ปัก : ก. ตั้งฝังลง เช่น ปักเสา, เอาหัวดิ่งลง เช่น นกปักหัวลง เครื่องบิน ปักหัวลง; เสียบ เช่น ปักปิ่น ปักดอกไม้, ใช้เข็มร้อยด้าย ไหม หรือ ดิ้นเป็นต้นแล้วแทงแล้วแทงลงไปบนผืนผ้าให้เป็นลวดลายต่าง ๆ เช่น ปักลวดลาย ปักด้าย ปักไหม.
ปักหลัก ๑ : ดูใน ปัก.
ปักหลัก ๑ : ก. ตั้งมั่นอยู่กับที่ไม่ยอมถอยหรือไม่ยอมโยกย้าย ในคำว่า ปักหลักสู้ ปักหลักอยู่.
ปักหลัก ๒ : น. (๑) ชื่อนกกระเต็นชนิด Ceryle rudis ในวงศ์ Alcedinidae ตัวสีขาวลายดํา ปากหนาแหลมตรงสีดํา มักเกาะตามหัวเสาหรือ ตอไม้ที่ปักอยู่ในนํ้าเพื่อจ้องโฉบปลากิน, กระเต็นปักหลัก ก็เรียก. (๒) ชื่อเหยี่ยวชนิด Elanus caeruleus ในวงศ์ Accipitridae อก สีขาว หลังสีเทา โคนปีกสีดํา อาศัยอยู่ตามท้องทุ่ง กินสัตว์เล็ก ๆ, เหยี่ยวขาว ก็เรียก, นกทั้ง ๒ ชนิดมักบินอยู่กับที่ จึงเรียกว่า ปักหลัก.
ปักขันดร : [-ดอน] น. ปักษานดร, ฝ่ายอื่น, อีกฝ่ายหนึ่ง.
ปักจักร : ก. เย็บให้เป็นลวดลายด้วยจักรเย็บผ้า.
ปักดำ : ก. ถอนต้นกล้ามาปลูกในนา.
ยักษ์ปักหลั่น : [ปัก] (สํา) น. ผู้มีรูปร่างใหญ่โต.
ปกปักรักษา : ก. ดูแลรักษา.
คลุมปัก, คลุมปิด : (ราชา) น. กรวยทำด้วยผ้าปักสำหรับครอบพาน.
ไม้หลักปักขี้ควาย, ไม้หลักปักเลน : (สํา) ว. โลเล, ไม่แน่นอน, เช่น เหมือน ไม้หลักปักเลนเอนไปมา. (สังข์ทอง).
สไบปัก : น. ผ้าสไบที่ปักด้วยดิ้นเงินหรือดิ้นทองและสอดไส้ด้วยไหม สีต่าง ๆ.
หัวปักหัวปำ : ว. อาการที่หัวถลำไปข้างหน้าเพราะเมาเหล้าเมารถเป็นต้น เช่น คนเมาเดินหัวปักหัวปำ, โดยปริยายหมายความว่า โงหัวไม่ขึ้น เช่น ถูกใช้ทำงานจนหัวปักหัวปำ หลงผู้หญิงจนหัวปักหัวปำ.
ลงหลักปักฐาน : (สำ) ก. ตั้งที่อยู่ทำมาหากินเป็นหลักแหล่ง.
ปักเป้า ๒ : [ปัก-] น. ชื่อว่าวชนิดหนึ่งมีหางยาว, คู่กับ ว่าวจุฬา, อีเป้า ก็เรียก.
ปักษ-, ปักษ์ : [ปักสะ-, ปัก] น. ฝ่าย, ข้าง, เช่น ปักษ์ใต้, กึ่งของเดือนจันทรคติ คือ เดือนหนึ่งมี ๒ ปักษ์ ข้างขึ้นเรียก ศุกลปักษ์ (แปลว่า ฝ่ายขาว หมายเอาแสงเดือนสว่าง) ข้างแรมเรียก กาฬปักษ์ (แปลว่า ฝ่ายดํา หมายเอาเดือนมืด), ครึ่งเดือน เช่น หนังสือรายปักษ์. (ส.; ป. ปกฺข).
ฉัตร ๑, ฉัตร- : [ฉัด, ฉัดตฺระ-] น. เครื่องสูงชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายร่มที่ซ้อนกันขึ้นไปเป็น ชั้น ๆ ชั้นบนมีขนาดเล็กกว่า ชั้นล่างลดหลั่นกันไปโดยลําดับ สําหรับ แขวน ปัก ตั้ง หรือเชิญเข้ากระบวนแห่เป็นเกียรติยศ. (ส. ฉตฺร; ป. ฉตฺต ว่า ร่ม); ส่วนที่ต่อจากปุ่มฆ้องเป็นฐานแผ่ออกไปแล้วงองุ้มลงมาเป็นขอบ โดยรอบอย่างฉัตร; ชื่อดาวฤกษ์อารทรา.
ปักข-, ปักข์ : [ปักขะ-, ปัก] น. ปักษ์. (ป.; ส. ปกฺษ).
สนะ : [สะหฺนะ] น. เสื้อ; เครื่องสอบสวน; หนัง. ก. เย็บ, ชุน, ปัก.
ปักเป้า ๑ : [ปักกะ-] น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในวงศ์ Tetrodontidae และ Diodontidae ลําตัวป้อมหรือกลมมากน้อยแล้วแต่ชนิด ขนาดยาว ตั้งแต่ ๖-๖๐ เซนติเมตร เฉพาะบางสกุล เช่น สกุล Canthigaster, Chonerhinus และ Tetrodon ในวงศ์ Tetrodontidae สกุล Diodon และ Chilomycterus ในวงศ์ Diodontidae มีลักษณะแบนข้าง ทุกชนิดสามารถพองตัวได้ ผิวหนังมีหนาม ฟันมีลักษณะเป็น กระดูกแข็ง ไม่มีครีบท้อง บางชนิดพบในนํ้าจืด เช่น ชนิด Chonerhinus modestus ทุกชนิดมีพิษ ไม่ควรนํามารับประทาน.
ปักษกษัย : [ปักสะกะไส] น. การสิ้นปักษ์.
ปักษคณนา : [ปักสะคะนะนา] น. วิธีคํานวณดิถีตามปักษ์.
ปักษคม : [ปักสะคม] น. นก.
ปักษธร : [ปักสะทอน] น. นก; พระจันทร์.
ปักษเภท : [ปักสะเพด] น. ความแตกต่างระหว่าง ๒ ฝ่ายที่โต้เถียงกัน.
ปักษวาหน : [ปักสะวาหน] น. นก.
ปักษานดร : [ปักสานดอน] น. ฝ่ายอื่น, อีกฝ่ายหนึ่ง.
ปักษาวสาน : [ปักสาวะสาน] น. วันสิ้นปักษ์, วันเพ็ญหรือวันสิ้นเดือน.
ปัคหะ : [ปักคะ-] (แบบ) น. ประเคราะห์, การยกย่อง. (ป. ปคฺคห).
ดูแล : ก. เอาใจใส่, ปกปักรักษา, ปกครอง.
ก้นปล่อง : น. ชื่อยุงในสกุล Anopheles วงศ์ Culicidae มีหลายชนิด ที่พบเป็นสามัญเช่น ชนิด A. minimus ยุงเหล่านี้เวลาเกาะ หรือดูดเลือดคนหรือสัตว์ หัวจะปักลง ก้นชี้ขึ้น ผนังด้านล่าง ของส่วนท้องไม่มีเกล็ด ตัวเมียมีรยางค์ที่ปากยาวออกมา ๑ คู่ เช่นเดียวกับตัวผู้ ทําให้เหมือนกับมีปากเป็นสามแฉก ตัวเมียดูดเลือดและบางชนิดเป็นพาหะในการนําโรคมาสู่คน และสัตว์ เช่น โรคมาลาเรีย ตัวผู้กินน้ำหรือน้ำหวานจากดอกไม้.
กระเต็น : น. ชื่อนกชนิดหนึ่งในวงศ์ Alcedinidae หัวโต คอสั้น ปากแหลมยาวตรงและแข็งแรง ส่วนใหญ่มีสีสวยสด สะดุดตา หากินโดยวิธีพุ่งตัวลงจับปลาในน้ำ มีหลายชนิด เช่น กระเต็นปักหลักหรือ ปักหลัก (Ceryle rudis) กระเต็นน้อยธรรมดา (Alcedo atthis)กระเต็นอกขาว (Halcyon smyrnensis).
กระทู้ ๑ : น. ซอไม้ไผ่ที่เอามาปักเป็นเสารั้ว; หลัก เช่น ช้างพังพลาย เป็นสัตว์มีคุณแล้วก็เป็นกระทู้ราชการสําหรับแผ่นดินสืบมา. (ท้องตราโบราณ วชิรญาณรายเดือน เล่ม ๗), เป็นกระทู้การสงคราม. (ประชุมพงศ. ๒); (ไว) ในฉันทลักษณ์ หมายเอาข้อความอันเป็น เค้าเงื่อนนําหน้าบทกลอน เช่น โคลงที่แต่งตามเค้าเงื่อนนั้น เรียกว่า โคลงกระทู้.
กระทู้ ๓ : น. ชื่อหนอนของแมลงกลุ่มหนึ่งในวงศ์ Noctuidae หรือ Phalaenidae ลําตัวอ่อนนุ่ม ผิวเป็นมัน มีขนตามลําตัวน้อย ส่วนใหญ่สีคล้ำ ทางด้านท้องสีอ่อนกว่า มักมีแถบหรือ เส้นสีต่าง ๆ เช่น สีส้มอมน้ำตาล เหลืองอมขาว พาดตามยาว ที่สันหลังและข้างลําตัว มีขาจริง ๓ คู่ ขาเทียม ๕ คู่ กินพืช โดยมักจะกัดต้นพืชให้ขาดออกจากกัน ทําให้เหลือแต่ตอโผล่ เหนือพื้นดิน มองคล้ายกระทู้หรือซอไม้ไผ่ที่ปักเป็นหลัก ชนิดที่รู้จักกันทั่วไป เช่น หนอนกระทู้ควายพระอินทร์ หรือ หนอนกระทู้คอรวง (Mythimna separata) ที่ทําลายต้นข้าว.
กระบี่ธุช : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วย ผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธง เดียวกันซึ่งเป็นเหล็ก และทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้าย และด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงบริเวณที่สวม ต่อคันธงท่อนล่างติดรูปพระกระบี่ คือหนุมานในท่ายืนยกขาหน้า และขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวน พยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราช พิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา.
กระยาง ๑ : น. ขาหยั่ง เช่น อ้ายเหล่าเที่ยววิด พบหนองป้องปิด ทำเปนเชิงราง เอาไม้สามอัน ปักไว้เปนกระยาง แขวนโพงตรงกลาง สาดน้ำเอาปลา. (คำพากย์เรื่องสุบิน), เขียนเป็น กระหยาง ก็มี เช่น ปักไว้เปนกระหยาง. (สุบินคำพากย์).
กร่ำ ๑ : [กฺร่ำ] น. ที่ล่อปลาให้เข้าไปอยู่ ใช้ไม้ปักตามชายฝั่งลําแม่น้ำ เป็นรูปกลมบ้าง รีบ้าง ภายในสุมด้วยกิ่งไม้เพื่อล่อให้ปลาเข้าอาศัย เมื่อเวลาจะจับก็เอาเฝือกหรืออวนล้อม แล้วเอาไม้ที่สุมนั้นออก, เขียนเป็น กล่ำ ก็มี.
กร่ำ ๓ : [กฺร่ำ] (โบ) น. ไม้ปักที่หมายร่องน้ำที่ทะเล. (ปรัดเล).
กรึง : [กฺรึง] (โบ) ก. ตรึง, ปักแน่น, ทําให้อยู่กับที่, เช่น ต้องศรพรหมาสตร์ฤทธิรณ กรึงแน่นทรวงบน ตลอดจนยอดปฤษฎางค์. (พากย์).
กรุย ๑ : [กฺรุย] น. หลักที่ปักรายไว้เป็นเครื่องหมาย เช่น ปักกรุย. ก. ปักหลักหรือถางเป็นแนวไว้ เช่น กรุยทาง. (ข. ตฺรุย).
กะบัง ๒ : น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้เสาหรือไม้ลําปักทางซ้าย และทางขวาเรียงกันเป็นลําดับ แล้วเอาเฝือกขนาบกับเสาทั้ง ๒ ข้าง อย่างเดียวกับจิบ แต่ระหว่างกลางทําร้านซึ่งสานด้วยไม้ไผ่ตลอดเป็น ทางเพื่อให้ปลาเสือกตัวขึ้นแล้วเลื่อนตกลงไปในถุงอวนหรือตาข่าย ที่ดักไว้ปลายทาง ต้องจับในเวลาที่น้ำไหลเชี่ยว, กะบังรังเฝือก ก็ว่า.
กะแอ ๑ : น. เครื่องบังแดดมีคันปักดิน หมุนได้ตามต้องการ.
กั้นซู่ : (โบ) น. เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง กล่าวกันว่ามีลักษณะเหมือนถุง อย่างเดียวกับโพงพาง หรือเป็นไม้ซึ่งปักเป็นปีกของเครื่องมือประจําที่ ซึ่งเรียก กั้นซู่รั้วไซมาน หรือ ซู่กั้นรั้วไซมาน.
กาจับหลัก ๑ : น. ไม้แป้นวงกลม มีหลักปักอยู่ที่ริมแป้น ที่ปลายหลัก มีวัตถุรูปกระจับสําหรับรับคางศพที่บรรจุโกศ; เครื่องดักทําร้าย ของโบราณ มีของแหลมอยู่ข้างล่าง เมื่อคนนั่งกระทบไกเข้าก็ลัดขึ้น เสียบทวาร; ท่าถือขอช้างอย่างหนึ่ง. (ตําราขี่ช้าง).
การเรือน : น. งานของแม่บ้าน เช่น หุงต้มอาหารเย็บปักถักร้อย, การบ้านการเรือน ก็ว่า.
เกียด ๑ : น. เรียกไม้ที่ปักขึ้นกลางลานสําหรับผูกควายหรือ วัวให้ย่ำนวดข้าวไปรอบ ๆ ว่า เสาเกียด.
โกรกกราก : [โกฺรกกฺราก] น. ชื่อเครื่องมือสําหรับไชไม้; กระบอกไม้ไผ่ มีหลักปักอยู่กลางเติ่งสําหรับทอดดวด. (รูปภาพ โกรกกราก)
ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
ขวาก : [ขฺวาก] น. ไม้หรือเหล็กเป็นต้นมีปลายแหลม สําหรับปักหรือโปรย เพื่อดักหรือให้ตําผู้ผ่านเข้าไป.