ปืน : น. อาวุธสําหรับยิงให้ลูกออกจากลํากล้องด้วยกําลังดินระเบิดหรือ แรงอัดดันด้วยลมเป็นต้น. (ศร หน้าไม้ เกาทัณฑ์ โบราณเรียกว่า ปืน; ปืนที่ใช้กําลังไฟ เรียกว่า ปืนไฟ).
ปืนกล : น. ปืนที่มีกลไกยิงได้เร็วมาก.
ปืนครก : น. ปืนใหญ่ที่มีลำกล้องสั้นลักษณะคล้ายครก.
ปืนพก : น. ปืนขนาดเล็ก สำหรับพกพาติดตัวไปได้.
ปืนยาว : น. ชื่อปืนชนิดหนึ่ง ลำกล้องยาวตั้งแต่ ๒๐ นิ้ว ขึ้นไป มีแหนบสำหรับบรรจุกระสุน มักใช้ล่าสัตว์.
ปืนลม : น. ชื่อปืนชนิดหนึ่ง ใช้แรงอัดดันด้วยลม.
ปืนเล็ก : น. ปืนที่มีปากลำกล้องกว้างต่ำกว่า ๒๐ มิลลิเมตร ลงมา.
ปืนเล็กยาว : น. ปืนเล็กที่มีลำกล้องยาวติดดาบปลายปืนได้.
ปืนสั้น : น. ชื่อปืนชนิดหนึ่ง ลำกล้องยาว ๒-๖ นิ้ว มีแหนบหรือ ลูกโม่สำหรับบรรจุกระสุน.
ปืนใหญ่ : น. ปืนที่มีปากลำกล้องกว้างตั้งแต่ ๒๐ มิลลิเมตร ขึ้นไป.
ดาบปลายปืน : น. ดาบสั้นตรงสําหรับติดปลายปืน.
รังปืนกล : น. ที่ซุ่มกำบังดักยิงข้าศึกทำเป็นมูนดินหรือทำด้วยกระสอบ ทรายเป็นต้น มีช่องสำหรับสอดปืนกลออกไป.
รางปืน : น. ไม้เนื้อแข็งที่ทำเป็นร่องสำหรับรองรับลำกล้องปืนประเภท ประทับบ่า เช่น ปืนนกสับ ปืนคาบศิลา หรือตัวปืนใหญ่ในสมัยโบราณ เป็นต้น.
ปน : ก. ประสมกัน เช่น ข้าวเจ้าปนข้าวเหนียว, แกมกัน เช่น พูดไทย ปนฝรั่ง, รวมกัน เช่น อย่าเอาผ้านุ่งกับเสื้อซักปนกัน, ถ้าเอาส่วน น้อยประสมลงในส่วนมากเพื่อให้ระคนปนเป็นอันเดียวกัน เรียกว่า เจือปน, ถ้าเป็นในลักษณะที่ปนกันทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งดีและชั่ว เรียกว่า คละปน.
กระสุนปืน : น. ลูกปืน, บางทีก็เรียก กระสุน หรือ ลูกกระสุน.
ไกลปืนเที่ยง : (สํา) ว. ไม่รู้อะไรเพราะอยู่ห่างไกลความเจริญ.
ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว : (สํา) ก. ทําอย่างเดียวได้ผล ๒ อย่าง, ลงทุน ครั้งเดียวได้ผลกําไร ๒ ทาง.
เล็งปืน : ก. ใช้สายตากำหนดเป้าหมายที่จะยิงเพื่อให้แม่น.
คำเพลิง : [-เพฺลิง] น. ปืน. (ข. กําเภลิง).
เรือตรวจการณ์ : น. เรือรบขนาดเล็ก มีความเร็วปานกลาง มีหน้าที่ตรวจ ดูเหตุการณ์เพื่อรักษาฝั่ง มีอาวุธต่าง ๆ ตามภารกิจของเรือแต่ละลำ เช่น เรือตรวจการณ์ (ปืน) เรือตรวจการณ์ (ปราบเรือดำน้ำ) เรือตรวจการณ์ ใกล้ฝั่ง เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง เรือตรวจการณ์ลำน้ำ.
เรือเร็วโจมตี : น. เรือรบขนาดเล็กระวางขับน้ำประมาณ ๓๐๐๖๐๐ ตัน มีความเร็วสูงตั้งแต่ ๒๕ นอตขึ้นไป มีอาวุธที่มีอำนาจในการทำลายสูง หลายประเภทขึ้นอยู่กับภารกิจของเรือนั้น ๆ เช่น ปืน อาวุธนำวิถีระยะ ปานกลางหรือระยะไกล.
ศร : [สอน] น. อาวุธชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคันสำหรับยิง เรียกว่า คันศร กับลูกที่มีปลายแหลม เรียกว่า ลูกศร, เรียกสายคันศรว่า สายศร, เรียกอาการที่ยิงลูกศรออกไปว่า แผลงศร หรือ ยิงศร; (โบ) ปืน. (ส.).
ลูกปราย : น. ลูกตะกั่วหรือลูกเหล็กเล็ก ๆ สําหรับยัดใส่ในลํากล้อง ปืนครั้งละหลายลูก เมื่อยิงไปครั้งหนึ่ง ๆ ลูกจะกระจายไป, กระสุน ปืนชนิดที่มีลูกตะกั่วหรือลูกเหล็กเล็ก ๆ หลาย ๆ ลูกผสมปนอยู่กับ ดินปืนในนัดเดียวกัน เวลายิงจะกระจายออก เช่น ปืนลูกซองใช้ กระสุนลูกปราย.
กระโจม ๑ : น. สิ่งที่ตามปรกติมียอดเป็นลอมอย่างซุ้ม ใช้เป็นเครื่องกําบังแดดลม เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง (๑) สิ่งที่รวมกันเข้าเป็นลอม เช่น กระโจมปืน. (๒) สิ่งที่ผูกรวบยอดให้รวมกัน เช่น ปากผูกกระโจม. (๓) ผ้าที่ทําเป็นลอมเพื่อเข้าไปอยู่ให้เหงื่อออก เช่น เข้ากระโจม; กูบที่มีด้านเปิดโล่ง ๔ ด้าน, โจม ก็ว่า; (ถิ่น) เครื่องสวมศีรษะอย่างหนึ่ง เช่น กระจอนหูแปงประดับแก้วเครื่องเลิศอุดมกระโจมคำสุบเก้าเกษ. (ม. ภาคอีสาน นครกัณฑ์).
กระบอก ๑ : น. ไม้ไผ่ที่ตัดเป็นท่อน, ของอื่น ๆ ที่มีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระบอกปืน กระบอกตา; ลักษณนามบอกสัณฐาน สําหรับใช้กับ ของกลมยาวแต่กลวง เช่น ข้าวหลาม ๓ กระบอก; เสื้อชนิดหนึ่ง ในสมัยรัชกาลที่ ๔ แขนยาว ช่วงตัวสั้นเสมอบั้นเอว แขนรัด ตัวรัด คอสูง เรียกว่า เสื้อกระบอก; หุ่นชนิดหนึ่งมีแต่ส่วนหัวและ มือ ๒ ข้าง ลำตัวทำด้วยไม้กระบอก มีผ้าเย็บเป็นถุงคลุม เวลาเชิด ใช้มือสอดเข้าไปจับไม้กระบอกนั้นเชิด เรียกว่า หุ่นกระบอก; (เรขา) รูปตันที่กําเนิดขึ้นจากการเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยใช้ด้านใดด้าน หนึ่งเป็นแกนแล้วหมุนโดยรอบฐาน ปลายทั้ง ๒ ข้างมีหน้าเป็น วงกลม เรียกว่า รูปทรงกระบอก หรือ รูปกระบอก, ลักษณะได้แก่ รูปที่มีสัณฐานกลมยาวและตรงซึ่งมีส่วนสัดกลมเท่ากันตั้งแต่ต้น จนปลาย. (อ. cylinder). (รูปภาพ กระบอก)
กระหริ่ง : น. บ่วงหวายสําหรับดักสัตว์ที่กระโดดเช่นเนื้อและกวาง เช่น จับกระหริ่งบ่วงข่ายถือ แบกหอกปืนลงจากเรือน. (สุบิน), กะริง ก็ว่า.
กองทัพ : น. หน่วยทหารที่ประกอบด้วย ทหาร ๓ กองพล และมีทหารหน่วยอื่น ๆ เช่น หน่วยทหารช่าง หน่วยทหารสื่อสาร หน่วยทหารรถถัง หน่วยทหารปืนใหญ่ เป็นส่วนประกอบ มีแม่ทัพเป็นผู้บังคับบัญชา.
กองพล : น. หน่วยทหารซึ่งมีทหารราบ ๓ กรม เป็นหลัก มีทหารหน่วยอื่น ๆ เช่น หน่วยทหารปืนใหญ่ หน่วยทหารรถถัง หน่วยทหารซึ่งมีทหารราบ ทหารขนส่ง หน่วยทหารสารวัตร เป็นส่วนประกอบ มีผู้บัญชาการกองพลเป็นผู้บังคับบัญชา.
กำเพลิง : [-เพฺลิง] น. ปืนไฟ. (ข. กําเภฺลีง).
แก๊ป : น. ชื่อหมวกของทหารตํารวจหรือข้าราชการพลเรือนเป็นต้น ที่มีกะบังหน้า เรียกว่า หมวกแก๊ป; เครื่องที่ทําให้ระเบิดเป็น ประกายติดดินปืน เดิมมีรูปเหมือนหมวกแก๊ปแต่ไม่มีกะบังปิดหน้า; ชื่อปืนชนิดหนึ่ง มีนกสับ ใช้ยัดกระสุนและดินปืนทางปาก และสับแก๊ป เรียกว่า ปืนแก๊ป. (อ. cap).
ไก ๑ : น. ที่สําหรับเหนี่ยวให้ลูกกระสุนเป็นต้นลั่นออกไป เช่น ไกปืน ไกหน้าไม้.
ของร้อน : น. ของที่มีผู้ขโมยเขาเอามาฝากไว้หรือจําหน่ายให้ ถ้ารับ เอาไว้จะทําให้เดือดร้อน; ของที่ผิดกฎหมาย ถ้ามีไว้ในครอบครอง จะทําให้เดือดร้อน เช่น ปืนเถื่อน ฝิ่นเถื่อน.
ขัดลำ : ก. อาการที่กระสุนปืนค้างติดในลำกล้อง.
ขานกยาง ๑ : น. ปืนโบราณที่ตั้งยิงบนขาคํ้า; เรียกตรวนที่มีลูกย่าง ๒ อันว่า ตรวนขานกยาง.
ครก : [คฺรก] น. เครื่องใช้ที่มีลักษณะอย่างหลุมสําหรับตําหรือโขลกด้วยสาก, เครื่องใช้ที่ทําด้วยไม้ทั้งท่อนขนาดใหญ่ ยาวประมาณ ๗๐ เซนติเมตร ขุดเนื้อในออกให้เป็นหลุมลึก สําหรับตําหรือซ้อมข้าวเป็นต้นด้วยสาก หรือตะลุมพุก เรียกว่า ครกซ้อมมือ, ถ้าใช้ตําด้วยกระเดื่อง เรียกว่า ครก กระเดื่อง; เรียกขนมที่ทําด้วยแป้งกับกะทิหยอดในภาชนะกระเบื้องหรือโลหะ ที่ทําเป็นหลุม ๆ ตั้งบนไฟ ว่า ขนมครก; ชื่อปืนใหญ่ขนาดสั้นใช้สําหรับยิง โดยมีวิถีกระสุนโค้งมาก, เครื่องยิงลูกระเบิด มีลํากล้องขนาดใหญ่และสั้น ผิวลํากล้องเป็นเกลียวหรือเรียบก็ได้ บรรจุลูกระเบิดทางปากกระบอก ใช้สําหรับยิงลูกระเบิดโดยมีวิถีกระสุนโค้งมาก.
คาบชุด : น. ชื่อปืนเล็กยาวอย่างโบราณ ใช้ชุดจุดดินหูเวลายิง.
คาบศิลา : น. ชื่อปืนเล็กยาวอย่างโบราณ มีนกเป็นเหล็กคาบหินเหล็กไฟ หรือหินปากนกสับลงกับเหล็กให้เป็นประกายติดดินหู.
ง้าง : ก. ทำให้อ้าออก เช่น ง้างประตู, ดึงให้ยืดออก เช่น ง้างศร, งัด เช่น ง้างปาก, เหนี่ยว เช่น ง้างไกปืน, เงื้อ เช่น ง้างหมัด.
จ้อง ๒ : ก. เพ่งตาดูหรือมุ่งมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น จ้องหน้า, มุ่งคอย จนกว่าจะได้ช่อง, คอยที, เช่น จ้องจับผิด จ้องจะทําร้าย จ้องจะแทง, กิริยา ที่เอาปืนหรืออาวุธเล็งมุ่งตรงไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง.
จังก้า : ว. ลักษณะยืนถ่างขาตั้งท่าเตรียมสู้, ลักษณะที่ตั้งปืนกลเป็นต้นเตรียม พร้อมที่จะยิง.
จั่นห้าว : น. เครื่องยิงสัตว์ ใช้หอก หรือปืน หรือหลาว ขัดสายใยไว้ เมื่อคนหรือสัตว์ไปถูกสายใยเข้า ก็ลั่นแทงเอาหรือยิงเอา ใช้อย่างเดียว กับหน้าไม้ก็ได้.
จ่ารง : น. ชื่อปืนโบราณชนิดหนึ่ง.
ซ่น : (โบ) น. ส้น, ส่วนท้ายของเท้า, ส่วนท้ายของบางสิ่งบางอย่าง เช่น ซ่นปืน.
ซ้อน : ก. วางทับกัน เช่น เอาจานซ้อนกัน เอาหนังสือซ้อนสมุด, เรียงแทรกเสริมกัน เช่น ฟันซ้อน มะลิซ้อน; ซํ้า ๆ กัน เช่น ถูกชก ๒ ทีซ้อน เสียงปืนดัง ๓ นัดซ้อน; ว่ากันคนละทีในเชิงแข่งขัน เช่น เทศน์ซ้อน. ว. มีหรือทำอย่างเดียวกันกับที่มีหรือทำอยู่แล้ว เช่น เขามีประชุมซ้อน; ลักษณะที่จอดรถหรือเรือเรียงขนานกับอีกคันหนึ่ง หรือลําหนึ่งที่จอดอยู่แล้ว เรียกว่า จอดรถหรือเรือซ้อนกัน; ลักษณะ ที่จอดรถขวางรถที่จอดเป็นระเบียบอยู่แล้ว เป็นการกีดขวางทาง จราจร เรียกว่า จอดรถซ้อนคัน.
ดินหู : น. ดินปืนอย่างแรง ใช้โรยที่รางชนวนในการยิงปืนคาบศิลาสมัย โบราณ.
ดินอีหรอบ : น. ดินปืนทํามาจากต่างประเทศ ใช้ต่างดินหู.
ตะไล ๑ : น. ดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง มีปีกเป็นวงกลม ทําด้วยกระบอกไม้ไผ่บรรจุดินปืนที่ทําด้วยดิน ประสิวกับถ่านไม้ และตอกให้แน่น มีรูชนวนสําหรับจุด.
ถล่ม : [ถะหฺล่ม] ก. ยุบหรือทําให้ยุบทลายลง เช่น แผ่นดินถล่ม, ทําให้พัง ทลายหรือล่มจม เช่น ถล่มด้วยปืนใหญ่.
ถือ : ก. เอาไว้ในมือ, จับยึดไว้, เช่น ถือมีด ถือปืน ถือหนังสือ; ทรงไว้, ดํารงไว้; เอาไว้ในใจ เช่น ถือศีล ถือศักดินา; ยึดเอาว่า, นับเอาว่า, เช่น ถือเป็นญาติกัน ถือเราถือเขา ถือพวก ถือโทษ; เชื่อมั่นว่าเป็นมงคล หรืออัปมงคล เช่น ถือไม่ให้ใครจับหัว ถือไม่ลอดใต้ถุน; นับถือ เช่น ถือศาสนา; เช่า ในคําว่า ถือสวน, เช่าถือสวน ก็ว่า.
เถื่อน : น. ป่า เช่น เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า. ว. ห่างไกลจากที่อยู่ของคน, ห่างไกล จากความเจริญ, มักใช้ประกอบคํา ป่า เป็น ป่าเถื่อน; ไม่ถูกต้องตาม กฎหมาย เช่น เหล้าเถื่อน ฝิ่นเถื่อน ปืนเถื่อน หมอเถื่อน.