พยานบุคคล : (กฎ) ดู พยาน.
พยาน : [พะยาน] น. หลักฐานเครื่องพิสูจน์ข้อเท็จจริง, ผู้ที่รู้เห็นเหตุการณ์ หรือข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นหลักฐานเครื่องพิสูจน์ได้; (กฎ) บุคคลซึ่ง ให้การในเรื่องหรือสิ่งที่ตนได้เห็นได้ยิน หรือได้รับรู้มาโดยวิธีอื่น. (อ. witness).
บุคคล, บุคคล- : [บุกคน, บุกคะละ-, บุกคนละ-] น. คน (เฉพาะตัว); (กฎ) คนซึ่ง สามารถมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย เรียกว่า บุคคลธรรมดา; กลุ่มบุคคลหรือองค์กรซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นบุคคลอีก ประเภทหนึ่ง ที่ไม่ใช่บุคคลธรรมดา และให้มีสิทธิและหน้าที่ ตามกฎหมาย เรียกว่า นิติบุคคล. (ป. ปุคฺคล; ส. ปุทฺคล).
พยานบอกเล่า : (กฎ) น. พยานบุคคลซึ่งให้การโดยตนมิได้เห็น ได้ยิน หรือรู้เรื่องมาด้วยตนเอง แต่ได้ยินหรือได้ฟังจากผู้อื่น. (อ. hearsay evidence).
ปาก : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ อยู่ที่บริเวณใบหน้า มีลักษณะ เป็นช่องสําหรับกินอาหารและใช้สําหรับเปล่งเสียงได้ด้วย; โดย ปริยายหมายถึงส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณปาก เช่น ปากเปื่อย; ขอบ ช่องแห่งสิ่งต่าง ๆ เช่น ปากหม้อ ปากไห; ต้นทางสําหรับเข้าออก เช่น ปากช่อง ปากตรอก; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือหลอดที่อยู่ ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, กระเป๋า ก็เรียก; ใช้เป็นลักษณนามของสิ่ง บางอย่างเช่นแหอวนหรือพยานบุคคล เช่น แหปากหนึ่ง อวน ๒ ปาก พยาน ๓ ปาก. ก. พูด เช่น ดีแต่ปาก.
ประจักษ์พยาน : (กฎ) น. พยานบุคคลที่เป็นผู้ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบ ข้อความเกี่ยวในเรื่องที่ให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรง.
พยานหลักฐาน : (กฎ) น. บุคคล เอกสารหรือวัตถุที่ใช้ในการยืนยัน หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริง. (อ. evidence).
หลักพยาน : น. เครื่องประกอบการพิสูจน์ ได้แก่พยานบุคคล พยานวัตถุ และพยานเอกสาร.
บุคคลที่สาม : (กฎ) ดู บุคคลภายนอก.
บุคคลผู้ไร้ความสามารถ : [บุกคน-] (กฎ) น. บุคคลใด ๆ ซึ่งไม่มี ความสามารถตามกฎหมาย หรือความสามารถถูกจํากัดโดยบท บัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความสามารถ.
บุคคลภายนอก : (กฎ) น. บุคคลที่มิได้เป็นคู่กรณีหรือคู่สัญญา แต่อาจมีสิทธิเกี่ยวข้อง, บุคคลที่สาม ก็เรียก.
บุคคลสิทธิ : [บุกคะละสิด, บุกคนละสิด] (กฎ) น. สิทธิเหนือบุคคล เช่น สิทธิของเจ้าหนี้เหนือลูกหนี้.
พยานวัตถุ : (กฎ) น. วัตถุที่อ้างเป็นพยานหลักฐาน. (อ. material evidence).
พยานเอกสาร : (กฎ) น. เอกสารที่อ้างเป็นพยานหลักฐาน. (อ. documentary evidence).
บุคคลธรรมดา : [บุกคน-] น. คน, มนุษย์ปุถุชน.
บุคคลนิติสมมติ : [บุกคนนิติสมมด] (กฎ; เลิก) น. นิติบุคคล.
แกงได : น. รอยกากบาทหรือรอยขีดเขียน ซึ่งบุคคลทําไว้เป็นสําคัญ, ในทางกฎหมาย ถ้าทําลงในเอกสารโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง ๒ คน หรือทําต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ.
ถามปากคำ : (กฎ) ก. ซักถามเพื่อให้บุคคลให้การ โดยพนักงาน สอบสวนหรือพนักงานอัยการ เช่น ถามปากคําพยาน ถามปากคํา ผู้ต้องหา, (ปาก) สอบปากคํา.
ระบุ : ก. เจาะจง เช่น ระบุชื่อผู้รับ ระบุตัวบุคคล, บ่งชื่อ, ออกชื่อเฉพาะ, เช่น ระบุชื่อพยาน; มีออกมามาก ๆ พร้อม ๆ กัน เช่น ทุเรียนระบุ เห็ดระบุ ส่าไข้ระบุ.
สอบปากคำ : ก. ซักถามเพื่อให้บุคคลให้การโดยพนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการ เช่น สอบปากคําพยาน สอบปากคําผู้ต้องหา, กฎหมายใช้ว่า ถามปากคํา.
หมายเรียก : (กฎ) น. ในคดีอาญา หมายถึง หมายสั่งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มาที่พนักงานสอบสวน หรือมาที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจชั้น ผู้ใหญ่ หรือมาศาลเนื่องในการสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณา คดีหรือการอย่างอื่น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา, ในคดีแพ่ง หมายถึง หมายซึ่งศาลออกเรียกบุคคลเข้ามาเป็น คู่ความในคดีแพ่ง หรือเรียกบุคคลมาเป็นพยาน หรือให้ส่งพยานหลักฐาน ให้ศาล; หมายที่นายอําเภอออกเรียกบุคคลที่เป็นทหารกองเกินมาตรวจ เลือกเข้าเป็นทหารกองประจําการ.
กลพยาน : [กน-] น. พยานที่ถูกวานให้ไปถามเป็นคํานับ. (สามดวง).
ซ้อมพยาน : ก. ซักซ้อมพยานว่าจะให้การต่อศาลอย่างใด จึงจะสอดคล้องต้องกันดี.
ถูปารหบุคคล : [ระหะ] น. บุคคลที่ควรนํากระดูกบรรจุสถูปไว้บูชา ได้แก่ พระพุทธเจ้าเป็นต้น. (ป.).
ทิพยพยาน : น. พยานที่ศักดิ์สิทธิ์, พยานที่เชื่อถือได้อย่างมั่นคง.
เบิกพยาน : (กฎ) ก. นําพยานมาให้ถ้อยคําต่อศาล.
ฟอกพยาน : ก. ไต่ถามไล่เลียงพยาน.
โมกษะพยาน : (กฎ) น. พยานที่พ้นแล้ว ได้แก่ พระภิกษุหรือสามเณรใน พระพุทธศาสนาซึ่งไม่จําต้องไปศาลตามหมายเรียก และแม้มาเป็นพยาน ก็ไม่ต้องสาบานตนก่อนเบิกความและจะไม่ยอมเบิกความหรือตอบ คําถามใด ๆ ก็ได้.
วันสืบพยาน : (กฎ) น. วันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยาน.
ศาสนบุคคล : น. นักบวชในศาสนา เช่น ภิกษุสามเณรเป็น ศาสนบุคคลของพระพุทธศาสนา.
สอบประวัติส่วนบุคคล : ก. ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจท้องที่ที่บุคคลซึ่ง จะบรรจุเข้ารับราชการเป็นต้นอาศัยอยู่ สอบประวัติย่อ ภูมิลำเนาครั้ง สุดท้าย และลายพิมพ์นิ้วมือเป็นต้นของบุคคลนั้น.
สอบพยาน : ก. ซักถามพยานเพื่อหาข้อเท็จจริง.
สอบสวนทวนพยาน : (สํา) ก. สอบพยาน.
สักขีพยาน : น. พยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตาตนเอง.
ปาหุไณยบุคคล : น. คนผู้ควรได้รับของต้อนรับแขก. (ป.).
รถส่วนบุคคล : น. รถยนต์นั่งที่เอกชนเป็นเจ้าของ.
อภัพบุคคล : [อะพับพะบุกคน] น. คนไม่สมควร. (ป. อภพฺพปุคฺคล).
อเสกขบุคคล, อเสขบุคคล : [อะเสกขะ, อะเสขะ] น. ผู้ที่ไม่ต้อง ศึกษาอีก หมายถึง พระอรหันต์.
อเสขบุคคล, อเสกขบุคคล : [อะเสขะ, อะเสกขะ] น. ผู้ที่ไม่ต้อง ศึกษาอีก หมายถึง พระอรหันต์.
เอกบุคคล, เอกบุรุษ : [เอกกะบุกคน, เอกะบุกคน, เอกกะบุหฺรุด, เอกบุหฺรุด] น. คนเยี่ยมยอด, คนประเสริฐ.
คนนอก : น. บุคคลผู้ไม่มีส่วนร่วมหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง, บุคคล ซึ่งไม่ใช่สมาชิก.
บรรพบุรุษ : ( น. ผู้เป็นต้นวงศ์ตระกูลซึ่งมีผู้สืบสายโลหิตมา, บุคคล ที่นับตั้งแต่ปู่ย่าตายายขึ้นไป.
คู่กรณี : น. ผู้ที่เกิดพิพาทกัน; (กฎ) บุคคล ๒ ฝ่ายซึ่งมีส่วนเกี่ยวพันกัน ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง.
คู่พิพาท : (กฎ) น. บุคคล ๒ ฝ่ายซึ่งมีกรณีโต้แย้งกัน.
คู่สัญญา : (กฎ) น. บุคคล ๒ ฝ่ายหรือหลายฝ่ายซึ่งมีความผูกพันตามสัญญา.
ปุคละ : [ปุกคะ-] (แบบ) น. บุคคล. (ป. ปุคฺคล).
ผู้ญาณ : (โบ) น. พยาน.
พญาณ : [พะยาน] (โบ) น. พยาน.
ราย : น. เรื่อง ส่วน บุคคล หรือสิ่งซึ่งแยกกล่าวเป็นอย่าง ๆ ไป เช่น พิจารณา เป็นราย ๆ ไป แต่ละราย รายนี้เข้าที่ไหนบ่อนแตกที่นั่น, ลักษณนาม ใช้แก่สิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น อุบัติเหตุ ๓ ราย เขามีลูกหนี้หลายราย. ว. ที่แยกเป็นลําดับหรือเป็นระยะต่อเนื่องกัน เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสารรายเดือน ค่าอาหารคิดเป็นรายหัว ถามเป็นรายบุคคล, ที่เรียงกัน เป็นแถวเป็นระยะ ๆ เช่น ศาลาราย เจดีย์ราย.
สักขี ๑ : น. พยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตาตนเอง, มักใช้เข้าคู่กับคํา พยาน เป็น สักขีพยาน. (ป.; ส. สากฺษี).