงศ์ Lauraceae กลิ่นคล้ายกระวาน ใช้เป็น เครื่องเทศและแต่งกลิ่นยา.
ทรงเครื่อง : ก. แต่งตัวมีเครื่องประดับ เช่น พระพุทธรูปทรงเครื่อง, มีเครื่องปรุงพิเศษกว่าปรกติ เช่น กระท้อนทรงเครื่อง, ประดิด ประดอยให้งดงามเป็นพิเศษ เช่น ตัวหนังสือทรงเครื่อง; (ราชา) ตัดผม (ใช้แก่เจ้านาย).
ธรรมชาติ : น. สิ่งที่เกิดมีและเป็นอยู่ตามธรรมดาของสิ่งนั้น ๆ, ภาพ ภูมิประเทศ. ว. ที่เป็นไปเองโดยมิได้ปรุงแต่ง เช่น สีธรรมชาติ.
ประกอบอาหาร : ก. ทําหรือปรุงแต่งอาหารต่าง ๆ.
ผงชูรส : น. เกลือกรดชนิดหนึ่งชื่อโซเดียมไฮโดรเจนกลูทาเมต หรือโมโนโซเดียมกลูทาเมต มีสูตร HOOC(CH2)2CH(NH2) COONa ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ใช้ในการปรุงแต่งรสอาหาร.
สังขตธรรม : น. สิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่งขึ้น. (ป. สงฺขต + ส. ธรฺม).
สังขต, สังขตะ : [ขะตะ] ว. ที่ปรุงแต่งขึ้น (ใช้ในทางศาสนา). (ป.).
สังขารธรรม : [สังขาระ] น. สิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง.
สังขาร, สังขาร : [ขาน, ขาระ, ขานระ] น. ร่างกาย, ตัวตน, สิ่งที่ประกอบและปรุง แต่งขึ้นเป็นร่างกายและจิตใจรวมกัน, เช่น สังขารร่วงโรย สังขารไม่เที่ยง; ความคิด เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. (ป.; ส. สํสฺการ). ก. ตาย เช่น ถึงซึ่งสังขาร, ในบทกลอนใช้ว่า สังขาร์ ก็มี.
หน้า : น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับ หลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่ เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขา ไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่าง กระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วน กว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิด ที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้ว ก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน, โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน, เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า, ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือ เล่มนี้มี๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า, ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้าม กับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.
จำนอง : ก. ผูก, คล้อง, หมายไว้, กําหนด, จําไว้, (โบ; กลอน) ประพันธ์, แต่ง, เช่น จึ่งจำนองโคลงอ้าง ถวายแด่บพิตรเจ้าช้าง. (ลอ). (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคล คนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จํานอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจํานอง เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ ผู้รับจํานอง. (แผลงมาจาก จอง).
เทียบ : ก. เอามาให้ติด เช่น จอดเรือเทียบท่า เทียบรถ, เอามาให้ใกล้กัน เช่น เอาเรือเล็กเข้าเทียบเรือใหญ่, เปรียบ เช่น เอาผ้า ๒ ชิ้นมา เทียบสีกัน; จัด, แต่ง, เช่น เทียบสํารับ; (ราชา) ชิมอาหารหรือยา ก่อนที่จะถวายพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านายเพื่อป้องกันสิ่งที่เป็นพิษ ในคําว่า เทียบเครื่อง เทียบพระโอสถ; ลักษณนามเรียกยาจีนที่จัด เป็นชุด เช่นยาเทียบหนึ่ง ยา ๒ เทียบ.
บริพนธ์ : [บอริพน] (แบบ) ก. ปริพนธ์, ผูก, แต่ง, ร้อยกรอง. (ป. ปริพนฺธ).
บริพันธ์ : [บอริพัน] ก. ผูก, แต่ง, ร้อยกรอง, ประพันธ์. (ป. ปริพนฺธ).
ประพนธ์ : น. คําร้อยกรอง เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน. ก. ประพันธ์, ร้อยกรอง, ผูก, แต่ง, เรียบเรียง; เกี่ยวเนื่อง. (ส. ปฺรพนฺธ; ป. ปพนฺธ).
ปริพนธ์ : [ปะริ-] ก. ผูก, แต่ง, ร้อยกรอง. (ป. ปริพนฺธ).
เครื่องปรุง : น. สิ่งที่ใช้ในการปรุงอาหารเป็นต้น เช่น เนื้อสัตว์ ผัก เครื่องแกง กะทิ ผลไม้.
นางแต่งตัวสะ : น. หญิงสาววัยรุ่นแต่งตัวใส่เกี้ยว นุ่งผ้าลายพื้นเขียว ห่มผ้าแพรพื้นแดงเดินประนมมือตามกระบวนแห่เต็มยศขนาบ พระราชยานในพระราชพิธีโสกันต์, นางสะ หรือ สาวสะ ก็เรียก.
แม่สายบัวแต่งตัวค้าง : (สํา) น. ผู้หญิงที่แต่งตัวคอยผู้มารับออกนอกบ้าน แต่เขาไม่มาตามนัด.
ยาเส้นปรุง : (กฎ) น. ใบยาซึ่งมิใช่ใบยาพันธุ์ยาสูบพื้นเมืองหรือยาอัด ซึ่งได้หั่นเป็นเส้นและปรุงหรือปนด้วยวัตถุอื่นนอกจากน้ำ.
ร่ำ ๒ : ก. อบ, ปรุง, เช่น ร่ำแป้ง ร่ำผ้า.
ปรง : น. (๑) ชื่อเฟิน ๒ ชนิดในสกุล Acrostichum วงศ์ Pteridaceae ต้นเป็นกอขึ้นริมนํ้า ใบยาวเป็นทาง ใบอ่อนสีแดง กินได้ คือ ปรงทะเล (A. aureum L.) และ ปรงหนู (A. speciosum Willd.). (๒) ชื่อพรรณไม้ในกลุ่มพืชเมล็ดเปลือยหลายชนิดในสกุล Cycas วงศ์ Cycadaceae เป็นไม้ต้น ลําต้นกลม สีดําขรุขระ ใบเล็กยาวเรียงถี่ ๆ บนแกนกลาง เช่น ปรงญี่ปุ่น (C. revoluta Thunb.) ใบใช้ทําพวงหรีด ปรงเขา (C. pectinata Griff.).
-กระแต่ง : ใช้เข้าคู่กับคํา กระต่อง เป็น กระต่องกระแต่ง.
บุญทำกรรมแต่ง : (สํา) บุญหรือบาปที่ทําไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุทํา ให้รูปร่างหน้าตาหรือชีวิตของคนเราในชาตินี้สวยงาม ดี ชั่ว เป็นต้น.
เดินทุ่ง : ก. ตะลุยไป (ใช้ในการอ่าน แต่ง หรือแปลหนังสือ).
เรียบเรียง : ก. แต่ง เช่น เรียบเรียงข้อความ เรียบเรียงถ้อยคำ, ตกแต่ง ถ้อยคำให้สละสลวยและเรียงลำดับความให้ชัดเจน เช่น แปลและเรียบ เรียงหนังสือ, จัดเสียงเพิ่มเติมจากทำนองที่มีอยู่แล้วตามหลักวิชาการ ดนตรีเพื่อให้บทเพลงไพเราะขึ้น ในความว่า เรียบเรียงเสียงประสาน.
โรยหน้า : ก. เอาของโปรยลงไปบนอาหารเป็นต้นเพื่อให้น่ากินหรือ ชูรส เช่น โรยหน้าขนมด้วยมะพร้าว, โดยปริยายหมายความว่า แต่ง แต่เพียงผิว ๆ.
ล่อหูล่อตา : ว. ชวนให้อยากได้หรือหยิบฉวยไปเป็นต้น เช่น แต่ง ทองเหลืองอร่ามล่อหูล่อตา.
กระบวร : [-บวน] ก. ประดับ, แต่ง. ว. วิจิตร. (แผลงมาจาก กบูร).
กระบูร : [-บูน] ก. ประดับ, แต่ง. (แผลงมาจาก กบูร).
บรัด : [บะหฺรัด] ก. แต่ง. น. เครื่องแต่ง, เครื่องประดับ, เช่น อันควรบรัด แห่งพระองค์. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
ปรัด : [ปะหฺรัด] (กลอน) ก. แต่ง.
ภูษิต : ก. ประดับ, แต่ง. (ส.; ป. ภูสิต).
ยาสมุนไพร : (กฎ) น. ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือแร่ ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ.
รจเรข, รจเลข : [รดจะเรก, รดจะเลก] น. การขีดเขียน. ว. งาม. ก. แต่ง.
กบูร : [กะบูน] (แบบ) ว. แต่ง, ประดับ, งาม, เช่น ก็ใช้สาวสนม อนนกบูร. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), คํานี้บางทีเขียนเป็น กระบูร กระบวร ขบูร ขบวร.
ขบูร, ขบวร : [ขะบูน, ขะบวน] (แบบ) ว. แต่ง, ประดับ.
เชลง : [ชะเลง] (กลอน) ก. แต่ง, ประพันธ์. (ข.).
บพิธ : [บอพิด] ก. แต่ง, สร้าง. (ป. ป + วิ + ธา).
ประพันธ์ : ก. แต่ง, เรียบเรียง, ร้อยกรอง, ผูกถ้อยคําเป็นข้อความเชิงวรรณคดี. (ส. ปฺรพนฺธ; ป. ปพนฺธ).
รัง ๓ : ก. แต่ง, สร้าง, ตั้ง.
ลบอง : [ละบอง] น. แบบ, ฉบับ. ก. แต่ง, ทํา. (ข. ลฺบง ว่า ลอง).
เลบง : [ละเบง] (กลอน) ก. แต่ง, ประพันธ์. (ข. เลฺบง ว่า การเล่น).
กงสุล : (กฎ) น. ชื่อตําแหน่งของบุคคลซึ่งรัฐบาลของประเทศหนึ่งแต่งตั้ง ให้เป็นผู้แทนประจําอยู่ในเมืองต่าง ๆ ของอีกประเทศหนึ่ง เพื่อทํา หน้าที่ช่วยเหลือคนชาติของประเทศผู้แต่งตั้งกงสุลที่ไปอยู่ในเมือง ต่างประเทศนั้น ๆ และเพื่อดูแลผลประโยชน์ทั่วไปของประเทศ ผู้แต่งตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพาณิชย์ กงสุล มี ๒ ประเภท คือ (๑) กงสุลโดยอาชีพ ได้แก่ ผู้ที่เป็นข้าราชการของ ประเทศผู้แต่งตั้ง และ (๒) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้แก่ ผู้ได้รับแต่งตั้ง ซึ่งมิใช่ข้าราชการและไม่ได้รับเงินเดือน ซึ่งอาจเป็นคนชาติของ ประเทศผู้แต่งตั้ง หรือคนชาติอื่นก็ได้ กงสุลที่มีตําแหน่งเป็นหัวหน้า สถานกงสุลมี ๔ ระดับ คือ กงสุลใหญ่ กงสุล รองกงสุล และตัวแทน ฝ่ายกงสุล. ว. เกี่ยวกับกงสุล เช่น สถานกงสุล เขตกงสุล พนักงาน ฝ่ายกงสุล. (ฝ. consul).
กชกร : [กดชะกอน] (กลอน) น. ''ดอกบัวคือมือ'' คือ กระพุ่มมือ เช่น กชกรต่างแต่งตั้ง ศิรสา. (หริภุญชัย).
กถามรรค : [-มัก] น. ลาดเลาแห่งกถา ได้แก่เรื่องที่แต่งตาม อัตโนมัติของผู้แต่งว่าด้วยธรรมนั้น ๆ. (ส. กถา + มรฺค ว่า ทาง).
กรพินธุ์ : [กอระ-] น. ทับทิม เช่น จงแต่งเขนแต่งขันธ์ ผ้าเกราะพรรณรายแพร้ว ดยรดาษแก้วกรพินธุ์. (ม. คําหลวง มหาราช). (บางทีจะเพี้ยนมาจาก กุรุพินท์ ซึ่งตรงกับคำสันสกฤตว่า กุรุวินฺท = ทับทิม).
กรมการนอกทำเนียบ : (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการเมือง ในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจากบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ หรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็น กรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการพิเศษ ก็ว่า.