ฝีปาก : น. คารมของผู้กล่าว, ราชาศัพท์ว่า ฝีพระโอษฐ์.
ริมฝีปาก : น. เนื้อส่วนที่เป็นขอบรอบปาก ส่วนบนเรียกว่า ริมฝีปากบน ส่วนล่างเรียกว่า ริมฝีปากล่างมีเส้นขอบรอบ ที่เรียกว่า เส้นขอบริมฝีปาก.
ลับปาก, ลับฝีปาก : ก. เตรียมตัวพูดหรือโต้เถียงเต็มที่ เช่น ลับปาก ไว้คอยท่า. (ไชยเชฐ), พูดจาโต้ตอบคารมบ่อย ๆ จนคล่องแคล่ว.
คารม : [-รม] น. ถ้อยคําที่คมคาย, ฝีปาก.
กระหมุบกระหมิบ : ก. หมุบหมิบ, อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและ หุบลงโดยเร็ว, อาการของปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง, เช่น ทำปากกระหมุบกระหมิบ สวดมนต์กระหมุบกระหมิบ. (แผลงมาจาก ขมุบขมิบ).
กวางชะมด : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี ๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า.
กว้างใหญ่ :
ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
กะปะ : น. ชื่องูพิษชนิด Calloselasma rhodostoma ในวงศ์ Viperidae ตัวยาว ๕๐-๘๐ เซนติเมตร ลายสีน้ำตาลเข้ม บนหลังมีลายรูปสามเหลี่ยมสีน้ำตาลแก่ เรียงสลับเยื้องกันเป็นคู่ ๆ จมูกงอน ริมฝีปากเหลือง และ มีแนวสีเหลืองพาดบนลูกตาถึงมุมปาก, ตัวที่มีสีคล้ำเรียก งูปะบุก.
ขมุบขมิบ : [ขะหฺมุบขะหฺมิบ] ก. อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและหุบลงโดยเร็ว, อาการของปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง เช่น ทำปากขมุบขมิบ สวดมนต์ ขมุบขมิบ, หมุบหมิบ ก็ว่า.
โคราช : น. ชื่อเพลงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวโคราชที่ว่าแก้กันเป็นทํานอง ตีฝีปากโต้คารมกันบ้าง เกี้ยวพาราสีกันบ้าง คล้ายเพลงฉ่อย วรรคหนึ่ง ใช้คําตั้งแต่ ๔ ถึง ๗ คํา ๓ คํากลอนเป็นบทหนึ่ง ความไพเราะอยู่ที่สัมผัส ในการเล่นคําเล่นความให้สละสลวยบาทสุดท้ายจะเอื้อนเสียงในเวลาร้อง.
จาด ๒ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Tor stracheyi ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็ก ลําตัวยาว เกล็ดใหญ่ คล้ายปลาเวียนในสกุลเดียวกัน แต่ส่วนกลางของ ริมฝีปากบนไม่มีแผ่นเนื้อ ลําตัวสีเงิน ด้านหลังสีเขียวเข้ม อาศัยอยู่ใน แหล่งนํ้าสะอาดใกล้ต้นนํ้า เป็นปลาขนาดใหญ่ ยาวได้ถึง ๑ เมตร, โพ ก็เรียก.
เจ้าคารม : น. ผู้มีฝีปากคมคาย.
ทิ้งทวน : (ปาก) ก. ทําอย่างไว้ฝีมือ, ทําจนสุดความสามารถ, ไม่ทํา อีกต่อไป; ปล่อยฝีมือฝีปากเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะเลิกไป; ฉวย โอกาสทําเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะหมดอํานาจ.
เบญจกัลยาณี : น. หญิงมีลักษณะงาม ๕ ประการ คือ ๑. ผมงาม ๒. เนื้องาม (คือ เหงือกและริมฝีปากแดงงาม) ๓. ฟันงาม ๔. ผิว งาม ๕. วัยงาม (คือ ดูงามทุกวัย). (ป. ปญฺจกลฺยาณี).
ประคารม : ก. ตีฝีปากกัน.
ปากแบะ : น. ปากที่มีริมฝีปากล่างยื่นห้อยออกมามาก.
ผิวปาก : ก. ห่อริมฝีปากให้แคบพอ แล้วเป่าลมออกให้เกิดเสียง ตามที่ต้องการ.
เม้มปาก : ก. ม้วนริมฝีปากเข้าข้างในแล้วกดกันไว้.
ไม่ใช่เล่น : ว. เก่ง, พิเศษกว่าธรรมดา, เช่น ฝีปากไม่ใช่เล่น เด็กคนนี้ซนไม่ใช่เล่น.
ยิงฟัน : ก. แยกริมฝีปากให้เห็นฟันขบกัน, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ แยกเขี้ยว เป็น แยกเขี้ยวยิงฟัน.
ยิ้ม : ก. แสดงให้ปรากฏว่าชอบใจ เยาะเย้ย หรือเกลียดชัง เป็นต้น ด้วยริมฝีปาก และใบหน้า.
แยกเขี้ยว : ก. เผยอริมฝีปากให้เห็นเขี้ยวด้วยอาการโกรธหรือขู่ เช่น เสือ แยกเขี้ยว, (ปาก) โดยปริยายหมายถึงพูดด้วยความโกรธหรือขู่.
แย้ม : ก. เผยอ, คลี่, บานแต่น้อย ๆ, เช่น กุหลาบแย้มกลีบ, เผยอริมฝีปากน้อย ๆ ไม่ถึงกับยิ้ม เช่น พระพุทธเจ้าทรงแย้มพระโอษฐ์, แย้มพราย.
ลิปสติก : น. เครื่องสําอางชนิดหนึ่งสําหรับทาริมฝีปากให้เป็นสีต่าง ๆ มักเป็น สีแดงหรือชมพู โดยมากทําเป็นแท่งเล็ก ๆ. (อ. lipstick).
เลีย : ก. แลบลิ้นกวาดบนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เลียริมฝีปาก หมาเลียแผล แมวเลียขน; เรียกอาการของความร้อนหรือสิ่งที่เป็นเปลวเช่นไฟ ที่แลบออกมากระทบสิ่งใดแล้วทำให้สิ่งนั้นไหม้ แห้ง หรือซีดเผือด ไป เช่น ผ้าถูกแดดเลียสี ฝาบ้านถูกไฟเลียเป็นรอยไหม้; เรียกผม ตอนเหนือท้ายทอยของเด็กอ่อนที่นอนพลิกตะแคงตัวยังไม่ได้ มีลักษณะแหว่งเป็นแถบยาวตามขวาง คล้ายมีอะไรมากัดแทะไป ว่า ถูกผ้าอ้อมเลีย หรือ ผ้าอ้อมกัด; (ปาก) โดยปริยายเรียกกิริยา ประจบประแจงด้วยอาการดูประหนึ่งว่าเป็นอย่างสุนัขเลียแข้ง เลียขาเพื่อให้นายรัก.
วาดปาก : ก. เอานิ้วมือป้ายสีผึ้งหรือใช้ลิปสติกลูบไล้ไปตามริมฝีปาก ให้ทั่ว.
สมเสร็จ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Tapirus indicus ในวงศ์ Tapiridae เป็นสัตว์กีบคี่ขนาดใหญ่ ลําตัวตอนกลางสีขาว ส่วนหัวและท้ายสีดํา ขอบหูสีขาว จมูกและริมฝีปากบนยื่นยาวออกมาคล้ายงวงยืดหดเข้า ออกได้ หางสั้น ลูกเกิดใหม่ตัวมีลายสีขาวตามยาว กินหญ้า ใบไม้ และผลไม้ เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย, ผสมเสร็จ ก็เรียก.
หนวด : [หฺนวด] น. ขนที่ขึ้นเหนือริมฝีปากบนของคน, สิ่งที่มีลักษณะเป็นเส้น ยาว ๆ ขึ้นตามบริเวณปากของสัตว์บางชนิด เช่น หนวดกุ้ง หนวดปลาหมึก หนวดแมว.
หมี : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Ursidae ตาและใบหูกลมเล็ก ริมฝีปาก ยื่นแยกห่างออกจากเหงือก สามารถยืนและเดินด้วยขาหลังได้ ประสาท การดมกลิ่นดีกว่าประสาทตาและหู กินพืชและสัตว์ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ หมีควาย (Selenarctos thibetanus) ตัวใหญ่ ขนยาวดํา อกมีขน สีขาว รูปง่าม และ หมีหมา หรือ หมีคน (Helarctos malayanus) ตัวเล็ก กว่าหมีควาย ขนสั้นดํา ที่อกมีขนสีขาวรูปคล้ายเกือกม้า.
หมุบหมิบ : ว. อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและหุบลงโดยเร็ว, อาการของ ปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง เช่น ทำปากหมุบหมิบ สวดมนต์หมุบหมิบ, ขมุบขมิบ ก็ว่า.
ห่อปาก : ก. ทำริมฝีปากให้รวบเข้าหากันเป็นช่องกลม.
หุงขี้ผึ้ง : ก. เอาขี้ผึ้งแท้ผสมกับหัวกะทิหรือน้ำมันมะพร้าวเป็นต้นแล้วเคี่ยว กับใบเตยหรือดอกไม้บางชนิด เช่น ดอกมะลิ ดอกกระดังงา สำหรับใช้สี ปากเพื่อกันน้ำหมากเลอะริมฝีปากหรือเพื่อป้องกันริมฝีปากแตก.
แหยม : [แหฺยม] น. ปอยผมที่เอาไว้เป็นกระจุก, ส่วนของจุกที่แยกออกเป็นปอย ๆ ก่อนประกอบพิธีโกนจุก, เรียกหนวดที่เอาไว้แต่ ๒ ข้างริมฝีปากว่า หนวดแหยม.
อมยิ้ม : ว. ยิ้มน้อย ๆ โดยไม่เผยอริมฝีปาก. น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยน้ำตาล มีสีต่าง ๆ เป็นรูปกลม ๆ หรือแบน ๆ เสียบไม้.
อยู่หมัด : ก. เกรงกลัวฝีปากหรือฝีมือ, ยอมอยู่ในอํานาจ.
อ่าน : ก. ว่าตามตัวหนังสือ, ถ้าออกเสียงด้วย เรียกว่า อ่านออกเสียง, ถ้า ไม่ต้องออกเสียง เรียกว่า อ่านในใจ; สังเกตหรือพิจารณาดูเพื่อให้ เข้าใจ เช่น อ่านสีหน้า อ่านริมฝีปาก อ่านใจ; ตีความ เช่น อ่านรหัส อ่านลายแทง; คิด, นับ. (ไทยเดิม).
โอฐ : (โบ) น. โอษฐ์, ริมฝีปาก; ปาก. (ป. โอฏฺ?; ส. โอษฺ?).
โอษฐชะ : (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจาก ริมฝีปาก ได้แก่พยัญชนะวรรค ป คือ ป ผ พ ภ ม และอักษร ว กับ สระอุ อู. (ป. โอฏฺ?ช; ส. โอษฺ?ฺย).
โอษฐ, โอษฐ์ : [โอดถะ, โอด] น. ริมฝีปาก ในคำว่า โอษฐชะ; ปาก เช่น เอื้อน โอษฐ์. (ส.; ป. โอฏฺ?).