Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พระอาทิตย์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พระอาทิตย์, 53 found, display 1-50
  1. กานต์ : (แบบ) ว. เป็นที่รัก, โดยมากใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น จันทรกานต์ เป็นที่รักของพระจันทร์ ได้แก่แก้วผลึก ที่ถูกแสงจันทร์แล้วมีเหงื่อ, คู่กับ สูรยกานต์ เป็นที่รักของ พระอาทิตย์ ได้แก่แก้วที่รวมแสงอาทิตย์ให้เกิดไฟได้. (ส.).
  2. โคศัพท์ : น. วิธีฝึกหัดหารเลขโบราณ. โค ๒ น. พระอาทิตย์ เช่น โคจร = ทางเดินของพระอาทิตย์ โควิถี = ทางสำหรับโคจรของ พระอาทิตย์. (ป., ส.).
  3. จาตุรนต์รัศมี : น. ผู้มีรัศมีแผ่ไปในทิศทั้ง ๔ คือ พระอาทิตย์. (ส.).
  4. ตรีโลเกศ : น. พระวิษณุ, พระอาทิตย์. (ส. ตฺริโลเกศ).
  5. ทินกร : [ทินนะกอน] น. พระอาทิตย์. (ป., ส.).
  6. ทิพากร : น. พระอาทิตย์.
  7. พันแสง : น. ''ผู้มีแสงพันหนึ่ง'' คือ พระอาทิตย์.
  8. ภากร : น. พระอาทิตย์. (ป.).
  9. ภาณุ : น. แสงสว่าง; พระอาทิตย์. (ป.; ส. ภานุ).
  10. ภาณุมาศ : น. พระอาทิตย์. (ป. ภาณุมา; ส. ภานุมนฺตฺ).
  11. ภาสกร : [พาดสะกอน, พาสะกอน] น. พระอาทิตย์.
  12. รพิ, รพี : น. พระอาทิตย์. (ป., ส. รวิ).
  13. สหัสรังสี : [สะหัดสะ] น. พันแสง หมายถึง พระอาทิตย์. (ป. สหสฺสรํสิ).
  14. อังศุธร, อังศุมาลี : น. พระอาทิตย์. (ส.).
  15. อาภากร : น. พระอาทิตย์. (ป., ส.).
  16. อุษณกร : [กอน] น. ''ผู้กระทําความร้อน'' หมายถึง พระอาทิตย์.
  17. อุษณรุจี : ว. มีแสงอันร้อน หมายถึง พระอาทิตย์.
  18. กลางคืน : น. ระยะเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง, (กฎ) เวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกกับพระอาทิตย์ขึ้น.
  19. ไขแสง : ก. เริ่มส่องแสง เช่น พระอาทิตย์ไขแสง.
  20. โคจร, โคจร- : [-จอน, -จะระ-] น. อารมณ์ เช่น มีพุทธานุสติเป็นโคจร. (ป., ส.). ก. เดินไปตามวิถี เช่น ดวงอาทิตย์โคจร ดวงจันทร์โคจรรอบโลก, เที่ยว เช่น โคจรมาพบกัน, คํานี้โดยมากใช้แก่ดาวนพเคราะห์, เมื่อ ว่าเฉพาะทางที่พระอาทิตย์โคจร มีจุดสุดอยู่ ๖ แห่งที่อยู่ตรงข้ามกัน เป็นคู่ ๆ คือ ครีษมายัน กับ เหมายัน คู่หนึ่ง, วสันตวิษุวัต กับ ศารทวิษุวัต คู่หนึ่ง, พสุสงกรานต์ ๒ แห่ง คู่หนึ่ง. (ป., ส. โคจร ว่า การเที่ยวไป ของดวงอาทิตย์).
  21. โควิถี : น. ชื่อทางสําหรับโคจรของพระอาทิตย์. (ส. โควิถี = โคจร ของพระจันทร์ที่ผ่านดาวฤกษ์ภัทรปทา เรวดี และอัศวินี).
  22. ซัด ๒ : ก. สาดโดยแรง เช่น ซัดทราย ซัดปูน, เหวี่ยงไปโดยแรง เช่น ซัดหอก, ทอด เช่น ซัดลูกบาศก์ ซัดเชือกบาศ, อาการที่คลื่นเหวี่ยงตัวไปมา โดยแรง เช่น คลื่นซัดฝั่ง, ป้ายความผิดไปถึงคนอื่น เช่น นายดํา ซัดนายขาว, รําทิ้งแขนออกไปข้างหน้า เช่น ซัดแขน; เบน เช่น พระอาทิตย์ซัดใต้ซัดเหนือ; คําค่อนว่าหมายความว่า ห่ม เช่นว่า ซัดแพรสี.
  23. ตโมนุท : น. พระอาทิตย์, พระจันทร์. (ส. ตโมนุท ว่า ผู้ขจัดความมืด).
  24. ทิวากร : น. พระอาทิตย์; (กลอน) กลางวัน เช่น ราตรีปักษีเข้า แนบนอน ทิวากรเราแนบประจํานาง. (กากี). (ป.).
  25. เที่ยง : ว. ตรง เช่น นาฬิกาเดินเที่ยง, แน่นอน เช่น สังขารไม่เที่ยง คือ ไม่แน่นอน; ที่สะท้อนตรงกับความเป็นจริง ในคําว่า กระจกเที่ยง; แน่, แม่นยํา, ในคําว่า มือเที่ยง; เรียกเวลากึ่งกลางของกลางวันที่ พระอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะว่า เที่ยง หรือ เที่ยงวัน ตรงกับ ๑๒ นาฬิกา, เรียกเวลากึ่งกลางของกลางคืนว่า เที่ยงคืน ตรงกับ ๒๔ นาฬิกา.
  26. นิจ ๒ : ว. ตํ่า (คู่กับ อุจ ว่า สูง) ใช้แก่ดาวนพเคราะห์ เช่นว่า พระอาทิตย์ขึ้นอุจ ในเดือนเมษายน และตกนิจในเดือนตุลาคม. (ป. นีจ).
  27. ประภัสสร : [ปฺระพัดสอน] น. เลื่อม ๆ พราย ๆ, มีแสงพราว ๆ เหมือนแสง พระอาทิตย์แรกขึ้น; ผ่องใส, บริสุทธิ์ เช่น จิตประภัสสร, เขียนเป็น ประภัสร์ ก็มี เช่น ธรรมรสเรืองรองผ่องประภัสร์ เป็นมิ่งฉัตร สุขสันต์นิรันดร. (ชีวิตและงานของสุนทรภู่). (ป. ปภสฺสร).
  28. ประภากร : น. ผู้ทําแสงสว่าง คือพระอาทิตย์. (ส.).
  29. ปัด ๑ : ก. ทําให้หมดไปพ้นไปด้วยการพัดหรือโบกเป็นต้น เช่น ปัดฝุ่น ปัดแมลงวัน ปัดพิษ; เบนไป, เฉไป, เช่น พระอาทิตย์ปัดเหนือปัดใต้ ท้ายรถปัดไปทางหนึ่ง เดินขาปัด; กระทบเสียดไป เช่น กิ่งไม้ปัด หลังคา เดินเอามือปัดศีรษะ.
  30. พสุสงกรานต์ : (ดารา) น. พระอาทิตย์โคจรมาถึงจุดใกล้สุดกับโลกในราววันที่ ๔ มกราคม เรียกว่า พสุสงกรานต์เหนือ (perihelion) กับโคจรไปถึง จุดไกลสุดจากโลกในราววันที่ ๓ กรกฎาคม เรียกว่า พสุสงกรานต์ ใต้ (aphelion).
  31. แพ้ ๒ : (ไทยเดิม) ก. ชนะ เช่น อนนเรืองใสงามหนักหนา แพ้พระอาทิตย์. (จารึกสยาม).
  32. มหาสงกรานต์ : น. นักขัตฤกษ์ขึ้นปีใหม่อย่างเก่า เริ่มแต่พระอาทิตย์ย่างขึ้นสู่ราศีเมษ คือ วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์.
  33. ยึด : ก. ถือเอาไว้ เช่น ยึดราวบันไดไว้ให้ดี, เหนี่ยว, รั้ง, เช่น หนุมานยึดรถ พระอาทิตย์; เข้าครอบครอง เช่น ยึดพื้นที่, ใช้อำนาจกฎหมายรับสิ่งใด สิ่งหนึ่งมา เช่น ยึดใบขับขี่ ยึดทรัพย์.
  34. รวิ ๑, รวี : น. พระอาทิตย์, ใช้แผลงว่า รพิ รพี หรือ รําไพ ก็ได้. (ป., ส.).
  35. รอน ๆ : ว. อ่อนแสง (ใช้แก่พระอาทิตย์เวลาใกล้คํ่า) เช่น แสงตะวัน รอน ๆ, อาการที่ใกล้จะขาดหรือสิ้นสุดลง ในความว่า ใจจะขาดอยู่ รอน ๆ.
  36. ระหว่าง : น. ช่องว่างจากที่หนึ่งถึงอีกที่หนึ่ง เช่น ในระหว่างภูเขา ๒ ลูก, ระยะ เวลาจากระยะหนึ่งถึงอีกระยะหนึ่ง เช่น ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึง พระอาทิตย์ตก, เวลาช่วงใดช่วงหนึ่ง เช่น ระหว่างสงครามเขายังเรียน หนังสืออยู่, เวลาที่กําลังเป็นไปอยู่ เช่น ระหว่างประชุมฝนตกหนัก ระหว่างนี้เขาไม่ว่าง. บ. คําที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของบุคคลหรือ สถาบันเป็นต้นตั้งแต่ ๒ ขึ้นไป เช่น งานมงคลสมรสระหว่างนาย ก กับนางสาว ข แบ่งมรดกในระหว่างลูก ๆ การแข่งขันฟุตบอลระหว่าง มหาวิทยาลัย การประชุมระหว่างชาติ.
  37. รังสิมันตุ์ : (แบบ) น. ''ผู้มีแสงสว่าง'' คือพระอาทิตย์, ใช้ รังสิมา ก็ได้. (ป. รํสิมนฺตุ; ส. รศฺมิมตฺ).
  38. รุ่งแจ้ง : น. เวลาพระอาทิตย์ขึ้นสว่างแล้ว แต่ยังไม่มีแสงแดด.
  39. รุ่งเช้า : น. เวลาพระอาทิตย์เพิ่งขึ้น, เวลาระหว่างรุ่งสว่างถึงเช้า, เช้าวัน รุ่งขึ้น.
  40. ลับ ๒ : ว. ที่อยู่ในที่พ้นตา, ที่อยู่ในที่ซึ่งแลไม่เห็น, เช่น ที่ลับ ประตูลับ หายลับ, ที่ปกปิดหรือควรปกปิด เช่น ความลับ หนังสือลับ ห้องลับ, มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งบังอยู่ เช่น ของอยู่ลับฝา พระอาทิตย์ลับเหลี่ยมเขา.
  41. ศีลอด : [สีน] น. การถือบวชของชาวมุสลิม ไม่ดื่มไม่กินอะไร เลยตลอดเวลากลางวันตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก ในเดือนเราะมะฎอน อันเป็นเดือนที่ ๙ แห่งปีในศาสนาอิสลาม นับแบบจันทรคติ.
  42. สนธยา : [สนทะ] น. เวลาโพล้เพล้พลบคํ่า, บางทีใช้ว่า ยํ่าสนธยา; ช่วงเวลา ที่ต่อระหว่างกลางวันกับกลางคืน คือเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นหรือ พระอาทิตย์ตก. (ส.).
  43. สลาย : [สะหฺลาย] ก. สูญสิ้นไป เช่น ฝันสลาย เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น หมอกก็ สลายไป, ทำให้สูญสิ้นไป เช่น ใช้ยาสมุนไพรสลายพิษงู, ฉลาย ก็ว่า.
  44. อโณทัย : [อะโนไท] น. พระอาทิตย์เพิ่งขึ้น. (กร่อนมาจาก อรุโณทัย). (ป. อรุโณทย).
  45. อมาวสี, อมาวสุ, อมาวาสี : น. วันดับ, วันที่พระจันทร์และพระอาทิตย์ร่วมราศีและองศา เดียวกัน ตรงกับแรม ๑๕ ค่ำหรือแรม ๑๔ ค่ำในเดือนขาด. (ป.).
  46. อรุณ : น. เวลาใกล้พระอาทิตย์จะขึ้น มี ๒ ระยะ คือ มีแสงขาวเรื่อ ๆ (แสงเงิน) และแสงแดงเรื่อ ๆ (แสงทอง), เวลายํ่ารุ่ง. (ป., ส.).
  47. อรุโณทัย : น. เวลาตั้งขึ้นแห่งอรุณ, เวลาพระอาทิตย์เพิ่งขึ้น, เวลา เช้าตรู่, ใช้ว่า อโณทัย ก็มี. (ป.).
  48. อักกะ : น. พระอาทิตย์; ต้นรัก. (ป.; ส. อรฺก).
  49. อันโตนาที : น. ระยะเวลาโคจรของพระอาทิตย์ภายในราศีหนึ่ง ๆ โดยคิดเป็นวันใน ๑ ปี แล้วเทียบส่วนมาเป็นมหานาทีใน ๑ วัน (๑ มหานาที เท่ากับ ๒๔ นาที) เช่น อยู่ในราศีเมษ ๕ มหานาที ราศีพฤษภ ๔ มหานาที ราศีเมถุน ๓ มหานาที.
  50. อัศวิน : [อัดสะวิน] น. นักรบขี่ม้า, นักรบที่กล้าหาญ, ผู้ที่ได้รับยกย่อง ว่าเป็นคนเก่ง; ชื่อเทวดาคู่หนึ่งซึ่งทรงรถนําหน้ารถพระอาทิตย์มาก่อน เวลารุ่งสาง เป็นบิดาของนกุลและสหเทพในมหากาพย์เรื่องมหาภารตะ. (ส.).
  51. [1-50] | 51-53

(0.0066 sec)