Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปอ , then บอ, ปอ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปอ, 161 found, display 1-50
  1. ปอ : น. เส้นใยที่ทําจากเปลือกไม้บางชนิด เช่น ปอแก้ว ปอกระเจา.
  2. ปอ : น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เปลือกใช้ทําปอ เช่น ปอกระเจา (Corchorus capsularis L. และ C. olitorius L.) ในวงศ์ Tiliaceae, ปอกระสา [Broussonetia papyrifera (L.) Vent.] ในวงศ์ Moraceae, ปอแก้ว (Hibiscus cannabinus L.) ในวงศ์ Malvaceae, ปอสําโรง (Sterculia foetida L.) ในวงศ์ Sterculiaceae.
  3. ปอ : น. ชื่อแมลงหลายชนิดและหลายวงศ์ในอันดับ Odonata หัวและอก สั้นป้อม ส่วนท้องแคบและยาว หนวดสั้นเล็กมองคล้ายขน ตาโต ใหญ่ ๒ ข้างดูเต็มหัว ปีก ๒ คู่ ขนาดเท่า ๆ กันหรือโตกว่ากันเล็กน้อย ลักษณะยาว บางใส มีเส้นปีกมากมาย อาจมีสีต่าง ๆ เช่น ส้ม เหลือง หรือนํ้าเงิน, แมลงปอ ก็เรียก.
  4. ปอเลียงฝ้าย : ดู เลียงฝ้าย.
  5. ยกยอปอปั้น : (ปาก) ก. ยกให้, มอบให้, เช่น ยกยอปอปั้นลูกสาวให้เขา ไป; ยกย่องเกินจริง เช่น ยกยอปอปั้นให้เป็นคุณหญิง.
  6. บอ : ว. เกือบบ้า, ใกล้จะเป็นบ้า, ครึ่งบ้าครึ่งดี.
  7. กระเจา : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Corchorus วงศ์ Tiliaceae ขึ้นอยู่ในที่ลุ่ม เปลือกต้นเหนียว เมื่อลอกออกแล้ว เรียกว่า ปอ เช่น ปอกระเจาฝักกลม (C. capsularis L.) ผลป้อม เปลือกย่นเป็นตุ่ม ๆ ใบใช้เป็นอาหารได้, พายัพเรียก เส้ง, และ ปอกระเจาฝักยาว (C. olitorius L.) ฝักยาวเรียว มีสันตามยาว, เมล็ดของปอทั้ง ๒ ชนิด นี้มีพิษ ปอใช้ทํากระสอบ. (๒) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง. (ดู กระเชา).
  8. แมลงปอ : ดู ปอ.
  9. วาก ๒, วากะ : [วากะ] น. เปลือกไม้, ป่าน, ปอ. (ป.; ส. วลฺก).
  10. ปร-ปักษ์ : [ปอระ-] น. ข้าศึก, ศัตรู, ฝ่ายตรงข้าม.
  11. กระเจี๊ยบเปรี้ยว : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Hibiscus sabdariffa L. ในวงศ์ Malvaceae เปลือกต้นมีปอเหนียวทนทาน ผลสีแดง ใช้ทําแยม, กระเจี๊ยบแดง ก็เรียก, พายัพเรียก เกงเขง หรือ เกงเคง.
  12. กระสอบ : น. เครื่องสานหรือทอด้วยต้นกระจูดหรือป่านปอเป็นต้น สําหรับบรรจุข้าวและของอื่น ๆ.
  13. กำปอ : น. ชื่อเพลงเขมรชนิดหนึ่ง เรียกว่า เขมรกําปอ. (วิวาห์พระสมุทร).
  14. เชือก : น. สิ่งที่ทําด้วยด้ายหรือป่านปอเป็นต้น มักฟั่นหรือตีเกลียว สําหรับผูกหรือมัด; ลักษณนามเรียกช้างบ้าน เช่น ช้าง เชือกหนึ่ง ช้าง ๒ เชือก.
  15. ถลุน : [ถะหฺลุน] ก. เอาปอหรือป่านมาบิดให้เป็นเส้นเขม็งเพื่อฟั่นเข้า เป็นเกลียวเส้นเชือกใหญ่.
  16. ปร- : [ปะระ-, ปอระ-] ว. อื่น, ใช้เป็นบทหน้าสมาส เช่น ปรปักษ์ ปรโลก. (ป.).
  17. ปรนัย : [ปะระ-, ปอระ-] ว. วัตถุวิสัย; เรียกการสอบแบบที่ผู้สอบ มักไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็นส่วนตัว เป็นคําถามที่ต้องการ คําตอบตายตัว ว่า การสอบแบบปรนัย, คู่กับ อัตนัย.
  18. ปรนิมมิตวสวัตดี : [ปะระนิมมิตตะวะสะวัดดี, ปอระ-] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๖ แห่ง สวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุ มหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าววสวัตดีมารเป็นผู้ครอง.
  19. ปรม- : [ปะระมะ-, ปอระมะ-] ว. อย่างยิ่ง (ใช้นําหน้าคําอื่นโดยมาก). (ป.).
  20. ปรมัตถ์ : [ปะระมัด, ปอระมัด] น. ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความ อย่างยิ่ง, ความจริงอันเป็นที่สุด; ชื่อพระอภิธรรมปิฎก. ว. ลึกซึ้ง ยากที่ปุถุชนจะเข้าใจได้ เช่น นี่เป็นเรื่องปรมัตถ์. (ป.). ปรมาจารย์ [ปะระมาจาน, ปอระมาจาน] น. อาจารย์ผู้เป็นเอกหรือ ยอดเยี่ยมในทางวิชาใดวิชาหนึ่ง.
  21. ปรมาณู : [ปะระ-, ปอระ-] น. ส่วนของสารที่มีขนาดเล็กที่สุดจน ไม่สามารถจะแยกย่อยได้อีกด้วยวิธีเคมี. (ป., ส. ปรมาณุ).
  22. ปรมาภิไธย : [ปะระมาพิไท, ปอระมาพิไท] น. ชื่อ (ใช้เฉพาะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) เช่น ในพระปรมาภิไธย ทรงลง พระปรมาภิไธย. (ป. ปรมาภิเธยฺย).
  23. ปรมาภิเษก : [ปะระ-, ปอระ-] น. อภิเษกอย่างยิ่ง คือ การตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้า. (ส.).
  24. ปรมินทร์, ปรเมนทร์ : [ปะระมิน, ปอระมิน, ปะระเมน, ปอระเมน] น. ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง. (ส.).
  25. ปรเมษฐ์ : [ปะระเมด, ปอระเมด] น. ผู้สูงสุด คือ พระพรหม. (ส.).
  26. ปรโลก : [ปะระ-, ปอระ-] น. โลกหน้า.
  27. ปรหิตะ : [ปะระหิตะ, ปอระหิตะ] น. ประโยชน์ผู้อื่น, มักใช้ควบกับ ประโยชน์ เป็น ปรหิตประโยชน์ ว่า ประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น. (ป. ปรหิต).
  28. ปั่นฝ้าย : ก. เอาฝ้ายเข้าเครื่องหมุน (ไน) เพื่อทําเป็นเส้นด้าย, ถ้าเป็น วัตถุอย่างอื่นเช่นไหมและปอ เรียกตามวัตถุนั้น ๆ ว่า ปั่นไหม ปั่นปอ.
  29. พังก๊ำ : น. เครื่องจักสานชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่จักเป็นเส้น สานควบกับ เส้นปอเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีกรอบทั้ง ๔ ด้าน ใช้ทำเป็นฝากั้นล้อม หรือเป็นแผงหน้าบ้านหรือหน้าต่างสำหรับค้ำยันให้ปิดเปิดได้.
  30. ฟั่น ๑ : ก. คลึงสิ่งเป็นเส้นหลายเส้นให้เข้าเกลียวกัน เช่น ฟั่นด้าย, นำป่าน หรือปอเป็นต้นมาตีเกลียวให้เป็นเชือก เรียกว่า ฟั่นเชือก, คลึงขี้ผึ้ง ที่มีไส้อยู่ภายในให้เป็นเล่มเทียน เรียกว่า ฟั่นเทียน.
  31. ยาบ ๑ : น. เส้นปอ, เปลือกของต้นไม้บางชนิดที่มีปอหรือเส้นใย ใช้ปูรองขากูบ กันไม่ให้กัดหนังช้างเป็นต้น.
  32. เลียงฝ้าย : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Eriolaena candollei Wall. ในวงศ์ Sterculiaceae ใบรูปไข่ป้อม ปลายมี ๓ แฉก ดอกสีเหลือง ผลมีพูตามยาว ๗–๑๐ พู, ปอเลียงฝ้าย หรือ เลียงขาว ก็เรียก.
  33. ศาณ ๒ : น. ผ้าป่าน. ว. ทําด้วยป่านหรือปอ. (ส.; ป. สาณ).
  34. หมัน ๒ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cordia cochinchinensis Pierre ในวงศ์ Ehretiaceae เปลือกใช้ทําปอได้.
  35. บอระเพ็ด : น. ชื่อไม้เถาชนิด Tinospora crispa (L.) Hook.f. et Thomson ในวงศ์ Menispermaceae เถาเป็นตุ่ม รสขม ใช้ทํายาได้.
  36. บอระมาน : (โบ) น. กาว, แป้งเปียก.
  37. บ่อ : น. ช่องลึกลงไปในดินหรือในหินใช้เป็นที่ขังนํ้าขังปลาเป็นต้น หรือ เป็นแหล่งที่เกิดของสิ่งบางอย่าง เช่น บ่อเกลือ บ่อถ่านหิน บ่อแร่.
  38. เบื่อ ๑ : ก. วางยาพิษเป็นต้นให้เมาหรือให้ตาย เช่น เบื่อหนู เบื่อปลา. ว. เมา. น. เรียกสารที่ทําให้เมาหรือให้ตายว่า ยาเบื่อ.
  39. เบื่อ ๒ : ก. รู้สึกอิดหนาระอาใจ เหนื่อยหน่าย หรือไม่อยาก เช่น เบื่องาน เบื่อโลก เบื่ออาหาร.
  40. บโทน : [บอ-] น. ผู้ติดหน้าตามหลัง, คนใช้.
  41. บราง : [บอ-] (โบ; กลอน) ก. ไม่, ไม่มี, เช่น บรางนาน บรางโทษ, ใช้ บร้าง ก็มี.
  42. บ๊อง, บ๊อง ๆ : (ปาก) ว. ไม่เต็มเต็ง, บ้า ๆ บอ ๆ.
  43. ไม่เต็มเต็ง, ไม่เต็มบาท : (ปาก) ว. บ้า ๆ บอ ๆ สติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ไปทาง บ้า ๆ บอ ๆ, สองสลึงเฟื้อง หรือ สามสลึงเฟื้อง ก็ว่า.
  44. ไม่เต็มหุน : (ปาก) ว. มีสติไม่สมบูรณ์, บ้า ๆ บอ ๆ.
  45. สติไม่ดี : ว. บ้า ๆ บอ ๆ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น หมู่นี้สติไม่ดี ทำงาน ผิดพลาดบ่อย ๆ.
  46. สองสลึงเฟื้อง : (ปาก) ว. บ้า ๆ บอ ๆ, มีสติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ ไปทางบ้า ๆ บอ ๆ, สามสลึงเฟื้อง ไม่เต็มเต็ง หรือ ไม่เต็มบาท ก็ว่า.
  47. บ ๒, บ่ : [บอ, บ่อ] ว. ไม่, มักใช้ในหนังสือเก่าหรือกวีนิพนธ์ หรือบางท้องถิ่น, ในที่ใช้ บ เมื่อใช้ว่า บ่ ก็มีความเช่นเดียวกัน.
  48. บดินทร์ : [บอดิน] น. พระเจ้าแผ่นดิน. (ส. ปติ + อินฺทฺร).
  49. บดี : [บอดี] (แบบ) น. นาย, เจ้าของ, เจ้า, ผู้ครอง, ผู้บังคับบัญชา; ผัว. (ป., ส. ปติ), ในสันสกฤตมีเกณฑ์ว่าศัพท์นี้เมื่ออยู่เฉพาะหมายความ ว่า นาย หรือ ผัว, ถ้ามีศัพท์อื่นมาเข้าสมาสเป็นคําท้ายด้วยหมายความ แต่ผัว เช่น บดีพรต, ในบทกลอนใช้ว่า บดิ ก็มี เพื่อเข้าบังคับลหุ.
  50. บดีศร : [บอดีสอน] (กลอน) น. นายผู้เป็นใหญ่.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-161

(0.0753 sec)