พยากรณ์ : [พะยากอน] ก. ทํานายหรือคาดการณ์โดยอาศัยหลักวิชา. น. ชื่อคัมภีร์ โหราศาสตร์ว่าด้วยการทํานาย. (ป., ส. วฺยากรณ).
วยากรณ์ : น. พยากรณ์. (ป., ส. วฺยากรณ).
ปฏิปุจฉาพยากรณ์ : น. การจําแนกธรรมหรือพยากรณ์ปัญหาธรรมด้วยวิธีย้อนถาม. (ป.).
วิภัชพยากรณ์ : น. การพยากรณ์หรืออธิบาย โดยจําแนกธรรมแต่ละ หัวข้อตามเหตุและผลแห่งธรรมนั้น ซึ่งคํานึงถึงนิสัยของผู้ฟังเป็นที่ตั้ง.
สถาปนียพยากรณ์ : [นียะ] น. การจําแนกธรรมหรือพยากรณ์ปัญหาธรรมโดยอาการนิ่ง.
เอกังสพยากรณ์ : [สะพะยากอน] น. ''การพยากรณ์โดยส่วนเดียว'' หมายถึง การ พยากรณ์เด็ดขาดเพียงสถานเดียวโดยไม่มีข้อแม้ เช่น พราหมณ์ โกณฑัญญะพยากรณ์สิทธัตถราชกุมารว่าจะต้องออกบวชและ ตรัสรู้เป็นศาสดาเอกของโลกอย่างแน่นอน จัดเป็น เอกังสพยากรณ์, การตอบปัญหาที่ผู้ถามถามอย่างชัดเจนสามารถตอบได้อย่าง แจ่มแจ้งทันที.
พยางค์ : [พะยาง] น. ส่วนของคำที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ เช่น กะ มี ๑ พยางค์ กระเป๋า มี ๒ พยางค์ พยากรณ์ มี ๓ พยางค์.
ญาณศาสตร์ : [ยานะสาด, ยานนะสาด] น. ตําราพยากรณ์. (ป. ?าณ + ส. ศาสฺตฺร).
ปฏิปุจฉาวาที : น. ผู้จําแนกธรรมหรือพยากรณ์ปัญหาธรรมด้วยวิธีย้อนถาม. (ป.).
เมฆ : [เมก] น. ไอนํ้าที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนลอยอยู่ในอากาศ. (ป., ส.). เมฆคลุ้ม, เมฆมาก (อุตุ) น. ปริมาณเมฆมากกว่า ๗ ใน ๘ ในท้องฟ้า ซึ่งสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า ใช้ในการพยากรณ์อากาศ. เมฆา, เมฆินทร์, เมฆี (กลอน) น. เมฆ.
เมฆฉาย : [เมก-] น. เงาเมฆ, เมฆที่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปต่าง ๆ เนื่องจากการยกเมฆ เป็นนิมิตให้สามารถพยากรณ์ได้ว่าร้ายหรือดี เช่น ภาวนาเขม้นเห็นเมฆฉาย นิมิตเป็นรูปนารายณ์เรืองศรี. (ขุนช้างขุนแผน); การอธิษฐานโดยบริกรรม ด้วยมนตร์เชื่อกันว่าจะทําให้เงาของคนเจ็บลอยขึ้นไปในอากาศ แล้วพิจารณาดูว่า คนเจ็บนั้นเป็นโรคอะไร.
สถาปนียวาที : [นียะ] น. ผู้จําแนกธรรมหรือพยากรณ์ปัญหาธรรมโดยการนิ่ง.
โหร : [โหน] น. ผู้พยากรณ์โดยอาศัยการโคจรของดวงดาวเป็นหลัก; ผู้ให้ฤกษ์ และพยากรณ์โชคชะตาราศี. (ส., ป. โหรา).
โหราศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยการพยากรณ์โดยอาศัยการโคจรของดวงดาว เป็นหลัก.