พริบ : ก. กะพริบ ในคำว่า พริบตา. ว. ฉับพลัน, ทันทีทันใด, ในความว่า ชั่วพริบตาเดียว ในพริบตาเดียว.
พริบไหว : น. ความรู้เท่าในกิจการ, ความรู้ทันท่วงที, โดยมากมักใช้ว่า ไหวพริบ.
พริบตาเดียว : ว. เร็วมาก, ทันที.
ชิงไหวชิงพริบ : ก. ฉวยโอกาสโดยใช้ไหวพริบ, คอยจ้อง ดูชั้นเชิงของอีกฝ่ายหนึ่ง.
ชี้ตาไม่กระพริบ : (สำ) ก. ดื้อมาก, สู้สายตาไม่ยอมแพ้, เช่น เหม่! ออนี่หนักหนา ชี้ตาไม่กระพริบเลย ว่าแล้วซิ ยังเฉยดื้อถือบุญ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
ไหวพริบ : น. ปัญญาไวรู้เท่าทัน, เชาวน์ไว.
พรับ : [พฺรับ] (กลอน) ก. พริบ, ขยิบ, (ใช้แก่ตา).
กำเลา : (แบบ) ว. โง่, อ่อน, ไม่รู้เท่าทัน, ไม่มีไหวพริบ, เช่น ดุจตักแตนเต้นเห็นไฟ บมิใฝ่หนีไกล กำเลากำเลาะหวังเขญ. (อนิรุทธ). (ข. กํเลา จาก เขฺลา).
เขม้น : [ขะเม่น] ก. เพ่ง, จ้องดู, มุ่งโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายผู้ได้พิจารณาว่ากล่าว บางคนก็ลำเอียงไปว่าทรัพจะได้เปนหลวง เขม้นว่ากล่าวกันโชกข่มขี่ จเอาแต่ทรัพเปนหลวงจงได้. (สามดวง), มักใช้เข้าคู่กับคำ มอง เป็น เขม้นมอง หรือ มองเขม้น, (โบ) เขียนเป็น ขเม่น ก็มี เช่น ขเม่น, คือ คนฤๅสัตวแลดูสิ่งของใด ๆ เพ่งตาดูไม่ใคร่จะกพริบ. (ปรัดเล)
เขลา : [เขฺลา] ว. ขาดไหวพริบ, รู้ไม่ถึง, รู้ไม่เท่าทัน, ไม่เฉียบแหลม, ไม่ฉลาด. (ข.).
คมคาย : ว. ฉลาด, ไหวพริบดี, ทันคน, เช่น วาจาคมคาย พูดจาคมคาย สำนวนภาษาคมคาย, มีแววฉลาด เช่น หน้าตาคมคาย.
ฉลาด ๑ : [ฉะหฺลาด] ว. เฉียบแหลม, ไหวพริบดี, ปัญญาดี. (ข. ฉฺลาต, ฉฺลาส).
ฉลาดเฉลียว : ว. มีปัญญาและไหวพริบดี, เฉลียวฉลาด ก็ว่า. (ข. ฉฺลาตเฉฺลียว, ฉฺลาสเฉฺลียว).
เฉลียว : [ฉะเหฺลียว] ก. นึกระแวงขึ้นมา เช่น ไม่เฉลียวว่าเขาจะหักหลัง, มีไหวพริบ เช่น ฉลาดแต่ไม่เฉลียว.
เฉลียวฉลาด : ว. มีปัญญาและไหวพริบดี, ฉลาดเฉลียว ก็ว่า. (ข. เฉฺลียวฉฺลาต, เฉฺลียว ฉฺลาส).
เชาวน์ : [เชา] น. ปัญญาหรือความคิดฉับไว, ปฏิภาณไหวพริบ. (แผลงมาจาก ป., ส. ชวน).
เถรตรง : (สํา) ว. ซื่อหรือตรงจนเกินไป, ไม่มีไหวพริบ, ไม่รู้จักผ่อนผัน สั้นยาว, ไม่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา.
ธีร, ธีระ : [ทีระ] น. นักปราชญ์. ว. ฉลาด, ไหวพริบ, มีปัญญา, ชํานาญ. (ป.); มั่นคง, แข็งแรง. (ส.).
นกรู้ : (สํา) น. ผู้ที่มีไหวพริบรู้เท่าทันเหตุการณ์หรือภัยที่จะมาถึงตน.
พนัน : ก. เล่นเอาเงินหรือสิ่งอื่นโดยอาศัยความฉลาด ความชำนาญ เล่ห์เหลี่ยม ไหวพริบและฝีมือ รวมทั้งโชคด้วย. น. การเล่นเช่นนั้น เรียกว่า การพนัน.
ไม้เป็น : น. ท่าสําคัญของกระบี่กระบองหรือมวยในการป้องกันตัวโดยใช้ปฏิภาณ ไหวพริบแก้ไขให้พ้นภัยจากปรปักษ์เมื่อคราวเข้าที่คับขัน, ตรงข้ามกับ ไม้เด็ด หรือ ไม้ตาย.
สอบสัมภาษณ์ : ก. สอบท่วงทีวาจาและไหวพริบพิจารณาดูชั้นเชิงและ ความสามารถของผู้เข้าสอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่.
สัมภาษณ์ : ก. สนทนาหรือสอบถามเพื่อนำเรื่องราวไปเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์หรือ วิทยุกระจายเสียงเป็นต้น เช่น เจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์สัมภาษณ์ นายกราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับความเป็นมาของราชบัณฑิตยสถาน. น. การพบปะสนทนากันในลักษณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการทราบเรื่องจาก อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อนำไปเผยแพร่ เรียกว่า ผู้สัมภาษณ์ และอีกฝ่ายหนึ่งที่ ต้องการจะแถลงข่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้สัมภาษณ์; การสอบ ท่วงทีวาจาและไหวพริบ พิจารณาดูชั้นเชิงและความสามารถของผู้เข้า สอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่ เรียกว่า สอบสัมภาษณ์. (ส. สมฺภาษณ ว่า การสนทนากัน, การพูดจาซักถามกัน; คําพูดให้ตรงกัน).
หนามแหลมไม่มีใครเสี้ยม : (สํา) น. คนที่มีปฏิภาณไหวพริบตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องมีใครสอน, มักใช้เข้าคู่กับ มะนาวกลมเกลี้ยงไม่มีใครกลึง.
หมูสนาม : น. บุคคลหรือคณะบุคคลที่ด้อยฝีมือหรือมีเล่ห์เหลี่ยมไหวพริบ ไม่ทันผู้อื่น.
หัวไว : ว. มีปฏิภาณไหวพริบดี.
อัจฉรา ๒ : [อัดฉะรา] น. นิ้วมือ; ลัดนิ้วมือหนึ่ง, เวลาประเดี๋ยวเดียว, ชั่วพริบตา. (ป.).
พรึบ, พรึ่บ : ว. กิริยาที่ทําพร้อม ๆ กันในทันทีทันใด เช่น ทหารเดินแถวตบเท้าพรึบ ดอกไม้บานพร้อมกันพรึ่บ.