ปลัด : [ปะหฺลัด] น. ผู้มีตำแหน่งหน้าที่รองจากผู้ที่มีตําแหน่งหน้าที่เหนือตน โดยตรง เช่น ปลัดกระทรวง ปลัดจังหวัด; ตําแหน่งพระฐานานุกรม เหนือสมุห์.
ปลด : [ปฺลด] ก. เอาออก (ใช้แก่สิ่งที่เกี่ยวอยู่ แขวนอยู่ คล้องอยู่ หรือขัดอยู่ เป็นต้น) เช่น ปลดม่านที่แขวนอยู่ ปลดห่วงที่เกี่ยวอยู่ ปลดลูกดุมที่ ขัดอยู่; โดยปริยายหมายความว่า ทําให้พ้นจากข้อผูกพันหรือพ้น จากตําแหน่งหน้าที่ เช่น ปลดหนี้ ปลดออกจากราชการ.
กรมการในทำเนียบ : (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งข้าราชการที่มีเงินเดือน ซึ่งจัดเป็น ๒ พวก กรมการชั้นผู้ใหญ่ ประกอบด้วย ปลัด ยกกระบัตร และผู้ช่วยราชการ กับกรมการชั้นผู้น้อย ประกอบด้วย จ่าเมือง สัสดี แพ่ง ศุภมาตรา และสารเลข.
กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
กิ่งอำเภอ : (กฎ) น. ท้องที่ที่มีความจำเป็นในการปกครอง แยกมาจากอำเภอที่มีเขตท้องที่กว้างขวางแต่จำนวนประชากรไม่มาก หรือที่ที่มีชุมชนมากแต่ท้องที่ไม่กว้างขวางพอที่จะตั้งขึ้นเป็นอำเภอ มีปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเป็นหัวหน้าปกครอง.
เค้าสนามหลวง : (ถิ่น-พายัพ; โบ) น. สํานักผู้ปกครองบ้านเมือง, ที่ว่าราชการเมือง, คณะผู้ว่าการบ้านเมือง ซึ่งประกอบด้วยเจ้าผู้ครองเมืองหรือผู้ครองเมือง ข้าหลวงประจำนครหรือเมืองซึ่งต่อมาเรียกว่า ปลัดมณฑลประจำจังหวัด และข้าหลวงผู้ช่วย มีหน้าที่บังคับบัญชารับผิดชอบในกิจการทั่วไปของ เมือง, เค้าสนาม ก็ว่า.
เจ้ากระทรวง : น. ผู้บังคับบัญชากระทรวง ได้แก่ รัฐมนตรี และ ปลัดกระทรวง.
อง : น. คำนำหน้านามของบุคคลซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์ญวน เช่น องเชียงสือ องเชียงชุน, คำนำหน้าสมณศักดิ์พระสงฆ์อนัมนิกาย ชั้นปลัดขวาปลัดซ้ายและพระคณานุกรม เช่น องสรภาณมธุรส องสุตบทบวร. (ญ.).
ปลดระวาง : ก. ปลดจากตําแหน่ง, ปลดจากทําเนียบ, ปลดจาก ประจําการ; โดยปริยายหมายความว่า หมดหน้าที่.
ปลดออก : (กฎ) น. โทษทางวินัยสถานหนึ่ง ที่ใช้ลงแก่ข้าราชการผู้ กระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง โดยสั่งให้ออกจากราชการ ผู้ถูกลงโทษ ปลดออกมีสิทธิได้รับบําเหน็จบํานาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออก.
ปลดเกษียณ, ปลดเกษียณอายุ : (ปาก) ก. ให้ออกจากราชการหรืองาน เพราะเหตุสูงอายุ.
ปลดทุกข์ : ก. ทําให้หมดทุกข์; (ปาก) เยี่ยว, ขี้.
ปลดปล่อย : ก. ปล่อยจากที่คุมขังหรือการผูกมัด, ให้เสรีภาพ.
ปลดหนี้ : (กฎ) ก. การที่เจ้าหนี้ยกหนี้ให้แก่ลูกหนี้ อันเป็นเหตุให้หนี้ นั้นเป็นอันระงับสิ้นไป.
กองหนุน : น. ทหารที่ปลดออกจากประจําการหรือที่ปลดจาก กองเกินเมื่ออายุครบกําหนด, ทหารที่จัดไว้เพื่อเพิ่มเติมหรือ สับเปลี่ยนแนวหน้า.
กองหนุน :
น. ทหารที่ปลดออกจากประจําการหรือที่ปลดจาก กองเกินเมื่ออายุครบกําหนด, ทหารที่จัดไว้เพื่อเพิ่มเติมหรือ สับเปลี่ยนแนวหน้า. ดู รกฟ้า.(ถิ่น-พายัพ) น. ถนน, ทางเดิน, เช่น กางกอง ว่า กลางถนน. น. เครื่องประดับหน้าอก, ชื่อแผ่นผ้าที่ปิดอกหญิงคล้ายเต่า ที่หญิงรุ่นสาวใช้. ว. สุกใส, สว่าง, งาม. น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้ในจังหวัดหนองคาย ทําด้วยตาข่าย ซึ่งด้านหนึ่งติดกับลําไม้ไผ่คล้ายธง ทิ้งชายด้านหนึ่งลงไปในน้ำ มุมหนึ่งถ่วงด้วยหิน และ อีกมุมหนึ่งมีเชือกโยงมาบนเรือ ลากติดไปกับเรือ พอรู้ว่าปลาติดตาข่ายก็สาวเชือกขึ้นมา. น. ไม้ชนิดหนึ่ง ผลคล้ายลางสาด แต่เปลือกหนา. (พจน. ๒๔๙๓). ว. ดังมากอย่างเสียงในที่จํากัดเช่นในโบสถ์, ดังไปได้ไกล เช่น เขาตะโกนก้องมาจากที่สูง. น. บรรณาการ ในคำว่า จิ้มก้อง. (จ.). น. ผีชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีตีนเดียว ไม่มีสะบ้าหัวเข่า จึงต้องเดินเขย่งเกงกอย ชอบออกมาดูดเลือดที่หัวแม่เท้า ของคนที่นอนหลับพักแรมในป่า. น. เรียกผ้าบาง โปร่ง ที่ใช้ปิดแผลหรือพันแผลว่า ผ้าก๊อซ. (อ. gauze). ก. โอบไว้ในวงแขน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น.
จรุง, จรูง : [จะรุง, จะรูง] (กลอน) ก. จูง, ชักชวน, เช่น ปลดยากพรากทุกข์ยุคเขิน จรุงราษฎร์ดำเนินสู่ศุขสวัสดีโดยไว. (ดุษฎีสังเวย); ยั่ว เช่น จรุงใจ; กรุ่น, อบอวล, ชื่น, เช่น จรุงกลิ่นแก้มน้องแก้ว ไป่วาย. (กำสรวล).
ทหารกองประจำการ : (กฎ) น. ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและ ได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด, (ปาก) ทหารเกณฑ์.
ใบกองหนุน : (กฎ) น. ใบสําคัญทหารกองหนุน ที่ผู้ว่าราชการจังหวัด พร้อมด้วยสัสดีจังหวัดออกให้แก่ทหารกองประจําการที่รับราชการ เป็นทหารกองประจําการจนครบกําหนด หรือทหารกองเกินที่มีอายุ ครบกําหนด ปลดเป็นทหารกองหนุนแล้ว.
ปลิด : [ปฺลิด] ก. เอามือบิดให้ลูกไม้หลุดจากขั้ว, ทําให้หลุดจากที่.
มุญจนะ : [มุนจะนะ] น. การแก้, การเปลื้อง, การปลด, การปล่อย, การสละ. (ป. มุญฺจน).
โมจน- : [โมจะนะ-] น. การเปลื้อง, การปลด, การปล่อย. (ป., ส.).
ราชทัณฑ์ : น. อาญาพระเจ้าแผ่นดิน, โทษหลวง, เช่น ต้องราชทัณฑ์, เรียกกรมที่มีหน้าที่ลงโทษจำคุกผู้กระทำผิดตามตัวบทกฎหมายควบคุม อบรมฝึกวิชาชีพให้แก่ผู้กระทำผิด พักการลงโทษและคุมประพฤติ และขอพระราชทานอภัยโทษ ปลดปล่อยและสงเคราะห์ผู้พ้นโทษ เป็นต้น ว่า กรมราชทัณฑ์. (ป., ส.).