พรวด ๑ : [พฺรวด] ว. อาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็วโดยไม่ยับยั้ง เช่น เทพรวด; เสียงดังเช่น นั้น.
พรวด ๒ : [พฺรวด] (ถิ่นปักษ์ใต้, ตะวันออก) น. ชื่อผึ้งโพรง (Apis cerana) ในวงศ์ Apidae เป็นผึ้งขนาดกลาง ผึ้งงานลําตัวยาว ๐.๙๑ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๓.๕ มิลลิเมตร เมื่อกางปีกวัดจากปลายปีกยาวประมาณ ๑.๗๕ เซนติเมตร รวมตัวอยู่เป็นกลุ่ม ทํารังอยู่ในโพรงหรือตามซอก หิน ซอกหลังคาบ้านที่ปิดมิดชิด, ผึ้งรวง ก็เรียก.
พรวด ๓ : [พฺรวด] ดู กระทุ.
กะพรวดกะพราด : [-พฺรวด-พฺราด] ว. พรวด ๆ พราด ๆ, ลุกลน, ลนลาน.
จุมพรวด : น. ชื่อปลาน้ำกร่อยหลายชนิดและหลายสกุลในวงศ์ Periophthalmidae เช่น สกุล Boleophthalmus, Pseudapocryptes, Parapocryptes ชนิด B. boddarti พบตามหาดเลนหรือชายฝั่งทะเล รูปร่างและพฤติกรรม ในการเคลื่อนไหวคล้ายปลากระจัง, กำพวด กำพุด ตีน หรือ ตุมพรวด ก็เรียก.
กระทุ : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Rhodomyrtus tomentosa Wight ในวงศ์ Myrtaceae ขึ้นชุมตามป่าโปร่งทางปักษ์ใต้ ใบหนา สีเขียวแก่ ออกเป็นคู่ ๆ ตามกิ่ง บางทีออกเป็น ๓ ใบจากข้อเดียวกัน ด้านล่างของใบมีขนทึบสั้น ๆ ดอกสีชมพู สัณฐานคล้ายกุหลาบลา ขนาดเล็ก ๆ ออกตามง่ามใบ ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ ๒-๓ ดอกก็มี ผลกลม เมื่อสุกสีม่วงดํา กินได้ มีรสหอมหวาน, ทุ พรวด พลวดใหญ่ หรือ พลวดกินลูก ก็เรียก.
กระจัง ๒ : น. ชื่อปลาน้ำกร่อยชนิด Periophthalmodon schlosseri ในวงศ์ Periophthalmidae พบในบริเวณป่าชายเลน รูปร่าง การเคลื่อนไหวและความสามารถขึ้นมาพ้นน้ำได้คล้ายปลาจุมพรวด ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า มีครีบอกเป็นกล้ามเนื้อใช้ต่างตีน ช่วยครีบหาง ทํารูลึกอยู่ในเลน เคลื่อนไหวได้รวดเร็วบนผิวเลนและผิวน้ำ ปีนเกาะบนที่ชันและกระโจนเป็นห้วง ๆ ได้, เขียนเป็น กะจัง ก็มี.
กำพวด ๒ :
น. ปลาจุมพรวด เช่น แลฝั่งล้วนหลังกําพวดพราย. (เพลงยาวนายภิมเสน). (ดู จุมพรวด).
กำพุด : ดู จุมพรวด.
ทะลึ่ง : ก. ถีบตัวพรวดขึ้นมา เช่น ทะลึ่งขึ้นจากนํ้า, เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ผิดหูผิดตา เช่น ต้นไม้ทะลึ่งขึ้น; แสดงกิริยาหรือวาจาอันไม่สมควร ในเรื่องที่มิใช่ธุระของตัวหรือในเวลาที่เขาไม่ต้องการ, แสดงกิริยา หรือวาจาอาจเอื้อม ไม่รู้จักที่ตํ่าสูง.
สะอึกเข้าใส่ : ก. กรากเข้าใส่, พรวดเข้าใส่, เช่น เมื่อมีคนจะทำร้ายนาย ลูกน้องก็สะอึกเข้าใส่ทันที พอถูกฝ่ายหนึ่งชกก็สะอึกเข้าใส่.