Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ผู้ทรง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ผู้ทรง, 26 found, display 1-26
  1. ผู้ทรง : (กฎ) น. บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครอง โดยฐานเป็นผู้ รับเงิน หรือเป็นผู้รับสลักหลัง ถ้าเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ผู้ถือ ก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน.
  2. กรมการนอกทำเนียบ : (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการเมือง ในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจากบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ หรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็น กรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการพิเศษ ก็ว่า.
  3. กรมการพิเศษ : (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็น ตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการ เมืองในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจาก บุคคลผู้ทรงคุณวุฒิหรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็นกรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการนอกทำเนียบ ก็ว่า.
  4. เกล้ากระผม : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่ด้วยความเคารพมาก หรือกับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์, พูดสั้น ๆ ว่า เกล้า หรือเขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  5. คณะองคมนตรี : (กฎ) น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรง แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยประธานองคมนตรีคนหนึ่งและ องคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน ๑๘ คน คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็น ต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรง ปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ.
  6. ชฎาธาร : น. ผู้ทรงไว้ซึ่งชฎา.
  7. ดีฉาน : (โบ) ส. ดิฉัน, ดีฉัน, เป็นคําที่เจ้านายผู้ชายมักใช้กับพระสงฆ์ผู้ทรง สมณศักดิ์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  8. ธร : [ทอน] น. การยึดไว้, การถือไว้, การทรงไว้, การมีไว้; ผู้รักษาไว้, ผู้ทรงไว้, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น วิชาธร วินัยธร. (ป.; ส. ธฺฤ).
  9. ธรรมธาดา : น. ผู้ทรงธรรม เช่น สมเด็จพระบรมธรรมธาดามหาสัตว์. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์).
  10. ธรรมราชา : น. พระราชาแห่งธรรม คือ พระพุทธเจ้า, พระราชาผู้ทรงธรรม, พญายม.
  11. ธราธร, ธราธาร : น. ผู้ทรงโลกไว้ คือ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์. (ส.).
  12. ธริษตรี, ธเรษตรี : [ทะริดตฺรี, ทะเรดตฺรี] (แบบ; กลอน) น. โลก, แผ่นดิน, เช่น ผู้ทรงจักรคทา ธริษตรี. (สมุทรโฆษ). (ส. ธริตฺรี).
  13. ธาดา : น. ผู้สร้าง, ผู้ทรงไว้, พระพรหมผู้สร้างตามหลักศาสนาพราหมณ์. (ป.).
  14. บัณฑิต : [บันดิด] น. ผู้ทรงความรู้, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์, ผู้สําเร็จการศึกษาขั้น ปริญญาซึ่งมี ๓ ขั้น คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เรียกว่า บัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต, ผู้มีความสามารถเป็นพิเศษโดย กําเนิด เช่น คนนี้เป็นบัณฑิตในทางเล่นดนตรี. (ป., ส. ปณฺฑิต).
  15. ปโยธร : น. ''ผู้ทรงไว้ซึ่งนํ้า'' คือ เมฆ, ''ผู้ทรงไว้ซึ่งนํ้านม'' คือ ถัน. (ป., ส.).
  16. ปริญญา : [ปะรินยา] น. ความกําหนดรู้, ความหยั่งรู้, ความรู้รอบ; ชั้นความรู้ขั้น มหาวิทยาลัยซึ่งประสาทให้แก่ผู้ที่สอบไล่ได้ตามที่กําหนดไว้, ถ้า ประสาทแก่ผู้ทรงวิทยาคุณหรือผู้มีเกียรติตามที่เห็นสมควร เรียกว่า ปริญญากิตติมศักดิ์. (ป.; ส. ปริชฺ?า).
  17. พยนต์ : [พะยน] น. สิ่งที่ผู้ทรงวิทยาคมปลุกเสกให้มีชีวิตขึ้น เช่น หุ่นพยนต์. (ป. วยนฺต; ส. วฺยนฺต).
  18. พสุธา : น. ''ผู้ทรงไว้ซึ่งทรัพย์'' คือ แผ่นดิน. (ป., ส. วสุธา).
  19. พ่าห์, พาหะ ๑ : น. ผู้แบก, ผู้ถือ, ผู้ทรงไว้; ม้า. (ป., ส. วาห).
  20. มนู : น. ชื่อพระผู้สร้างมนุษยชาติและปกครองโลก มี ๑๔ องค์ เรียงกัน เป็นยุค ๆ ไป, ยุคหนึ่งเรียกว่า มนวันดร นานกว่า ๔,๐๐๐,๐๐๐ ปี องค์แรก คือ พระสวายมภูวะ พระมนูองค์นี้ถือกันว่าเป็นผู้ทรงออก กฎหมายหรือธรรมศาสตร์ซึ่งยังมีอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้เรียกว่า มนุสัมหิตา หรือ มนุสมฺฤติ, เพราะฉะนั้น คํา มนู จึงหมายถึงกฎหมาย ก็ได้ เช่น มนูกิจ. (ส. มนุ).
  21. มหิธร : น. ผู้ทรงแผ่นดิน คือ ภูเขา; ชื่อหนึ่งของพระนารายณ์; พระเจ้าแผ่นดิน. (ส. มหีธร, มหีธฺร).
  22. ยกเมฆ : ก. เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนาย ว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือ ว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่ว ด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติด อัมพร. (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขา ขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัว หรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควร ยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย จะยกต่อ คอแขนไม่ติดกาย เถนสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา. (ขุนช้างขุนแผน); (สำ) เดาเอา, นึกคาดเอาเอง, กุเรื่องขึ้น.
  23. วิทยากร : น. ผู้ทรงความรู้ความสามารถในศิลปวิทยาแขนงต่าง ๆ เช่น วิทยากรในการสัมมนาเรื่องเศรษฐกิจ. (ส.).
  24. สถาปนิก : [สะถาปะ] น. ผู้ทรงคุณวุฒิในการสร้างสรรค์ทางออกแบบก่อสร้าง. (ส.).
  25. หุ่นพยนต์ : [-พะยน] น. รูปที่ผู้ทรงวิทยาคมเอาวัตถุมาผูกขึ้นแล้วเสกเป่า ให้เป็นเหมือนรูปที่มีชีวิต.
  26. ไหว้ : ก. ทําความเคารพโดยยกมือขึ้นประนม, ถ้าเป็นผู้น้อยไหว้ผู้ใหญ่หรือ ผู้ทรงศีลต้องก้มศีรษะลงแต่พองาม.
  27. [1-26]

(0.0108 sec)