Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พริ้มพราย, พริ้ม, พราย , then พรม, พราย, พริ้ม, พริ้มพราย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พริ้มพราย, 88 found, display 1-50
  1. พริ้มพราย : ว. ยิ้มแย้มดูงาม.
  2. พราย : [พฺราย] น. ผีจําพวกหนึ่ง (มักกล่าวกันว่าเป็นผีผู้หญิงที่ตายทั้งกลม); ต่อมนํ้าเล็ก ๆ ที่ผุดกระจายขึ้นจากนํ้า. ว. แวววาว, พราว, พร้อย.
  3. พริ้ม : ว. งามอย่างยิ้มแย้ม, มีหน้าตาอิ่มเอิบและดูยิ้มละไมอยู่ในหน้า, เช่น พระพุทธรูปมีพระพักตร์พริ้ม นอนหลับตาพริ้ม.
  4. กระพริ้ม : (กลอน) ว. พริ้มพราย, แฉล้ม, เช่น ดูกระพริ้มริมแดงดังแสงโสม. (นิ. เดือน).
  5. พรายแพรว : ว. เลื่อม, แวววาว, วับ ๆ วาบ ๆ, พราย ๆ, พราว, แพรวพราย แพรวพราว หรือพราวแพรว ก็ว่า.
  6. พรายกระซิบ : น. ผีพรายที่มากระซิบบอกให้ผู้ที่เลี้ยงตนรู้เหตุการณ์ ต่าง ๆ ได้แม้เกิดในที่ห่างไกล.
  7. พรายย้ำ : น. รอยดํา ๆ คล้ายถูกอะไรกัดเป็นรอยชํ้า ปรากฏตาม ร่างกายเป็นแห่ง ๆ แต่ไม่มีอาการเจ็บปวดอย่างไร โบราณถือว่า ถูกผีพรายกัดยํ้าเอา แต่ไม่ถึงกับเข้าเป็นแผล.
  8. พรายตานี : น. ผีผู้หญิงที่สิงอยู่ในต้นกล้วยตานีที่กำลังตั้งท้อง.
  9. พรายทะเล : น. แสงสว่างที่เป็นแสงเรือง ๆ อยู่ที่เสากระโดงเรือ.
  10. พรายน้ำ : น. แสงเรืองในที่มืด ปรากฏที่ตัวเลขหน้าปัดนาฬิกาหรือ ที่สวิตช์ไฟฟ้าบางชนิด เกิดขึ้นได้เพราะสิ่งเหล่านั้นฉาบหรือผสมด้วย สารเคมีที่มีสมบัติเปล่งแสงเรืองออกมาได้หลังจากที่ถูกแสงสว่างอยู่ ชั่วระยะเวลาหนึ่ง สารเคมีประเภทนี้ เช่น แคลเซียมซัลไฟด์ (CaS) แบเรียมซัลไฟด์ (BaS) ที่มีโลหะบางชนิดเจือปน.
  11. พริ้มเพรา : ว. งามแฉล้ม.
  12. แพรวพราย, แพรวพราว : ว. เลื่อม, แวววาว, วับ ๆ วาบ ๆ, พราย ๆ, พราว, เช่น แสงเพชรมีประกายแพรวพราย, พรายแพรว หรือ พราวแพรว ก็ว่า.
  13. พร้อย : [พฺร้อย] ว. ประไปทั่ว, ลายกระเป็นจุดประปราย, วาว, พราย, เช่น ลายพร้อย ด่างพร้อย.
  14. เม็ดพราย : น. กลเม็ดเด็ดพราย, วิธีที่แยบคายหรือพลิกแพลงในการพูดหรือร้องเพลงเป็นต้น.
  15. รุ้งพราย : น. สีรุ้งที่กลอกอยู่พราวพรายในเพชรหรือเปลือกหอยบางชนิด เช่นหอยมุก.
  16. เลื่อมพราย : ว. เป็นเงามันแพรวพราย.
  17. กระจัดพลัดพราย : ก. แตกฉานซ่านเซ็นไป, ไม่รวมอยู่ในพวกเดียวกัน.
  18. น้ำมันพราย : น. นํ้ามันที่ได้จากการลนปลายคางศพหญิงที่ตายทั้งกลม เชื่อว่าดีดใส่ผู้หญิง ทําให้ผู้หญิงหลงรัก.
  19. พริ้งพราย : ว. งามลออ.
  20. เพริศพราย, เพริศแพร้ว : ว. งามระยับ.
  21. เพรี้ยมพราย : ว. งามแฉล้ม.
  22. สมิงพราย : น. เจ้าผี.
  23. โหงพราย : น. ผีที่เขาปลุกเสกไว้ใช้.
  24. ประภัสสร : [ปฺระพัดสอน] น. เลื่อม ๆ พราย ๆ, มีแสงพราว ๆ เหมือนแสง พระอาทิตย์แรกขึ้น; ผ่องใส, บริสุทธิ์ เช่น จิตประภัสสร, เขียนเป็น ประภัสร์ ก็มี เช่น ธรรมรสเรืองรองผ่องประภัสร์ เป็นมิ่งฉัตร สุขสันต์นิรันดร. (ชีวิตและงานของสุนทรภู่). (ป. ปภสฺสร).
  25. พราวแพรว : ว. เลื่อม, แวววาว, วับ ๆ วาบ ๆ พราย ๆ, พราว, แพรวพราว แพรวพราย หรือ พรายแพรว ก็ว่า.
  26. เพรี้ยม : [เพฺรี้ยม] (กลอน) ว. แฉล้ม, แช่มช้อย. (อย่างเดียวกับ พริ้ม).
  27. พรม ๑ : [พฺรม] น. เครื่องลาดทําด้วยขนสัตว์, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นบาง ชนิดที่ใช้ปูลาดว่า พรม เช่น พรมนํ้ามัน พรมกาบมะพร้าว; เรียก ด้ายที่ทําด้วยขนสัตว์หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า ไหมพรม; ตุ้มสําหรับหยั่งนํ้าตื้นลึกเมื่อเรือเดินใกล้ฝั่ง; ไม้สําหรับ ยึดกันครากมีกรอบถือเป็นต้น.
  28. กรนทา : [กฺรน-] (โบ) น. ไม้คนทา (ลิปิ) เช่น กรนทาดาษดวงพรายก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน).
  29. กระกลับกลอก : (กลอน) ก. กลับกลอก เช่น มีตาดุจแก้วแสงสาย กระกลับกลอกพราย ชื่อรัตนจักษุมงคล. (ตําราช้างคําฉันท์).
  30. กระจัด ๑ : ก. ขับไล่; แยกย้ายออกไป เช่น ลูกหลานกระจัดพลัดพราย. (คาวี). (แผลงมาจาก ขจัด).
  31. กระดาษเทศ : (โบ) น. ตาดเทศ เช่น อันทําด้วยกระดาษเทศทอพราย. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  32. กระมึน : (โบ) ว. สูงค้าฟ้า, สูงเด่น, เช่น กายาศีรษะพลัดพราย หัวขาดเด็ดตาย จรลู่กระมึนเหมือนเขา. (เสือโค, บางฉบับเป็น ตระหมื้น), ตระมึน ก็ใช้, โดยมากเป็น ทะมื่น.
  33. กระลอก : [-หฺลอก] (กลอน) แผลงมาจาก กลอก เช่น พื้นบรรพตเลื่อมล้วนมณีผา กระลอกรุ่งพรุ่งพรายถึงเมฆา. (สมบัติอมรินทร์), ใช้เข้าคู่กับคํา กระลับ หรือ กระลาย เป็น กระลับกระลอก หรือ กระลายกระลอก.
  34. กระสือ ๒ : น. (๑) ชื่อเรียกเห็ดหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เรืองแสง ได้ในเวลากลางคืน อาจเรืองแสงเฉพาะบางส่วนหรือทุกส่วน มีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด เช่น ชนิด chlorosplenium aeruginascens (Nyl.) Karst. เรืองแสงสีเขียวในระยะเกิดสปอร์. (๒) ชื่อว่าน ชนิดหนึ่ง ต้นและหัวคล้ายขมิ้นอ้อย สีขาว ฉุนร้อน ตามตํารากบิลว่านว่า เมื่อหัวแก่มีธาตุปรอทลงกิน มีพรายเป็นแสง แมงคาเรืองในเวลากลางคืน ถือกันว่ามีสรรพคุณอยู่คง แต่เป็นกายสิทธิ์ ชอบไปเที่ยวหากินของโสโครก และเข้าสิงกินคนดั่งกระสือ หรือปอบ แล้วบอกชื่อเจ้าของว่านที่ปลูกนั้นว่า เป็นตัวกระสือ หรือผีปอบ ทําให้ขายหน้าจึงไม่ค่อยมีใครกล้าปลูก.
  35. กริวกราว : ว. เสียงโห่, เสียงเอ็ดอึงพร้อมกันหลาย ๆ เสียง, เช่น บ้างโบกธงธุชพรายพราวโลดเต้นกริวกราว.
  36. กำพวด ๒ : น. ปลาจุมพรวด เช่น แลฝั่งล้วนหลังกําพวดพราย. (เพลงยาวนายภิมเสน). (ดู จุมพรวด).
  37. กำแพงขาว : น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ใบคล้ายหมากผู้หมากเมีย ต้นและใบเขียว มีลายดั่งว่านเสือ แต่ลายเบา มีพรายปรอท หัวเหมือนกระชาย ตุ้มรากกลมทอดไปยาว หัวมีกลิ่นหอม ใช้อยู่คงเขี้ยวเขานองา, อีกชนิดหนึ่งเรียก มายาประสาน เป็นว่านประสานบาดแผล. (กบิลว่าน).
  38. ค้อยค้อย : (กลอน) ว. เนือง ๆ, บ่อย ๆ, เช่น เจ้าแม่แต่จงกรมค้อยค้อย ด้วยบราทุกราพร้อยพราย. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
  39. แคบ ๒ : น. อานม้า เช่น สรรพแคบหมอนทองห้อยภู่พราย. (ยวนพ่าย). (เทียบ ข. แคบ ว่า เบาะ, อานม้า). ก. ขลิบ เช่น ล้วนอลงกฎด้วย อลงการ เบาะลอออานแคบคํา. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ถิ่น-อีสาน แขบ ว่า ขลิบ).
  40. แครง ๔ : [แคฺรง] ว. ตกแต่ง เช่น ธก็ผลัดแผลงแครงเครื่องอันบริสุทธิ์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). ว. งามพรายแพรว, หมดจด, ผ่องใส, เช่น ธก็ทรงพสตรพาสแครง ดุจแสงสังข์ใสสุทธ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), อนนธกทําด้วยไหมประไพแครงเครื่องฟ้า. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), พายคํ่าจํารัสแครง ใสส่อง. (ทวาทศมาส). น. ผ้า เช่น นางก็ทรงพัสตราภรณ์ พาดแครง. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (เทียบ อีสาน แครง ว่า ผ้า, ผ้าพันคอชนิดผืนยาว).
  41. โคบุตร : [-บุด] น. ชื่อช้างหมู่ ๑ ในอัฏฐคช ตระกูลวิษณุพงศ์ มีสีผิว เหลือง หางเหมือนหางโค งางอน เวลาร้องมีเสียงเหมือนเสียงโคป่า เช่น ลางคือโคบุตรพรายพรรณ ลางสารสำคัญ คือสีหชงฆาควร. (สมุทรโฆษ).
  42. จันทรกลา : [-กะลา] (แบบ) น. เสี้ยวที่ ๑๖ ของดวงจันทร์, โดยอนุโลม หมายถึงงามเหมือนแสงจันทร์อ่อน ๆ นวลตา เช่น ลางล้วนเผือกผ่องคือคิรี ไกลาสรูจี แลพรายคือจันทรกลา. (สมุทรโฆษ). (ส.).
  43. ฉัพพรรณรังสี : [ฉับพันนะ-] (แบบ) น. รัศมี ๖ ประการ คือ ๑. นีล เขียวเหมือนดอกอัญชัน ๒. ปีต เหลืองเหมือนหรดาลทอง ๓. โลหิต แดงเหมือนตะวันอ่อน ๔. โอทาต ขาวเหมือนแผ่นเงิน ๕. มัญเชฐ สีหงสบาทเหมือนดอกเซ่งหรือ หงอนไก่ ๖. ประภัสสร เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก. (ปฐมสมโพธิ). (ป. ฉพฺพณฺณรํสี).
  44. ฉ่า : ว. เสียงน้ำมันเดือดเมื่อเวลาทอดของ; เสียงลูกคู่เพลงร้องรับจังหวะพ่อเพลง แม่เพลง; เสียงอื้ออึง เช่น จะชุมฉ่าชายจะมาก. (ม. ร่ายยาว ชูชก); เสียงน้ำดัง เช่นนั้น เช่น พรายสายชลฉ่าเพียง สินธุ์สวรรค์. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).
  45. ชรริน : [ชฺระ] (กลอน) ก. ประดับ เช่น ชรรินชรเรือดแฝง มณิเพ็ญดู เพรี้ยมพราย.(สมุทรโฆษ).
  46. ชรเรือด : [ชฺระ] (กลอน) ก. แทรก เช่น ชรรินชรเรือดแฝง มณิเพ็ญดู เพรี้ยมพราย.(สมุทรโฆษ). (ข. เชฺรียต, เชียต).
  47. ชระมื่น : [ชฺระ] (กลอน) ว. ทะมื่น เช่น ผีพรายชระมื่น ดําช่วยดู. (แช่งนํ้า).
  48. ตรึก ๒ : [ตฺรึก] ก. หมด, สิ้น, เปลือง, น้อย, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ตรึก, มิตรึก, เช่น จึงองค์มิสาระปันหยี จึงตอบว่าข้าจะให้ไก่ดีดี ของเรามีไม่ตรึกอย่า ร้อนใจ. (อิเหนา), ท่านก็ไม่ขัดสนจนพราย มากมายตามพรูอยู่มิตรึก แรกรักจะรําพันให้ครั่นครึก. (ขุนช้างขุนแผน), ฤๅจะใคร่ได้เมียสาว ๆ ขาว ๆ ดี ๆ มีไม่ตรึก. (มณีพิชัย).
  49. เบื้อ ๔ : (ถิ่น-พายัพ) ว. มีแสงเลื่อมพราย, โดยปริยายหมายถึงกระจกเงา เช่น มุกแกมเบื้อ.
  50. ประแพร่งประแพรว : [ปฺระแพฺร่งปฺระแพฺรว] ว. งามแพรวพราย.
  51. [1-50] | 51-88

(0.1229 sec)