พรึง : น. ไม้กระดานหน้าใหญ่ตั้งอยู่บนหัวรอด รัดรอบเสาทั้ง ๔ ด้าน.
สะพรึงกลัว : ว. น่าพรั่นพรึง ใช้ว่า น่าสะพรึงกลัว เช่น เห็นร่างดำทะมึน น่าสะพรึง กลัว.
พรั่นพรึง : ก. นึกหวาดหวั่น, นึกพรั่นใจ.
ครั่น ๑ : [คฺรั่น] ก. รู้สึกประหวั่นพรั่นพรึง.
ครั่นคร้าม : ก. เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้านด้วยความกลัว
คร้าม : [คฺร้าม] ก. ขยาด, ไม่กล้าสู้, กลัวเกรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ครั่น เป็น ครั่นคร้าม หมายความว่า เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้านด้วยความกลัว.
ตะลึง : ก. อาการที่ชะงักงันนิ่งอึ้งไปชั่วขณะหนึ่งเพราะคาดไม่ถึง. ตะลึงพรึงเพริด ก. ตะลึงจนลืมตัว.
ปะกำ : น. ไม้ที่ทําเป็น ๒ ขาสําหรับคาบไม้อื่น, ลูกตั้งฝาที่คาบพรึง.
รา ๑ : น. ไม้ที่กระหนาบอยู่ใต้ท้องพรึงรับพื้นเรือนเพื่อไม่ให้พื้นอ่อน อยู่ระหว่าง รอด; ไม้จีมเสาที่ปากหลุมซึ่งยังไม่ได้กลบดินเพื่อกันไม่ให้โอนเอน เรียกว่า ราคอเสา.
พรั่ง : [พฺรั่ง] ว. คับคั่ง, รวมกันอยู่มาก.
แพร่ง : [แพฺร่ง] น. ทางแยกทางบก. ก. แตกออก, แยกออก.
พรุ่ง, พรุ่งนี้ : น. วันถัดจากวันนี้ไปวันหนึ่ง.
พริ้ง : [พฺริ้ง] ว. งามงอน, สะสวยมาก, ชอบแต่งตัวให้งดงามและทันสมัย อยู่เสมอ, เช่น สวยพริ้ง แต่งตัวงามพริ้ง.
เพรง : [เพฺรง] ว. ก่อน, เก่า, เช่น แต่เพรงกาล.
โพรง : [โพฺรง] น. ช่องที่กลวงเข้าไป เช่น โพรงไม้ โพรงจมูก.
สงสัย : ก. ไม่แน่ใจในข้อเท็จจริง เช่น สงสัยว่าทำดีจะได้ดีจริงหรือ, ลังเล เช่น เมื่อเดินไปถึงทาง ๒ แพร่ง สงสัยว่าจะไปทางไหนจึงจะถูก; ทราบไม่ได้ แน่ชัด, เคลือบแคลง, เช่น สงสัยว่าคำตอบข้อไหนถูก สงสัยว่าเขาจะเป็น ขโมย; เอาแน่ไม่ได้ เช่น สงสัยว่าเขาจะมาหรือไม่มา. (ป. สํสย; ส. สํศย).