ปูชา : น. บูชา. (ป.).
บูชา : ก. แสดงความเคารพบุคคลหรือสิ่งที่นับถือด้วยเครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น เช่น บูชาพระ บูชาเทวดา บูชาไฟ, ยกย่องเทิดทูนด้วยความนับถือหรือเลื่อมใสในความรู้ความ สามารถ เช่น บูชาวีรบุรุษ บูชาความรู้ บูชาฝีมือ. (ป., ส. ปูชา).
วิศาขบูชา : น. วิสาขบูชา, การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวัน ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า. (ส. วิศาข + ปูชา; ป. วิสาข + ปูชา).
มาฆบูชา : น. การทําบุญพิเศษทางพระพุทธศาสนาในวันเพ็ญ เดือน ๓ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สําคัญซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์ เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปประชุมกัน โดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมนั้นล้วนได้รับ เอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, (วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก. ป. มาฆปูชา).
บูชากัณฑ์เทศน์ : ก. ติดกัณฑ์เทศน์ด้วยจตุปัจจัยไทยธรรมเป็นต้น.
เครื่องบูชา : น. สิ่งที่ใช้บูชาของไทย ใช้ของ ๔ อย่างเป็นสําคัญ คือ ข้าวตอก ดอกไม้ ธูป เทียน.
แท่นที่บูชา, : (ราชา) เรียกที่ประทับหรือที่บรรทมของพระเจ้าแผ่นดิน ว่า พระแท่น เช่น พระแท่นมหาเศวตฉัตร พระแท่นราชบรรจถรณ์; เรียกโต๊ะสําหรับกราบพระหน้าโต๊ะหมู่บูชาว่า พระแท่นทรงกราบ.
ปฏิบัติบูชา : น. การบูชาด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งสอน, คู่กับ อามิสบูชา ซึ่งเป็นการบูชาด้วยสิ่งของ.
สรวง : [สวง] น. ฟ้า, สวรรค์; เทวดา. ก. เซ่น, บูชา, บน. สรวงเส ก. บูชา, เสสรวง ก็ว่า.
อามิสบูชา : น. การบูชาด้วยสิ่งของ, คู่กับ ปฏิบัติบูชา ซึ่งเป็นการ บูชาด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งสอน.
ทำคุณบูชาโทษ : (สํา) ก. ทําคุณแต่กลับเป็นโทษ, ทําดีแต่กลับเป็นร้าย, มักใช้พูดเข้าคู่กับ โปรดสัตว์ได้บาป.
บำเรอ : ก. ปรนนิบัติให้เป็นที่ชอบใจ, เรียกหญิงที่ปรนนิบัติเช่นนั้นว่า นางบําเรอ; บูชา เช่น บําเรอไฟ.
บวง : ก. บูชา เช่น บวงเทพทุกเถื่อนถํ้า มณฑล ทวีปเอย. (นิ. นรินทร์), มักใช้ เข้าคู่กับคําอื่น เช่น บนบวง บวงสรวง บําบวง.
บำบวง : ก. บนบาน, เซ่นสรวง, บูชา.
ประชา : น. หมู่คน เช่น ปวงประชา. (ส.; ป. ปชา).
สักการ, สักการะ : [การะ] ก. บูชาด้วยสิ่งหรือเครื่องอันพึงบูชา เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ บูชา เป็น สักการบูชา. (ป.; ส. สตฺการ).
กระย่อง : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปกลมคล้ายโตก, ถ้าใหญ่ใช้เป็นสํารับ ถ้าเล็กใช้เป็นเครื่องใส่ข้าวตอก ดอกไม้บูชาตามวัด.
กระลา ๒ : น. องค์ของการบูชา เช่น กระลาพิธีกรกุณฑ์. (เสือโค). (แผลงมาจาก กลา). (ส. กลา มีองค์ ๓ คือ มนตร์ สัมภาระ และ ศรัทธา).
กลา : [กะลา] (แบบ) น. เสี้ยวที่ ๑๖ แห่งดวงเดือน, ดวงเดือน; ระเบียบพิธีของการบูชา เช่น ไปคํานับศาลสุรากลากิจ. (อภัย), ใช้ว่า กระลา ก็มี. (ป., ส.).
กองกูณฑ์ : น. กองไฟที่ใช้ในพิธีบูชาไฟ.
กัณฑ์เทศน์ : น. เครื่องไทยธรรมถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, สิ่งของสําหรับถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, เครื่องกัณฑ์ ก็ว่า; เรียกการเอาเงินติดเทียนบูชากัณฑ์เทศน์หรือเรียกการเอาเงินหรือ สิ่งของบูชาธรรมเนื่องในการเทศน์ว่า ติดกัณฑ์เทศน์.
กันทะ : (โบ) น. กระทะ เช่น จึ่งตั้งโลหะกันทะโดยตบะบนเส้าโขมดผี ให้ประโคมแล้วโหมอัคคี มาลีธูปเทียนบูชา. (รามเกียรติ์ ร. ๒ ตอนศึกไมยราพณ์).
กำนล : [-นน] น. เงินค่าคำนับครู, เงินคํานับบูชาครูปี่พาทย์ คือ พระประคนธรรพ หรือ พระนารท ซึ่งถือว่าเป็นครูเดิมของตน มีเทียนสําหรับจุดที่ตะโพนด้วย. (ข. กํณล่ ว่า เครื่องคํานับ, ค่ากำนล; ไม้สำหรับหนุนอย่างไม้หมอน).
ข้าวสาก : (ถิ่น-อีสาน) น. ของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เอาไปบูชาตามต้นโพ และพระเจดีย์เวลาเช้ามืดในเดือน ๑๐.
ขุดเพ็ด : น. รูปจำลองอวัยวะเพศชาย ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง, ปลัดขิก ไอ้ขิก หรือ อ้ายขิก ก็เรียก, ถ้าใช้เป็นเครื่องบูชาตามศาลเจ้า เรียกว่า ดอกไม้เจ้า, ราชาศัพท์ว่า ทองพระขุน.
คเณศ : [คะเนด] น. ชื่อเทพองค์หนึ่ง มีเศียรเป็นช้าง ถือว่าเป็นเทพแห่งศิลปะ เชื่อกันว่าถ้าบูชาแล้วจะป้องกันความขัดข้องที่อาจเกิดมีขึ้นได้, วิฆเนศ พิฆเนศ วิฆเนศวร หรือ พิฆเนศวร ก็เรียก. (ส.).
ครอบ ๑ : [คฺรอบ] ก. เอาของที่มีลักษณะคลุ่ม ๆ คล้ายขันควํ่าเป็นต้นปิดงําไว้ เช่น เอาฝาชีครอบ เอากะลาครอบ. น. แก้วรูปลูกฟักตัดสําหรับครอบ พระพุทธรูปหรือเครื่องบูชาเป็นต้น; ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะ รูปทรงคล้ายลูกฟักหรือคล้ายน้ำเต้า มีเชิง ฝาครอบเป็นรูปทรงหัวเม็ด ทรงมัณฑ์เป็นต้น สำหรับใส่น้ำมนต์.
คลี : [คฺลี] (โบ) น. ลูกกลม เช่น เล่นคลี โยนคลี, (โบ) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่ง ผู้เล่นขี่ม้าตีลูกกลมด้วยไม้ เช่น ให้พระยาสามนต์คนดี มาตีคลีพนันในสนาม. (สังข์ทอง); (ถิ่น-อีสาน) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่งแต่ละฝ่ายใช้ไม้ตีลูกกลม ซึ่งทำด้วยไม้ขนาดลูกมะนาวหรือโตกว่าเล็กน้อย ฝ่ายที่ตีลูกไปสู่ที่หมาย ทางฝ่ายของตนได้ก่อนเป็นฝ่ายชนะ; การเล่นลูกกลมด้วยลีลาเยื้องกรายเพื่อ บูชาเทพเจ้า เช่น นางเริ่มเดาะคลีบูชาพระศรีเทวี. (กามนิต). (เทียบ ส. คุฑ, คุล, โคล; ป. คุฬ ว่า ลูกกลม).
เครื่องตั้ง : น. เครื่องตั้งโต๊ะบูชา มีแจกัน เชิงเทียน กระถางธูป และ พานดอกไม้ เป็นต้น.
เครื่องทองทิศ : น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสําหรับพระเจ้าแผ่นดินทรง ใช้บูชาพระรัตนตรัยในพระราชพิธีใหญ่ มีเตียงทองตั้งซ้อนกัน ๒ เตียง เชิงเทียนแถวหนึ่ง ๕ เชิง เชิงธูปแถวหนึ่ง ๕ เชิง พานข้าวตอกแถวหนึ่ง ๕ พาน พานดอกไม้แถวหนึ่ง ๕ พาน เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองทิศ.
เครื่องทองน้อย : น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสําหรับพระเจ้าแผ่นดินทรง ใช้บูชาเฉพาะวัตถุ เช่นพระบรมอัฐิ มีเชิงเทียน ๑ เชิง เชิงธูป ๑ เชิง กรวยปักดอกไม้ ๓ กรวย ตั้งในพานทองลงยาราชาวดี เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองน้อย.
เครื่องห้า ๑ : น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสําหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงใช้ บูชาพระธรรมเวลาทรงสดับเทศนา มีเชิงเทียน ๒ เชิง กระถางธูป ๑ ใบ กรวยปักดอกไม้ ๕ กรวย ตั้งในพานทองลงยาราชาวดี, เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองน้อยเครื่องห้า.
แจกัน : น. ภาชนะสําหรับปักดอกไม้ตั้งเครื่องบูชาหรือประดับสถานที่ มักมีรูปคล้ายขวดปากบาน.
ฉลอง ๑ : [ฉะหฺลอง] ก. ทําบุญหรือบูชาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นงานเอิกเกริกเพื่อแสดง ความปีติยินดี เช่น ฉลองพระ ฉลองหนังสือ ฉลองอายุ, จัดงานเอิกเกริก เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสต่าง ๆ เช่น ฉลองปริญญา, บางทีใช้เข้าคู่ กับคำ เฉลิม เป็น เฉลิมฉลอง.
ชปโยค : [ชะปะโยก] (แบบ) น. มนตร์กระซิบ เช่น สมมุขบ่ายบูชา ชปโยค. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ส. ชปฺ + โยค).
ชินโต : น. ชื่อศาสนาดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น ไม่มีศาสดาผู้ก่อตั้ง มีคําสอนให้เคารพบูชาธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ แม่นํ้า.
เช่าพระ : ก. ซื้อพระพุทธรูปหรือพระเครื่องไปบูชา.
ดอกไม้เจ้า : น. ขุนเพ็ดซึ่งใช้เป็นเครื่องบูชาตามศาลเจ้า.
ตะขาบ ๓ : น. เครื่องตีบอกจังหวะ; ไม้ไผ่ที่ผ่าขังปล้องแขวนไว้ตามยอดไม้สําหรับชัก ให้มีเสียงดังเพื่อไล่ค้างคาวเป็นต้น และที่พวกตลกลิเกละครเป็นต้นใช้ตี กันเล่น, จะขาบ ก็เรียก; ธงชนิดหนึ่งทําด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกัน ไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้นทําให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาด กว้างยาวตามต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา.
ตั้ง : ก. ชูตัว, ชูตัวหรือทําให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน ต้นข้าว เอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดํารง, เช่น ตั้งอยู่ในคลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทําให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตําแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้ง เปรียญ; กําหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสํารับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือเป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คําแสดงความหมายว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง. ตั้งกรม ก. สถาปนาเจ้านายขึ้นทรงกรม. ตั้งเข็ม, ตั้งเป้าหมาย ก. ตั้งความมุ่งหมาย, กําหนดจุดมุ่งหมาย. ตั้งไข่ ก. สอนยืน (ใช้แก่เด็ก). ตั้งเค้า ก. เริ่มแสดงท่าทีให้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ฝนตั้งเค้า. ตั้งแง่ ก. ทําชั้นเชิง, ไม่ตรงไปตรงมา, คอยหาเรื่องจับผิด. ตั้งใจ, ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดใจจ่อ. ตั้งต้น ก. เริ่มทํา, ขึ้นต้น. ตั้งตัว ก. ตั้งฐานะหรือตั้งหลักฐาน; ยกย่องตัว, สถาปนาตัว, เช่น ตั้งตัวเป็นหัวหน้า ตั้ง ตัวเป็นใหญ่. ตั้งตาคอย ก. เฝ้าคอย. ตั้งแต่ บ. นับจากเวลาหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งเป็นต้นไป (มักใช้เข้าคู่กับคำ จนถึง หรือ จน กระทั่ง). ตั้งแต่ง ก. ยกขึ้น, สถาปนา. ตั้งโต๊ะ ก. จัดโต๊ะอาหาร; จัดโต๊ะหมู่บูชา. ตั้งท้อง ว. เรียกข้าวที่มีรวงอ่อน ๆ ว่า ข้าวตั้งท้อง. ตั้งท่า ก. วางท่า; เตรียมตัวพร้อม, คอยทีอยู่. ตั้งธาตุ ก. จัดระบบการย่อยอาหารให้เป็นปรกติ. ตั้งนาฬิกา ก. เทียบนาฬิกาให้ตรงเวลา. ตั้งนาฬิกาปลุก ก. ตั้งเวลาให้นาฬิกาปลุกตามที่ต้องการ. ตั้งหน้า, ตั้งหน้าตั้งตา ก. มุ่งหน้า; ตั้งใจทํา, ทําอย่างจริงจัง, มุ่งมั่น. ตั้งหัวเรือ ก. ทําให้เรืออยู่ในแนว ไม่ให้หัวเรือส่ายไปมา. ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดจ่อ, ตั้งใจ ก็ว่า.
ตันตระ ๒ : [-ตฺระ] น. ลัทธิฮินดูยุคหลัง ว่าด้วยพิธีกรรมเพื่อบูชาพระศิวะและศักติของพระองค์; ชื่อคัมภีร์หนึ่งในลัทธิตันตระ.
ถูป- : [ถูปะ-] (แบบ) น. เจดีย์ซึ่งก่อไว้สําหรับบรรจุของควรบูชา มีกระดูก ของบุคคลที่นับถือเป็นต้น. (ป.).
ถูปารหบุคคล : [ระหะ] น. บุคคลที่ควรนํากระดูกบรรจุสถูปไว้บูชา ได้แก่ พระพุทธเจ้าเป็นต้น. (ป.).
ที่ : น. แหล่ง, ถิ่น, เช่น ที่ประกอบอาชีพ ที่ทํามาหากิน, สถานที่ เช่น ที่ประชุม ที่พัก, ตําแหน่งที่ เช่น เอาแว่นวางไว้ที่โต๊ะ; ที่ดิน เช่น ซื้อที่ ขายที่ เช่าที่; ภาชนะ, เครื่องใช้, เช่น ที่บูชา ที่นอน ที่เขี่ยบุหรี่; ลักษณนามบอกสถานที่หรือสิ่งของเป็นชุด ๆ เป็นต้น เช่น ที่นั่ง ๓ ที่ อาหาร ๓ ที่. ส. คําใช้แทนคํานามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น คนที่ขยัน เด็กที่ฉลาด. ว. คํานําหน้าสังขยาบอกลําดับ เช่น ที่ ๑ ที่ ๒. บ. ใน, ณ, เช่น อยู่ที่บ้าน.
เทียนพรรษา : น. เทียนขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น สําหรับจุดในโบสถ์บูชาพระตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา.
ธงตะขาบ : น. ธงชนิดหนึ่งทำด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกันไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้นทำให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาดกว้างยาวตาม ต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา. (รูปภาพ ธงตะขาบ)
ธันยาวาท : [ทันยาวาด] น. การทําพิธีบูชาขอบคุณเทพผู้ให้ความสมบูรณ์พูนผล. (ส.).
ธูปบาตร : [ทูปะบาด] น. ภาชนะสําหรับเผาเครื่องหอมบูชา. (ส. ธูปปาตฺร).
บฏ : (แบบ) น. ผ้าทอ, ผืนผ้า; เรียกผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้นและ แขวนไว้เพื่อบูชาว่า พระบฏ. (ป. ปฏ).
บวงสรวง : [-สวง] ก. บูชาเทวดาด้วยเครื่องสังเวยและดอกไม้ธูปเทียน เป็นต้น.