ผิว ๑, ผิว่า : [ผิวะ] สัน. ถ้าว่า, หากว่า, แม้นว่า.
ผิว ๆ, ผิวเผิน : ว. ตื้น ๆ, ไม่ลึกซึ้ง.
ผิว ๑ : ดูใน ผิ.
ผิว ๒ : น. ส่วนที่มีลักษณะบาง ๆ เป็นพื้นหุ้มอยู่ภายนอกสุดของหนัง และเปลือกเป็นต้น.
ผิวจราจร : น. ผิวถนนที่ยวดยานพาหนะแล่นไปมา.
ผิวพรรณ : น. สีเนื้อ.
วัณณะ :
(แบบ) น. สี, ผิว; ชนิด, อย่าง. (ป.; ส. วรฺณ). (ดู วรรณ, วรรณะ).
เหยียดผิว : ก. ดูถูกคนชาติอื่นที่มีสีผิวต่างกับเชื้อชาติตน (มักใช้แก่พวกผิวขาวเหยียดพวกผิวดํา).
ปูนผิว : น. ปูนขาวอย่างละเอียดใช้ฉาบทาพื้นนอกให้ขาวเป็นนวล.
วรรณ, วรรณะ : [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
วรุตดม, วรุตมะ, วโรดม, วโรตมะ : [วะรุดดม, วะรุดตะมะ, วะโรดม, วะโรดตะมะ] ว. ประเสริฐสุด. (ป. วร + อุตฺตม). [วะรง] น. ''ส่วนสําคัญของร่างกาย'' คือ หัว. (ส. วร + องฺค). [วะระนะ] น. ป้อม, กําแพง, ที่ป้องกัน; การป้องกัน. (ป., ส.). [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค). [วัก] ว. เกี่ยวกับหมู่กับคณะ, เป็นหมวด, เป็นหมู่. (ส. วรฺคฺย; ป. วคฺคิย). [วัด] น. โทษ, ความผิด. (ส. วรฺช; ป. วชฺช). [วัด] ว. ที่ควรเว้น. (ส. วรฺชฺย). [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
เบญจกัลยาณี : น. หญิงมีลักษณะงาม ๕ ประการ คือ ๑. ผมงาม ๒. เนื้องาม (คือ เหงือกและริมฝีปากแดงงาม) ๓. ฟันงาม ๔. ผิว งาม ๕. วัยงาม (คือ ดูงามทุกวัย). (ป. ปญฺจกลฺยาณี).
เผิน ๆ : ว. ผิว ๆ, ผาด ๆ, ตื้น ๆ, เช่น มองเผิน ๆ แลเผิน ๆ, (มักใช้แก่กิริยา ที่ดูหรือมอง).
เผือด : ว. จางไป, หมองไป, (ใช้แก่สีและผิว) เช่น หน้าเผือด สีเผือดไป ผิว ซีดเผือด.
ศิลปธาตุ : น. สิ่งที่เป็นส่วนประกอบร่วมในการสร้างสรรค์งาน ศิลปะ โดยเฉพาะงานประเภททัศนศิลป์ ได้แก่ เส้น สี ผิว เป็นต้น.
ศิลป, ศิลป์ ๑, ศิลปะ : [สินละปะ, สิน, สินละปะ] น. ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้ วิจิตรพิศดาร, เช่น เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์; การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น ศิลปะการดนตรี ศิลปะ การวาดภาพ ศิลปะการละคร วิจิตรศิลป์. (ส. ศิลฺป; ป. สิปฺป ว่า มีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม).
กระ ๓ : น. จุดดำ ๆ หรือจุดน้ำตาลขึ้นประปรายที่ผิวกายคน สัตว์ หรือสิ่งอื่น ๆ, ประ ก็ว่า.
กระจกเงา : น. แผ่นกระจกฉาบด้านหลังด้วยแผ่นบาง ๆ ของโลหะเงินหรือโลหะเจือปรอทแล้วทาสีทับ ใช้สําหรับส่องหน้า เป็นต้น, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กระจก, ลักษณนามว่า บาน, ราชาศัพท์ว่า พระฉาย; (วิทยา) วัตถุที่มีผิวมันสามารถส่งภาพหรือแสงสะท้อน กลับได้.
กระจกนูน : น. วัตถุที่มีผิวมัน ลักษณะกลีบบัวคว่ำ สามารถสะท้อน แสงให้เกิดภาพเสมือนหัวตั้งมองเห็นได้ที่ผิวกระจกนั้น.
กระจกเว้า : น. วัตถุที่มีผิวมัน ลักษณะกลีบบัวหงาย สามารถ สะท้อนแสงให้เกิดภาพจริงหัวกลับได้บนจอที่ขวางรับแสงสะท้อน.
กระจัง ๒ : น. ชื่อปลาน้ำกร่อยชนิด Periophthalmodon schlosseri ในวงศ์ Periophthalmidae พบในบริเวณป่าชายเลน รูปร่าง การเคลื่อนไหวและความสามารถขึ้นมาพ้นน้ำได้คล้ายปลาจุมพรวด ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า มีครีบอกเป็นกล้ามเนื้อใช้ต่างตีน ช่วยครีบหาง ทํารูลึกอยู่ในเลน เคลื่อนไหวได้รวดเร็วบนผิวเลนและผิวน้ำ ปีนเกาะบนที่ชันและกระโจนเป็นห้วง ๆ ได้, เขียนเป็น กะจัง ก็มี.
กระแจะ ๒ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Naringi crenulata (Roxb.) Nicolson ในวงศ์ Rutaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ต้นและกิ่งมีหนาม เปลือกขรุขระสีเทา ดอกเล็กสีขาวเป็นช่อสั้น ยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร กลิ่นหอมอ่อน ท่อนไม้ฝนกับน้ำใช้เป็นเครื่องประทิ่นผิว รากใช้ทํายา, กะแจะ กะแจะ ขะแจะ ตุมตัง หรือ พญายา ก็เรียก.
กระชอน ๑ : น. เครื่องกรอง โดยปรกติสานด้วยผิวไม้ไผ่ ใช้กรองกะทิเป็นต้น.
กระชุ่มกระชวย : ว. มีผิวพรรณสดใสหรือมีอาการกระปรี้กระเปร่า.
กระด้าง ๑ : น. (๑) ชื่อถั่วชนิด Vigna sinensis (L.) Savi ex Hassk. var. cylindrica (L.) Koern. ในวงศ์ Leguminosae เมล็ดคล้ายถั่วดํา แต่สีค่อนข้างแดง ใช้เป็นอาหารได้อย่างถั่วดํา, บางทีเรียก ถั่วนา. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Lasianthus hookeri C.B. Clarke ในวงศ์ Rubiaceae ต้นตรงเรียวและเป็นขนสาก ๆ ใบรูปหอก ปลายแหลม ดอกขาวเล็ก ๆ เป็นกระจุกติดกับลําต้นที่ง่ามใบ ตําราแพทย์แผนโบราณว่ารากใช้ทํายาได้, พายัพเรียก กะด้าง. (๓) ชื่อเห็ดหลายชนิดในวงศ์ Polyporaceae ขึ้นบนขอนไม้ เนื้อเหนียว กินไม่ได้ เช่น ชนิด Daedaleaopsis confragosa (Bolt. ex Fr.) Schroet. ดอกเห็ดรูปพัด สีน้ำตาลแดงสลับ น้ำตาลอ่อน ผิวไม่เรียบ ด้านล่างมีรู เนื้อในเห็ดแข็ง.
กระทู้ ๓ : น. ชื่อหนอนของแมลงกลุ่มหนึ่งในวงศ์ Noctuidae หรือ Phalaenidae ลําตัวอ่อนนุ่ม ผิวเป็นมัน มีขนตามลําตัวน้อย ส่วนใหญ่สีคล้ำ ทางด้านท้องสีอ่อนกว่า มักมีแถบหรือ เส้นสีต่าง ๆ เช่น สีส้มอมน้ำตาล เหลืองอมขาว พาดตามยาว ที่สันหลังและข้างลําตัว มีขาจริง ๓ คู่ ขาเทียม ๕ คู่ กินพืช โดยมักจะกัดต้นพืชให้ขาดออกจากกัน ทําให้เหลือแต่ตอโผล่ เหนือพื้นดิน มองคล้ายกระทู้หรือซอไม้ไผ่ที่ปักเป็นหลัก ชนิดที่รู้จักกันทั่วไป เช่น หนอนกระทู้ควายพระอินทร์ หรือ หนอนกระทู้คอรวง (Mythimna separata) ที่ทําลายต้นข้าว.
กระเบน : น. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลําตัวแบนลงมาก ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้าย เกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้าง ออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัว เป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจาก ส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับ โพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอน ใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทง จะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด; เรียกชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บ ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว ว่า ชายกระเบน หรือ หางกระเบน; โคนหางช้าง เช่นผูกกระเบนสักหลาดถกล สัปทนแดงกางกั้ง. (กฐินพยุห).
กระเบื้อง : น. เครื่องมุงหลังคาหรือปูพื้นเป็นต้น ทําด้วยดิน หรือวัสดุอย่างอื่น โดยปรกติเป็นแผ่น, เครื่องถ้วยชามที่ปั้นด้วยดินประสมอย่างดี เนื้อมีลักษณะแข็งและขาว เคลือบผิวเป็นมัน มีพื้นหรือลวดลาย เป็นสีต่าง ๆ เรียกรวมว่า เครื่องกระเบื้อง, ชิ้นของเครื่องกระเบื้อง ที่แตกออก, กระทะแบน ๆ สําหรับละเลงขนมเบื้องเป็นต้น เดิมทํา ด้วยดินเผา แต่ปัจจุบันทําด้วยโลหะ; ลักษณนามเรียกจํานวนข้าวเม่า เป็นต้นที่คั่วครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ข้าวเม่ากระเบื้องหนึ่ง งา ๒ กระเบื้อง.
กระเบื้องเกล็ดเต่า : น. กระเบื้องดินเผาปลายตัดเป็นมุมแหลม ผิวด้าน มีสีแดงตามเนื้อดิน ใช้มุงหลังคาโบสถ์วิหารเป็นต้น.
กร้าน : [กฺร้าน] ว. มีผิวด้าน, มีผิวไม่สดใส; กระด้าง, แข็ง, หยาบ.
กริงกริว : [กฺริงกฺริว] ว. เล็ก เช่น มนุษย์น้อยกริงกริวผิวเนื้อเหลือง.
กลาบาต : [กะลาบาด] น. พวกนั่งยามตามไฟ, การตามไฟรักษายาม; ก้อนที่มีแสงซึ่งตกจากอากาศลงมาสู่ผิวโลก ถือว่าเป็นลางบอกเหตุร้าย, อุกกาบาต ก็เรียก. (บางทีจะเป็นคําตัดมาจาก ''อุกลาบาต'' ดูอุกกา).
กลิงค์ : [กะลิง] น. เรียกชาวอินเดียใต้พวกหนึ่งที่มีผิวดําว่า แขกกลิงค์, กลึงค์ หรือ กะเล็ง ก็ว่า. (คํานี้เดิมหมายถึงชาวอินเดียที่มาจาก แคว้นกลิงคราษฎร์).
กะตังมูตร : [-มูด] น. ปัสสาวะที่ขึ้นเกล็ดที่ผิวหน้า.
กะลุมพี : น. ชื่อปาล์มชนิด Eleiodoxa conferta (Griff.) Burr. ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอในป่าพรุและที่ชื้นแฉะทางภาคใต้ ผลเป็นช่อใหญ่และแน่น ปลายผลตัด ผิวเหลืองเกลี้ยงเป็นมัน ไม่มีหนาม เยื่อหุ้มเมล็ดขาว รสเปรี้ยว ๆ ฝาด ๆ กินได้ ยางในลําต้นเหนียวใช้ติดกระดาษแทน กาวได้, ลุมพี ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก หลุมพี. (มลายู ว่า กะลุมปี).
กาคาบพริก : (สํา) ว. ลักษณะที่คนผิวดําแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีแดง.
กาบ ๒ : น. ชื่อหอยน้ำจืดกาบคู่หลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Unionidae และ Amblemidae เปลือกบางหรือหนาแล้วแต่ชนิดและวัย มีหลายขนาด ผิวนอกเป็นสีเขียวคล้ำหรือน้ำตาลเข้ม ด้านในเป็นมุก เช่น ชนิด Chamberlainia hainesiana, กาบน้ำจืด ก็เรียก.
กายภาพ : ว. เกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีชีวิต, เกี่ยวกับสสารและพลังงาน, เช่น วิทยาศาสตร์กายภาพ (physical science) ศึกษาเกี่ยวกับสสาร และพลังงาน; เกี่ยวกับลักษณะตามธรรมชาติของโลก เช่น ภูมิศาสตร์กายภาพ (physical geography) ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติ ของผิวดิน บรรยากาศ อากาศ พืช และสัตว์ในถิ่นต่าง ๆ.
กาลี ๒ : น. ชื่อหนึ่งของพระอุมา ชายาพระอิศวร เรียกว่า เจ้าแม่กาลี, ปรกติสร้างรูปเป็นหญิงผิวดำ (ส. กาลี ว่า หญิงดำ), และว่ามีอำนาจเสมือน กาล (เวลา) ที่ไม่มีผู้ใดเอาชนะได้. (ส.).
กาฬพฤกษ์ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cassia grandis L.f. ในวงศ์ Leguminosae ลําต้นดํา ใบอ่อนสีแดง ดอกเล็ก สีแดงคล้ำแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมส้ม ฝักใหญ่อ้วนสั้น ผิวขรุขระ ด้านข้างมีสัน เป็นพรรณไม้ที่นําเข้ามาปลูก.
กำจัด ๑ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Zanthoxylum rhetsa (Roxb.) DC. ในวงศ์ Rutaceae ต้นและกิ่งก้านเป็นหนาม ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๕-๘ คู่ ผลเล็ก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๖-๗ มิลลิเมตร ผิวขรุขระ มีกลิ่นฉุนคล้ายกลิ่นลูกผักชี เมล็ดกลมดําเป็นมัน ผลใช้เป็นเครื่องแกงเพื่อชูรส, พายัพเรียก มะข่วง หรือ หมากข่วง.
กำพร้า ๑ : [-พฺร้า] น. เรียกหนังที่เป็นผิวชั้นนอกของคนและสัตว์ว่า หนังกําพร้า.
กุ่ม : น. ชื่อไม้ต้นในสกุล Crateva วงศ์ Capparidaceae ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย ๓ ใบ ดอกเป็นช่อ กลีบดอกสีขาวแล้วกลายเป็นสีเหลือง ผลกลมหรือรูปไข่ ผิวนอกแข็งและสาก ๆ สีเขียวนวล เช่น กุ่มบก [C. adansonii DC. subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs] กุ่มน้ำ [C. magna (Lour.) DC. และ C. religiosa Forst.f.].
แก้ ๑ :
น. ชื่อเบี้ยตัวโต ๆ สําหรับขัดผ้านุ่งให้ผิวเป็นมัน เช่น ผ้าลาย เรียกว่า เบี้ยอีแก้ หรือ เบี้ยแก้ใหญ่. (ดู เบี้ยแก้ ประกอบ).
แกนทราย : น. แกนที่ใช้ในการหล่อพระพุทธรูปหรืองานประติมากรรมไทย ด้วยวิธีสูญขี้ผึ้ง ทำด้วยทรายผสมดินเหนียว หมักให้ชุ่มและ เหยียบให้เข้ากันจนเหนียว จึงปั้นขึ้นเป็นรูปเลา ๆ เรียกว่า โกลน แล้วผึ่งให้แห้ง จากนั้นเอาขี้ผึ้งพอกและปั้นส่วนผิวจนเป็นรูป ตามที่ต้องการ.
แก้ว ๓ : น. ชื่อตัวหนอนซึ่งเป็นตัวอ่อนของผีเสื้อ ตามลําตัวมีขนน้อยและ มักเป็นขนสั้น ๆ ผิวลําตัวเป็นมันเลื่อมคล้ายแก้ว มีสีสันต่าง ๆ กัน บางชนิดสีเขียว เขียวปนเหลือง และบางชนิดมีลายเป็นดวง ๆ บางชนิดจะปล่อยสารใสคล้ายแก้วเห็นเป็นทางเมื่อเคลื่อนผ่านไป เช่น หนอนแก้วส้ม (เช่น ชนิด Papilio demoleus) ในวงศ์ Papilionidae.
แกะแร : ก. แกะพื้นผิวโลหะให้เป็นเส้นหรือเป็นเหลี่ยม ขึ้นเงาดูคล้ายฝังเพชร.
โกโก้ ๒ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Theobroma cacao L. ในวงศ์ Sterculiaceae ดอกเล็ก สีขาวอมเหลืองหรือขาวอมชมพู ออกตามกิ่งและลําต้น ผลคล้ายมะละกอขนาดเล็ก ผิวแข็งขรุขระ สีน้ำตาล เมล็ดแก่คั่วแล้ว บดเป็นผง ใช้ชงเป็นเครื่องดื่มและทําขนมได้.
ขน ๑ : น. สิ่งที่เป็นเส้นขึ้นตามผิวหนังคนและสัตว์ เช่น ขนตา ขนนก ขนเม่น และใช้ตลอดไปจนถึงที่ขึ้นบนผิวต้นไม้ ผลไม้ ใบไม้ และอื่น ๆ, ราชาศัพท์ว่า พระโลมา.
ขนแมว : น. รอยเป็นเส้น ๆ อยู่บนสิ่งที่ขัดเงายังไม่เกลี้ยงหรือบนผิว ของเพชรที่เจียระไนแล้ว.