ป้า : น. พี่สาวของพ่อหรือแม่ หรือหญิงที่มีวัยไล่เลี่ยแต่แก่กว่าพ่อ หรือแม่, คําเรียกหญิงที่ไม่รู้จักแต่มักมีอายุแก่กว่าพ่อหรือแม่.
ปา : ก. ซัดไปด้วยอาการยกแขนขึ้นสูงแล้วเอี้ยวตัว; (ปาก) คําใช้แทน กิริยาได้หลายอย่างแล้วแต่คําประกอบที่ทําให้รู้ว่าเกินกว่าที่คาดคิด, มักใช้ว่า ปาขึ้นไป หรือ ปาเข้าไป, เช่น ค่าโดยสารปาขึ้นไปตั้ง ๑๐ บาท กว่าจะทำงานเสร็จก็ปาเข้าไปตั้ง ๒ ทุ่ม.
คุณลุงคุณป้า : น. ชื่อเพลงไทยชนิดหนึ่ง. (บทแผ่นเสียง).
เผือกโทป้าด :
ดู กระดาด, กระดาดขาว.
บิตุจฉา : [-ตุดฉา] (แบบ) น. อา (ผู้หญิง), ป้า (ญาติฝ่ายพ่อ). (ป. ปิตุจฺฉา).
บิตุลานี : (แบบ) น. อา (ผู้หญิง), ป้า (ญาติฝ่ายพ่อ). (ป. ปิตุลานี).
ปิตุจฉาส : [-ตุด-] น. อา (ผู้หญิง), ป้า (ญาติฝ่ายพ่อ). (ป.).
ปิตุลานี : น. อา (ผู้หญิง), ป้า (ญาติฝ่ายพ่อ). (ป.).
ทายาทโดยธรรม : (กฎ) น. ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายในมรดก ของผู้ตาย ได้แก่ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ผู้สืบสันดาน บิดามารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดา เดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ตามลําดับที่กฎหมาย กําหนดไว้.
มาตุจฉา : น. ป้า (ญาติฝ่ายแม่), น้าผู้หญิง. (ป.).
ลูกพี่ลูกน้อง : น. ญาติที่เป็นลูกของลุง ป้า น้า หรืออา.
กระดาด, กระดาดขาว : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Alocasia indica Schott ในวงศ์ Araceae มีหัวใต้ดิน ต้นคล้ายบอนหรือเผือกแต่ใบมีขนาดใหญ่กว่า ก้านใบตอนล่างเป็นกาบสีเขียว ทั้งต้นใช้ทํายา หัวทําให้สุก แล้วกินได้, เผือกกะลา หรือ เผือกโทป้าด ก็เรียก.
เขย : น. ชายที่มาแต่งงานกับญาติผู้หญิง, ผัวของญาติ, เช่น ถ้าเป็นผัวของ ลูกสาว เรียก ลูกเขย ถ้าเป็นผัวของป้า เรียก ลุงเขย.
บ้า ๆ : ว. แผลง ๆ, แตกต่างไปจากปรกติ, เช่น ทําบ้า ๆ เล่นบ้า ๆ.
บ้า ๑ : ว. เสียสติ, วิกลจริต, สติฟั่นเฟือน, หลงใหลหรือมัวเมาในสิ่งนั้น ๆ จนผิดปรกติ เช่น บ้ากาม บ้ายศ บ้าฟุตบอล; อาการที่สัตว์บางชนิด เช่นหมาเป็นโรคกลัวนํ้า เรียกว่า หมาบ้า.
บ้า ๒ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Leptobarbus hoevenii ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัวค่อนข้างยาวหนาเกือบเป็นรูปทรงกระบอก หัวกว้าง มีหนวด ๒ คู่ ท้องกลมมน ด้านหลังและข้างตัวสีเขียวอ่อน ด้านท้องสีขาว แต้มเหลือง ครีบท้อง ครีบก้น และครีบหลังสีแดงอ่อน ในปลา ขนาดเล็กมีแถบสีดําคลํ้าพาดตลอดข้างตัว พบอาศัยตามแม่นํ้า ลําคลองและบึงใหญ่ทั่วไป ขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร ใน ธรรมชาติกินผลไม้รวมทั้งผลกระเบา เมื่อมีผู้นําไปบริโภค ทําให้เกิดอาการมึนเมา, อ้ายบ้า หรือ พวง ก็เรียก.
มาตุลานี : น. ป้าสะใภ้, น้าสะใภ้. (ป., ส.).
ยาย : น. แม่ของแม่, เมียของตา, หญิงที่เป็นญาติชั้นเดียวกับแม่ของแม่หรือ ที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกับยาย, (ปาก) คําเรียกหญิงสูงอายุอย่างไม่ค่อย เคารพนับถือ เช่น ยายป้า ยายแก่ ยายคุณหญิง หรือเรียกหญิงรุ่นราว คราวเดียวกันอย่างเป็นกันเอง เช่น ยายปุก ยายกุ้ง หรือเรียกเด็กหญิงที่ ตนเอ็นดูรักใคร่ เช่น ยายหนู.
ลูกผู้พี่ : น. ญาติที่เป็นลูกของลุงหรือป้า.
สะใภ้ : น. หญิงที่มาแต่งงานกับญาติผู้ชาย, เมียของญาติ, เช่น ถ้าเป็นเมียของ ลูกชาย เรียก ลูกสะใภ้ ถ้าเป็นเมียของลุง เรียก ป้าสะใภ้, (ปาก) ตะใภ้.
ปาจรีย์, ปาจารย์ : [ปาจะรี, ปาจาน] น. อาจารย์ของอาจารย์. (ป.; ส. ปฺราจารฺย = ปฺราคต + อาจารฺย).
ปารุสกวัน : [ปารุดสะกะ-] น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. ปารุสกวน).
บ้าร่าท่า : (ปาก) ว. อาการที่บานเต็มที่ เรียกว่า บานบ้าร่าท่า.
บ้าลำโพ : ง ว. บ้าเพราะกินเมล็ดลําโพง มีอาการซึมหรือพูดพล่าม, โดยปริยายหมายความว่า พูดโผงผาง ตึงตัง หรือแสดงกิริยาโมโห โกรธา เช่น พูดจาบ้าลําโพงโป้งไป. (คาวี), ทําโมโหโกรธาบ้า ลําโพง เที่ยวโป้งโหยงหยาบช้าสาธารณ์. (พิเภกสอนบุตร).
บ้าหอบฟาง : (สํา) ว. บ้าสมบัติ เห็นอะไร ๆ เป็นของมีค่าจะเอาทั้งนั้น, อาการที่หอบหิ้วสิ่งของพะรุงพะรัง.
บ้าห้าร้อยจำพวก : (สํา) ว. บ้ามากมายหลายประเภท.
บ้าดีเดือด : ว. มีอาการคลุ้มคลั่งมุทะลุดุดันเป็นคราว ๆ, โดยปริยาย หมายความว่า มีอารมณ์หุนหันพลันแล่นชอบทําอะไรรุนแรง.
บ้าน้ำลาย : ว. ชอบพูดพล่าม, ชอบพูดเพ้อเจ้อ.
บ้าบิ่น ๑ : ว. มุทะลุ, หุนหันพลันแล่น, อวดกล้าทําการอย่างไม่มี สติยั้งคิด, บิ่น ก็ว่า.
บ้าบิ่น ๒ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวผสมกับมะพร้าวและ นํ้าตาลทราย ผิงไฟล่างไฟบน.
บ้าระบุ่น : น. นกปรอด. (เทียบอิหร่าน bulbul ว่า นกไนติงเกล). (อภัย).
บ้าเลือด : ว. บันดาลโทสะอย่างไม่กลัวตายเมื่อถูกทําร้ายถึง เลือดตก ยางออก.
บ้าสมบัติ : ว. ที่เห็นอะไร ๆ เป็นของมีค่าไปทั้งหมด, ที่ชอบสะสม สิ่งของต่าง ๆ ไว้มากจนเกินความจําเป็น.
บ้าหว่า : [-หฺว่า] น. เครื่องประดับข้อมืออย่างหนึ่ง. (ขุนช้างขุนแผน).
ปาทะ : น. บาท, ตีน. (ป.).
ปานีโยทก : น. นํ้าควรดื่ม. (ป., ส. ปานีย + อุทก).
ปารุปนะ : [-รุปะนะ] น. ผ้าห่ม. (ป.).
ปาสาทิกะ : (แบบ) ว. นํามาซึ่งความเลื่อมใส; น่ารัก, น่าชม. (ป.).
ปานีย-, ปานียะ : [ปานียะ-] ว. ควรดื่ม, น่าดื่ม, ดื่มได้. (ป., ส.).
กรรบาสิก, กรรปาสิก : [กับบา-, กับปา-] (แบบ) ว. อันทอด้วยฝ้าย. (ส. การฺปาสิก; ป. กปฺปาสิก).
จตุปาริสุทธิศีล : [จะตุปาริสุดทิสีน] น. ศีลคือความบริสุทธิ์ หรือ ศีลคือ เครื่องให้บริสุทธิ์ ๔ ประการ คือ ๑. สํารวมในพระปาติโมกข์ (ปาติโมกฺขสํวร) ๒. สํารวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อินฺทฺริยสํวร) ๓. เลี้ยงชีพโดยทางชอบ (อาชีวปาริสุทฺธิ) ๔. บริโภคปัจจัยด้วยการพิจารณา (ปจฺจยสนฺนิสฺสิต). (ป.).
ดอย ๒ : ก. ผูก, มัด, ตอก, ชก, ตี, ปา, ทอย.
เป็นบ้า : (ปาก) ว. อย่างยิ่ง เช่น สวยเป็นบ้า เก่งเป็นบ้า.
เป็นบ้าเป็นหลัง : ว. เอาจริงเอาจังเกินไป เช่น ทํางานเป็นบ้าเป็นหลัง.
สมบัติบ้า : น. ทรัพย์สินหรือยศถาบรรดาศักดิ์ที่เพ้อฝันว่าจะได้ เช่น คิดสมบัติบ้า; ข้าวของที่เก็บไว้แต่ไม่มีประโยชน์ เช่น สมบัติบ้าเต็มตู้ ไปหมด ไม่รู้จักทิ้งเสียบ้าง.
อุปปาติกะ : [อุปะปาติกะ, อุบปะปาติกะ] น. ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยอดีตกรรม ได้แก่เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย, โอปปาติกะ ก็เรียก. (ป. อุปปาติก, โอปปาติก).
อุปาหนา : [อุปาหะนา, อุบปาหะนา] น. รองเท้า. (ป.; ส. อุปานหฺ).