ปุ๋ม : ว. เสียงดังเช่นนั้น.
บุ๋ม : ว. ที่ยุบเป็นรอยลึกลงไป เช่น แก้มบุ๋ม.
ปม : น. เนื้อที่เป็นปุ่มขึ้นตามตัว, ขอดของผ้าหรือเชือก, ข้อยุ่งที่แก้ยาก.
ปมประสาท : น. ตําแหน่งที่อยู่ของเซลล์ประสาท.
กระปมกระปำ, กระปมกระเปา : ว. ปุ่มป่ำ, ปมเปา, เป็นปมเป็นก้อน.
บัพ : น. ข้อ, ปล้อง, ปม, เล่ม, หมวด, ตอน. (ป. ปพฺพ).
ปุ่ม : น. ปม, ของที่นูนขึ้นจากพื้นเดิม เช่น ปุ่มฆ้อง.
ปิ่ม, ปิ้ม : ว. เกือบ, จวน, แทบ.
บ๋อม : ว. บุ๋ม.
บ๋ำ : ว. บุ๋ม.
เปา : น. ปม, ปุ่ม, มักใช้เข้าคู่กับคํา ปม เป็น ปมเปา.
ผลือ : [ผฺลือ] น. ปม.
กระบิด : ก. บิดเชือกหรือตอกให้เขม็งจนขอดเป็นปม.
-กระปำ : ใช้เข้าคู่กับคํา กระปม เป็น กระปมกระปำ.
-กระเปา : ใช้เข้าคู่กับคํา กระปม เป็น กระปมกระเปา.
กระหมวด ๑ : ก. ขอดให้เป็นปม, มุ่น, บิดม้วนให้เป็นปม. (แผลงมาจาก ขมวด).
กะหล่ำ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Brassica oleracea L. ในวงศ์ Cruciferae มีหลายพันธุ์ เช่น กะหล่าปลี หรือ กะหล่าใบ (B. oleracea L. var. capitata L.) กะหล่าดอก หรือ กะหล่าต้น (B. oleracea L. var. botrytis L.) กะหล่าดาว หรือ กะหล่าหัวลําต้น [B. oleracea L. var. gemmifera (DC.) Thell.] และ กะหล่าปม (B. oleracea L. var. gongylodes L.).
แก้ ๒ : ก. ทําให้คลายจากลักษณะที่แน่นที่ติดขัดหรือที่เป็นเงื่อนเป็นปมอยู่ เช่น แก้ปม แก้เงื่อน; ทําให้หลุดให้พ้นไป เช่น แก้คดี; ทําให้ดีขึ้น, ทําให้ใช้การได้, ทำส่วนที่เสียให้คืนดีอย่างเดิม, ดัดแปลงให้ดีขึ้น, เช่น แก้นาฬิกา แก้เครื่องจักร, แก้ไข ก็ว่า; ทําให้หาย เช่น แก้เก้อ แก้ขวย แก้จน แก้โรค; เฉลย, อธิบายให้เข้าใจ, เช่น แก้ปัญหา แก้กระทู้; ร้องเพลงหรือลำตัดเป็นต้นโต้ตอบกัน; เอากลับคืนมาให้ได้ เช่น ไปตีแก้เอาเมืองคืน.
ขมวด : [ขะหฺมวด] ก. บิดม้วนแล้วขอดให้เป็นปม, โดยปริยายหมายความว่า ย่นย่อข้อความทิ้งท้ายไว้ให้คิด. น. ลักษณนามเรียกของที่ขมวด อย่างนั้น เช่น หัวหอม ๔ ขมวด.
ขอด ๑ : ก. ขมวดเป็นปม เช่น ขอดเชือก ขอดผ้า ขอดชายพก. ว. ที่ขมวด เป็นปมหรือม้วนเข้ามา เช่น หมาหางขอด.
ขึงอูด : ก. นอนหงายเหยียดตรง แล้วใช้ผ้าที่ขมวดปมหัวท้ายคลุมศีรษะ ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งใช้ปลายเท้ายันผ้าให้ตึงเพื่อกันยุงเป็นต้น.
ไข้ทรพิษ : น. ชื่อโรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการไข้สูง แล้วมีผื่นขึ้นดาษตามใบหน้าและลำตัว ต่อมาผื่นจะกลายเป็นตุ่ม ตุ่มใส ตุ่มหนอง และตกสะเก็ด ตามลำดับ เมื่อหายแล้วมีแผลเป็นเป็นรอยบุ๋ม, ฝีดาษ ก็เรียก, โบราณเรียก ไข้หัว. (อ. smallpox, variola).
งูสวัด : น. โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง มีอาการอักเสบ อย่างเฉียบพลันที่ปมประสาทไขสันหลัง และพุเป็นเม็ดพองตาม ผิวหนังเป็นทางยาวพาดขวางลําตัวเป็นต้น ทําให้ปวดแสบปวดร้อน.
เงื่อน ๑ : น. เชือกหรือเส้นด้ายเป็นต้นที่ผูกกันเป็นปม เช่น เงื่อนกระทกหรือ เงื่อนกระตุก คือเงื่อนที่ผูกแล้วกระตุกออกได้ง่าย เงื่อนตาย คือเงื่อน ที่ผูกแล้วแก้ยาก เงื่อนเป็น คือเงื่อนที่ผูกแล้วแก้ง่าย.
จัน : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Diospyros decandra Lour. ในวงศ์ Ebenaceae ผลสุกสีเหลือง หอม กินได้, ชนิดลูกกลมแป้นกลางบุ๋ม ไม่มีเมล็ด เรียก ลูกจันอิน, ชนิดลูกกลมรี มีเมล็ด เรียก ลูกจันโอ.
ชนัก : [ชะ] น. เครื่องแทงสัตว์ชนิดหนึ่ง ทําด้วยเหล็กปลายเป็นรูป ลูกศร มีด้ามยาวมีเชือกชักเมื่อเวลาพุ่งไปถูกสัตว์; เครื่องผูกคอ ช้างทําด้วยเชือกเป็นปมหรือห่วงห้อยพาดลงมาเพื่อให้คนที่ ขี่คอใช้หัวแม่เท้าคีบกันตก. (รูปภาพ ชนัก)
ชักหน้า ๒ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมแป้งมัน ละลายกับนํ้าเชื่อมใส่ถ้วยตะไลนึ่ง เมื่อสุกหน้าจะบุ๋ม, ขนมนํ้าดอกไม้ ก็เรียก.
ดอกดิน : น. ชื่อพืชเบียนชนิด Aeginetia indica L. และชนิด A. pedunculata Wall. ในวงศ์ Orobanchaceae ลําต้นเป็นปุ่มปมเกาะเบียนรากหญ้า ดอกสีม่วงดํา อยู่พ้นพื้นดินขึ้นมา ใช้ทําขนม.
ตระกูลมูลชาติ : [-มูนชาด] (สํา) น. ตระกูลผู้ดี เช่น หญิงมีตระกูลมูลชาติ ถ้าแม้ขาดขันหมากก็ขายหน้า. (ท้าวแสนปม), สกุลรุนชาติ ก็ว่า.
ตะปุ่มตะป่ำ : ว. นูนขึ้นเป็นปม ๆ, เป็นปุ่มเป็นปมขรุขระอย่างผิวมะกรูด, ปุ่มป่ำ ก็ว่า.
ถ่มร้าย : น. รอยบุ๋มที่ตะโพกทั้ง ๒ ข้าง ถือว่าเป็นลักษณะไม่ดี สําหรับหญิง ๑ ใน ๓ อย่าง คือ สีจัก ยักหล่ม ถ่มร้าย, มักใช้เข้าคู่ กับคำ ยักหล่ม เป็น ยักหล่มถ่มร้าย.
นมตาบอด, นมบอด : น. นมที่หัวบุ๋มเข้าไป.
นอ ๑ : น. สิ่งที่งอกขึ้นเหนือจมูกแรด ยาวประมาณ ๑๒-๑๕ เซนติเมตร แข็ง เหมือนเขาสัตว์;ปมที่นูนขึ้นตามอวัยวะเช่นที่ข้อศอกที่ศีรษะ. (กลอน) ก. โน เช่น แม้นมีไม้ใกล้ตัวหัวจะนอ. (คาวี).
น้ำดอกไม้ ๑ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมแป้งมัน ละลาย กับนํ้าเชื่อมใส่ถ้วยตะไลนึ่ง เมื่อสุกหน้าจะบุ๋ม, ขนมชักหน้า ก็เรียก.
บอด : ว. มืด, ไม่เห็น, (ใช้แก่ตา); สกปรก เช่น หัวเทียนบอด; ไม่มีแวว เป็น วงทึบไม่โปร่ง (ใช้แก่หัวตัวหนังสือ) เช่น เขียนหนังสือหัวบอด; เรียก นมที่หัวบุ๋มเข้าไปว่า นมตาบอด หรือ นมบอด.
บุบ : ก. ทุบ ตํา หรือเคี้ยวเบา ๆ พอให้เป็นรอยหรือแตก; บู้ลง, บุ๋มลง, เช่น ขันบุบ แก้มบุบ.
ปุ่มป่ำ : ว. นูนขึ้นเป็นปม ๆ, เป็นปุ่มเป็นปมขรุขระ อย่างผิวมะกรูด, ตะปุ่มตะป่ำ ก็ว่า.
ผลุย : [ผฺลุย] ว. อาการที่เชือกหรือปมหลุดโดยเร็ว.
ฝีดาษ : น. ชื่อโรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการไข้สูง แล้วมีผื่นขึ้นดาษตามใบหน้าและลำตัว ต่อมาผื่นจะกลายเป็นตุ่ม ตุ่มใส ตุ่มหนอง และตกสะเก็ด ตามลำดับ เมื่อหายแล้วมีแผลเป็น เป็นรอยบุ๋ม, ไข้ทรพิษ ก็เรียก, โบราณเรียก ไข้หัว. (อ. smallpox, variola).
พอน ๑ : น. รากไม้ที่ขึ้นเป็นปีก เป็นพู หรือเป็นปมที่โคนต้น ซึ่งแผ่ขยาย ออกไปรอบ ๆเพื่อพยุงลําต้น เช่น พอนตะเคียน พอนมะค่า, พูพอน ก็เรียก.
พูพอน : น. รากไม้ที่ขึ้นเป็นปีก เป็นพู หรือเป็นปมที่โคนต้น ซึ่ง แผ่ขยายออกไปรอบ ๆ เพื่อพยุงลำต้น, พอน ก็เรียก.
ยักหล่ม : น. รอยบุ๋มที่สะบักทั้ง ๒ ข้าง ถือว่าเป็นลักษณะไม่ดีสําหรับ หญิง ๑ ใน ๓ อย่าง คือ สีจัก ยักหล่ม ถ่มร้าย, มักใช้เข้าคู่กับ ถ่มร้าย เป็น ยักหล่มถ่มร้าย.
ลวดหนาม : น. ลวดที่ขมวดเป็นปมเป็นระยะ ๆ แต่ละปมมีปลาย แหลมคม ใช้ทํารั้วหรือเครื่องกีดขวางเป็นต้น.
ลักยิ้ม : น. รอยเล็ก ๆ ที่บุ๋มลงไปที่แก้ม.
เว้า ๒ : ว. มีเส้นรูปนอกหรือพื้นราบโค้งหรือบุ๋มเข้าไป เช่น เสื้อแขนเว้า.
สังกะตัง : ว. ลักษณะที่ติดแน่นเป็นปมเหนียวที่ผมหรือขนสัตว์สางไม่ออก เช่น ผมเป็นสังกะตัง.
หวำ : ว. บุ๋มลงไป เช่น ผอมจนแก้มหวำ เนื้อตะโพกหวำ, ลึกไม่มาก, เป็นแอ่ง เช่น พื้นดินหวำ.
หวุม : ว. บุ๋ม, บํ๋า, โบ๋.
หัวเงื่อน : น. ปมที่ทำไว้สำหรับกระตุกหรือชักออกเมื่อเวลาแก้, โดยปริยาย หมายถึงข้อความตรงที่จะต้องไขความให้กระจ่าง.
อิน :
น. ชื่อลูกจันชนิดหนึ่ง ลูกกลมแป้นกลางบุ๋ม ไม่มีเมล็ด เรียกว่า ลูกจันอิน. (ดู จัน).