ปุระ : น. บุระ. (ป.).
ปราชาปัตยวิวาหะ : [ปฺราชาปัดตะยะ-] น. การสมรสวิธีหนึ่งที่บิดายกลูกสาวให้เจ้าบ่าว โดยปราศจากการเรียกร้องอย่างใดอย่างหนึ่งจากเจ้าบ่าว. (ส.).
ปราติหารย์ : [ปฺราติหาน] (กลอน) น. ปาฏิหาริย์. (ส. ปฺราติหารฺย; ป. ปาฏิหาริย).
ปราทุกรา : [ปฺราทุกฺรา] (กลอน) น. ปาทุกา, รองเท้า. (ป., ส. ปาทุกา).
ปร่า : [ปฺร่า] ว. ลักษณะของรสที่ไม่กลมกล่อมไม่แน่ชัดว่าเป็นรสอะไร เช่นรสแกงที่มีเครื่องปรุงไม่เหมาะส่วน.
ปรางค์ปรา : [ปฺรางปฺรา] (กลอน) ตัดมาจาก ปรางค์ปราสาท.
เปรมปรา : [-ปฺรา] (กลอน) ตัดมาจาก เปรมปราโมทย์.
บุระ : น. ป้อม, หอ, วัง, เมือง. (ป. ปุร).
บุรี, บูรี : น. เมือง. (ป. ปุร).
กับบุเรศ : [-เรด] (แบบ; กลอน) น. การบูร เช่น กับบุเรศสมุลแว้งก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน). (ป. กปฺปุร).
ตรีบูร : น. เมืองอันมีป้อมค่าย ๓ ชั้น, ๓ ชั้น เช่น เมืองสุโขทัยนี้ตรีบูรได้สามพัน สี่ร้อยวา. (จารึกสยาม), อยุธยาไพโรจน์ใต้ ตรีบูร. (กําสรวล). (ส. ตฺริปุร ว่า ป้อม ๓ ชั้น).
บุรัตถิมทิศ : [-ถิมะทิด] น. ทิศตั้งอยู่เบื้องหน้า, ทิศตะวันออก. (ป. ปุรตฺถิมทิส).
ปรำ : [ปฺรํา] ก. ทําอาการดุจกระทุ้ง; เจาะจง; เทลงไปเร็ว ๆ ให้ปนกับ ของอื่น; รุมกล่าวโทษ.
ปาทุกา : (แบบ) น. รองเท้า, เขียงเท้า, เขียนเป็น บราทุกรา หรือ ปราทุกรา ก็มี. (ป., ส.).
เปรา : [เปฺรา] (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อปีนักษัตรของไทยเหนือ ตรงกับ ปีฉลู, คําเดียวกับ เป๊า.
เปราะ ๑ : [เปฺราะ] น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิด Kaempferia galanga L. ในวงศ์ Zingiberaceae หัวและใบมีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหารและ ทํายาได้, เปราะหอม ก็เรียก. (๒) ชื่อมะเขือพันธุ์หนึ่ง.
เปราะ ๒ : [เปฺราะ] ว. หักง่าย, แตกง่าย, เช่น ไส้ดินสอเปราะ.
อันเตบุระ, อันเตปุระ : น. ภายในราชสํานัก, ภายในวัง. (ป.; ส. อนฺตปุร).