ฝั่ง : น. ที่ดินริมนํ้าเป็นขอบเขตทะเล แม่นํ้า ลําคลอง เป็นต้น.
คลื่นกระทบฝั่ง ๑ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
คลื่นกระทบฝั่ง ๒ : (สํา) น. เรื่องราวที่ครึกโครมขึ้นมาแล้วกลับเงียบหายไป.
ตลอดรอดฝั่ง : ว. ถึงจุดหมายปลายทาง, พ้นอันตราย, ผ่านอุปสรรคมาได้.
เป็นฝั่งเป็นฝา : ก. มีหลักฐานมั่นคง.
ไม้ใกล้ฝั่ง : (สำ) ว. แก่ใกล้จะตาย.
เดียร, เดียระ : [เดียน, เดียระ] (แบบ) น. ฝั่ง. (ป., ส. ตีร).
ปาร- : [ปาระ-] น. ฝั่ง, ฝั่งตรงข้าม; ที่สุด; นิพพาน. (ป., ส.).
ฟาก ๒ : น. ฝั่ง, ข้าง, เช่น อยู่ฟากนี้ เรือข้ามฟาก ฟากฟ้า.
กรด ๓ : [กฺรด] น. ชื่อไม้เถาชนิด Combretum tetralophum C.B. Clarke ในวงศ์ Combretaceae มักขึ้นในที่น้ำท่วม เช่น ตามฝั่งน้ำลําคลอง ใบโดยมากออกรอบข้อ ๒ หรือ ๓ ใบ ใบอ่อนสีม่วงดํา เมื่อแก่เปลี่ยน เป็นสีเขียว ผลมีสันแข็งเป็น ๔ ครีบ, เถาวัลย์กรด ก็เรียก; อีกชนิดหนึ่ง คือ C. trifoliatum Vent. มีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ผลมี ๕ ครีบ เช่น กรดกระถินอินจันพรรณไม้. (นิ. อิเหนา), สีเอยเจ้าสีสด เจ้าปลูก ต้นกรดไว้ริมท่า. (กล่อมเด็ก).
กรวย ๒ : น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Horsfieldia irya (Gaertn.) Warb. ในวงศ์ Myristicaceae ขึ้นตามฝั่งน้าลําคลอง ใบเป็นมันคล้ายใบจําปี แต่เรียวและนิ่มกว่า ดอกสีเหลือง ผลกลมเป็นพวงคล้ายมะไฟ, กรวยบ้าน ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Casearia grewiifolia Vent. ในวงศ์ Flacourtiaceae ใบคล้ายชนิดแรกแต่ปลายป้อม มีขนมาก ขอบใบมีจักเล็ก ๆ เชื่อกันว่าเป็นยาสูบแก้ริดสีดวงจมูก, กรวยป่า ก็เรียก.
กระเช้าผีมด : น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Aristolochia tagala Cham. ในวงศ์ Aristolochiaceae ผลเมื่อแก่ตอนโคนแยกออกเป็น ๖ สาย คล้ายสาแหรก รากใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อไม้พุ่มอิงอาศัยชนิด Hydnophytum formicarium Jack ในวงศ์ Rubiaceae ชอบเกาะไม้ต้นในป่าดิบชื้นใกล้ฝั่งทะเล ลําต้นทรงกลมอวบน้ำ มีรูพรุนภายในเป็นที่อาศัยของมด ส่วนที่เป็นรูพรุนใช้ทํายาได้, หัวร้อยรู ก็เรียก.
กระทั่ง : ก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. (นิ. เพชร); ทําให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตร กระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. (คาวี), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. บ. จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขา ก็ยังไม่เว้น.
กระทุงเหว : น. ชื่อปลาผิวน้ำทุกชนิดในวงศ์ Belonidae และ Hemirhamphidae ลําตัวกลมยาวคล้ายปลาเข็ม กระดูกปากทั้งตอนบนและล่างหรือ เฉพาะตอนล่างยื่นยาวแหลม หางเป็นแฉก บ้างก็ตัดเฉียงลงมาก น้อยหรือกลมแล้วแต่ชนิดหรือสกุล บางชนิดพบอาศัยอยู่ในน้าจืด เช่น กระทุงเหวเมือง (Xenentodon cancila) ส่วนใหญ่พบใน เขตน้ำกร่อยหรือชายทะเล เช่น ชนิดในสกุล Hemirhamphus, Hyporhamphus, Rhynchorhamphus, Tylosurus, Strongylura และ Zenarchopterus ชนิดที่พบในทะเลห่างฝั่งและบริเวณรอบเกาะ คือ กระทุงเหวบั้ง (Ablennes hians) ซึ่งมีชุกชุมที่สุด, เข็ม ก็เรียก.
กราด ๓ : [กฺราด] น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้ประกอบกับเรือ, บางถิ่นเรียกว่า กรีด หรือ เรือกรีด, เวลาจับสัตว์น้ำใช้แจวไปตาม ฝั่งคลองหรือแม่น้ำ โดยให้ไม้สําหรับกรีดนั้นระไปในน้ำ.
กร่ำ ๑ : [กฺร่ำ] น. ที่ล่อปลาให้เข้าไปอยู่ ใช้ไม้ปักตามชายฝั่งลําแม่น้ำ เป็นรูปกลมบ้าง รีบ้าง ภายในสุมด้วยกิ่งไม้เพื่อล่อให้ปลาเข้าอาศัย เมื่อเวลาจะจับก็เอาเฝือกหรืออวนล้อม แล้วเอาไม้ที่สุมนั้นออก, เขียนเป็น กล่ำ ก็มี.
กล้วย ๒ :
[กฺล้วย] น. (๑) ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กชนิด Stolephorus indicus ในวงศ์ Engraulidae รูปร่างกลมยาว ที่สันท้องระหว่างครีบท้อง กับครีบก้นมีหนามแหลม ๒-๕ อัน มีสีเด่นเพียงแถบสีเงินพาด ตลอดข้างลําตัว มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใกล้ฝั่ง อาจปนกับปลาชนิดอื่น ในสกุลเดียวกันซึ่งมีขนาดเล็กกว่า และอาจมีชื่อเรียกปะปนกัน เช่น กะตัก หัวอ่อน มะลิ ไส้ตัน หัวไม้ขีด เส้นขนมจีน เก๋ย. (๒) ดู ซ่อนทราย(๑).
กะตัก : น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Encrasicholina และ Stolephorus ในวงศ์ Engraulidae รูปร่างยาว กลม หรือแบนข้างเล็กน้อยแล้วแต่ชนิด ปากกว้าง ที่สันท้องระหว่าง ครีบท้องและครีบก้นมีหนามแหลม ๒-๗ อัน ข้างลําตัวมีสีเด่นเป็น เพียงแถบสีเงินพาดตลอดตามยาว มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ฝั่ง อาจคละกันหลายชนิด, หัวอ่อน ไส้ตัน เส้นขนมจีน หัวไม้ขีด มะลิ เก๋ย เรียกปะปนกันระหว่างชนิด หรือต่างกันตามท้องถิ่นที่จับ.
กะต้ำ : น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำตามริมฝั่งชนิดหนึ่ง ใช้เฝือกกั้นเป็นคอก ๓ ด้าน ด้านหนึ่งมีประตูเปิดปิดได้ ในคอกสะด้วยกิ่งไม้เพื่อล่อให้ปลาเข้าอยู่, ต้อน ก็ว่า.
กะรัง ๒ : น. ชื่อปลาทะเลขนาดกลางและขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Epinephelus, Cephalopholis และ Plectopomus วงศ์ Serranidae รูปร่างยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็ก สีตามตัวและครีบเป็น ดอกดวง แต้ม หรือบั้ง ฉูดฉาดหรือคล้ำทึบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ ชนิดและขนาด พบอาศัยอยู่ตามบริเวณหมู่ปะการัง โขดหินใกล้ฝั่ง หรือเกาะ.
กะวะ ๑ : น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง สําหรับรุนกุ้งรุนเคยตามชายฝั่งแม่น้ำ ลําคลอง หรือทะเล รูปคล้ายสวิง มีถุงตาข่ายอย่างตาละเอียดแขวนอยู่ ใช้ไสตามริมฝั่งเพื่อจับกุ้งเล็ก ๆ หรือเคย.
กำพวด ๒ :
น. ปลาจุมพรวด เช่น แลฝั่งล้วนหลังกําพวดพราย. (เพลงยาวนายภิมเสน). (ดู จุมพรวด).
กุ้งดีด, กุ้งดีดขัน : น. ชื่อกุ้งขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล เช่น สกุล Alpheus ในวงศ์ Alpheidae มีก้ามใหญ่ ๒ ข้าง โดยมีก้ามข้างหนึ่งโตกว่า สามารถงับก้ามทําให้เกิดเสียงดังโดยเฉพาะ เมื่อกระทบขันเสียงจะดังยิ่งขึ้น จึงได้ชื่อว่า กุ้งดีดขัน พบอาศัย หลบซ่อนอยู่ตามซอกวัสดุต่าง ๆ ริมฝั่งทั้งในน้ำเค็มและน้ำกร่อย ยกเว้นชนิด Alpheus microrhynchus ที่พบอยู่ในน้ำจืดด้วย, กระเตาะ ก็เรียก.
กุ้งเต้น : น. ชื่อสัตว์หลายชนิดในวงศ์ Talitridae, Hyalidae และ Acanthogammaridae เป็นต้น ลักษณะคล้ายกุ้ง ลําตัวมีขนาดเล็ก ยาว ๐.๕-๑๕.๐ มิลลิเมตร ตัวแบนทางข้าง หัวไม่มีปลอก อกปล้องแรกรวมกับหัว อกที่เหลือมี ๗ ปล้อง ท้องมี ๖ ปล้อง รยางค์ ๒ คู่แรกอยู่ติดกับหัวโตกว่าคู่อื่น บางคู่ปลายคล้ายก้ามหนีบ รยางค์ที่อกถัดมามี ๕ คู่ รยางค์ท้องมี ๖ คู่ ๓ คู่ สุดท้ายสั้นแข็งใช้สําหรับดีด จึงดีดได้เก่ง อาศัยอยู่ตามฝั่งน้ำหรือที่ชื้นแฉะ ชนิดที่พบบ่อยตามชายทะเล ฝั่งตะวันออกของไทยได้แก่ Orchestia floresiana.
กุแล : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Sardinella และ Herklotsichthys วงศ์ Clupeidae ลําตัวยาว แบนข้างมาก สันท้องแหลม เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจํานวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลําตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีน้ำเงินเข้ม บนลําตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดําคล้า๑ จุด ครีบหลัง และครีบหางสีดําคล้าอมเหลือง ขนาดยาวได้ถึง ๑๘ เซนติเมตร, อกรา หรือ อกแล ก็เรียก, ส่วน กุแลกลม หรือ กุแลกล้วย หมายถึง ชนิดในสกุล Dussumieria ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน ลักษณะทั่วไปคล้ายกัน เว้นแต่มีลําตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวแหลม ท้องกลม ไม่มีเกล็ดที่เรียงกัน เป็นฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีน้อย ขนาดยาวได้ถึง ๒๒ เซนติเมตร, อกรากล้วย หรือ อกแลกล้วย ก็เรียก; ทั้งหมดเป็นปลาผิวน้ำ อยู่กันเป็นฝูง ปลาขนาดเล็กอาจเข้ามาอยู่ใกล้ฝั่งหรือในน้ำกร่อย, หลังเขียว ก็เรียก.
เกย ๒ : น. เกยขนาดเล็กเคลื่อนย้ายไปได้ สำหรับเจ้านายใช้เป็นที่เสด็จขึ้น หรือลงพาหนะ; นอกชานหรือพื้นซึ่งสูงขึ้นที่เรียกว่า เนินปราสาท หรือ โคกปราสาท เพราะการก่อสร้างนิยมสร้างบนพื้นที่ถมสูง มีสภาพเป็นนอกชาน เรียกว่า เกย เกยชาลา หรือ ไพที ก็มี. ก. แล่นหรือเสือกขึ้นไปค้างอยู่พาดอยู่, ถูกซัดหรือลากขึ้นไปติดอยู่ ค้างอยู่ เช่น เรือเกยฝั่ง, พาดทับเฉพาะชายหรือริม เช่น ปูเสื่อเกยกัน. (รูปภาพ เกย)
ขวา : [ขฺวา] ว. ตรงข้ามกับซ้าย, ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศใต้ เรียกว่า ด้านขวามือ ด้านทิศเหนือ เรียกว่า ด้านซ้ายมือ, ถ้าหันหลังไป ทางต้นนํ้าหรือยอดนํ้า ด้านขวามือเรียกว่า ฝั่งขวา ด้านซ้ายมือเรียกว่า ฝั่งซ้าย, คู่กับซ้าย แต่ใหญ่กว่าหรือสําคัญกว่า เช่น มเหสีฝ่ายขวา อัครสาวกฝ่ายขวา. (การเมือง) น. เรียกกลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการ เศรษฐกิจเป็นต้นโน้มไปทางอนุรักษนิยมว่า ฝ่ายขวา.
ข้ามเรือ : ก. ลงเรือข้ามน้ำไปยังอีกฝั่งหนึ่ง.
คุ้ง : น. ส่วนเว้าโค้งเข้าไปของฝั่งนํ้าด้านที่ตรงกันข้ามกับหัวแหลม. (โบ) ว. ยาว, อ้อม, นาน, ตลอดไป, คุง ก็ว่า. (โบ) สัน. ตราบเท่า, คุง คุ้ม หรือ คุ้มเท้า ก็ว่า.
จวด : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดและหลายสกุลในวงศ์ Sciaenidae มีทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ปลายหัวอาจทู่หรือแหลม ปากเชิดมากน้อยหรืองุ้มตํ่า บ้าง มีฟันแหลมคมหรือละเอียด หางเป็นรูปตัดมน หรือ กลม จนแม้กระทั่งแหลม โดยทั้งหมดขึ้นอยู่กับชนิดหรือขนาด ลําตัวมักมีสีเงินหรือเทา บ้างมีจุดประ บนลําตัวและครีบ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใกล้ฝั่ง หรือบริเวณนํ้ากร่อยปากแม่นํ้า ทําเสียงได้.
จาก ๑ : น. ชื่อปาล์มชนิด Nypa fruticans Wurmb ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอ อยู่ตามป่าเลนหรือริมฝั่งนํ้ากร่อยตื้น ๆ ใบใช้มุงหลังคาและกรุฝา ออกดอก ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวผสมมะพร้าวกับนํ้าตาล ห่อด้วยใบจากแล้วปิ้ง ว่า ขนมจาก.
เฉนียน : [ฉะเหฺนียน] น. ฝั่งน้ำ. (ข. เฉฺนร ว่า ชายฝั่ง).
ชะวากทะเล : น. ฝั่งทะเลที่เว้าเป็นช่องเข้าไปยังปากแม่นํ้า ซึ่งนํ้าจืดไหลมาผสมกับนํ้าทะเล.
ชะแวง : น. ชื่อปลาชนิดหนึ่ง เช่น ชะแวงแฝงฝั่งแนบ. (เห่เรือ).
ซั้ง : น. ที่ล่อปลาให้เข้าไปอยู่ ใช้ไม้ปักตามชายฝั่งลําแม่นํ้า เป็นรูปกลมบ้าง รีบ้าง ภายในสุมด้วยกิ่งไม้เพื่อล่อปลาให้เข้าอาศัย เมื่อเวลาจะจับ ก็เอาเฝือกหรืออวนล้อมแล้วเอาไม้ที่สุมนั้นออก, กรํ่า หรือ กลํ่า ก็ว่า.
ซัด ๒ : ก. สาดโดยแรง เช่น ซัดทราย ซัดปูน, เหวี่ยงไปโดยแรง เช่น ซัดหอก, ทอด เช่น ซัดลูกบาศก์ ซัดเชือกบาศ, อาการที่คลื่นเหวี่ยงตัวไปมา โดยแรง เช่น คลื่นซัดฝั่ง, ป้ายความผิดไปถึงคนอื่น เช่น นายดํา ซัดนายขาว, รําทิ้งแขนออกไปข้างหน้า เช่น ซัดแขน; เบน เช่น พระอาทิตย์ซัดใต้ซัดเหนือ; คําค่อนว่าหมายความว่า ห่ม เช่นว่า ซัดแพรสี.
ซ้าย : ว. ตรงข้ามกับ ขวา, ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศเหนือ เรียกว่า ด้านซ้ายมือ ด้านทิศใต้ เรียกว่า ด้านขวามือ, ถ้าหันหลัง ไปทางต้นนํ้าหรือยอดนํ้า ด้านซ้ายมือ เรียกว่า ฝั่งซ้าย ด้านขวามือ เรียกว่า ฝั่งขวา; (การเมือง) เรียกกลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมือง การเศรษฐกิจ เป็นต้น ที่นิยมการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง ว่า ฝ่ายซ้าย, โดยทั่วไปใช้หมายถึงกลุ่มที่นิยมลัทธิสังคมนิยมและ คอมมิวนิสต์.
ตบแต่ง : ก. ทําให้งาม; จัดให้ลูกสาวมีเรือนตามประเพณี เช่น ตบแต่ง ลูกสาวให้เป็นฝั่งเป็นฝา.
ตลิ่ง : [ตะหฺลิ่ง] น. ส่วนของฝั่งที่ไม่ลาดริมแม่นํ้าลําคลอง.
ต้อน : ก. สกัดกั้นให้ไปตามที่ต้องการ, ไล่ไปโดยวิธีกันไม่ให้แตกฝูง, เช่น ต้อนควายเข้า คอก, ดักหน้าดักหลัง เช่น รําต้อน, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่คล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ต้อนเข้ามุม ต้อนให้ จนมุม. น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าตามริมฝั่งชนิดหนึ่ง ใช้เฝือกกั้นเป็นคอก ๓ ด้าน ด้านหนึ่งมีประตู เปิดปิดได้ในคอกสะด้วยกิ่งไม้เพื่อ ล่อให้ปลาเข้าอยู่, กะตํ้า ก็ว่า.
ท้น : ก. เอ่อสูงขึ้นจนเปี่ยมพร้อมจะไหลล้นหรือไหลทวนกลับขึ้นไป เช่น นํ้าท้นฝั่ง, อาการที่เนื้อล้นออกมาจนเห็นเป็นรอยนอกเสื้อ เช่น สวม เสื้อคับจนเนื้อท้น.
ท่า ๑ : น. ฝั่งนํ้าสําหรับขึ้นลงหรือจอดเรือ, ท่านํ้า ก็เรียก, ที่สําหรับขึ้นลง ริมนํ้า เช่น ท่าข้าม; โดยปริยายหมายถึงที่จอดยานพาหนะบางชนิด เช่น ท่าเกวียน ท่าอากาศยาน; เรียกนํ้าในแม่นํ้าลําคลองว่า นํ้าท่า, คู่กับ นํ้าฝน.
ทาม ๓ : น. ที่ริมฝั่งลํานํ้า มีนํ้าท่วมเป็นครั้งคราว.
นกกระจอก ๒ : น. ชื่อปลาทะเลในสกุล Parexocoetus และ Cypselurus วงศ์ Exocoetidae ลําตัวยาวเพรียว แต่เป็นเหลี่ยมเกือบกลม ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว แต่เชิดขึ้นเล็กน้อย ตาโต ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหางซึ่ง เป็นแฉกลึกโดยแฉกล่างยาวกว่าแฉกบน ที่สําคัญคือ ครีบอกซึ่งขยาย ใหญ่มากคล้ายปีกนกใช้ช่วยในการร่อนถลาไปเหนือผิวนํ้า ครีบบนของ ลําตัวสีเขียว หรือนํ้าเงินหม่น ข้างท้องสีขาวเงิน อาศัยอยู่บริเวณผิวนํ้า ห่างฝั่ง ขนาดยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร, ปลาบิน ก็เรียก.
น้ำทรง : น. นํ้าที่หยุดไหลชั่วขณะ, นํ้าที่คั่งค้างอยู่ในพื้นที่ที่เป็นแหล่ง รับนํ้า, นํ้ากําลังจะเปลี่ยนระดับจากนํ้าขึ้นเต็มที่มาเป็นนํ้าลง หรือจาก นํ้าลงเต็มที่มาเป็นนํ้าขึ้น, ช่วงนํ้าหยุดไหลในทะเลและแม่นํ้าลําคลอง อาจมีระยะเวลา ตั้งแต่ ๕ นาที หรือ นานถึง ๒ ชั่วโมง ก็ได้ แล้วแต่ ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่ ความลาดชันของขอบฝั่งและลํานํ้า.
บงสุกุล :
น. เรียกผ้าที่พระภิกษุชักออกจากศพว่า ผ้าบงสุกุล, โดยปรกติ ใช้ว่า บังสุกุล. (ดู บังสุกุล). (ป. ปํสุกูล ว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น).
บังสุกุล : น. เรียกผ้าที่พระภิกษุชักจากศพ หรือที่ทอดไว้หน้าศพ หรือที่ทอดบน ด้ายสายสิญจน์หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อจากศพด้วยการปลงกรรมฐานว่า ผ้าบังสุกุล, เรียกกิริยาที่พระภิกษุชักผ้าเช่นนั้นว่า ชักบังสุกุล, (ปาก) บังสกุล ก็ว่า. (ป. ปํสุกูล ว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น; ส. ปําสุกูล).
ป่ง : น. พื้นดินที่มีเกลือสินเธาว์ผุดเกรอะกรังอยู่, ป่าหรือดินที่มีป่ง เรียกว่า ป่าป่ง ดินป่ง, เรียกผีที่มีอยู่ในที่เช่นนั้นว่า ผีป่ง, เรียกลักษณะที่นั่งห้างคอยยิงสัตว์ที่มากินดินป่งว่า นั่งป่ง; (ถิ่น-พายัพ) ที่ริมฝั่งน้ำ, ที่ลุ่มน้ำขัง, ปง หรือ โป่ง ก็ว่า.
ปง ๒ : (ถิ่น-พายัพ) น. ที่ริมฝั่งน้ำ, ที่ลุ่มน้ำขัง, ป่ง หรือ โป่ง ก็ว่า.
ประท่า : (โบ) น. ฟากโน้น, ฝั่งโน้น.