พระเจ้าอยู่หัว : น. คําเรียกพระเจ้าแผ่นดิน.
ภาษาแบบแผน : น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียว กันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า ''ขอเดชะ...'' และลงท้ายว่า ''ควรมิควรแล้วแต่ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...'', ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคล สำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตร กิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับ พิธีการ ก็เรียก.
วันฉัตรมงคล : น.วันที่ประกอบพระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตร ซึ่ง ตรงกับวันบรม ราชาภิเษก ในรัชกาลปัจจุบันตรงกับวันที่ ๕ พฤษภาคม. วันเฉลิมพระชนมพรรษา น. วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช และสมเด็จพระบรม โอรสาธิราช.
ขอเดชะ : น. คําขึ้นต้นและคำลงท้ายในการกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ.
เฉลิมพระชนมพรรษา : [ฉะเหฺลิมพฺระชนมะพันสา] น. เรียกวันคล้ายวัน พระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันคล้ายวัน พระราชสมภพของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช และ สมเด็จพระบรม โอรสาธิราช ว่า วันเฉลิมพระชนมพรรษา.
ชุมสาย : น. เครื่องสูงชนิดหนึ่ง เป็นรูปฉัตร ๓ ชั้น มีสายไหมห้อย; เรียกพระที่นั่งสําหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระบรมราชินีประทับในงานต่าง ๆ ของทหาร ลูกเสือ และงานพิเศษบางโอกาส ลักษณะเป็นแท่น สี่เหลี่ยม ดาดด้วยหลังคาผ้าระบาย ๓ ชั้น มีสายไหม ห้อยว่า พระที่นั่งชุมสาย. (รูปภาพ ชุมสาย)
ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท : (ราชา) ก. รู้ (ใช้กราบทูลพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ).
ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย : (ราชา) ก. ถวาย (ใช้แก่ของที่ยกได้ที่ถวาย แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จ พระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี), ในการเขียนใช้ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย หรือ ทูลเกล้าฯ ถวาย ก็ได้.
น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย : (ราชา) ก. ถวาย (ใช้แก่ของที่ยกไม่ได้ หรือนับไม่ได้ที่ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรม ราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินีสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระ ยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี), ในการเขียนใช้ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย หรือ น้อมเกล้าฯ ถวาย ก็ได้.
ปรมาภิไธย : [ปะระมาพิไท, ปอระมาพิไท] น. ชื่อ (ใช้เฉพาะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) เช่น ในพระปรมาภิไธย ทรงลง พระปรมาภิไธย. (ป. ปรมาภิเธยฺย).
ฝนหลวง : น. ฝนเทียมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทำขึ้นเพื่อบรรเทาความแห้งแล้ง.
มหาดเล็ก : น. ข้าราชการในพระราชสํานักมีหน้าที่รับใช้พระเจ้าแผ่นดิน, ผู้ที่รับใช้ประจําเจ้านาย หรือผู้ที่ถวายตัวเป็นผู้รับใช้เจ้านาย, เรียกทหารที่มีหน้าที่รักษาพระองค์ในพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชวงศ์ว่า ทหารมหาดเล็ก, เรียกเต็มว่า ทหารมหาดเล็ก รักษาพระองค์.
ยุพราช, ยุพราชา : น. รัชทายาทที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสถาปนาขึ้นเป็น ตําแหน่งสมเด็จพระยุพราช โดยพระราชทานยุพราชาภิเษกหรือโดยพิธี อย่างอื่นสุดแท้แต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ.
ราชเลขาธิการ : น. ตำแหน่งเลขานุการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.
ราชหัตถเลขา : [ราดชะหัดถะเลขา] (ราชา) น. จดหมาย (ใช้แก่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี และ พระบรมราชวงศ์ชั้นสูง)ใช้ว่า พระราชหัตถเลขา. (ป.).
สนอบ : [สะหฺนอบ] (โบ) น. เสื้อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานใช้ นุ่งห่มเฉพาะในพระราชพิธี โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ ในเวลารับแขกเมือง เป็นต้น. (ข. สฺนบ ว่า ผ้าห่อศพ).
หน้าฉาน, หน้าที่นั่ง : น. ที่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชินี เช่น อย่าเดินตัดหน้าฉาน แสดงหน้าที่นั่ง.
หน้าที่นั่ง, หน้าฉาน : น. ที่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชินี เช่น แสดงหน้าที่นั่ง อย่าเดินตัดหน้าฉาน.
หมายรับสั่ง : น. หมายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสั่งเจ้าหน้าที่ ปฏิบัติการพระราชพิธีเป็นการภายในตอนล่างสุดของหมายเขียนว่า ''ทั้งนี้ให้จัดการตามหน้าที่และกำหนดวันตามรับสั่งอย่าให้ขาดเหลือ ถ้าสงสัยให้ถามผู้รับรับสั่งโดยหน้าที่ราชการ''.