Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พยางค์ , then พยางค, พยางค์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พยางค์, 48 found, display 1-48
  1. พยางค์ : [พะยาง] น. ส่วนของคำที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ เช่น กะ มี ๑ พยางค์ กระเป๋า มี ๒ พยางค์ พยากรณ์ มี ๓ พยางค์.
  2. ภาษาคำควบมากพยางค์ : น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการประกอบ หน่วยคำหลาย ๆ หน่วยเข้าเป็นคำเดียวกัน ทำให้คำหนึ่ง ๆ มีความยาว หลายพยางค์ เช่น ภาษาเวลส์ ภาษาเอสกิโม ภาษาอินเดียนแดง. (อ. polysynthetic language).
  3. กุมารลฬิตา : [กุมาระละลิตา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๒ คณะ คือ ช คณะ และ ส คณะ และเติมครุข้างท้ายอีก ๑ คำ หรือ ๑ พยางค์ จึงมีบาทละ ๗ คำ หรือ ๗ พยางค์ (ตามแบบว่า กุมารลฬิตาชฺสฺคา) ตัวอย่างว่า อนึ่งนุชมีจิต สนิทกรุณะเปรมปรี ดิสวามิมะนะภักดี ภิบาลบมิอนาทร. (ชุมนุมตำรากลอน).
  4. กุสุมวิจิตร : น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๔ คณะ คือ น คณะ ย คณะ น คณะ ย คณะ บาทละ ๑๒ คำ หรือ ๑๒ พยางค์ (ตามแบบว่า นยสหิตานฺยา กุสุมวิจิตฺตา) ตัวอย่างว่า จะรจิตรอรรถา ปิสุณวจีขวน พิปริตญาณยล บรชนทำลาย. (ชุมนุมตำรากลอน).
  5. กุสุมิตลดาเวลลิตา : [กุสุมิตะละดาเวนลิตา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๖ คณะคือ ม คณะ ต คณะ น คณะ ย คณะ ย คณะ ย คณะ บาทละ ๑๘ คำ หรือ ๑๘ พยางค์ (ตามแบบว่า โม โต โน โย ยา กุสุมิตลตาเวลฺลิตากฺขุตฺวสีหิ) ตัวอย่างว่า มนตรีมาตย์ผู้ฉลาดมละ ทุจริตธรรม์ พึงผดุงสรร- พสิ่งสวัสดิ์. (ชุมนุมตำรากลอน).
  6. คณ-, คณะ : [คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อ การอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่า ซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะ อักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรอง แต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะแต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
  7. ธาตุมมิสสา : [ทาตุมมิดสา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๓ คณะ คือ ม ภ ต คณะ กับลงท้ายเป็นครุอีก ๒ พยางค์ (ตามแบบว่า ธาตุมฺมิสฺสา ยติ สา มฺภา ตคา โค) ตัวอย่างว่า จักสําแดงมิตร สุจริตจิตนามขนาน บัญญัติคือสมาน สุขทุข เสมอประดุจกัน. (ชุมนุมตํารากลอน).
  8. ลหุ : [ละ–] ว. เบา; เร็ว, ฉับไว; ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ ที่มีเสียงเบา ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัว สะกด เช่น จะ มิ ดุ, ใช้เครื่องหมาย ? แทน, คู่กับ ครุ ซึ่งใช้ เครื่องหมาย ?แทน.
  9. โศลก : [สะโหฺลก] น. คําประพันธ์ในวรรณคดีสันสกฤต ๔ บาท เป็น ๑ บท ตามปรกติมีบาทละ ๘ พยางค์ เรียกว่า โศลกหนึ่ง เช่น กามโกฺรธวิยุกฺตานามฺ ยตีนำ ยตเจตสามฺ อภิโต พฺรหฺมนิรฺวาณมฺ วรฺตเต วิทิตาตฺมนามฺ ผู้บำเพ็ญพรต พรากจากกามและโกรธ ข่มใจได้ รู้แจ้งอาตมัน ย่อมมีนิพพานคือ พรหมโดยทั่วไป. (ศรีมัทภควัทคีตา), บทสรรเสริญยกย่อง; ชื่อเสียง, เกียรติยศ.
  10. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  11. กก ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกดว่า แม่กก หรือ มาตรากก.
  12. กง ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด ว่า แม่กง หรือ มาตรากง.
  13. กด ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด ว่า แม่กด หรือ มาตรากด.
  14. กน ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด ว่า แม่กน หรือ มาตรากน.
  15. กบ ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด ว่า แม่กบ หรือ มาตรากบ.
  16. กม ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด ว่า แม่กม หรือ มาตรากม.
  17. กรร- ๓ : [กัน-] ใช้เป็นพยางค์หน้า (ซึ่งโบราณเขียนเป็น กนน หรือ กัน ก็มี) แทน กระ เช่น กรรชิง - กันชิง - กระชิง, กรรเช้า - กรนนเช้า - กระเช้า, กรรเชอ - กนนเชอ - กระเชอ, กรรโชก - กันโชก - กระโชก, กรรพุ่ม - กระพุ่ม, กรรลึง - กระลึง.
  18. กระ ๔ : ใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กํา กุ ข ต ส เช่น กบิล - กระบิล, กําแพง - กระแพง, กุฎี - กระฎี, ขจัด - กระจัด, ตวัด - กระหวัด, สะท้อน - กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล - กระกูล, ตระลาการ - กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคําโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม - กระซุ้ม, โดด - กระโดด, พุ่ม - กระพุ่ม, ยาจก - กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทํา - กระทํา, ทุ้ง - กระทุ้ง, เสือกสน - กระเสือกกระสน. (๔) ย้าหน้าคําอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.
  19. เก็บ ๒ : น. เรียกวิธีการบรรเลงเครื่องดนตรีดำเนินทำนองทั่วไป ที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกให้มีพยางค์ถี่ขึ้นมากกว่าทำนอง เนื้อเพลงธรรมดาว่า ทางเก็บ.
  20. เกย ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด ว่า แม่เกย หรือ มาตราเกย.
  21. คระ ๒ : [คฺระ] ใช้แทน กระ ที่เป็นพยางค์หน้า เช่น คระหน คระหาย คระโหย.
  22. ครุ ๒ : [คะรุ] ว. หนัก, ใช้ในตําราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระอำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์ที่มี ตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย ?แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้ เครื่องหมาย ? แทน. (ป. ครุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง; ส. คุรุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง).
  23. คำ ๒ : น. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็ก ที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคําอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คํานาม คํากริยา คําบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือ บาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคําหนึ่ง, ลักษณนามบอกจําพวกของเคี้ยว ของกิน เช่น ข้าวคําหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคํากลอนว่า คําหนึ่ง.
  24. คำกร่อน : (ไว) น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็น อักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออก เสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม เป็น คระ โครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็น เสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ.
  25. จัตวาทัณฑี : น. ชื่อโคลง ๔ ชนิดหนึ่ง ซึ่งบาท ๒ ใช้พยางค์ที่ ๔ สัมผัส เช่น ท้าวไทยนฤเทศข้า ขับหนี ลูกราชสีพีกลัว ไพร่ฟ้า พลเมืองบดูดี ดาลเดียด กระเหลียดลับลี้หน้า อยู่สร้างแสวงบุญ. (ชุมนุมตำรากลอน). จัตวาศก น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๔ เช่น ปีจอ จัตวาศก จุลศักราช ๑๓๔๔.
  26. ฉีกคำ : ก. แยกพยางค์ของคำให้อยู่คนละวรรคหรือคนละบรรทัด มักใช้ใน คำประพันธ์.
  27. ชร ๓ : [ชฺระ] เป็นพยางค์หน้าของคําที่ตั้งต้นด้วยตัว ช ในบทกลอน เช่น ชทึง เป็น ชรทึง.
  28. ชระ ๒ : [ชฺระ] เป็นพยางค์หน้าของคําในบทกลอน เช่น ชระงม ชระง่อน.
  29. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  30. ทางเก็บ : น. การบรรเลงที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกให้มีพยางค์ถี่ขึ้น กว่าทำนองเนื้อเพลงธรรมดา, ลูกเก็บ ก็ว่า.
  31. นาง ๒ : ใช้แทนคําว่า อี ที่เป็นพยางค์ต้นของบางคําเพื่อความสุภาพ เช่น นางรม
  32. นิ : (โบ) ใช้เสริมคําให้พยางค์สละสลวยขึ้น เช่น สนุกนิ สํานักนิ.
  33. นุ ๒ : (โบ) ใช้เสริมแทรกเพื่อให้พยางค์สละสลวย เช่น พฤกษในนุพงไพร. (สมุทรโฆษ).
  34. บทบูรณ์ : [บดทะ-] น. คําที่ทําให้บทประพันธ์ครบพยางค์ตาม ฉันทลักษณ์ ไม่สู้มีความหมายอะไร เช่น แต่งอเนกนุประการ คํา ''นุ'' เป็นบทบูรณ์. (ป. ปทปูรณ).
  35. บัง ๒ : คําพยางค์หน้า เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ ก วรรค เช่น บังเกิด บังควร บังคับ หรือเมื่ออยู่หน้าเศษวรรค เช่น บังวาย บังหวน บังอาจ, เมื่อ อยู่หน้าพยัญชนะ จ วรรค หรือ ต วรรค แปลงเป็น บัน เช่น บันเจิด บันโดย, เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ ป วรรค เขียนเป็นสระอํา เช่น บําเพ็ญ.
  36. บังคับครุ : น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มี เสียงหนัก คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวทั้งที่มีตัวสะกด และไม่มีตัวสะกด เช่น มา ดี ขาว สาย พยางค์ที่ประกอบด้วยสระ สั้นที่ออกเสียงอย่างมีตัวสะกดทั้ง ๔ คือ อํา ใอ ไอ เอา เช่น รํา ใจ และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น จัด เรียน.
  37. บังคับโท : น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์หรือ คําที่มีรูปวรรณยุกต์โท.
  38. บังคับลหุ : น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มี เสียงเบา คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น จะ ติ แพะ.
  39. บังคับเอก : น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์หรือ คําที่มีรูปวรรณยุกต์เอก และบรรดาคําตายทั้งสิ้นในโคลงและร่ายใช้ แทนเอกได้.
  40. : พยัญชนะตัวที่ ๒๗ เป็นพวกอักษรกลาง เป็นตัวสะกดในแม่กบ ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น บาป เนปจูน, ตัว ป ตัว ป ที่ขึ้นต้นของคําหรือพยางค์ในภาษาบาลีและสันสกฤต มักแผลงมาเป็นตัว บ ในภาษาไทย เช่น ปท ปิตา เป็น บท บิดา.
  41. ภาษาคำโดด : น. ภาษาแบบที่ใช้คำที่มีลักษณะโดด ๆ คือ ไม่มีการเปลี่ยน แปลงรูปไปตามหน้าที่หรือตามความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์เกี่ยวเนื่อง กับคำอื่น คำในภาษาคำโดดมักจะมีพยางค์เดียวเป็นส่วนมาก แต่ก็มีคำ สองพยางค์และหลายพยางค์ด้วย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม. (อ. isolating language).
  42. มาลินี : น. ชื่อฉันท์ชนิดหนึ่ง บาทหนึ่งมี ๑๕ พยางค์; ผู้แต่งด้วยพวงดอกไม้ (เฉพาะเพศหญิง). (ป., ส.).
  43. แม่ : น. หญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คําที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่; คําใช้นําหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน; ผู้หญิงที่กระทํากิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทําครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคน ผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จํากัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง; คํายกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจําพวกสิ่งที่สําหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คําหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คําหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คําหรือพยางค์ ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.
  44. ยติภังค์ : น. โทษของฉันท์อย่างหนึ่ง คือ คําไม่หมดตรงที่กําหนดไว้ตาม ข้อบังคับ แต่เลยไปวรรคหลัง เช่น ปางเมื่อพระองค์ปรมพุท ธวิสุทธ ศาสดา; เครื่องหมายขีดสั้น ใช้เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าพยางค์หน้ากับ พยางค์หลังนั้นติดกันหรือเป็นคําเดียวกัน ตัวที่เขียนแยกนั้นจะอยู่ใน บรรทัดเดียวกันหรือคนละบรรทัดก็ได้, เขียนเป็น ยัติภังค์ ก็มี.
  45. ลูก : น. ผู้มีกําเนิดจากพ่อแม่ หรือโดยปริยายถือว่ามีฐานะเสมือนลูก, คํา ที่พ่อแม่เรียกลูกของตนโดยตรง หรือเรียกเด็กอื่นหรือผู้เยาว์กว่าผู้พูด หลายปีด้วยความรู้สึกรักและเอ็นดู เช่น ลูกกินยาเสียซิ, คําที่ลูกใช้ แทนชื่อตนเวลาพูดกับพ่อแม่ด้วยความรักและเคารพ เช่น ลูกยังไม่ ง่วงนอน, เรียกสัตว์ที่ยังไม่โต เช่น ลูกแมว ลูกหมา, เรียกสิ่งที่จะสืบ เป็นพันธุ์ไม้มีลักษณะกลม ๆ ว่า ลูกไม้, ผลไม้ ก็เรียก, เมื่อกล่าวถึง ผลไม้ชนิดใดโดยเฉพาะ ซึ่งโดยมากเป็นคําพยางค์เดียวอันอาจทํา ให้เข้าใจผิดเป็นอย่างอื่นได้ ตามปรกติมักมีคํา ลูก ประกอบข้างหน้า เช่น ลูกเกด ลูกชิด, เรียกสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือโดย อนุโลมว่า ลูก เช่น ลูกกุญแจ ลูกเต๋า ลูกหิน, ลักษณนามใช้แก่ลูกไม้ หรือสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น มะม่วง๕ลูก ลูกหิน ๒ ลูก ขนมจีบ ๑๐ ลูก มะเขือยาว ๔ ลูก แป้งข้าวหมาก ๓ ลูก. ว. ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เคี่ยวกะทิเป็นลูก.
  46. ลูกเก็บ : น. การบรรเลงที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกให้มีพยางค์ถี่ขึ้น กว่าทำนองเนื้อเพลงธรรมดา, เก็บ หรือ ทางเก็บ ก็ว่า.
  47. ลูกขัด ๑ : น. วิธีบรรเลงทํานองอย่างหนึ่ง แบ่งเครื่องดนตรีเป็น ๒ พวก โดยผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงเป็นทํานอง อย่างหนึ่งแล้ว พวกหลังก็จะบรรเลงทํานองให้ผิดแผกแตกต่างไป อีกอย่างหนึ่ง และทํานองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ไม่บังคับว่าจะสั้นยาว เท่าใดหรือจะมีเพียงพยางค์เดียวก็ได้.
  48. ลูกล้อ ๒ : น. วิธีบรรเลงทํานองอย่างหนึ่ง แบ่งเครื่องดนตรีเป็น ๒ พวก โดยผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงเป็นทํานอง อย่างใด พวกหลังก็จะบรรเลงเป็นทํานองซํ้าอย่างเดียวกัน และ ทํานองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ไม่บังคับว่าจะสั้นยาวเท่าใดหรือจะมี เพียงพยางค์เดียวก็ได้.
  49. [1-48]

(0.0504 sec)