ฝึกหัด : ก. ฝึกให้ชํานาญ, หัดให้ทําจนชํานาญ, เช่น ฝึกหัดทำเลข ฝึกหัด ทำการบ้าน.
วิเนต : ก. นํา, ชี้, ฝึกหัด, สั่งสอน, อบรม. (ป.).
แบบฝึกหัด : น. แบบตัวอย่างปัญหาหรือคําสั่งที่ตั้งขึ้นเพื่อให้นักเรียน ฝึกตอบเป็นต้น.
ปรือ ๒ : [ปฺรือ] ว. ลักษณะอาการของนัยน์ตาที่หรี่เพราะง่วงแต่ฝืนไว้, ลักษณะของนัยน์ตาที่มีอาการเช่นนั้น. ก. ฝึกหัด ในคําว่า ฝึกปรือ; เลี้ยงดูในคําว่า ปรนปรือ.
สอนเดิน : ว. เรียกเด็กที่เริ่มหัดเดินเตาะแตะว่า เด็กสอนเดิน. ก. ฝึกหัด เดิน เช่น เขานอนป่วยอยู่หลายเดือน เมื่อหายป่วยแล้วต้องสอนเดินใหม่.
กักกัน : ก. กําหนดเขตให้อยู่, กัก ก็ว่า. (กฎ) น. วิธีการเพื่อ ความปลอดภัยอย่างหนึ่งที่ศาลใช้ในกรณีที่ให้ควบคุมผู้กระทํา ความผิดติดนิสัยไว้ภายในเขตกําหนด เพื่อป้องกันการกระทําความผิด เพื่อดัดนิสัย และเพื่อฝึกหัดอาชีพ.
คลัง ๒ : [คฺลัง] น. ไม้กระบอกที่ร้อยโซ่หรือเชือกสําหรับล่ามสัตว์หรือเรือ, (โบ) กลัง. ก. ผูกคอสัตว์ให้เข้าคู่กัน เพื่อไม่ให้พรากกัน หรือฝึกหัดตัวที่ไม่ ชํานาญงาน เช่น เอาวัวไปผูกเข้าคู่กัน ว่า เอาวัวไปคลัง.
คามณีย์ : [คามะนี] น. ผู้ฝึกหัดม้าหรือช้าง, หมอช้าง, นายสารถี, เช่น พลคชคณผาดผ้าย คามณีย์ทาย จําทวยทวน. (สมุทรโฆษ). (ป.).
โคศัพท์ : น. วิธีฝึกหัดหารเลขโบราณ. โค ๒ น. พระอาทิตย์ เช่น โคจร = ทางเดินของพระอาทิตย์ โควิถี = ทางสำหรับโคจรของ พระอาทิตย์. (ป., ส.).
ชิมแปนซี : น. ชื่อลิงไม่มีหางในวงศ์ Pongidae ขนสีดําหรือน้ำตาลดำ บริเวณใกล้ ๆ ก้นมีขนสีขาว หน้าไม่มีขน แขนและขา ยาวเกือบเท่ากัน มี ๒ ชนิด คือ ชนิด Pan troglodytes และ ชิมแปนซีแคระ (P. paniscus) ถิ่นกําเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา อยู่รวมกันเป็นฝูง ลักษณะคล้ายคน มีเชาวน์ปัญญาสูง สามารถ นํามาฝึกหัดให้เลียนท่าทางของคนได้. (อ. chimpanzee).
ตรวจ : [ตฺรวด] ก. พิจารณาดูความเรียบร้อย เช่น ตรวจพล ตรวจราชการ, พิจารณา ดูว่าถูกหรือผิด ดีหรือร้าย เป็นต้น เช่น ตรวจบัญชี ตรวจแบบฝึกหัด ตรวจ ดวงชะตา, พิจารณาหาสมุฏฐาน เช่น ตรวจโรค, สํารวจ เช่น ตรวจพื้นที่. น. ชื่อเรือชนิดหนึ่ง.
ทันต์ ๒ : (แบบ) ก. ทรมานแล้ว, ข่มแล้ว, ฝึกหัดแล้ว. (ป.).
ทำการบ้าน : ก. ทํางานหรือทําแบบฝึกหัดตามที่ครูอาจารย์สั่งให้ทํา นอกเวลาเรียน.
ธนูศิลป์ : น. ฝีมือยิงธนู, การฝึกหัดยิงธนู. (ส.).
นพพล, นพพวง, นพพัน : [นบพน, นบพวง, นบพัน] น. วิธีฝึกหัด เลขโบราณอย่างหนึ่ง.
เนตรนารี : น. เด็กหญิงที่ได้รับการฝึกให้เป็นผู้นำในทางความประพฤติ, สมาชิกแห่งองค์การที่มีวัตถุประสงค์ในการฝึกหัดอบรมบ่มนิสัยเด็กหญิง ให้เป็นพลเมืองดีตามจารีตประเพณี มีอุดมคติ และความรับผิดชอบตัวเอง และต่อผู้อื่นเป็นต้น.
ฝึกสอน : ก. ฝึกหัดการสอนในโรงเรียนตามหลักสูตรวิชาการศึกษา; สอนให้ทําจนเป็น, สอนให้เป็นคนดี, เช่น เฝ้าฝึกสอน.
ไพร่สม : (โบ) น. ชายฉกรรจ์ อายุครบ ๑๘ ปี เข้ารับราชการทหาร ฝึกหัดอยู่ ๒ ปี แล้วย้ายมาเป็นไพร่หลวง.
มหาดเล็กรายงาน : (โบ) น. มหาดเล็กซึ่งมีหน้าที่รายงานการสร้างวัดหรือคนเจ็บป่วยเป็นต้น; ชื่อตําแหน่งราชการชั้นฝึกหัดในหัวเมือง.
ร่ำเรียน : ก. ท่องบ่น, เพาะความรู้, หาความรู้ฝึกหัด.
ลูกเสือ : น. สมาชิกแห่งองค์การที่มีวัตถุประสงค์ในการฝึกหัดอบรม บ่มนิสัยเด็กชายให้เป็นพลเมืองดีตามจารีตประเพณี มีอุดมคติและ ความรับผิดชอบตัวเองและต่อผู้อื่นเป็นต้น.
วินิต : ก. ฝึกหัดหรืออบรม, ทำให้ละพยศหรือละทิฐิมานะ, ปกครอง. (ป., ส. วินีต).
วิปัสสนายานิก : น. ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน, ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาล้วน ๆ โดยมิได้เคยฝึกหัดเจริญสมาธิใด ๆ มาก่อน.
สมพล ๑ : [พน] น. เลกของขุนนางที่ปกครองหัวเมือง; (โบ) แบบวิธีเลขไทย ในการฝึกหัดให้คูณคล่อง.
สมุด : [สะหฺมุด] น. กระดาษที่ทําเป็นเล่ม มีหลายชนิดเรียกชื่อตามประโยชน์ ใช้สอย เช่น สมุดวาดเขียน สมุดแผนที่ สมุดแบบฝึกหัดคัดลายมือ.
สอน : ก. บอกวิชาความรู้ให้ เช่น ครูสอนหนังสือนักเรียน, แสดงให้เข้าใจ โดยวิธีบอกหรือทําให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีชั่วเป็นต้น เช่น สอน แม่ไม้มวยไทย สอนเย็บปักถักร้อย สอนเท่าไรไม่รู้จักจํา; เริ่มฝึกหัด เช่น เด็กสอนพูด ผู้เป็นอัมพาตต้องมาสอนเดินใหม่ ไก่สอนขัน, เริ่มมีผล เช่น ต้นไม้สอนเป็น.
อสิจรรยาการ : น. การฝึกหัดเพลงดาบ, การฝึกหัดเพลงศัสตรา. (ส. อสิจรฺยาการ).
ออกโรง : ก. ออกแสดงเป็นครั้งแรกเมื่อได้ฝึกหัดมาแล้ว; แสดง ด้วยตนเองเป็นครั้งคราว ในคำว่า ออกโรงเอง.
อาชาไนย : ว. กําเนิดดี, พันธุ์หรือตระกูลดี; รู้รวดเร็ว, ฝึกหัดมาดีแล้ว, ถ้าเป็น ม้าที่ฝึกหัดมาดีแล้ว เรียก ม้าอาชาไนย, ถ้าเป็นคนที่ฝึกหัดมาดีแล้ว เรียกว่า บุรุษอาชาไนย. (ป. อาชาเนยฺย; ส. อาชาเนย).