พวย ๑ : น. ส่วนของกาหรือป้านที่ยื่นออกมา สําหรับรินนํ้า.
พวย ๒ : ก. สูง, พุ่ง, ไปโดยเร็ว.
พวยพุ่ง : ว. ช่วงโชติ, พุ่งเป็นลําออกไปโดยเร็ว เช่น แสงพวยพุ่ง รัศมีพวยพุ่ง.
กรด ๔ : [กฺรด] น. ภาชนะใส่น้ำเทพมนตร์ของพราหมณ์ ลักษณะเหมือน คนโทมีฝาปิด มีพวยอย่างกาน้ำ. (เลือนมาจาก ป. กลส; ส. กลศ).
กลศ : [กฺลด] น. ภาชนะใส่น้ำเทพมนตร์ของพราหมณ์ มีลักษณะ เหมือนคนโท มีฝาปิด มีพวยอย่างกาน้ำ เรียกว่า หม้อกลศ, (โบ) เขียนเป็น กลด ก็มี. (ส.; ป. กลส).
กะพล้อ, กะพ้อ ๑ : น. กระบอกตักน้ำ ปากแฉลบอย่างปากพวยกา.
กา ๓ : น. ภาชนะสําหรับใส่น้ำหรือต้มน้ำ มีพวยและหูสําหรับหิ้ว หรือจับ, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก.
จับเจี๋ยว : น. หม้อดินเล็ก ๆ มีพวยและที่จับสําหรับต้มนํ้า. (จ.). (รูปภาพ จับเจี๋ยว)
ชวาลา : [ชะ] (โบ) น. เครื่องตามไฟชนิดหนึ่ง ใช้ตั้งหรือแขวน มีรูปเป็นหม้อกลม สำหรับใส่น้ำมันมีพวยยื่นมาใช้ใส่ ไส้จุดไฟ.
นาคเล่นน้ำ : น. นํ้าที่พุ่งเป็นลําขึ้นไปในอากาศเนื่องจากลมงวง, พวยนํ้า ก็ว่า.
ประภามณฑล : น. รัศมีที่พวยพุ่งขึ้นจากศีรษะของผู้ศักดิ์สิทธิ์และ พระพุทธรูป.
ปั้น ๒ : น. ภาชนะดินสําหรับชงนํ้าชา มีพวยเหมือนกา, ป้าน ก็ใช้.
ป้าน ๑ : น. ภาชนะดินสําหรับชงนํ้าชา มีพวยเหมือนกา, ใช้ว่า ปั้น ก็มี.
เปลว : [เปฺลว] น. เรียกไฟที่ลุกแลบออกมาหรือพวยพุ่งขึ้นว่า เปลวไฟ, เรียกควันที่พลุ่ง ๆ ขึ้นไปว่า เปลวควัน, เรียกช่องอยู่เหนือถํ้าที่แลบ ทะลุขึ้นไปเบื้องบนว่า ช่องเปลว หรือ เปลวปล่อง, เรียกสิ่งที่เป็น แผ่นบางอันมีลักษณะคล้ายเปลวไฟ เช่น ทองคําเปลว, เรียกมัน ของสัตว์ที่ไม่ได้ติดอยู่กับหนัง ว่า มันเปลว, คู่กับ มันแข็ง; ชื่อลาย จําพวกหนึ่งมีปลายสะบัดอ่อนไหวคล้ายเปลวไฟ เช่น กระหนกเปลว.
พุ่ง : ก. ซัดไป เช่น พุ่งหอก พุ่งกระสวย, อาการที่ปล่อยออกไปโดยเร็ว เช่น พุ่งตัว พุ่งหมัด, มุ่งตรงไป เช่น พุ่งความสนใจ, อาการที่น้ำ หรือไฟพวยพุ่งออกไป เช่น น้ำพุ่ง แสงไฟฉายพุ่งเป็นลำออกไป; (ปาก) สุ่ม ๆ เช่น พูดพุ่งไป.
รัศมี : น. แสงสว่างที่พวยพุ่งออกจากจุดกลาง, แสงสว่าง; เส้นที่ลากจากจุด ศูนย์กลางของวงกลมไปถึงเส้นรอบวง. (ส.; ป. รํสิ).
ศิรประภา : น. รัศมีที่พวยพุ่งขึ้นจากศีรษะของผู้ศักดิ์สิทธิ์และ พระพุทธรูป. (ส.; ป. สิรปภา).