Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พลา , then พล, พละ, พลา, วลา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พลา, 145 found, display 1-50
  1. พล่า : [พฺล่า] น. เครื่องกับข้าวชนิดหนึ่ง คล้ายยํา มักใช้เนื้อดิบ ทำให้สุก ด้วยของเปรี้ยวเช่นมะนาว.
  2. พละ : ดู พล, พล.
  3. พละ : [พะละ] น. กําลัง, มักใช้เข้าคู่กันเป็น พละกําลัง.
  4. พล, พล : [พน, พนละ, พะละ] น. กําลัง, มักใช้ประกอบคําอื่น เช่น พระทศพล อันเป็นพระนามพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงมีพระญาณอันเป็น กำลัง ๑๐ ประการ มี ฐานาฐานญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและสิ่งที่มิใช่ ฐานะเป็นต้น; ทหาร เช่น กองพล ตรวจพล ยกพลขึ้นบก; สามัญ, ธรรมดา ๆ, พื้น ๆ, เช่น ของพล ๆ; ยศทหารและตํารวจสัญญาบัตร รองจากจอมพล (เดิมใช้ว่า นายพล). (ป., ส.).
  5. พลับพลา : [พฺลา] น. ที่ประทับชั่วครั้งคราวสําหรับรับรองพระเจ้าแผ่นดิน และพระบรมราชวงศ์ชั้นสูง.
  6. พลานึก : น. ทหาร, นักรบที่ต้องใช้กําลังกาย. (ป., ส. พลานีก).
  7. พลำ, พล้ำ : [พฺลํา, พฺลํ้า] ก. พลาดถลํา.
  8. พลา : [เพฺลา] น. แกนสําหรับสอดในดุมรถหรือดุมเกวียน, โดยปริยาย หมายถึงแกนสําหรับให้ล้อหรือใบจักรหมุน; ไม้สําหรับขึงใบเรือ.
  9. พลา : [เพฺลา] น. ชื่อกระดาษสาชนิดบาง โบราณใช้ร่างหนังสือด้วยดินสอ ดำหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่นเช่นใช้ปิดหุ่นหัวโขนและหุ่นอื่น ๆ เรียกว่า กระดาษเพลา.
  10. พลา ๔, เพลา : [เพฺลา] ว. เบาลง, เบาพอประมาณ, เช่น เพลาไม้เพลามือ เพลา ๆ หน่อย.
  11. พลา : [เพฺลา] น. ตัก, ช่วงขาตั้งแต่เข่าถึงโคนขา, ราชาศัพท์ว่า พระเพลา. (ข. เภฺลา).
  12. สนับเพลา : [เพฺลา] น. กางเกงชั้นในมีขายาวประมาณครึ่งแข้งแล้ว นุ่งผ้าโจงกระเบนทับอย่างตัวละคร, (ราชา) พระสนับเพลา.
  13. พลขันธ์ : [พนละ] น. กองทัพ.
  14. พลขับ : [พนละ] น. ทหารที่ทำหน้าที่ขับยานพาหนะ.
  15. พลตระเวน : [พน] (โบ) น. พลตํารวจพระนครบาลผู้ตรวจตรา เหตุการณ์.
  16. พลรบ : [พนละ] น. ทหารที่ทำหน้าที่ฝ่ายรบ.
  17. พลสิงห์ : [พนละ] น. พนักบันไดอิฐ.
  18. กรีธาพล : ก. รวมพลเข้าเป็นกระบวน.
  19. คลี่ทัพ, คลี่พล : (โบ) ก. เคลื่อนพล, เคลื่อนกำลังไป, เช่น ยังยโสธรคล้อย คลี่พล. (ยวนพ่าย).
  20. จัตุรงคพล : [จัดตุรงคะ-] น. จตุรงคพล, กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ. (ป., ส. จตุรงฺค + เสนา).
  21. ประดาพล : ก. ยกพลเรียงหน้าเข้าไป.
  22. พิทยาพล : น. กําลังกายสิทธิ์. (ส. วิทฺยาพล).
  23. โพล่ : น. ภาชนะชนิดหนึ่ง สำหรับใส่เสบียงกรังและของใช้ต่าง ๆ เช่น ข้าวสาร เสื้อผ้า ประกอบด้วยกระชุ ๒ ใบ สานเป็นตาชะลอม กรุด้วย กาบไผ่ กระชุนั้นผูกติดกับคันซึ่งทำเป็นขา ๒ ขา ส่วนบนไขว้กัน มีหูสำหรับสอดไม้คานเพื่อหาบไป ด้านบนมีกัญญาซึ่งสานด้วยไม้ ไผ่เป็นตาชะลอมแล้วกรุด้วยใบไม้ผูกติดกับคันสำหรับกันแดดกันฝน. (รูปภาพ โพล่)
  24. ไพล่ : [ไพฺล่] ก. ไขว้ เช่น เอามือไพล่หลัง, เอี้ยว, หลบไป, หลีกไป; แทนที่จะเป็นอย่างนี้กลับเป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น เคยทำอย่างนี้ ไพล่ไปทำอย่างนั้น.
  25. รวมพล : ก. รวมกำลังพลเข้าด้วยกัน.
  26. เรือยกพลขึ้นบก : น. เรือที่ใช้ในการลำเลียงขนส่งทหาร พัสดุ และอาวุธ ยุทโธปกรณ์ในการรบแบบสะเทินน้ำสะเทินบก มีหลายขนาด เช่น เรือคอมมานโด เรือยกพลจู่โจม.
  27. เลิกพล : ก. ยกพลกลับ.
  28. กำมัชพล : [-มัดชะพน] น. ชื่อเกณฑ์เลขในคัมภีร์สุริยยาตร ซึ่งคํานวณมาจากจุลศักราช.
  29. จตุรงคพล : [จะตุรงคะ-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ; หมากรุก.
  30. ระดมพล : ก. เกณฑ์ทหารเข้าประจำกองทัพอย่างรีบด่วน.
  31. อรสุมพล : น. กําลังไอนํ้า.
  32. อำพล : (โบ) ว. อำพน.
  33. พลากร : [พะลากอน] น. กองทหารเป็นจํานวนมาก. (ป. พล + อากร).
  34. พลากร : ดู พล, พล.
  35. พลาดิศัย : ว. มีกําลังยิ่ง. (ส. พล + อติศย).
  36. พลาดิศัย : ดู พล, พล.
  37. พลาธิการ : ดู พล, พล.
  38. พลานามัย : ดู พล, พล.
  39. พลานึก : ดู พล, พล.
  40. มุลู : น. พล. (ช.).
  41. อากร : [กอน] น. หมู่, กอง, เช่น พลากร (พล + อากร); บ่อเกิด, ที่เกิด, เช่น ทรัพยากร ศิลปากร; ค่าธรรมเนียมอย่างหนึ่งที่รัฐบาลเรียก เก็บ เช่น อากรรังนก อากรมหรสพ; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วหมายถึงพวกหรือหมู่ เช่น ดารากร นรากร ทวิชากร ประชากร หรืออาจมีความหมายคงเดิมก็ได้ เช่น พระปฏิมากร.
  42. กรรหาย : [กัน-] (โบ; กลอน) ก. อยากได้, หิวโหย, เช่น กามกรรหายยั่วข้าง. (ลอ), ให้หยุดพลพักร้อน กรรหายผ่อนเอาทับ. (นิ. พลเสพย์).
  43. กระกัติ : (โบ) ก. กระกัด, ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น อย่ายักษ์มลักกรีฑาดล ด้าวอำเภอพลลการกระกัติกามา. (สรรพสิทธิ์).
  44. กระเซอ : ว. เซ่อเซอะ, เร่อร่า, เช่น ผัวเขาจริง ๆ วิ่งกระเซอ. (รามเกียรติ์ พลเสพย์), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระเซอะ เป็น กระเซอะกระเซอ.
  45. กระเพลิศ : [-เพฺลิด] (กลอน) ว. ตะพึด เช่น พลพายกระเพลิศพ้าง พายพัด. (เฉลิมพระเกียรติ ร. ๒).
  46. กระเอิก : (กลอน) ว. เอิกเกริก เช่น พลเกรอกกระเออกอึง. (สรรพสิทธิ์).
  47. กรี ๑ : [กะรี] (แบบ) น. ช้าง เช่น ถัดนั้นพลนิกรพวกกรี. (ม. คําหลวง มหาราช).
  48. กเรนทร, กเรนทร์ : (กลอน; แผลงมาจาก กรินทร์) น. ช้าง เช่น พลคชคณหาญหัก กเรนทรปรปักษ์ ปราบประลัย. (สมุทรโฆษ).
  49. กลาโหม : [กะลาโหมฺ] น. ชื่อกรมที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ในสมัยโบราณ มีสมุหพระกลาโหมเป็นประธาน; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่ เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจาก ภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ; การชุมนุมพลรบ.
  50. กว่า : [กฺว่า] ว. เกิน เช่น กว่าบาท; เป็นคําใช้เปรียบเทียบในการประมาณ เช่น มากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า, ย่อมพลกว่าพลแกว่น. (ม. คําหลวง มหาราช). บ. เลยไป, พ้นไป. สัน. ก่อน, ยังไม่ทัน, เช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้, มักใช้เข้าคู่กับคํา จะ...ก็ เป็น กว่าจะ...ก็ หรือ กว่า...จะ...ก็, โบราณใช้ว่า ยิ่ง ก็มี เช่น ใจกว่าห้วงอรรณพ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์); ใช้เป็นกริยาว่า ไปจาก ก็มี เช่น แทบทาง ที่จะกว่า. (ม. คําหลวง จุลพน), ผิออกนางธจะกว่า. (ม. คําหลวง กุมาร); ใช้เป็นวิเศษณ์ว่า จากไป ก็มี เช่น ล๋ตายหายกว่า. (จารึกสยาม). กว่าชื่น (โบ) ว. ยิ่ง, ยิ่งนัก.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-145

(0.0668 sec)