ผ่อง ๑ : ว. ปลั่ง, ปราศจากมลทิน, ไม่ขุ่นมัว, เช่น ผิวผ่อง หน้าผ่อง ขาวผ่อง.
ผ่อง ๒ : ก. ออกเสียงร้องว่า ''ผ่อง'' เมื่อเปิดไพ่ขึ้นมาเข้าตอง เป็นคําใช้ ในการเล่นไพ่ผ่องไทยหรือจีน.
ศุภร : [สุบพฺระ] ว. ส่องแสง, สว่าง; งาม, สดใส; ขาว, ผ่อง; บริสุทธิ์ ไม่มีตําหนิ เช่น ศุภรทนต์ คือฟันงาม. (ส. ศุภฺร).
ผอง : ว. ทั้งปวง, ทั้งหมด.
ไพ่ผ่องไทย : น. ไพ่ตอง.
แผ้ว ๑ : ก. ทําให้เตียน สะอาด หรือหมดสิ้นไป, มักใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น แผ้วถาง แผ้วกวาด. ว. สะอาด, หมดจด, บริสุทธิ์, มักใช้เข้าคู่ กับคํา ผ่อง เป็น ผ่องแผ้ว.
กษีรารณพ :
[กะสีราระนบ] น. ทะเลน้ำนม. (ส. กฺษีร + อรฺณว). ดู กษีร-, กษีระ.ดู กษีร-, กษีระ. [กะ-] (กลอน) ว. สงบ, ราบคาบ, เช่น ผ่องน้ำใจกสานติ์. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ก + ป. สนฺติ), กระสานติ์ ก็ใช้. [กะ-] น. การทํานา, การเพาะปลูก. (ป.).
กสานติ์ : [กะ-] (กลอน) ว. สงบ, ราบคาบ, เช่น ผ่องน้ำใจกสานติ์. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ก + ป. สนฺติ), กระสานติ์ ก็ใช้.
คั่ว ๒ : ก. คอยกิน (ใช้ในการเล่นไพ่ผ่องไทยหรือไพ่ผ่องจีนเป็นต้น), โดย ปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สองคนนี้คั่วกันมา หลายปี ก็ยังไม่ได้แต่งงานกัน เขาคั่วตำแหน่งอธิบดีอยู่.
เงินยวง : น. เนื้อเงินบริสุทธิ์ที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้า มีสีขาวผ่องเป็น มันปลาบ. ว. เรียกสีขาวผ่องเป็นมันปลาบเหมือนสีเงินที่ละลายคว้าง อยู่ในเบ้าว่า สีเงินยวง.
จันทรกลา : [-กะลา] (แบบ) น. เสี้ยวที่ ๑๖ ของดวงจันทร์, โดยอนุโลม หมายถึงงามเหมือนแสงจันทร์อ่อน ๆ นวลตา เช่น ลางล้วนเผือกผ่องคือคิรี ไกลาสรูจี แลพรายคือจันทรกลา. (สมุทรโฆษ). (ส.).
นวล : ว. สีขาวปนเหลืองเล็กน้อย; ผ่องเป็นยองใย, งามผุดผ่อง, เช่น ผิวนวล. น. ผงแป้งที่โรยบนก้อนแป้งเวลานวดหรือปั้นเพื่อไม่ให้ติดมือติดภาชนะ เป็นต้น; ละอองสีขาวบนผิวผลไม้หรือใบไม้บางชนิดแสดงว่าแก่จัด เช่น นวลมะม่วง นวลแตง นวลใบตอง.
ประภัสสร : [ปฺระพัดสอน] น. เลื่อม ๆ พราย ๆ, มีแสงพราว ๆ เหมือนแสง พระอาทิตย์แรกขึ้น; ผ่องใส, บริสุทธิ์ เช่น จิตประภัสสร, เขียนเป็น ประภัสร์ ก็มี เช่น ธรรมรสเรืองรองผ่องประภัสร์ เป็นมิ่งฉัตร สุขสันต์นิรันดร. (ชีวิตและงานของสุนทรภู่). (ป. ปภสฺสร).
ผะ ๒ : ใช้นําหน้าคําที่ตั้งต้นด้วยตัว ผ มีความแปลอย่างเดียวกับคําเดิมนั้น เช่น ผะผก ผะผ่อง ผะผ้าย ผะผ่าว ผะผํ้า.
ไพ่ตอง : น. ชื่อไพ่ไทยชนิดหนึ่ง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชุดหนึ่งมี ๑๒๐ ใบ ประกอบด้วย ๑๐ พวก พวกละ ๑๒ ตัว, ไพ่ผ่องไทย ก็เรียก.
มัว, มัว ๆ : ว. ไม่แจ่ม เช่น พระจันทร์มัว, ไม่กระจ่าง เช่น ข้อความมัว, ฝ้า เช่น กระจกมัว, ฟาง เช่น นัยน์ตามัว, ขมุกขมัว เช่น มืดมัว, ไม่มืด ไม่สว่าง เช่น แสงมัว ๆ, หม่น เช่น สีมัว ๆ, ขุ่น, ไม่ผ่อง, เช่น ใจมัว; อาการที่ทำติดพันอยู่ ไม่ละไปได้ เช่น มัวพูด มัวคิด, มัวแต่ ก็ว่า.
ยวง : น. เนื้อในของขนุนที่หุ้มเมล็ด เรียกว่า ยวงขนุน, ลักษณนามเรียกเนื้อใน ของขนุนว่า ขนุนยวงหนึ่ง ขนุน ๒ ยวง; เรียกลักษณะของเงินบริสุทธิ์ที่ ละลายคว้างอยู่ในเบ้า มีสีขาวผ่องเป็นมันปลาบ ว่า เงินยวง, โดยปริยาย เรียกสิ่งที่มีลักษณะย้อยยืดลงมาเป็นแนวยาว ๆ เช่น ฝีถอนยวง ขี้มูกเป็น ยวง. ว. เรียกสีขาวผ่องเป็นมันปลาบเหมือนสีเงินที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้า ว่า สีเงินยวง.
ยองใย : น. เส้นใย (แห่งแมงมุม). ว. ผุดผ่องเป็นนํ้านวล เช่น ผิวนวล เป็นยองใย; ใช้เป็นคําเปรียบเทียบว่ามีขนาดเล็กเท่าใยแมงมุม เช่น ไม่มี ความผิดแม้เท่ายองใย.
ศิลป์ ๒ : [สิน] (กลอน) น. ศร เช่น งามเนตรดังเนตรมฤคมาศ งามขนงวง วาดดังคันศิลป์. (อิเหนา), พิศพักตร์ผ่องพักตร์ดั่งจันทร พิศขนง ก่งงอนดั่งคันศิลป์. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
หิรัณยรัศมี : [หิรันยะรัดสะหฺมี] ว. มีสีผ่องดั่งเงินอย่างสีช้างเผือก. (ส.).
ทั้งปวง, ทั้งผอง, ทั้งเพ, ทั้งมวล, ทั้งสิ้น, ทั้งหมด : ว. หมดด้วยกัน.
กระยา : น. เครื่อง, สิ่งของ, เครื่องกิน, เช่น เทียนธูปแลประทีปชวาลา เครื่องโภชนกระยา สังเวยประดับทุกพรรณ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ของเก่า ครั้งกรุงเก่า), เขียนเป็น กรยา ก็มี เช่น พระไพรดมานโฉม นุบพิตรแลงผอง มนตรอัญสดุดิยฮอง กรยานุถกลทาบ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ขุนเทพกะวีแต่ง).