ป้อมบังคับการ : (โบ) น. ที่ซึ่งมีที่กําบังแข็งแรงสําหรับใช้ในการ ควบคุมการใช้อาวุธและสั่งการเดินเรือในยามสงคราม.
บังคับการ : ก. รับผิดชอบในการควบคุมและสั่งการ, เรียกผู้มีอํานาจ เช่นนั้นว่า ผู้บังคับการ.
ป้อม ๒, ป้อม ๆ : ว. กลม ๆ.
ป้อม ๑ : น. หอรบ; ที่อยู่หรือที่พักซึ่งทำขึ้นใช้กันแดดกันฝน เช่น ป้อมตำรวจ.
ตะล่อมป้อม : ว. กลม ๆ ป้อม ๆ.
ลูกป้อม : น. ที่กำบังตัวทหารที่รักษาการณ์อยู่บนกำแพงป้อม เป็น รูปสี่เหลี่ยม.
หอบังคับการ : น. ที่ซึ่งผู้บังคับการเรือและนายทหารเรือร่วมกันปฏิบัติงาน ควบคุมและสั่งการให้เจ้าหน้าที่ประจําเรือแผนกต่าง ๆ ปฏิบัติภารกิจตาม ที่ได้รับมอบหมาย.
จ้อมป้อม : ว. จอมเปาะ.
บ้อม : (ปาก) ก. ทําร้ายร่างกายด้วยการทุบตี.
ปอม :
(ถิ่น-อีสาน) น. กิ้งก่า. (ดู กิ้งก่า).
พญาขามป้อม, พญามะขามป้อม : น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Cephalotaxus griffithii Hook.f. ในวงศ์ Cephalotaxaceae. (๒) ชื่อไม้ต้นชนิด Podocarpus imbricatus Blume ในวงศ์ Podocarpaceae.
มะขามป้อม : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Phyllanthus emblica L. ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลม รสเปรี้ยวฝาด เมล็ดแข็ง ผลใช้ทํายาได้.
ตรีบูร : น. เมืองอันมีป้อมค่าย ๓ ชั้น, ๓ ชั้น เช่น เมืองสุโขทัยนี้ตรีบูรได้สามพัน สี่ร้อยวา. (จารึกสยาม), อยุธยาไพโรจน์ใต้ ตรีบูร. (กําสรวล). (ส. ตฺริปุร ว่า ป้อม ๓ ชั้น).
ประทาย : น. ค่าย, ป้อม. (ข.).
แมลงช้าง : น. ชื่อตัวอ่อนของแมลงหลายชนิด ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ Myrmeleontidae รูปร่างอ้วน ป้อม มีขนเป็นกระจุกตามลําตัว ขากรรไกรหน้ายาวยื่นและโค้งเหมือน งาช้าง ฝังตัวอยู่ในหลุมทรายซึ่งขุดเป็นรูปกรวย เพื่อล่อให้มดหรือสัตว์เล็ก ๆ ตกลง ไปในหลุมแล้วขึ้นไม่ได้ จะได้จับกินเป็นอาหาร, ตุ้ม ตุ๊ดตู่ หรือ แมงช้าง ก็เรียก.
เรือกระแชง : น. เรือบรรทุกชนิดหนึ่ง เล็กกว่าเรือเอี้ยมจุ๊น ท้องเรือกลม ป้อม ใช้กระแชงทำเป็นประทุน.
ลูกมะหวด : น. ลูกตั้งมักทำด้วยหินหรือไม้เป็นต้น เป็นรูปกลม ๆ ป้อม ๆ คล้ายผลมะหวดเรียงกันเป็นลูกกรงใช้แทนหน้าต่าง เช่น ลูกมะหวดที่ปราสาทหิน.
กรวย ๒ : น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Horsfieldia irya (Gaertn.) Warb. ในวงศ์ Myristicaceae ขึ้นตามฝั่งน้าลําคลอง ใบเป็นมันคล้ายใบจําปี แต่เรียวและนิ่มกว่า ดอกสีเหลือง ผลกลมเป็นพวงคล้ายมะไฟ, กรวยบ้าน ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Casearia grewiifolia Vent. ในวงศ์ Flacourtiaceae ใบคล้ายชนิดแรกแต่ปลายป้อม มีขนมาก ขอบใบมีจักเล็ก ๆ เชื่อกันว่าเป็นยาสูบแก้ริดสีดวงจมูก, กรวยป่า ก็เรียก.
กระเจา :
น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Corchorus วงศ์ Tiliaceae ขึ้นอยู่ในที่ลุ่ม เปลือกต้นเหนียว เมื่อลอกออกแล้ว เรียกว่า ปอ เช่น ปอกระเจาฝักกลม (C. capsularis L.) ผลป้อม เปลือกย่นเป็นตุ่ม ๆ ใบใช้เป็นอาหารได้, พายัพเรียก เส้ง, และ ปอกระเจาฝักยาว (C. olitorius L.) ฝักยาวเรียว มีสันตามยาว, เมล็ดของปอทั้ง ๒ ชนิด นี้มีพิษ ปอใช้ทํากระสอบ. (๒) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง. (ดู กระเชา).
กระแชง : น. เครื่องบังแดดฝน โดยนําใบเตยหรือใบจากเป็นต้นมาเย็บเป็นแผง, ลักษณนามว่า ผืน (เทียบมลายู กระชัง = แผงสำหรับคลุมเรือหรือ รถ เย็บด้วยใบไม้); เชือกหนังสําหรับติดกับสายรัดประโคนของช้าง แต่มักติดเบื้องท้ายสันหลัง เพื่อควาญช้างจับในเวลาคับขัน; เชือกบาศสําหรับคล้องช้าง; ชื่อเรือบรรทุกชนิดหนึ่ง เล็กกว่า เรือเอี้ยมจุ๊น ท้องเรือกลมป้อม ใช้กระแชงทําเป็นประทุน เรียกว่า เรือกระแชง.
กระปุก : น. ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาหรือแก้วเป็นต้น รูปป้อม ๆ เตี้ย ๆ ขนาดเล็ก โดยมากปากแคบ ก้นสอบ, ลักษณนาม เรียกทะลายของผลระกําหรือผลจาก เช่น ผลระกํา กระปุกหนึ่ง ผลจาก ๒ กระปุก.
กระเปาะเหลาะ : ว. มีสัณฐานกลมป้อม, เปาะเหลาะ ก็ว่า.
กระแห, กระแหทอง : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Puntius schwanenfeldii ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างป้อมคล้ายปลาตะเพียนทอง มักมีสีแดงอ่อนบนครีบ เฉพาะส่วนปลายของครีบหลังและ ขอบบนล่างของครีบหางมีสีดํา, ตะเพียนหางแดง หรือ เลียนไฟ ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ลำปำ.
กรัน ๒ : [กฺรัน] น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งของชนิด Musa sapientum L. ผลสั้นป้อม มีเมล็ดมาก, กล้วยเต่า ก็เรียก.
กวางโจน : [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป.
กวางชะมด : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี ๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า.
กว้างใหญ่ :
ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
กะทกรก : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Olax scandens Roxb. ในวงศ์ Olacaceae ตามลําต้นมีหนามห่าง ๆ ใบรูปไข่หรือรี ๆ ดอกเล็ก สีขาว อยู่เป็นกระจุกที่ง่ามใบ ผลกลมหรือรีขนาดเท่า เม็ดบัวเขื่อง ๆ เป็นสมุนไพรที่รู้จักกันทั่วไป, น้ำใจใคร่ นางจุม หรือ นางชม ก็เรียก, อุดรเรียก เยี่ยวงัว. (๒) ชื่อไม้เถาชนิด Passiflora foetida L. ในวงศ์ Passifloraceae มีมือเกาะ ใบป้อมมี ๓ หยัก ดอกสีขาว ผลกลม เมื่อสุกสีเหลือง มีกาบเป็นฝอยหุ้ม ยอดนํามาต้มใช้เป็นผัก, เถาเงาะ เงาะป่า หญ้ารกช้าง เถาสิงโต ถลกบาตร หรือ กระโปรงทอง ก็เรียก.
กะรัง ๒ : น. ชื่อปลาทะเลขนาดกลางและขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Epinephelus, Cephalopholis และ Plectopomus วงศ์ Serranidae รูปร่างยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็ก สีตามตัวและครีบเป็น ดอกดวง แต้ม หรือบั้ง ฉูดฉาดหรือคล้ำทึบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ ชนิดและขนาด พบอาศัยอยู่ตามบริเวณหมู่ปะการัง โขดหินใกล้ฝั่ง หรือเกาะ.
กันภัย, กันภัยมหิดล : น. ชื่อไม้เถาชนิด Afgekia mahidolae Burtt et Chermsir. ในวงศ์ Leguminosae พบทางจังหวัดกาญจนบุรี ใบเป็นใบประกอบ ช่อหนึ่งมีใบย่อยหลายใบ ด้านล่างของใบมีขนสีน้ำตาล ดอกเป็นช่อตั้ง สีขาวปนม่วง ฝักสั้นป้อมแบน ๆ ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเฉลิม พระเกียรติแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี.
-การ ๒ : น. ผู้ทํา, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาสคําบาลีและสันสกฤต เช่น กรรมการ ตุลาการ, ถ้าอยู่หลังคําอื่นที่ไม่ใช่คําศัพท์ มีความหมายเป็นเฉพาะก็มี เช่น กงการ เจ้าการ นักการ ผู้บังคับการ ผู้กำกับการ.
ข้างตะเภา : น. (๑) ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Plectorhynchus และ Diagramma วงศ์ Haemulidae ลำตัวป้อม แบนข้าง สันหัวโค้งลาดลง รอบปากมีเนื้อนุ่ม ใต้คางมีรู ๑-๓ คู่ เกล็ดเล็กสากมือพื้นลำตัวและอกมักมีสีฉูดฉาด ในปลา ขนาดเล็กมักมีลายสีทึบพาดตามยาวหลายเส้นและมักแตกเป็นจุดเมื่อตัว โตขึ้น ขอบแผ่นปิดเหงือกและในโพรงปากมักมีสีแดงส้ม ส่วนใหญ่พบ อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง ขนาดตั้งแต่ ๓๐-๘๐ เซนติเมตร, สร้อยนกเขา ก็เรียก. (๒) ดู ข้างลาย.
คับแค : น. ชื่อนกชนิด Nettapus coromandelianus ในวงศ์ Anatidae เป็น นกเป็ดนํ้าที่เล็กที่สุดในประเทศไทย รูปร่างเล็ก อ้วนป้อม ปากสั้น ตัวผู้ปีกสีเขียวเข้มเป็นมัน หน้า คอ และท้องสีขาว ที่คอมีวงสีดํา ตัวเมียปีกสีนํ้าตาล ลําตัวตอนล่างสีขาว มีจุดกระสีนํ้าตาล ทํารัง ในโพรงไม้.
แครง ๑ : [แคฺรง] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Anadara granosa ในวงศ์ Arcidae ตัวป้อม ๆ กาบมีสันและร่อง อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลบริเวณที่มีโคลน ปนทราย; ภาชนะสําหรับวิดนํ้า รูปคล้ายกาบหอยแครง, ถ้าใช้วิดนํ้าใน สวน มีด้ามยาว, ถ้าใช้วิดนํ้าเรือ ไม่มีด้าม.
จะละเม็ด ๑ : น. ชื่อปลาทะเลในวงศ์ Stromateidae รูปร่างป้อม ค่อนข้างสั้น ลําตัวแบน ข้างมาก หัวเล็กมน ปากเล็ก เกล็ดเล็ก บริเวณคอดหางไม่มีสันคม ได้แก่ จะละเม็ดขาว (Pampus argenteus) หางเป็นแฉกยาว เว้าลึก จะละเม็ดเทา (P. chinensis) หางเว้าตื้น ทั้ง ๒ ชนิดนี้ไม่มีครีบท้อง ส่วนจะละเม็ดดํา (Parastromateus niger) ที่บริเวณคอดหางเป็นสันคม และมีครีบท้อง เฉพาะในปลาขนาดเล็ก.
ชี ๒ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Coriandrum sativum L. ในวงศ์ Umbelliferae ทั้งต้นมีกลิ่น ใช้เป็นผัก เรียกว่า ผักชี ดอกเล็กสีขาว ผลกลมมีกลิ่นฉุน เมื่อแก่ใช้เป็นเครื่องเทศ, ชีลา หรือ หอมป้อม ก็เรียก.
เชิงเทิน : น. ที่ดินที่พูนสูงขึ้นเป็นเชิงของป้อมปราการ, พื้นที่ ว่างภายในป้อมสําหรับให้ทหารขึ้นไปอยู่ตรวจการณ์หรือ ต่อสู้ข้าศึก.
ซ่งฮื้อ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Aristichthys nobilis ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ลําตัวสีเงิน ยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย ท้องกลม ที่สําคัญคือ มีหัวโตและกว้าง เกล็ดเล็ก เรียบ หากินอยู่ตามพื้นท้องนํ้า มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีนนําเข้ามา เลี้ยงเป็นอาหาร.
ดอกหมาก ๒ : น. (๑) ชื่อปลาทะเลและนํ้ากร่อยขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Gerres วงศ์ Gerreidae ลําตัวสั้นป้อม แบนข้าง คล้ายปลาแป้น เว้นแต่มีเกล็ดใหญ่ ไม่หลุดง่าย ส่วนท้ายทอยไม่มีกระดูกแข็งโผล่ บางชนิดมีก้านครีบหลัง อันแรก ๆ ยาวเป็นเส้น ด้านหลังสีนํ้าตาลอมเทา ด้านข้างและท้องสีเงิน มักมีจุดสีเข้มเป็นดอกดวงเรียงลงมาจากหลังหลายแนว อยู่กันเป็นฝูง. (๒) ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Barilius วงศ์ Cyprinidae ลําตัวยาว แบนข้าง เล็กน้อย มีหนวดสั้น ๆ หรือไม่มี แต่ก็มีจุดสีดําหรือนํ้าตาลบนพื้นลําตัว สีเงินกระจายอยู่ข้างตัว อาศัยอยู่ตามต้นนํ้าลําธาร.
ต้นเรือ : น. รองผู้บังคับการเรือ.
ตรีผลา : [-ผะลา] น. ชื่อผลไม้ ๓ อย่างประกอบขึ้นใช้ในตํารายาไทย หมายเอา สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม. (ส. ตฺริผลา).
ตะขาบ ๒ : น. ชื่อนกในวงศ์ Coraciidae ตัวป้อม หัวใหญ่ ปากใหญ่สั้นโค้ง เกาะอยู่ ตามสายไฟและกิ่งไม้แห้งเพื่อคอยจ้องโฉบแมลงหรือสัตว์เล็ก ๆ ตาม พื้นดิน อยู่ตามลําพัง ทํารังในโพรงไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ตะขาบทุ่ง (Coracias benghalensis) ตัวสีนํ้าตาลหัวและปีกสีฟ้า ปากสีดํา และตะขาบดง (Eurystomus orientalis) ตัวสีนํ้าเงินเข้ม หรือเขียวอมน้ำเงินโดยตลอด ปากสีแดง.
ตะเพียน : น. ชื่อปลานํ้าจืดบางชนิดของบางสกุลในวงศ์ Cyprinidae ส่วนใหญ่อยู่ในสกุล Puntiusและ Cyclocheilichthys หนวดสั้น เกล็ดสีขาวเงินขอบเรียบ ที่มี ลําตัวสั้นป้อม แบนข้าง เช่น ตะเพียนขาว (P. gonionotus) ตะเพียนทอง (P. altus) ตะเพียนหางแดง หรือ กระแห (P. schwanenfeldi) ส่วนที่มี ลําตัวเรียวกว่า เช่น ตะเพียนทราย(P. leiacanthus, C. apogon).
ตะเภา ๒ : น. ชื่อไก่ชนิดเดียวกับไก่บ้าน ตัวอ้วนป้อม เหนียงสั้นและกลม มีขนมากทั้งขนแข็ง และขนอุยหลายสีมีหางสั้นและแผ่กว้างที่ฐาน เป็นไก่ที่บรรทุกมากับเรือสำเภา หรือเรือตะเภาจากประเทศจีน จึงเรียก ไก่ตะเภา.
ตะเภา ๓ : น. ชื่อหนูชนิด Cavia porcellus ในวงศ์ Caviidae ลำตัวอ้วนป้อม ขนปุย หางสั้น มีหลายสี เช่น ขาว นํ้าตาล ดํา มีถิ่นกําเนิดในประเทศเปรู มักใช้ในการ ทดลองทางการแพทย์.
ถั่วแปบช้าง : น. ชื่อไม้เถาชนิด Afgekia sericea Craib ในวงศ์ Leguminosae พบทางภาคอีสาน ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย หลายใบ ด้านล่างของใบมีขนสีขาวเป็นมันเลื่อม ดอกเป็นช่อตั้ง สีชมพู ฝักสั้นป้อม แบน ปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้าน.
ทวารบถ : [ทะวาระบด] น. ทางเข้าออก เช่น อันกําแพงเชิงเทิน ป้อมปราการที่ล้อมกรุง รวมทั้งทวารบถทางเข้านครเล่า. (กามนิต).
ทะบู : (กลอน) น. ป้อม, หอรบ.
ท่าอากาศยาน : น. ที่สําหรับเครื่องบินขึ้นลง ประกอบด้วยลานจอด เครื่องบิน ลู่เครื่องบินขึ้นลง โรงเก็บอุปกรณ์การบิน หอบังคับการบิน ที่ทําการของเจ้าหน้าที่ และที่พักผู้โดยสารเข้าออกเป็นต้น, (ปาก) สนามบิน.