พร้อมเพรียง : ว. ครบถ้วน, ร่วมใจกัน, เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, เช่น ช่วยกันทำงานอย่างพร้อมเพรียง.
พร้อม : [พฺร้อม] ว. คําแสดงกิริยาร่วมกัน เช่น ร้องเพลงพร้อมกัน ปรบมือ พร้อมกัน หรือในเวลาเดียวกัน เช่น ไปพร้อมกัน ถึงพร้อมกัน, โดยปริยายหมายความว่า ครบครัน เช่นงามพร้อม ดีพร้อม เตรียม พร้อม, เสร็จ เช่น พร้อมแล้ว. ก. เตรียมครบถ้วน เช่น พร้อมแล้ว.
เพรียง ๑ : [เพฺรียง] น. ส่วนร่างกายที่นูนอยู่หลังหู, มักใช้ว่า เพรียงหู; เรียก ผิวหนังที่ขรุขระอย่างหน้าออกฝีว่ามีลักษณะเป็นเพรียง. ว. พร้อม, มักใช้คู่กันว่า พร้อมเพรียง.
ครบมือ : ว. มีอยู่ครบในครอบครอง (ใช้แก่อาวุธและคนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น มีอาวุธครบมือ; มีเครื่องมือเครื่องใช้อย่าง พร้อมเพรียง เช่น ช่างไม้มีอุปกรณ์ครบมือ.
ครบครัน : ว. พร้อมเพรียง, ไม่ขาดเหลือ, บริบูรณ์.
เพรียง ๒ : [เพฺรียง] น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังประเภทสัตว์ขาปล้อง มีหลายชนิดในอันดับ Thoracica เปลือกหุ้มตัวมี ๖ แผ่น เรียงซ้อน กัน รูปร่างของเปลือกมีหลายแบบ เช่น รูปกรวยควํ่า มีปากเปิดด้าน บน เปลือกบริเวณปากบางและคม เกาะอยู่ตามหินและวัสดุอื่น ๆ ที่นํ้าท่วมถึง เช่น ชนิด Balanus amphitrite ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ที่ฐานประมาณ ๑ เซนติเมตร.
เพรียง ๓ : [เพฺรียง] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในวงศ์ Teredinidae ลําตัวยาวอ่อนนุ่ม เปลือกเล็กมากคลุมเฉพาะด้านหัว เจาะกินเนื้อไม้ มีหลายชนิด เช่น ชนิด Lyrodus pedicellatus.
พร้อมหน้า, พร้อมหน้าพร้อมตา : ว. รวมอยู่เป็นจํานวนมากอย่าง พร้อมเพรียงกัน (ใช้แก่คนที่มีความเกี่ยวข้องกัน) เช่น มากันพร้อม หน้า มากันพร้อมหน้าพร้อมตา.
พร้อมพรั่ง : ว. รวมอยู่มากหลาย เช่น มากันพร้อมพรั่ง, พรั่งพร้อม ก็ว่า.
พร้อมมูล : ว. บริบูรณ์, มีครบทุกอย่าง, เช่น มีหลักฐานพร้อมมูล.
พร้อมสรรพ : ว. พร้อมทุกอย่าง, มีครบทุกอย่าง, เช่น เตรียมให้ พร้อมสรรพ.
พร้อมญาติ : ว. มีญาติพี่น้องมากันมากมาย.
เพรียงคอห่าน :
ดู สนับ๒สนับทึบ.
เพรียงเมือง : ก. แทรกแซงบ่อนจิตใจชาวเมือง.
กามสมังคี : ว. พร้อมด้วยกามคุณ เช่น เสด็จเสวยอุฬาริกราชกาม สมังคีศรีสุขุมสุข. (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์). (ป. กาม + สมงฺคี = มีความพร้อมเพรียง).
เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน : ว. พร้อมเพรียงกัน, พร้อมใจกัน.
สมังคี : [สะมัง] ว. ประกอบด้วย, พร้อมเพรียงด้วย. (ป.).
สวนสนาม : น. พิธีชุมนุมพลกองทหารที่ลานกว้างเพื่อแสดงความสง่า ผ่าเผย ความพร้อมเพรียง และอานุภาพของเครื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ ให้เป็นเกียรติแก่ผู้เป็นประธานในพิธีซึ่งจะได้ตรวจดูแถวทหารที่ตั้งอยู่ คือ ตรวจพลและดูการเดินแถวของทหารเหล่านั้น.
โห่ : อ. เสียงที่เปล่งออกมาดังเช่นนั้น เป็นเสียงนําเพื่อแสดงความพร้อมเพรียง ในการรื่นเริงหรือการมงคลเป็นต้น. ก. ทําเสียงเช่นนั้น; โดยปริยาย หมายความว่า เย้ยให้ โดยทำเสียงเช่นนั้น.
พรั่งพร้อม : ว. รวมอยู่มากหลาย เช่น มากันพรั่งพร้อม, พร้อมพรั่ง ก็ว่า.
สรบ : [สฺรบ] (โบ; กลอน) ว. ทั่ว, พร้อม, เขียนเป็น สรับ ก็มี.
สห : [สะหะ] ว. ด้วยกัน, พร้อม, ร่วม, ร่วมกัน, (ใช้ประกอบหน้าคําอื่น) เช่น สหประชาชาติ สหพันธ์สหรัฐ. (ป., ส.).
สะพรึบ, สะพรึ่บ, สะพรึบพร้อม, สะพรึ่บพร้อม : ว. พร้อมพรั่งอยู่มากมายอย่างเต็มที่ เช่น พากันมาพร้อมสะพรึบ มากันสะพรึบพร้อม.
พรวงเพรียง : [พฺรวงเพฺรียง] ก. พูดยกยอ.
เพียบพร้อม : ว. เต็มเปี่ยม, ครบทุกอย่าง.
ทั้ง : ว. ทั่ว เช่น ทั้งโลก ทั้งห้อง ทั้งตัว, รวมหมด เช่น ปลาทั้งตัว, พร้อม ด้วย เช่น ต้มทั้งกระดูก นอนทั้งรองเท้า, ตลอด เช่น ทั้งคืน ทั้งวัน ทั้งเดือน ทั้งปี, ครบตามที่กําหนด เช่น โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง และโกฐจุฬาลัมพา, ชุมเห็ดทั้ง ๕ ได้แก่ ต้น ราก เปลือก ใบ และดอก ของต้นชุมเห็ด; ทั้งที่ เช่น ทําทั้งรู้ ๆ กินทั้งจืด ๆ ล้มทั้งยืน; มิหนําซํ้า เช่น ของนี้คุณภาพตํ่า ทั้งราคาก็แพง ยานี้จะทําให้ท้องผูกทั้งจะทําให้ใจสั่นอีกด้วย.
จับปลาสองมือ : (สำ) ก. หมายจะเอาให้ได้ทั้ง ๒ อย่าง, เสี่ยงทำการ ๒ อย่าง พร้อม ๆ กัน ซึ่งอาจไม่สำเร็จทั้ง ๒ อย่าง.
ประดัง : ว. ยัดเยียดกันเข้ามา เช่น คนประดังกันเข้ามา, มาติด ๆ พร้อม ๆ กัน เช่น งานประดังเข้ามา; ดังขึ้นพร้อมกัน, แซ่ซ้อง, (หมายเอาเสียง).
ประนัง : ก. ประชุม, รวม, เช่น ประนังศัพท์ ว่า ประชุมเสียง, ประนังพล ว่า รวมพล. ว. พร้อม.
พร้ำ : [พฺรํ้า] ว. พร้อม.
ระบุ : ก. เจาะจง เช่น ระบุชื่อผู้รับ ระบุตัวบุคคล, บ่งชื่อ, ออกชื่อเฉพาะ, เช่น ระบุชื่อพยาน; มีออกมามาก ๆ พร้อม ๆ กัน เช่น ทุเรียนระบุ เห็ดระบุ ส่าไข้ระบุ.
ศาสน, ศาสนา : [สาสะนะ, สาดสะนะ, สาดสะหฺนา] น. ลัทธิความเชื่อถือ ของมนุษย์อันมีหลัก คือแสดงกําเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรม เกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อม ทั้งลัทธิพิธีที่กระทําตามความเห็นหรือตามคําสั่งสอนในความ เชื่อถือนั้น ๆ. (ส. ศาสน ว่า คําสอน, ข้อบังคับ; ป. สาสน).
สมัคร : [สะหฺมัก] ก. ยื่นความจำนงขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกหรือร่วมในกิจกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นต้น เช่น สมัครเป็นสมาชิกสมาคม สมัครเข้า ทำงาน, บางทีก็มีคํา ใจ ประกอบอยู่ด้วย ซึ่งเป็นคําผสมชนิดที่ต้องการ เน้น เช่น ใจสมัคร ว่า ใจที่สมัคร, สมัครใจ ว่า สมัครด้วยความเต็มใจ. (ต. สมัค ว่า เต็มใจ; ป. สมคฺค; ส. สมคฺร ว่า พร้อม).
สรม : [สฺรม] ก. ขอ, มักใช้ว่า สรวม. (ข. สูม). ว. พร้อม.
สะพรัก : ว. พร้อม.
กฐิน, กฐิน- :
[กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
กรรมสัมปาทิก : [กํามะสําปาทิก] น. ผู้ยังการงานให้ถึงพร้อม; (กฎ; เลิก) บุคคลที่ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งให้ทําหน้าที่กรรมการ ของสมาคม. (ส. กรฺม + สมฺปาทิก = ผู้ให้ถึงพร้อม).
กระเกรียม : (โบ; เลิก) ก. ตระเตรียม, จัดไว้ให้บริบูรณ์, เช่น กระเกรียมพร้อมเสร็จสําเร็จการ. (คาวี).
กระจองงอง, กระจองงอง ๆ : ว. เสียงร้องเช่นนั้นพร้อมตีฆ้องป่าวประกาศว่า กระจองงอง ๆ เจ้าข้าเอ๊ย.
กระวี ๑ : น. นักปราชญ์ในการแต่งบทกลอน เช่น เสดจ์ยังสาระ พินิจฉัยพร้อมด้วยหมู่มุกขมนตรีกระวีราชปโรหิตาโหราจารย์ อยู่ในศีลสัจ. (สามดวง). (แผลงมาจาก กวี).
กระวีชาติ : น. หมู่กวี, พวกกวี, เช่น เสดจ์ในพระที่นั่งพลับพลาทอง โดยอุตราภิมุขพร้อมด้วยหมู่มาตยามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาจารย์ เฝ้าพระบาท. (สามดวง), เขียนเป็น กระวีชาต หรือ กระวิชาติ ก็มี เช่น พระองค์ทรงพระกรุณาเพื่อจะมิให้มุกขมนตรีกระวีชาตแลราษฎร ล่วงเกินพระราชอาญา, พร้อมด้วยหมู่มุกขมาตยามนตรีกระวิชาติราช สุริยวงษพงษพฤฒาโหราจารยเฝ้าเบื้องบาทบงกชมาศ. (สามดวง).
กราดเกรี้ยว : ก. แสดงกิริยาท่าทางพร้อมทั้งดุด่าว่ากล่าวเป็นต้น อย่างรุนแรงด้วยความโกรธ, เกรี้ยวกราด ก็ใช้.
กราว ๒ : [กฺราว] ว. เสียงดังคล้ายเช่นนั้น เช่น เสียงของแข็งจํานวนมาก ๆ ร่วงลงกระทบพื้นหรือหลังคาพร้อม ๆ กัน หรือเสียงที่คน จํานวนมากตบมือพร้อม ๆ กัน.
กริวกราว : ว. เสียงโห่, เสียงเอ็ดอึงพร้อมกันหลาย ๆ เสียง, เช่น บ้างโบกธงธุชพรายพราวโลดเต้นกริวกราว.
กรู ๑ : [กฺรู] ว. อาการที่ไปพร้อม ๆ กันโดยเร็ว เช่น วิ่งกรูกันไป.
กฤดยาเกียรณ : [กฺริดดะยาเกียน] (แบบ) ว. พร้อมด้วยเกียรติยศ เช่น ความชอบกอปรกฤดยากยรณ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ส. กีรฺติ + อากีรฺณ).
กลม ๔ : [กฺลม] ว. (โบ) ปวง, หมด, สิ้น, เช่น ทั้งกลม คือ ทั้งปวง, จึ่งได้เมืองแก่กูทงงกลํ. (จารึกสยาม); เรียกหญิงที่ตายพร้อม กับลูกที่อยู่ในท้องว่า หญิงตายทั้งกลม หมายถึง ตายทั้งหมด คือ ตายทั้งแม่ทั้งลูก.
กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ : (สำ) ว. ลักษณะของการทำงานที่มีความลังเลใจ ทำให้แก้ไขปัญหาได้ไม่ทันท่วงทีเมื่อได้อย่างหนึ่ง แต่ต้องเสียอีกอย่าง หนึ่งไป ดุจเอาถั่วกับงามาคั่วพร้อมกัน กว่าจะคั่วจนถั่วสุก งาก็จะไหม้หมดไปก่อน.
กองข้าว : น. พิธีอย่างหนึ่งที่ชาวชนบทห่อข้าวพร้อมด้วยของหวาน พากันไปเซ่นผีตามป่าในหน้าแล้ง.
กับ ๔, กับข้าว : น. อาหารซึ่งปรกติใช้กินพร้อมข้าว.