พรม ๑ : [พฺรม] น. เครื่องลาดทําด้วยขนสัตว์, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นบาง ชนิดที่ใช้ปูลาดว่า พรม เช่น พรมนํ้ามัน พรมกาบมะพร้าว; เรียก ด้ายที่ทําด้วยขนสัตว์หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า ไหมพรม; ตุ้มสําหรับหยั่งนํ้าตื้นลึกเมื่อเรือเดินใกล้ฝั่ง; ไม้สําหรับ ยึดกันครากมีกรอบถือเป็นต้น.
พรม ๒ : [พฺรม] ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะเป็นน้ำประโปรยให้กระจายเป็นเม็ดเล็ก ๆ เช่น เอาน้ำพรมผ้า พรมน้ำมนต์.
พรม ๓ : ดู หนามพรม.
พรม ๔ : ดู นางเกล็ด.
พรมทาง : น. พรมเล็ก ๆ ยาว ๆ ที่ใช้ปูเป็นลาดพระบาทหรือทางเดิน.
พรมมิ : [พฺรม] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Bacopa monniera (L.) Weltst. ในวงศ์ Scrophulariaceae ชอบขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ดอกสีขาวหรือม่วงอ่อน ใช้ทํายาได้.
พรมน้ำมัน : น. เครื่องลาดชนิดหนึ่ง ทําด้วยผงไม้ก๊อกผสมนํ้ามัน ลินสีด สี และสารเคมีที่ทําให้นํ้ามันลินสีดแห้งแข็งตัวเร็ว แล้วอัดให้ เป็นแผ่น ใช้แผ่นสักหลาดเนื้อหยาบชุบแอสฟัลต์อัดทับด้านหนึ่งแล้ว จึงอบให้ร้อนจนแข็งตัวแห้งสนิททั้งแผ่น จึงนํามาตกแต่งอีกด้านหนึ่ง ให้มีผิวเรียบเป็นมัน, เสื่อนํ้ามัน ก็เรียก.
พรมนิ้ว : ก. ประนิ้วรัวที่เครื่องดนตรีบางชนิด มีซอและขลุ่ยเป็นต้น.
หนามพรม : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Carissa cochinchinensis Pierre ในวงศ์ Apocynaceae ต้นมีหนามแข็ง, พรม ก็เรียก.
ไหมพรม : น. ด้ายที่ทำด้วยขนสัตว์หรือสิ่งอื่นที่คล้ายคลึงเช่นนั้น.
นางเกล็ด : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Thynnichthys thynnoides ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัว เพรียวแบนข้างเล็กน้อย ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด เกล็ดเล็ก เฉพาะบนเส้นข้างตัวมี ๕๘-๖๕ เกล็ด พื้นลําตัวสีเงินเป็นประกาย พบ ทั่วไปแต่มีชุกชุมในเขตภาคกลางของประเทศไทย ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, เกล็ดถี่ พรม หรือ ลิง ก็เรียก.
ผืน : น. เรียกสิ่งที่มีลักษณะแบนเป็นแผ่นอย่างผ้า หนังหรือเสื่อ เป็นต้น มีขนาดเต็มตามกําหนดและอาจม้วนหรือพับได้เช่นผ้านุ่ง ผ้าห่ม เสื่อ พรม และหนัง ว่า ผืนผ้า ผืนหนังเป็นต้น; ใช้เป็นลักษณนาม เช่น ผ้า ๓ ผืน เสื่อ ๒ ผืน; ''เรียกแผ่นดินทั้งหมดหรือส่วนใด ส่วนหนึ่ง เช่น ผืนแผ่นดิน แผ่นดินผืนนี้ ที่ดินผืนนั้น.
เจียม ๑ : น. เครื่องลาดลักษณะเหมือนพรม ทําด้วยขนสัตว์ชนิดหนึ่งในจําพวก กวาง มีอยู่ทางเหนือของประเทศจีน. (เทียบ ข. เจียม ว่า แกะ).
ดาด ๑ : ก. เอาวัตถุเช่นผ้าเป็นต้นขึงหรือปิดบังให้ทั่วตอนเบื้องบน เช่น ดาดเพดาน ดาดหลังคา, ถ้าปูตอนล่างเช่นพื้นเรือนเป็นต้น เรียกว่า ลาด เช่น ลาดเสื่อ ลาดพรม. ว. ไม่ชัน เช่น หลังคาดาด.
พรมแดน : [พฺรม] น. ขีดขั้นเขตแดน, แดนต่อแดน. (ข. พฺรํแฎน).
พรหม, พรหม : [พฺรม, พฺรมมะ] น. ชื่อพระเป็นเจ้าผู้สร้างโลกตามศาสนาพราหมณ์, เทพในพรหมโลกจําพวกมีรูป เรียก รูปพรหม มี ๑๖ ชั้น จําพวกไม่มี รูป เรียก อรูปพรหม มี ๔ ชั้นตามคติพระพุทธศาสนา, ในบทกลอน ใช้ว่า พรหมัน พรหมา พรหมาน หรือ พรหมาร ก็มี; ผู้มีพรหมวิหาร ทั้ง ๔ (เช่น บิดามารดามีพรหมวิหารทั้ง ๔ ต่อบุตร ได้ชื่อว่า เป็นพรหม ของบุตร). (ป., ส. พฺรหฺม).
พรหมเรขา, พรหมลิขิต : [พฺรมมะ, พฺรม] น. อํานาจที่กําหนดความ เป็นไปของชีวิต (ถือกันว่า พระพรหมเขียนไว้ที่หน้าผากของเด็กซึ่ง เกิดได้ ๖ วัน). (ส.).
พรหมวิหาร : [พฺรมมะ, พฺรม] น. ธรรมของพรหมหรือของท่าน ผู้เป็นใหญ่ มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. (ป.).
พรหมสี่หน้า : [พฺรม] น. ชื่อกระบวนมวยท่าหนึ่ง, ชื่อกระบวนรํา ท่าหนึ่ง.
พัน ๒ : ก. วนรอบด้วยสิ่งที่เป็นเส้นสายหรือสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น พันคอ พันแผล เถาวัลย์พันกิ่งไม้, ม้วน เช่น พันไหมพรม, รัดโดยรอบ เช่น พันแข้ง, เกี่ยวกันไปมา, เกี่ยวกันยุ่งเหยิง, เช่น ด้ายพันกัน.
พิธีจุ่ม : น. พิธีจุ่มหัวหรือตัวลงในนํ้า หรือใช้นํ้าเสกพรมศีรษะเพื่อ รับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน, ศีลล้างบาป ก็เรียก, เดิมเรียกว่า ศีลจุ่ม.
เม่า ๑ : น. เรียกข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัดเอามาคั่วแล้วตําให้แบนว่า ข้าวเม่า, ข้าวเม่าที่เอามาคั่วให้กรอบ เรียกว่า ข้าวเม่าราง นิยมกินกับน้ำกะทิ, ข้าวเม่า รางทอดแล้วใส่เครื่องปรุง มีกุ้งแห้งทอด ถั่วลิสงทอด เต้าหู้ทอด กระเทียมเจียว น้ำตาล เกลือ เรียกว่า ข้าวเม่าหมี่, ข้าวเม่าที่พรมน้ำเกลือให้นุ่มคลุกกับมะพร้าว ขูดแล้วโรยน้ำตาลทราย เรียกว่า ข้าวเม่าคลุก นิยมกินกับกล้วยไข่, ข้าวเม่าผสม น้ำตาล มะพร้าวขูด พอกกล้วยไข่ ชุบแป้งทอดน้ำมันให้ติดกันเป็นแพแล้วโรย ด้วยแป้งทอด เรียกว่า ข้าวเม่าทอด.
ลาด : ก. ปูแผ่ออกไป เช่น ลาดพรม ปูลาดอาสนะ, โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่มีอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถนนลาดยาง. ว. เทตํ่าหรือ เอียงขึ้นน้อย ๆ เช่น ที่ลาด.
ลาดพระบาท : น. พรมทางสำหรับปูลาดเป็นทางทรงพระดำเนิน ของพระมหากษัตริย์และพระราชินี, ในปัจจุบันใช้ปูลาดเป็นทาง ทรงพระดำเนินของพระบรมราชวงศ์ชั้นสูงด้วย.
วิเศษ : ว. ยอดเยี่ยม, เลิศลอย, เช่น อาหารร้านนี้วิเศษมาก; ยอดเยี่ยมในทาง วิทยาคมเป็นต้น เช่น ผู้วิเศษ, กายสิทธิ์, มีอำนาจหรืออิทธิฤทธิ์ในตัว, เช่น พรมวิเศษ ของวิเศษ ดาบวิเศษ. (ส.; ป. วิเสส).
ศีลล้างบาป : น. พิธีจุ่มหัวหรือตัวลงในนํ้า หรือใช้นํ้าเสกพรมศีรษะ เพื่อรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน, พิธีจุ่ม ก็เรียก, เดิมเรียกว่า ศีลจุ่ม.
หนาวดอกงิ้ว : น. ระยะเวลาที่ต้นงิ้วออกดอก ประมาณเดือนยี่ อากาศเย็น กว่าธรรมดา เช่น น้ำค้างพรมลงเฉื่อยเรื่อยเรื่อยริ้ว หนาวดอกงิ้วงิ้วออก ดอกไสว. (นิ. ประธม).