กมเลศ : [กะมะเลด] (กลอน) น. บัว; ใจ; พระนารายณ์ เช่น ดุจองค์ สมเด็จกมเลศอันลีลาศ ลงจากชั้นสุทธาวาสบวรวิมาน. (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์). (ป., ส. กมล + ศ เข้าลิลิต; ใน สันสกฤตหมายความว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งพระลักษมี คือ พระนารายณ์ มาจาก กมลา = พระลักษมี + อีศ = เป็นใหญ่).
ตรีปวาย : [ตฺรีปะ-] น. พิธีพราหมณ์กระทํารับพระนารายณ์ ที่เรียกเป็นสามัญว่า พิธีแห่ พระนารายณ์ ซึ่งกระทําในวันแรมคํ่า ๑ ถึงแรม ๕ คํ่า เดือนยี่. (เทียบทมิฬ ติรุปปาไว).
ตรีมูรติ : ว. มีรูป ๓ คือ รูปพระพรหม รูปพระวิษณุ รูปพระศิวะ. น. ชื่อเรียกเทพเจ้า ในศาสนาพราหมณ์ มี ๓ องค์ คือ พระพรหม (พระผู้สร้าง) พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ (พระผู้รักษา) และพระศิวะหรือพระอิศวร (พระผู้ทําลาย). (ส. ตฺริมูรฺติ).
ทรง : [ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จํา เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์ มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคําที่ตาม หลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคํา เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้า นามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรง ครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นําหน้าคํากริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นําหน้าคํานามราชาศัพท์ ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระ ประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชา สามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมใช้คําว่า ทรง นําหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวาง แล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
ไวกูณฐ์ : น. ที่ประทับพระนารายณ์ เช่น ผู้สิง ณ ไวกูณฐ์. (มัทนะ). (ส.); (โบ) พระนารายณ์ ที่แบ่งภาคลงมา เช่นซึ่งจะให้นารายณ์ลงไป ก็ต้องในไวกูณฐ์อวตาร. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
จตุรภุช : [-พุด] ว. ''ผู้มี ๔ แขน'' คือ พระนารายณ์.
จักรปาณิ, จักรปาณี : น. ผู้มีจักรในมือ คือ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์. (ส.; ป. จกฺกปาณิ, จกฺกปาณี).
จัตุรภุช : ว. จตุรภุช, ''ผู้มี ๔ แขน'' คือ พระนารายณ์.
ธราธร, ธราธาร : น. ผู้ทรงโลกไว้ คือ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์. (ส.).
วิษณุ : [วิดสะนุ] น. พระนารายณ์. (ส.).
สังขกร : [สังขะกอน] น. ผู้มีสังข์อยู่ในมือคือ พระนารายณ์. (ป.).
หริรักษ์ : [หะริรัก] น. พระนารายณ์.
จักริน, จักรี : [จักกฺริน, จักกฺรี] น. ผู้มีจักร หมายถึง พระนารายณ์, ต่อมาหมายถึง พระราชาตามคติความเชื่อของไทยที่ถือว่าเป็นพระนารายณ์อวตาร. (ส. จกฺรี, จกฺรินฺ; ป. จกฺกี).