พก ๑ : น. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้ไว้ที่บริเวณสะดือ มีลักษณะคล้ายถุง เล็ก ๆ เรียกว่า ชายพก ใส่เงินหรือหมากเป็นต้น; แผ่นดิน. ก. เอา เก็บหรือซ่อนไว้ในพกหรือในสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พกมีด พกนาฬิกา, เรียกสิ่งที่นำติดตัวไปในลักษณเช่นนั้น เช่น มีดพก ปืนพก นาฬิกาพก; พัง, ทําลาย, เช่น ดุจพสุธาพังดังพสุธาพก. (ม. ร่ายยาว มหาราช); ผก, หก, ตก; (กลอน) วก เช่น ภายหลังมา จึงพราหมณ์ชูชก พกมาทวงทอง. (ม. คําหลวง ชูชก).
พก ๒ : [พะกะ] (แบบ) น. นกยาง. (ป.).
วก : ก. หักเลี้ยวกลับ เช่น รถเลยที่หมายแล้ววกกลับ, ในบทกลอน ใช้แผลงเป็น พก ก็มี.
ปืนพก : น. ปืนขนาดเล็ก สำหรับพกพาติดตัวไปได้.
มีดพก : น. มีดขนาดเล็ก ใบมีดหนายาวเรียว ปลายแหลม มีคมด้านหนึ่ง หรือทั้ง ๒ ด้าน ยาวประมาณ ๑ ฝ่ามือ ด้ามสั้นทำด้วยไม้ เขาสัตว์ หรืองา ใช้พกเป็นอาวุธ.
เข้าพกเข้าห่อ : ก. เอาไว้เป็นส่วนของตัว, รู้จักเก็บไว้บ้าง, รู้จักเก็บ ไม่ใช้สุรุ่ยสุร่าย.
ชายพก : น. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้ไว้ที่บริเวณสะดือ แล้วดึงชายข้างใดข้างหนึ่งให้มีลักษณะคล้ายถุงเล็ก ๆ เหน็บไว้ที่เอวใส่เงินหรือหมากเป็นต้นได้.
วันนิพก : น. วนิพก.
บาพก : [บา-พก] (แบบ) น. ไฟ, (โบ) ใช้ว่า บ่าพก ก็มี. (ป., ส. ปาวก).
ศราพก, ศราวก : [สะราพก, วก] น. สาวก, ศิษย์. (ส. ศฺราวก; ป. สาวก).
กระถอบ : น. แผ่นทองคําฉลุลายเป็นกิ่งต้นเครือวัลย์กระหนก สําหรับเสียบห้อย ที่ชายพกลงมาในระหว่างช่องหน้าขาทั้ง ๒ สามัญเรียกว่า ช่อทับชาย เช่น ที่ประดับเทวรูปทรงเครื่องทั่วไป เรียกกันว่า สุวรรณกระถอบ หรือ สุวรรณกัญจน์ถอบ.
กลัมพก, กลัมพัก : [กะลํา-] (แบบ) น. ผักบุ้ง เช่น ประเทศที่ต่ำน้ำลึกล้วนเหล่ากลัมพัก พ่านทอดยอดยาวสล้างสลอน. (ม. ร. ๔ มหาพน). (ป., ส. กลมฺพก).
เกี้ยวคอไก่ : น. วิธีนุ่งผ้าเอาชายพกรัดอีกชายหนึ่งไว้ แล้วเหน็บให้แน่น.
ขอด ๑ : ก. ขมวดเป็นปม เช่น ขอดเชือก ขอดผ้า ขอดชายพก. ว. ที่ขมวด เป็นปมหรือม้วนเข้ามา เช่น หมาหางขอด.
คอม้า : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อัศวินี มี ๗ ดวง, ดาวคู่ม้า ดาวม้า ดาวอัศวยุช หรือดาวอัสสนี ก็เรียก; เรียกมีดพกปลายแหลมชนิดหนึ่งที่มีด้ามงอ เฉียงลงว่า มีดคอม้า, ประแดะ ก็เรียก.
ชายธง ๑ : น. รูปที่มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมมุมฉากหรือ สามเหลี่ยมหน้าจั่ว; ชื่อมีดพกที่มีรูปเช่นนั้น; ที่ดินซึ่ง มีรูปเช่นนั้น.
นาฬิกา : น. เครื่องบอกเวลา มีหลายชนิด เช่น นาฬิกาปลุก นาฬิกาพก นาฬิกา ข้อมือ, ลักษณนามว่า เรือน; ช่วงเวลาคิดตามชั่วโมง เช่น ๑ ชั่ว นาฬิกา = ๑ ชั่วโมง, ใช้เป็นมาตราบอกเวลา เช่น ๑ นาฬิกา ๒ นาฬิกา ... ๒๔ นาฬิกา, เขียนย่อเป็น น. (เทียบ ส. นาฑิกา ว่า เครื่องกําหนดเวลา).
ประแดะ : น. เครื่องมือของช่างทอง สําหรับเคาะสิ่วสลัก มีรูปคล้ายค้อน แต่แบน ทําด้วยเขาสัตว์; เรียกมีดพกปลายแหลมชนิดหนึ่งที่มีด้ามงอเฉียงลงว่า มีดประแดะ, คอม้า ก็เรียก.(รูปภาพ ประแดะ)
มีดชายธง : น. มีดขนาดย่อม ใบมีดเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายแหลม ยาวประมาณ ๑ คืบ ด้ามสั้น ใช้พกเป็นอาวุธ.
มีดซุย : น. มีดขนาดย่อม ใบมีดรูปร่างคล้ายปลาลิ้นหมา ปลายแหลม สันหนา คมบาง ยาวประมาณ ๑ คืบ ด้ามสั้น ใช้พกเป็นอาวุธ.
มีดสองคม : น. มีดขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายมีดพก แต่มีคมทั้ง ๒ ด้าน.
มีดสั้น : น. มีดขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายมีดพก แต่สันบางกว่า.
มีดเสือซ่อนเล็บ : น. มีดขนาดเล็ก ใบมีดแบนเรียวปลายแหลม ยาวประมาณครึ่งฝ่ามือ ชุดหนึ่งมี ๒ เล่ม ด้ามมีดทำเป็นท่อน สี่เหลี่ยมยาว มีช่องสำหรับสอดใบมีดอีกเล่มหนึ่งสวนเข้าไปเก็บไว้ ได้มิดชิด มีดทั้ง ๒ เล่มเมื่อสอดใบมีดเข้าไปในด้ามของกันและกัน แล้ว แลดูเหมือนไม้สี่เหลี่ยมท่อนสั้น ๆ ใช้พกเป็นอาวุธ.
มือปืน : น. ผู้ที่พกพาอาวุธปืนคอยคุ้มกันผู้มีอิทธิพลหรือ บุคคลสำคัญเป็นต้น, ผู้ที่รับจ้างยิงคน, ผู้ที่ยิงเขาตาย.
เม็ดมะยม : น. ปุ่มสําหรับตั้งเวลาหรือบางทีก็ใช้ไขลานนาฬิกาข้อมือหรือนาฬิกาพกด้วย; ปุ่มมีลักษณะเป็นพู ๆ โดยรอบคล้ายลูกมะยม สำหรับมือจับปิดเปิดประตูตู้หรือลิ้นชัก.
วณิพก : [วะนิบพก, วะนิพก] (แบบ) น. วนิพก. (ป. วณิพฺพก, วนิพฺพก; ส. วนีปก, วนียก).
วนิพก : [วะนิบพก, วะนิพก] น. คนขอทานโดยร้องเพลงหรือดีดสีตีเป่า ให้ฟัง, ใช้ว่า วณิพก หรือ วันนิพก ก็มี. (ป. วนิพฺพก).
วิทยุติดตามตัว : น. การกระตุ้นเตือนผู้พกพาเครื่องรับวิทยุที่ใช้ ติดตัวโดยทางคลื่นวิทยุ ซึ่งกระทำผ่านข่ายโทรศัพท์สาธารณะ การกระตุ้นเตือนอาจประกอบด้วยเสียงพูดหรือรหัสที่มองเห็นได้ ซึ่งส่งมาจากผู้กระตุ้นเตือนหรือจากข่ายโทรศัพท์สาธารณะ.
ศักดินา : น. (โบ) อํานาจปกครองที่นา คิดเป็นจำนวนไร่ต่างกัน ตามศักดิ์ของแต่ละคน เช่น พระโหราธิบดี เจ้ากรมโหรหน้า มี ศักดินา ๓,๐๐๐ ไร่ ยาจก วรรณิพก ทาษ ลูกทาษ มีศักดินา ๕ ไร่. (สามดวง); (ปาก) คำประชดเรียกชนชั้นสูงหรือผู้ดีมีเงินว่า พวกศักดินา.
ศาสนูปถัมภก : [สาสะนูปะถําพก, สาดสะนูปะถําพก] น. ผู้ ทะนุบํารุงศาสนา, ถ้าใช้แก่พระมหากษัตริย์ เรียกว่า องค์ เอกอัครศาสนูปถัมภก. (ส. ศาสนูปสฺตมฺภก; ป. สาสนูปตฺถมฺภก).
สมุดรายงาน : น. สมุดบันทึกผลการเรียนและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของนักเรียน, เดิมเรียกว่า สมุดพก.
อุปถัมภก : [อุปะถําพก, อุบปะถําพก] น. ผู้คํ้าจุน, ผู้ค้ำชู, ผู้สนับสนุน, ผู้เลี้ยงดู. (ป. อุปตฺถมฺภก; ส. อุปสฺตมฺภก).
วกวน : ก. ลดเลี้ยวไปมา, คดไปคดมา, เช่น ทางเข้าออกวกวน, อ้อมไปอ้อมมา, ย้อนไปย้อนมา, เช่น ให้การวกวน เขียนหนังสือ วกวนอ่านไม่เข้าใจ.
กระบั้วกระเบี้ย : ว. กระปั้วกระเปี้ย, กะปลกกะเปลี้ย, เดินไม่คล่องแคล่ว (อย่างผู้รื้อไข้).
ยวกสา : [ยะวะกะสา] น. นํ้าประสานดีบุก.
อาชีวก : [วก] น. นักบวชนิกายหนึ่งนอกพระพุทธศาสนาในครั้งพุทธกาล. (ป., ส.).
วฤก : [วฺรึก] (แบบ) น. หมาป่า. (ส. วฺฤก; ป. วก).
กระเบน : น. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลําตัวแบนลงมาก ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้าย เกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้าง ออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัว เป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจาก ส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับ โพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอน ใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทง จะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด; เรียกชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บ ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว ว่า ชายกระเบน หรือ หางกระเบน; โคนหางช้าง เช่นผูกกระเบนสักหลาดถกล สัปทนแดงกางกั้ง. (กฐินพยุห).
-กระเบี้ย : ใช้เข้าคู่กับคํา กระบั้ว เป็น กระบั้วกระเบี้ย.
กระปั้วกระเปี้ย : ว. กระบั้วกระเบี้ย, กะปลกกะเปลี้ย, ไม่คล่องแคล่ว, ไม่แข็งแรง.
กระโหม : [-โหมฺ] (กลอน) ก. โหม เช่น ศัพท์ส้าวกระโหมโครม. (บุณโณวาท).
เขียนด้วยมือลบด้วยตีน : (สํา) ก. ยกย่องแล้วกลับทําลายในภายหลัง.
แขวก : [แขฺวก] น. ชื่อนกชนิด Nycticorax nycticorax ในวงศ์ Ardeidae ซึ่งเป็น วงศ์เดียวกับนกยาง หัวค่อนข้างโต คอสั้น ขาสั้นกว่านกยางชนิดอื่น ลําตัวส่วนบนสีเขียวอมเทา ท้ายทอยมีเปียสีขาว ๒-๓ เส้น ลําตัว ส่วนล่างสีขาว อยู่เป็นฝูง กินปลาและสัตว์เล็ก ๆ หากินในเวลากลางคืน.
คดเคี้ยว : ว. คดไปคดมา, ลดเลี้ยว, วกไปวกมา.
แควก : [แคฺวก] ว. เสียงดังอย่างเสียงผ้าขาด.
เถรวาท : [เถระวาด] น. ลัทธิที่ถือตามคติซึ่งพระเถระพุทธสาวกได้ทํา สังคายนาไว้, หินยาน หรือ ทักษิณนิกาย ก็ว่า. (ป.).
ธงสามเหลี่ยม : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์กฤติกา มี ๘ ดวง, ดาวกฤตติกา ดาวกัตติกา หรือ ดาวลูกไก่ ก็เรียก.
พับผ้า : น. เรียกทางหลวงที่วกไปวกมาว่า ทางพับผ้า.
พายเรือในหนอง, พายเรือในอ่าง : (สํา) ก. คิด ทํา หรือพูดวกวน กลับไปกลับมา.