Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ผิวหนัง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ผิวหนัง, 66 found, display 1-50
  1. ผิวหนัง : น. หนังที่เป็นผิวชั้นนอกสุดของคนและสัตว์, หนังกําพร้า ก็เรียก; ชื่อโรคชนิดหนึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นที่ส่วนต่าง ๆ ของผิวหนัง.
  2. หนังกำพร้า : น. หนังที่เป็นผิวชั้นนอกสุดของคนและสัตว์, ผิวหนัง ก็เรียก.
  3. ยันต์ : น. ตารางหรือลายเส้นเป็นตัวเลข อักขระหรือรูปภาพที่เขียน สัก หรือ แกะสลักลงบนแผ่นผ้า ผิวหนัง ไม้ โลหะ เป็นต้น ถือว่าเป็นของขลัง เช่น ยันต์ตรีนิสิงเห ยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์, เรียกเสื้อหรือผ้าเป็นต้น ที่มีลวดลายเช่นนั้นว่า เสื้อยันต์ ผ้ายันต์, เรียกกิริยาที่ทำเช่นนั้นว่า ลงเลข ลงยันต์.
  4. ลงเลขลงยันต์ : ก. เขียน สักหรือแกะสลักตารางหรือลายเส้นเป็น ตัวเลข อักขระ หรือรูปภาพลงบนแผ่นผ้า ผิวหนัง ไม้ โลหะ เป็นต้น พร้อมกับร่ายเวทมนตร์คาถากำกับ ถือว่าเป็นของขลัง.
  5. กลาก : [กฺลาก] น. ชื่อโรคผิวหนังอย่างหนึ่ง มีหลายชนิด เกิดจากเชื้อรา ขึ้นเป็นวง มีอาการคัน, ขี้กลาก ก็ว่า, (ราชา) โรคดวงเดือน.
  6. เกรียน ๑ : [เกฺรียน] ว. สั้นเกือบติดหนังหัว ผิวหนังหรือพื้นที่ เช่น ผมเกรียน หมาขนเกรียน หญ้าเกรียน.
  7. เกลื้อน : [เกฺลื้อน] น. ชื่อโรคผิวหนังเกิดจากเชื้อรา (Malassezia furfur) ขึ้นเป็นดวงขาว ๆ อาจมีอาการคัน, ขี้เกลื้อน ก็ว่า.
  8. เกา : ก. เอาเล็บหรือสิ่งที่มีลักษณะคล้ายเล็บครูดผิวหนังเพื่อให้หายคันเป็นต้น, อาการที่สมอเรือครูดไปตามพื้นท้องน้ำ ไม่ยึดอยู่กับที่.
  9. ขน ๑ : น. สิ่งที่เป็นเส้นขึ้นตามผิวหนังคนและสัตว์ เช่น ขนตา ขนนก ขนเม่น และใช้ตลอดไปจนถึงที่ขึ้นบนผิวต้นไม้ ผลไม้ ใบไม้ และอื่น ๆ, ราชาศัพท์ว่า พระโลมา.
  10. ขยุ้มตีนหมา : น. ชื่อโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง มีพิษอักเสบออกเป็นเม็ดผื่นดวง ๆ.
  11. ขี้กลาก : น. ชื่อโรคผิวหนังอย่างหนึ่ง มีหลายชนิด เกิดจากเชื้อรา ขึ้นเป็นวง มีอาการคัน, กลาก ก็ว่า.
  12. ขี้เกลื้อน : น. ชื่อโรคผิวหนังเกิดจากเชื้อรา Malassezia furfur ขึ้น เป็นดวงขาว ๆ อาจมีอาการคัน, เกลื้อน ก็ว่า.
  13. ขี้เรื้อนกวาง : น. ชื่อโรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นผื่นคัน ทําให้ผิวหนังหนา หยาบ และอาจแตกมีนํ้าเหลืองไหลหรือตกสะเก็ด ในระยะหลัง มักเป็นตามบริเวณข้อเท้า หัวเข่า หรือบริเวณที่ที่มือ เอื้อมไปเกาถึง.
  14. ขุย : น. ผงที่เกิดจากเนื้อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ติดอยู่ที่เนื้อนั้นเอง หรือหลุด ออกมากองอยู่เป็นกลุ่ม ๆ เช่น ผิวหนังเป็นขุย ขุยกระดาษ ขุยมด.
  15. ไข้กาฬ : ดู ไข้ผื่น. ไข้กาฬนกนางแอ่น, ไข้กาฬหลังแอ่น น. ไข้ติดเชื้อเฉียบพลันของเยื่อหุ้มสมอง มีอาการไข้ ซึม คอแข็ง หลังแอ่น และมีผื่นชนิดตกเลือดใต้ผิวหนัง ต่อมาสีของ ผื่นจะเปลี่ยนเป็นคลํ้า.(อ. meningococcal meningitis).
  16. ไข่ดัน : น. ต่อมนํ้าเหลืองที่อยู่ใต้ผิวหนังของบริเวณขาหนีบ ซึ่งเป็นแนวต่อ ระหว่างลำตัวกับต้นขามีหน้าที่กักและทําลายเชื้อโรคที่อาจผ่านเข้า ในร่างกายท่อนบน.
  17. ไข้ผื่น : น. ไข้ที่มีผื่นและการเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นทางผิวหนัง มีลักษณะ อาการและความรุนแรงต่าง ๆ กัน ตั้งแต่เป็นเม็ดเล็ก ๆ เหมือนหัวเข็มหมุด จนถึงปื้นใหญ่ ๆ ในรายที่รุนแรงมากอาจมีเลือดออกใต้ผิวหนังบริเวณผื่น หรือปื้น และผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ, ไข้กาฬ หรือ ไข้ส่า ก็เรียก. (อ. exanthematous fever).
  18. คางคก ๑ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกในวงศ์ Bufonidae รูปร่างคล้ายกบ ผิวหนังเป็นตุ่มขรุขระ เคลื่อนที่โดยการย่างเดินและกระโดดหย่ง ๆ ใน ประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น คางคกบ้าน (Bufo melanostictus) คางคกป่า (B. macrotis).
  19. คางคกไฟ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo parvus ในวงศ์ Bufonidae เป็นสัตว์สกุลเดียวกับคางคก แต่ตัวเล็กกว่ามาก ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะเปลี่ยนสีผิวหนังเป็นสีแดง จึงมีผู้เรียกว่า คางคกไฟ.
  20. แค้ : น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ชนิด Bagarius bagarius ในวงศ์ Sisoridae หัวแบนแผ่หนวดแบน ตาเล็ก ลําตัวยาวเรียวลู่จนแคบมากที่คอดหาง ครีบหางเป็นแฉกยาว ผิวหนังเป็นตุ่มแข็ง มีแต้มสีนํ้าตาลแก่พาดขวาง เป็นระยะอยู่บนหลัง ครีบต่าง ๆ สีนํ้าตาล พบอาศัยตามพื้นท้องแม่นํ้า สายใหญ่ ๆ ขนาดยาวได้ถึง ๒ เมตร, ตุ๊กแก ก็เรียก.
  21. งัว ๔ : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในหลายวงศ์ เช่น วงศ์ Triacanthidae, Monacanthidae, Balistidae, Anacanthidae ผิวหนังหยาบเหนียว หรือเป็นแผ่นกระดูกหนาเรียงติดต่อกัน ฟันเป็นแผ่น ใช้แทะเล็ม หาอาหารตามแนวปะการังและพื้นท้องทะเล ก้านครีบหลังก้านแรก และครีบท้องเป็นแท่งกระดูกใหญ่คล้ายเขาสัตว์, บางชนิดมีชื่อเรียกว่า วัว หรือ กวาง.
  22. งูสวัด : น. โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง มีอาการอักเสบ อย่างเฉียบพลันที่ปมประสาทไขสันหลัง และพุเป็นเม็ดพองตาม ผิวหนังเป็นทางยาวพาดขวางลําตัวเป็นต้น ทําให้ปวดแสบปวดร้อน.
  23. จิ้มฟันจระเข้ : น. ชื่อปลาทะเลและนํ้าจืดทุกชนิดในวงศ์ Syngnathidae ปากยื่นเป็นท่อ ลําตัวหน้าตัดเป็นเหลี่ยมแต่ยาวเรียวมาก ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียงต่อกัน เป็นเหลี่ยมเป็นข้อ ครีบต่าง ๆ มีขนาดเล็ก เฉพาะครีบท้องไม่มี ตัวผู้ทํา หน้าที่ฟักไข่โดยเก็บไว้บริเวณหน้าท้อง ลําตัวมักมีสีนํ้าตาล อาจมีลาย สีเข้มพาดขวาง ที่พบในนํ้าจืดได้แก่ ชนิด Microphis boaja ส่วนในทะเล ได้แก่ชนิดในสกุลต่าง ๆ เช่น Doryrhamphus, Corythoichthys, Trachyramphus.
  24. ฉีดยา : ก. เอายาฉีดเข้าไปในร่างกายทางใต้ผิวหนัง ทางกล้ามเนื้อ หรือ ทางเส้นเลือด.
  25. ชันนะตุ : น. ชื่อโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง เป็นที่ศีรษะ เกิดจากเชื้อรา บนผิวหนังศีรษะก่อนแล้วลุกลามกินลึกลงไปถึงรากผม ทําให้ผมร่วง (มักเกิดแก่เด็กผู้ชาย).
  26. ดาบเงิน : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในวงศ์ Trichiuridae ได้แก่ ชนิด Trichiurus lepturus ซึ่งชุกชุมที่สุด ชนิด Tentoriceps cristatus, Eupleurogrammus muticus และLepturacanthus savala ทุกชนิดมีลักษณะคล้ายกันมาก คือ มีหัวแหลมลาดตํ่าไปข้างหน้า ปากล่างยื่นฟันคมแข็งแรง ตัวยาวมาก แบนข้าง เรียวแหลมเป็นเส้นไปทางหาง แต่ไม่มีครีบหาง ครีบหลังยาว เกือบตลอดแนวสันหลังยกเว้นใกล้หัว ครีบก้นเป็นเพียงแถวของหนาม แข็งขนาดเล็กโผล่จากสันท้องไม่มี ครีบท้องหรือมีแต่เล็กมาก ไม่มีเกล็ด ผิวหนังสีเงินหรือเทา, ดาบ ก็เรียก.
  27. ดิลก : [ดิหฺลก] น. รอยแต้มหรือเจิมที่หน้าผากเพื่อเป็นมงคล, เลิศ, ยอด, เฉลิม. (ป., ส. ติลก ว่า ไฝ, รอยตกกระที่ผิวหนัง).
  28. ตะรังตังกวาง : น. ชื่อไม้เถาชนิด Cnesmone javanica Blume. ในวงศ์ Euphorbiaceae มีขนหยาบคลุมทั่วทั้งต้น ถูกเข้าจะคันและเป็นผื่นตามผิวหนัง.
  29. ตะรังตังช้าง : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Dendrocnide sinuata (Blume) Chew ในวงศ์ Urticaceae ใบใหญ่ ขอบจัก ถูกเข้าจะปวดคันและเป็นผื่นตามผิวหนัง.
  30. ตัวจี๊ด : น. ชื่อพยาธิชนิด Gnathostoma spinigerum ในวงศ์ Gnathostomatidae ลําตัวสีแดง ยาว ๑๐-๕๐ มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยพบในกระเพาะของสุนัข แมว และเสือ ตัวอ่อนพบในปลา ไก่ กบ หรือสัตว์เลื้อยคลาน ติดต่อถึง คนได้เมื่อกินสัตว์เหล่านี้ที่ยังดิบซึ่งมีตัวอ่อนของพยาธิชนิดนี้อยู่ ตัวอ่อน เมื่ออยู่ในคนสามารถเคลื่อนตัวไปตามเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ได้อาจเป็นตุ่ม นูนขึ้นมาตามผิวหนังและปวดบวม, หนอนด้น ก็เรียก.
  31. บวมน้ำ : น. ภาวะที่มีนํ้าระหว่างเซลล์หรือภายในเซลล์มากเกินปรกติ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง ๒ อย่าง, โดยทั่วไปหมายถึงภาวะที่มีนํ้า อยู่ใต้ผิวหนังมากเกินปรกติ และอาจพบได้ในอวัยวะอื่น เช่น สมอง ปอด. (อ. edema, oedema).
  32. ปรวด ๑ : [ปะหฺรวด] น. เนื้อที่เป็นโรค มีลักษณะเป็นก้อนแข็งอยู่ใต้ผิวหนัง; ชื่อหมอช้าง.
  33. ปักเป้า ๑ : [ปักกะ-] น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในวงศ์ Tetrodontidae และ Diodontidae ลําตัวป้อมหรือกลมมากน้อยแล้วแต่ชนิด ขนาดยาว ตั้งแต่ ๖-๖๐ เซนติเมตร เฉพาะบางสกุล เช่น สกุล Canthigaster, Chonerhinus และ Tetrodon ในวงศ์ Tetrodontidae สกุล Diodon และ Chilomycterus ในวงศ์ Diodontidae มีลักษณะแบนข้าง ทุกชนิดสามารถพองตัวได้ ผิวหนังมีหนาม ฟันมีลักษณะเป็น กระดูกแข็ง ไม่มีครีบท้อง บางชนิดพบในนํ้าจืด เช่น ชนิด Chonerhinus modestus ทุกชนิดมีพิษ ไม่ควรนํามารับประทาน.
  34. ปานดง : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่ามีอาการ เจ็บปวดแล่นไปตามผิวหนัง.
  35. ปื้น : ว. อาการที่ผิวหนังเห่อขึ้นเป็นแผ่นหรือเป็นผื่นเป็นแนวหนา เช่น ลมพิษขึ้นเป็นปื้น, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คอเสื้อดําเป็นปื้น. น. ลักษณนามใช้กับเลื่อย เช่น เลื่อยปื้นหนึ่ง เลื่อย ๒ ปื้น.
  36. ผด : น. ชื่อโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ขึ้นเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ ตามผิวหนัง มักเกิดในเวลาที่มีอากาศร้อนอบอ้าว มีอาการคัน.
  37. ผื่น : น. เม็ดตุ่มหรือแถบที่ผุดขึ้นเป็นพืดบนผิวหนัง.
  38. พุพอง : น. โรคผิวหนังชนิดหนึ่ง เป็นเม็ดผุดขึ้นพองใสตามตัว แล้ว แตกออกมีนํ้าเหลืองหรือนํ้าเลือดนํ้าหนอง.
  39. เพรียง ๑ : [เพฺรียง] น. ส่วนร่างกายที่นูนอยู่หลังหู, มักใช้ว่า เพรียงหู; เรียก ผิวหนังที่ขรุขระอย่างหน้าออกฝีว่ามีลักษณะเป็นเพรียง. ว. พร้อม, มักใช้คู่กันว่า พร้อมเพรียง.
  40. โพบาย : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Sapium baccatum Roxb. ในวงศ์ Euphorbiaceae เป็นไม้เนื้ออ่อน มียางทําให้ระคายเคืองต่อผิวหนัง ผลใช้เบื่อปลา, พายัพเรียก กระดาด.
  41. ไฟลามทุ่ง : น. ชื่อโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง มีลักษณะลามออกไป.
  42. ม้าน้ำ ๒ : น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Hippocampus วงศ์ Syngnathidae ลําตัวอ้วน หัวพับเข้าหาลําตัว ปากเป็นท่อยาวรวมกัน ทําให้ส่วนหัว ดูคล้ายม้า ส่วนท้ายของลําตัวเรียวยาว มีครีบหลังขนาดใหญ่ที่ โคนหาง ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียงต่อกันเป็นเหลี่ยมเป็นปล้อง ตลอดทั้งตัวสีนํ้าตาล บางชนิดคาดด้วยแถบสีเข้มกว่าหรือมีจุดสีดํา บางส่วนของลําตัว พบอาศัยตามแนวหินปะการัง ลําตัวตั้ง ใช้ส่วน หางพันเกาะวัตถุใต้นํ้า ตัวผู้ทําหน้าที่ฟักไข่ซึ่งเก็บไว้ในถุงหน้าท้อง ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร.
  43. ยาขี้ผึ้ง : น. ยาที่มีลักษณะเป็นขี้ผึ้งหรือครีม ใช้ทาแก้โรคผิวหนังเป็นต้น.
  44. ยางบอน : น. เรียกเลือดที่ออกซึม ๆ ที่ผิวหนังตรงที่ถูกของมีคม.
  45. ยิบ ๆ : ว. อาการที่รู้สึกคันทั่วไปตามผิวหนังเพราะเป็นผดหรือถูกละออง เป็นต้น เช่น คันผดยิบ ๆ; อาการกะพริบตาถี่ ๆ เช่น ทำตายิบ ๆ; เป็น ประกายอย่างเปลวแดด เช่น เห็นแดดยิบ ๆ.
  46. ยี่สน : น. ชื่อปลากระเบนทะเลชนิด Aetobatus narinari ในวงศ์ Myliobatidae ผิวหนังเรียบ ใกล้โคนหางด้านบนมีเงี่ยง ๑๔ เงี่ยง เรียงอยู่ชิดกัน ด้าน หลังสีดำมีจุดสีขาวกระจายอยู่ส่วนท้าย ด้านท้องสีขาว ขนาดกว้างได้ถึง ๑.๕ เมตร, กระเบนเนื้อดำ ก็เรียก.
  47. เย็น ๒ : ว. มีความรู้สึกตามผิวหนังเหมือนถูกน้ำแข็งเป็นต้น, หนาว, หายร้อน, ตรงข้ามกับ ร้อน; ไม่รู้สึกกระวนกระวาย เช่น เย็นใจ.
  48. ร้อน : ว. มีความรู้สึกตามผิวหนังเหมือนถูกไฟเป็นต้น, ตรงข้ามกับ เย็น; กระวน กระวาย เช่น ร้อนใจ; รีบเร่ง, ช้าอยู่ไม่ได้.
  49. รังสีเหนือม่วง : น. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วง คลื่นประมาณระหว่าง ๔ x ๑๐–๗ เมตร กับ ๕ x ๑๐–๙ เมตร แสงแดด มีรังสีอัลตราไวโอเลตซึ่งจะมีปฏิกิริยาต่อสาร ๗–ดีไฮโดรคอเลสเทอรอล (7–dehydro–choles–terol) ในผิวหนังมนุษย์ให้กลายเป็นวิตามินดี, รังสี อัลตราไวโอเลต ก็เรียก.
  50. รังสีเอกซ์ : น. รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งมีย่านของการแผ่รังสีที่มีช่วงคลื่น อยู่ประมาณระหว่าง ๕ x ๑๐–๙ เมตร ถึง ๖ x ๑๐–๑๒ เมตร ใช้ประโยชน์ ในทางแพทย์ ทางวิศวกรรม เป็นต้น, รังสีเรินต์เกน หรือ เอกซเรย์ ก็เรียก; เรียกการถ่ายภาพอวัยวะภายในโดยใช้รังสีเอกซ์ว่าการถ่ายภาพเอกซเรย์, เรียกการรักษาโรคมะเร็งและโรคผิวหนังบางประเภท โดยใช้รังสีเอกซ์ ที่มีช่วงคลื่นสั้นกว่าที่ใช้ถ่ายภาพว่า การฉายเอกซเรย์ หรือ การฉายแสง.
  51. [1-50] | 51-66

(0.0207 sec)